สุรชัย คัมภีรญาณนนท์
บทความนี้อาจต้องปรับปรุงให้มีมุมมองที่เป็นกลาง เนื่องจากนำเสนอมุมมองเพียงด้านเดียว ดูหน้าอภิปรายประกอบ โปรดอย่านำป้ายออกจนกว่าจะมีข้อสรุป |
บทความนี้ต้องการการจัดหน้า จัดหมวดหมู่ ใส่ลิงก์ภายใน หรือเก็บกวาดเนื้อหา ให้มีคุณภาพดีขึ้น คุณสามารถปรับปรุงแก้ไขบทความนี้ได้ และนำป้ายออก พิจารณาใช้ป้ายข้อความอื่นเพื่อชี้ชัดข้อบกพร่อง |
สุรชัย คัมภีรญาณนนท์ | |
---|---|
![]() | |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 19 มีนาคม พ.ศ. 2436 จังหวัดชลบุรี ประเทศสยาม |
เสียชีวิต | 8 กันยายน พ.ศ. 2533 (97 ปี 5 เดือน 20 วัน) จังหวัดชลบุรี ประเทศไทย |
คู่สมรส | ทรัพย์ เทียน (สกุลเดิม แซ่ตั้ง 陈) สมบูรณ์ (สกุลเดิม แซ่ลิ้ม 林) |
บุตร | อุดม คัมภีรญาณนนท์ สำรอง คัมภีรญาณนนท์ พญ.สำเนียง เศรษฐจันทร ชโย คัมภีรญาณนนท์ โฆษิต คัมภีรญาณนนท์ นิธิ์ศรี ญาดี พล.อ.อ.ธีร์ศิลป์ คัมภีรญาณนนท์ นินนาท คัมภีรญาณนนท์ ภญ.ผศ.คุณหญิงทัดทรง ทั่วทิพย์ (ญ.) โองการ คัมภีรญาณนนท์ |
บุพการี |
|
สุรชัย คัมภีรญาณนนท์ (แต้จิ๋ว : สุ้นไซ้ แซ่ลิ้ม 林) หรือ วินเซนต์ เฟรเดอริค วราห์ (อังกฤษ : Vincent Frederic Varah) [1] อดีตนายกเทศมนตรีเมืองชลบุรี ผู้เป็นที่มาของชื่อ ถนนสุรชัย ในจังหวัดชลบุรี
ประวัติ[แก้]
สุรชัย เกิดเมื่อวันที่ 19 มีนาคม พ.ศ. 2436 ที่อำเภอบ้านบึง จังหวัดชลบุรี เป็นบุตรคนที่ 2 และเป็นบุตรชายคนโตของ กำนันฮวด (สกุลเดิม แซ่ลิ้ม 林) ตำบลมาบไผ่ อำเภอบ้านบึง จังหวัดชลบุรี เกิดกับภรรยาชื่อ ชม
กำนันฮวด (สกุลเดิม แซ่ลิ้ม 林) บิดาของสุรชัยเป็นคนจีนเชื้อสายแต้จิ๋วที่มาตั้งรกรากในประเทศไทย มีที่ดินนับหมื่นไร่ [2] มีโรงสี โรงหีบ และทำการค้าขายพืชผลการเกษตร ด้านครอบครัว กำนันฮวดมีภรรยาและบุตรหลายคน บุตรต่างมีสายสัมพันธ์และได้แตกขยายออกไปใช้หลายนามสกุล เช่น กาญจนานันท์ สิงโตทอง เนื่องจำนงค์ ฯลฯ กำนันฮวดเป็นผู้กว้างขวางมีเจ้านายและแขกผู้ใหญ่แวะเยี่ยมเยียนเสมอ มีความสนิทสนมกับเจ้าพระยาเทเวศร์วงศ์วิวัฒน์ (หม่อมราชวงศ์หลาน กุญชร) ซึ่งนำม้ามาฝากเลี้ยงที่ไร่ บุตรหลานเมื่อเข้ามาที่กรุงเทพฯ จะพำนักที่วังบ้านหม้อของเจ้าพระยาเทเวศร์วงศ์วิวัฒน์เสมอ กำนันฮวดเป็นผู้ทำนุบำรุงศาสนาพุทธ และเป็นศรัทธาหลักของพระวรคุณญาณมุณี (แก้ว) วัดเครือวัลย์ บางปลาสร้อย จังหวัดชลบุรี ปรากฏหลักฐานอยู่ที่ประตูฮวด - เหม ปากทางเข้าวัดเครือวัลย์ [3]
สุรชัย มีภริยา 3 คน มีบุตรธิดา รวม 10 คน ดังนี้
- ทรัพย์ ได้เป็นภริยาระหว่างพำนักอยู่วังบ้านหม้อของเจ้าพระยาเทเวศร์วงศ์วิวัฒน์ มีบุตร 1 คน คือ
- อุดม คัมภีรญาณนนท์ มีบุตรธิดา 10 คน ได้แก่ อำพันธ์ (ญ.) , อดุลย์ , พนอจิตร (ญ.) , พนิดา (ญ.) , พูนศรี (ญ.) , สมบัติ , พูนสุข (ญ.) , พรทิพย์ (ญ.) , พรเพ็ญ (ญ.) , พรยุพา (ญ.)
