น้ำเชื่อมข้าวโพด

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
น้ำเชื่อมข้าวโพด

น้ำเชื่อมข้าวโพด เป็นน้ำเชื่อมชนิดหนึ่งที่ทำจากแป้งข้าวโพด ประกอบไปด้วยน้ำตาลหลายชนิด เช่น กลูโคส มอลโตส และโอลิโกแซ็กคาไรด์ ขึ้นอยู่กับเกรดของน้ำเชื่อม น้ำเชื่อมข้าวโพดใช้ในอาหารเพื่อให้เนื้อสัมผัสนุ่มลง เพิ่มปริมาณ ป้องกันการตกผลึกของน้ำตาล และเพิ่มรสชาติ น้ำเชื่อมข้าวโพดต่างจากน้ำเชื่อมข้าวโพดฟรักโทสสูง (HFCS) ซึ่งผลิตจากน้ำเชื่อมข้าวโพดโดยเปลี่ยนกลูโคสบางส่วนเป็นฟรักโทสด้วยเอนไซม์ D-xylose isomerase ซึ่งทำให้มีความหวานมากกว่า

ในสหรัฐอเมริกา คำว่า "น้ำเชื่อมกลูโคส" มักใช้แทนที่น้ำเชื่อมข้าวโพด เนื่องจากน้ำเชื่อมกลูโคสส่วนใหญ่ผลิตจากแป้งข้าวโพด[1][2] โดยหลักการแล้วน้ำเชื่อมกลูโคสเป็นของเหลวที่ได้จากการนำแป้ง mono-, di- และแซคคาไรด์ขั้นที่สูงกว่ามาแยกสลายด้วยน้ำ และสามารถผลิตได้จากแหล่งอื่น ๆ เช่น ข้าวสาลี มันสำปะหลัง และมันฝรั่ง[3][4][5]

การผลิตเชิงพาณิชย์[แก้]

ในอดีต น้ำเชื่อมข้าวโพดผลิตโดยการนำแป้งข้าวโพดผสมกับกรดไฮโดรคลอริกจาง แล้วจึงให้ความร้อนกับส่วนผสมภายใต้แรงดัน กระบวนการนี้คิดค้นขึ้นโดยนักเคมีชาวเยอรมัน Gottlieb Kirchhoff ในปี ค.ศ. 1811 ปัจจุบัน น้ำเชื่อมข้าวโพดสามารถเตรียมได้จากกระบวนการทางชีวภาพหลายขั้นตอน เริ่มต้นด้วยเติมเอนไซม์ α-amylase ลงในส่วนผสมของแป้งข้าวโพดและน้ำ α-amylase เป็นเอนไซม์ที่หลั่งออกมาโดยแบคทีเรียสกุล Bacillus หลายชนิด และสามารถแยกเอนไซม์นี้ออกมาได้จากของเหลวที่แบคทีเรียเติบโตขึ้น เอนไซม์นี้ย่อยสลายแป้งให้เป็นโอลิโกแซ็กคาไรด์ จากนั้นจึงย่อยอีกครั้งให้เป็นโมเลกุลกลูโคสโดยการเติมเอนไซม์ glucoamylase หรือที่เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า "γ-amylase" glucoamylase เป็นเอนไซม์ที่หลั่งออกมาโดยเห็ดราสกุล Aspergillus หลายชนิด และสามารถแยกเอนไซม์นี้ได้จากของเหลวที่เห็ดราเติบโต กลูโคสสามารถเปลี่ยนเป็นฟรุกโตสได้โดยการผ่านกลูโคสผ่านเสาที่บรรจุเอนไซม์ D-xylose isomerase ซึ่งเป็นเอนไซม์ที่แยกได้จากอาหารเลี้ยงเชื้อของแบคทีเรียหลายชนิด[6]

น้ำเชื่อมข้าวโพดสำเร็จรูปที่นิยมมีสองชนิด[7]

  • น้ำเชื่อมข้าวโพดใส: เป็นน้ำเชื่อมข้าวโพดแต่งรสด้วยกลิ่นวานิลลาและเกลือ มีสีเกือบใส
  • น้ำเชื่อมข้าวโพดดำ: เป็นส่วนผสมของน้ำเชื่อมข้าวโพด refiner's syrup สีและกลิ่นคาราเมล เกลือ และสารกันบูดโซเดียมเบนโซเอท มีสีน้ำตาลเข้ม

การใช้[แก้]

น้ำเชื่อมข้าวโพดมีการใช้หลัก ๆ ในอาหารสำเร็จรูปเช่น ตัวเพิ่มความหนืด ตัวให้ความหวาน และตัวคงความชุ่มชื้น[8] ส่วนผสมหลักใน "น้ำเชื่อมแพนเค้ก" ส่วนใหญ่คือน้ำเชื่อมข้าวโพดหรือน้ำเชื่อมข้าวโพดฟรักโทสสูง ซึ่งทั้งสองอย่างนี้มีราคาต่ำกว่าน้ำเชื่อมเมเปิ้ล[9]

ในสหรัฐมีการกำหนดเกณฑ์ภาษีสำหรับการนำเข้าน้ำตาลอ้อย ซึ่งส่งผลให้ราคาน้ำตาลอ้อยเพิ่มขึ้น[10] ทำให้น้ำเชื่อมข้าวโพดกลายเป็นทางเลือกที่ใช้ต้นทุนต่ำกว่า น้ำเชื่อมข้าวโพดจึงมักนำมาใช้ในอาหารแปรรูปต่าง ๆ ที่ผลิตในสหรัฐ เช่น ลูกอม น้ำอัดลม และเครื่องดื่มผลไม้[8]

หากผสมน้ำเชื่อมข้าวโพดกับน้ำตาล น้ำ และครีมทาร์ทาร์ ก็สามารถนำไปใช้ทำแก้วน้ำตาลได้[11]

อ้างอิง[แก้]

  1. Structure of the world starch market, European Commission - Directorate Agricultural and Rural development, Evaluation of the Community Policy for Starch and Starch Products, Final report 2002, Chapter 1, page 3 [1]
  2. "Sugar Association Alternative Carbohydrate Sweeteners". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 23 September 2006.
  3. "Wheat starch, Application, International Starch Institute Denmark". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-03-09. สืบค้นเมื่อ 2023-12-28.
  4. Global casave outlook; Guy Henry, Andrew Westby; 2007; page 600 เก็บถาวร 5 เมษายน 2012 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
  5. "International Starch Association Starch and Glucose Glossary". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ July 16, 2002.
  6. Martin Chaplin and Christopher Bucke, Enzyme Technology (Cambridge, England: Cambridge University Press, 1990), pages 146-154. Available on-line at: London South Bank University: Enzyme Technology. See "Chapter 4: The large-scale use of enzymes in solution", sections:
  7. "Karo Syrup - FAQ". Karo. ACH Food Companies, Inc. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 11 May 2015. สืบค้นเมื่อ 15 May 2015.
  8. 8.0 8.1 Knehr, Elaine. "Carbohydrate Sweeteners". Food Product Design. Virgo Publishing. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2 January 2013. สืบค้นเมื่อ 17 October 2008.
  9. "5 Things You Need to Know About Maple Syrup" (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). สืบค้นเมื่อ 29 September 2016.
  10. "U.S. Sugar Import Program". USDA. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 22 March 2009. สืบค้นเมื่อ 21 March 2009.
  11. States, National Confectioners' Association of the United (1956). Annual Report - National Confectioners' Association of the United States (ภาษาอังกฤษ).