น่วม เศรษฐจันทร
บทความชีวประวัตินี้เขียนเหมือนประวัติสมัครงาน |
น่วม เศรษฐจันทร | |
---|---|
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 25 มิถุนายน พ.ศ. 2467 อำเภอเมืองนครราชสีมา จังหวัดนครราชสีมา |
เสียชีวิต | 13 ธันวาคม พ.ศ. 2553 |
เชื้อชาติ | ไทย |
ศาสนา | พระพุทธศาสนา |
คู่สมรส | พญ.สำเนียง คัมภีรญาณนนท์ |
บุตร | ร.ต.ท.กุลธร เศรษฐจันทร นพ.ธานี เศรษฐจันทร พล.ท.ดร.ธนา เศรษฐจันทร |
ที่อยู่อาศัย | กรุงเทพมหานคร |
นายแพทย์พิเศษ น่วม เศรษฐจันทร อดีตรองปลัดกระทรวงสาธารณสุข อดีตนายแพทย์พิเศษผู้อำนวยการโรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา เป็นผู้ก่อตั้งวิทยาลัยพยาบาลนครราชสีมา และโรงพยาบาลจิตเวชนครราชสีมาราชนครินทร์
ประวัติ[แก้]
นพ.น่วม เศรษฐจันทร เกิดที่ตำบลในเมือง อำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา สมรสกับ พญ.สำเนียง คัมภีรญาณนนท์ (ญ.) ธิดาของ สุรชัย คัมภีรญาณนนท์ กับ ภริยาคนที่ 2 เทียน คัมภีรญาณนนท์ (ญ.) มีบุตรธิดา 3 คน ดังนี้
- ร.ต.ท.กุลธร เศรษฐจันทร นักเรียนเตรียมทหาร รุ่น 4 สมรสกับ บังอร มนูธรรม (ญ.) มีบุตรธิดา 1 คน ได้แก่ วศิน
- นพ.ธานี เศรษฐจันทร สมรสกับ Jill Maitland (ญ.) มีบุตรธิดา 5 คน ได้แก่ ดามพ์ , ดรงต์ , สมัญญา (ญ.) , กรินทร์ , ธิเชษฐ์
- พล.ท.ดร.ธนา เศรษฐจันทร สมรสกับ พล.ต.หญิง ปรางฉาย วิลาวรรณ (ญ.) มีบุตรธิดา 3 คน ได้แก่ ธนาฒย์ , ธนัตถ์ , ธนินี (ญ.)
นพ.น่วม ถึงแก่อนิจกรรมอย่างสงบ เมื่อวันที่ 13 ธันวาคม พ.ศ. 2553 และได้ประกอบพิธีพระราชทานเพลิงศพ ณ วัดพระศรีมหาธาตุวรมหาวิหาร แขวงอนุสาวรีย์ เขตบางเขน กรุงเทพมหานคร
การศึกษา[แก้]
- จบแพทย์ศาสตร์บัณฑิต มหาวิทยาลัยแพทย์ศาสตร์ ในปี พ.ศ. 2489 โดยได้รับพระราชทานปริญญาบัตรจากพระหัตถ์ พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล พระอัฐมรามาธิบดินทร ซึ่งเป็นนักศึกษาเพียงรุ่นเดียวที่ได้รับ [1]
- ได้รับทุนของศัลยแพทย์นานาชาติ ไปศึกษาเพิ่มเติม ณ ประเทศสหรัฐอเมริกา ในปี พ.ศ. 2494 - 2496
บทบาททางสังคม[แก้]
ด้านการแพทย์[แก้]
- เป็นผู้อำนวยการโรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา ระหว่างปี พ.ศ. 2497 - 2505 ขณะดำรงตำแหน่ง ได้พัฒนาโรงพยาบาลอย่างรวดเร็วต่อเนื่องในทุกด้าน มีการก่อสร้างอาคารอำนวยการ 2 ชั้น แทนเรือนไม้ ก่อสร้างหอผู้ป่วยเพิ่มขึ้นหลายหลัง รวมทั้งก่อสร้างห้องเอ็กซเรย์ และห้องผ่าตัด ซึ่งได้รับการช่วยเหลือจากองค์การระหว่างประเทศจากประเทศสหรัฐอเมริกา ในขณะนั้นมีแพทย์ปฏิบัติงานเพียง 5 คน ได้แก่ นพ.น่วม เศรษฐจันทร , พญ.สำเนียง เศรษฐจันทร , นพ.ประดิษฐ์ รัตนพาริช , นพ.รังสรรค์ มหาสันทนะ และ พญ.เกษร มโหธร [2]
- เป็นผู้ก่อตั้งวิทยาลัยพยาบาลนครราชสีมา และเป็นผู้อำนวยการวิทยาลัยพยาบาลคนแรก ระหว่างปี พ.ศ. 2498 - 2504 หลังจากนั้น พญ.สำเนียง เศรษฐจันทร (ญ.) ภริยาได้มาดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการแทนจนถึงปี พ.ศ. 2510 [3]