- เทียน (สกุลเดิม แซ่ตั้ง 陈) (แม่ใหญ่ เป็นภริยาเอก) เป็นผู้ให้การอุปถัมภ์ พระเทพรัตนดิลก (วิจิตร จิตตทันโต) เจ้าคณะจังหวัดนครราชสีมา (ธรรมยุต) และเจ้าอาวาสวัดศาลาลอย [4][5] มีบุตรธิดา 2 คน คือ
- สำรอง คัมภีรญาณนนท์ สมรสกับ ศิริพร เจริญผล (ญ.) [6] เป็นพี่สาวของ น.ท.ดร.สว่าง เจริญผล ร.น. อดีตอธิบดีกรมประมง [7] มีบุตรธิดา 2 คน ได้แก่ สุรพันธ์ , มัณฑนา พานิช (ญ.)
- พญ.สำเนียง เศรษฐจันทร (ญ.) อดีตผู้อำนวยการวิทยาลัยพยาบาลนครราชสีมา สมรสกับ นพ.น่วม เศรษฐจันทร อดีตรองปลัดกระทรวงสาธารณสุข และนายแพทย์พิเศษผู้อำนวยการโรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา [8][9][10] มีบุตรธิดา 3 คน ได้แก่ ร.ต.ท.กุลธร , นพ.ธานี , พล.ท.ดร.ธนา
- สมบูรณ์ (สกุลเดิม แซ่ลิ้ม 林) (แม่เล็ก เป็นภริยารอง) มีบุตรธิดา 7 คน คือ
- ชโย คัมภีรญาณนนท์ สมรสกับ กาญจนา โกศลวรรษ (ญ.) มีบุตรธิดา 2 คน ได้แก่ วรรษ , หฤษฎ์
- โฆษิต คัมภีรญาณนนท์ สมรสกับ ชื่นสุข เล็กคง (ญ.) มีบุตรธิดา 3 คน ได้แก่ ร.ท.เลิศพงศ์ , นลินรัตน์ (ญ.) , กิติฉันท์
- นิธิ์ศรี ญาดี (ญ.) สมรสกับ นพ.บุญเหลือ ญาดี อดีตประธานคณะกรรมการควบคุมและป้องกันการติดเชื้อในโรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา และรองผู้อำนวยการฝ่ายการแพทย์ โรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา [11] มีบุตรธิดา 1 คน ได้แก่ เบลล่า (ญ.)
- พล.อ.อ.ธีร์ศิลป์ คัมภีรญาณนนท์ อดีตรองผู้บัญชาการทหารสูงสุดและสมาชิกวุฒิสภา สมรสกับ สุธีรา ธรรมพิทักษ์ (ญ.) มีบุตรธิดา 3 คน ได้แก่ น.อ.(พิเศษ) คัมภีร์ , ศักย์ศรณ์ , ธริชยา (ญ.)
- ดร.นินนาท คัมภีรญาณนนท์ สมรสกับ รศ.ดร.มาลินี ปริพนธ์พจน์พิสุทธิ์ (ญ.) มีบุตรธิดา 2 คน ได้แก่ นพนท , อพชยา โกยศิริพงศ์ (ญ.)
