บัณฑิต จุลาสัย

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ศาสตราจารย์ ดร.บัณฑิต จุลาสัย
เกิด28 มีนาคม พ.ศ. 2495 (72 ปี)
 ไทย
สัญชาติไทย
ศิษย์เก่า
รางวัลรางวัลสถาปัตยกรรมยอดเยี่ยมและดีเด่น สมาคมสถาปนิกสยามฯ
ผลงานสำคัญ

ศาสตราจารย์ ดร.บัณฑิต จุลาสัย (เกิด 28 มีนาคม พ.ศ. 2495[4]) เป็นกรรมการสภาสถาปนิก[5]สถาปนิกชาวไทย อาจารย์และอดีตคณบดีคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย อดีตหัวหน้าภาควิชาสถาปัตยกรรมศาสตร์ ที่ปรึกษาบริษัท สถาปนิกจุลาสัย เป็นคนภาคเหนือจากจังหวัดเชียงใหม่ กรรมการสภาสถาปนิก กรรมการผังเมือง (10 มีนาคม พ.ศ. 2552 - ) ผู้เขียนหนังสือเกี่ยวกับสถาปัตยกรรม ที่อยู่อาศัย สภาพแวดล้อม เจ้าของผลงาน หนอนคอนกรีต ซึ่งเคยเข้าชิงรางวัลซีไรต์เรื่องสั้นภายใต้นามปากกา ปริญญา ตรีน้อยใส

งานออกแบบส่วนใหญ่ของบัณฑิต จุลาสัย มีทั้งงานอนุรักษ์และงานออกแบบปรับปรุง (renovate) เช่น โรงแรมรถไฟ หัวหิน เรือนภะรตราชา และพิพิธภัณฑ์พระตำหนักดาราภิรมย์ จังหวัดเชียงใหม่ ซึ่งต่างได้รางวัลอนุรักษ์ศิลปสถาปัตยกรรมดีเด่นจากสมาคมสถาปนิกสยามฯ นอกจากนี้ยังมีงานออกแบบสมัยใหม่ เช่น โรงแรมเซ็นทรัลโซฟิเทล หัวหิน อาคารจุลจักรพงศ์ และศาลาราชการุณย์ สภากาชาดไทย จังหวัดตราด ที่ทำให้เขาได้รางวัลสถาปัตยกรรมยอดเยี่ยมและดีเด่น สมาคมสถาปนิกสยามฯ[6]

บัณฑิต จุลาสัย ยังติดโผเป็นหนึ่งในสามสถาปนิกจากประเทศไทย ในหนังสือ "พจนานุกรมสถาปัตยกรรมแห่งศตวรรษที่ 20" (Dictionnaire de l'Architecture du XXe Siecle) จัดพิมพ์โดยสถาบันสถาปัตยกรรมแห่งฝรั่งเศส ประจำปี พ.ศ. 2539 ซึ่งรวบรวมประวัติและผลงานของสถาปนิกเอกทั่วโลกแห่งศตวรรษที่ 20 อีกด้วย[1]

ผลงานร่วมออกแบบ[แก้]

  • งานอนุรักษ์พระตำหนักดาราภิรมย์ ถนนแม่ริม-สะเมิง อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่ (ร่วมกับ รศ.ดร.ปิ่นรัชฎ์ กาญจนัษฐิติ)
  • งานอนุรักษ์เรือนภะรตราชา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • อาคารจุลจักรพงษ์
  • อาคารบรมราชกุมารี
  • ศาลาราชการุณย์ สภากาชาดไทย
  • โรงแรมเซ็นทรัลโซฟิเทล อำเภอหัวหิน
  • อาคารสถาบัน 2 จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • โรงแรมรถไฟหัวหิน
  • สะพานพระราม 8 (ออกแบบตกแต่งงานสถาปัตยกรรม)[7]
  • อาคารเฉลิมพระเกียรติ สวนมิ่งมงคล

เครื่องราชอิสริยาภรณ์[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. 1.0 1.1 1.2 1.3 อ.จุฬาฯ ได้รับยกย่องในทำเนียบสถาปนิกเอกของโลก, เว็บไซด์:https://www.ryt9.com/ .สืบค้นเมื่อ 28/07/2561
  2. บรมราชกุมารี, เว็บไซด์: http://www.prm.chula.ac.th .สืบค้นเมื่อ 28/07/2561
  3. สวนมิ่งมงคล เฉลิมพระชนมพรรษา 84 พรรษา, เว็บไซด์: http://gotarch.com/ .สืบค้นเมื่อ 28/07/2561
  4. ประวัติคณาจารย์
  5. เช็คมติครม. 15 ก.พ.65 แต่งตั้งโยกย้ายข้าราชการ​
  6. ศาสตราจารย์ ดร. บัณฑิต จุลาสัย, เว็บไซด์: http://www.archdept.com/ .สืบค้นเมื่อ 29/07/2561
  7. "สัญลักษณ์ศักดิ์สิทธิ์ ของ "สะพานพระราม 8"". ศิลปวัฒนธรรม. สืบค้นเมื่อ 21 January 2024.
  8. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๕๒ เก็บถาวร 2011-10-11 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๖ ตอนที่ ๑๖ ข หน้า ๔, ๔ ธันวาคม ๒๕๕๒
  9. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย เก็บถาวร 2007-01-07 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๑ ตอนที่ ๒๓ ข หน้า ๒๐, ๒๖ พฤศจิกายน ๒๕๔๗
  10. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญจักรมาลาและเหรียญจักรพรรดิมาลา เก็บถาวร 2022-01-17 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๑๘ ตอนที่ ๔ ข หน้า ๒๙๘, ๒๒ กุมภาพันธ์ ๒๕๔๔