- เป็นผู้ก่อตั้งโรงพยาบาลจิตเวชนครราชสีมาราชนครินทร์ และเป็นผู้อำนวยการโรงพยาบาลคนแรก ระหว่างปี พ.ศ. 2508 - 2514 [4]
ด้านพระพุทธศาสนา[แก้]
- นพ.น่วม และครอบครัว เป็นผู้มุ่งมั่นศรัทธาในพระพุทธศาสนา ได้อุปถัมภ์และทำนุบำรุงพระพุทธศาสนามาอย่างต่อเนื่อง รวมทั้งได้อุปถัมภ์ พระเทพรัตนดิลก (วิจิตร จิตตทันโต) เจ้าคณะจังหวัดนครราชสีมา (ธรรมยุต) และเจ้าอาวาสวัดศาลาลอย [5][6]
ด้านการเมือง[แก้]
- ได้รับการเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดนครราชสีมา เขต 1 สังกัดพรรคชาติไทย เมื่อปี พ.ศ. 2526 พร้อม พลตรี ชาติชาย ชุณหะวัณ อดีตนายกรัฐมนตรี
เครื่องราชอิสริยาภรณ์[แก้]
- พ.ศ. 2522 –
เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)[7]
- พ.ศ. 2519 –
เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นที่ 1 ประถมาภรณ์ช้างเผือก (ป.ช.)[8]
- พ.ศ. 2516 –
เหรียญพิทักษ์เสรีชน ชั้นที่ 2 ประเภทที่ 2 (ส.ช.)[9]
- พ.ศ. 2514 –
เหรียญจักรพรรดิมาลา (ร.จ.พ.)[10]
- พ.ศ. 2527 –
เหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลที่ 9 ชั้นที่ 3 (ภ.ป.ร.3)[11]
อ้างอิง[แก้]
- ↑ อนุสรณ์ในงานพระราชทานเพลิงศพ นายแพทย์น่วม เศรษฐจันทร ม.ว.ม. , ป.ช. ณ เมรุวัดพระศรีมหาธาตุ พ.ศ. 2554[ลิงก์เสีย]
- ↑ โคราชในอดีต นายแพทย์น่วม เศรษฐจันทร ผู้อำนวยการโรงพยาบาลนครราชสีมา ช่วงปี พ.ศ. 2497 - 2505
- ↑ ศูนย์วิทยทรัพยากร จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, การศึกษาพยาบาลในประเทศไทย ยุคฟื้นฟู (พ.ศ. 2489 - 2504), หน้า 247
- ↑ ประวัติโรงพยาบาลจิตเวชนครราชสีมาราชนครินทร์
- ↑ "ประวัติพระเทพรัตนดิลก เจ้าคณะจังหวัดนครราชสีมา". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-05-31. สืบค้นเมื่อ 2020-04-15.
- ↑ พระเทพรัตนดิลก (วิจิตร จิตตทันโต ป.ธ.5)
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๙๗ ตอนที่ ๖๓ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๓๔, ๑๘ เมษายน ๒๕๒๓
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๙๔ ตอนที่ ๓ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๓๙, ๖ มกราคม ๒๕๒๐
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญพิทักษ์เสรีชน, เล่ม ๙๐ ตอนที่ ๑๒๘ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๒๔, ๘ ตุลาคม ๒๕๑๖
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญจักรมาลาและเหรียญจักรพรรดิมาลา, เล่ม ๘๘ ตอนที่ ๑๕๑ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๑๑๐๗, ๓๑ ธันวาคม ๒๕๑๔
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์, เล่ม ๑๐๑ ตอนที่ ๑๘๖ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๒๕, ๑๔ ธันวคม ๒๕๒๗