- ภญ.ผศ.คุณหญิงทัดทรง ทั่วทิพย์ (ญ.) [12] สมรสกับ พล.อ.อ.สนั่น ทั่วทิพย์ อดีตผู้บัญชาการทหารอากาศและสมาชิกวุฒิสภา มีบุตรธิดา 3 คน ได้แก่ สินิทธ์ เริ่มมนตรี (ญ.) , นัทนีย์ (ญ.) , สิโนท
- โองการ คัมภีรญาณนนท์ สมรสกับ มณีรัตน์ เฉลิมสีมา (ญ.) มีบุตรธิดา 2 คน ได้แก่ โสมนันท์ วงสกด (ญ.) , กฤตนัย
สุรชัย ถึงแก่กรรมอย่างสงบ เมื่อวันที่ 8 กันยายน พ.ศ. 2533 สิริอายุ 97 ปี 5 เดือน 20 วัน อัฐิบรรจุอยู่ใน กุฎีคัมภีรญาณนนท์ วัดเขาบางทราย พระอารามหลวง อำเภอเมือง จังหวัดชลบุรี
การศึกษา[แก้]
- ปี พ.ศ. 2446 เมื่ออายุ 10 ปี บิดาได้ส่งให้ไปเรียนหนังสือกับพระวินัยธรรม (เภา โสภิโต) ที่วัดเขาบางทราย พระอารามหลวง และได้เข้าศึกษาต่อในโรงเรียนบรรพตวิทยาคม หรือ โรงเรียนวัดเขาบางทราย[13] จนสำเร็จชั้น ป.4 โดยสอบไล่ได้ที่วัดกำแพง สุรชัยได้เริ่มเรียนภาษาอังกฤษ ที่วัดกันมาตุยาราม กรุงเทพฯ ตามคำแนะนำของขุนบำราประบิน (เรียง) [14] ในปี พ.ศ. 2450
- ปี พ.ศ. 2451 บิดาได้ให้ไปอยู่กับพระยาเทเวศน์วรวงศ์วิวัฒน์ (ม.ล.วราห์) บุตรของเจ้าพระยาเทเวศร์วงศ์วิวัฒน์ ที่วังบ้านหม้อและได้เข้าเป็นนักเรียนประจำโรงเรียนอัสสัมชัญ บางรัก โดยมีเพื่อนสนิทคือ หลวงวัยวุฒิปรีชา (ม.ล.ไวยวัฒน์) บุตรอีกคนหนึ่งของเจ้าพระยาเทเวศร์วงศ์วิวัฒน์
- ปี พ.ศ. 2454 ได้เดินทางไปศึกษาต่อที่ประเทศสิงคโปร์ พร้อมกับ หลวงวัยวุฒิปรีชา (ม.ล.ไวยวัฒน์) และ หลวงสิทธิสุรชัย (เติม) [15] เดินทางโดยเรือกลไฟชื่อ นวนตุง ( Nuan Tung) ซึ่งกัปตันฮินจ์ ชาวเยอรมัน เพื่อนของพระยาเทเวศน์วรวงศ์วิวัฒน์ (ม.ล.วราห๋) เป็นผู้กำกับเรือ สุรชัยได้พำนักอยู่ที่บ้านพักเซนต์แอนดรู (St. Andrew’s Boarding House) ซึ่งเป็นบ้านพักของนักเรียนคริสต์นิกายโปรแตสแตนท์ จึงจำเป็นต้องมีชื่อทางคริสต์ศาสนา ขณะนั้นคนไทยยังไม่มีการใช้นามสกุล [16] จึงสมมติขึ้นโดยนำชื่อ “วราห์” ชื่อเดิมของพระยาเทเวศน์วรวงศ์วิวัฒน์ (ม.ล.วราห์) เป็นนามสกุล และมีชื่อทางคริสต์ศาสนา ว่า "Vincent Frederic Varah (วินเซนต์ เฟรเดอริก วราห์)" ในปีนั้น สุรชัยได้เข้าศึกษา ณ โรงเรียนอูทรัมโรด (Outram Road School) ซึ่งเป็นโรงเรียนรัฐบาล โดยเริ่มเรียนภาษาอังกฤษชั้น 3 ได้รับหนังสือ The Battles of the British Army เป็นรางวัลในการเรียนดี และในปี พ.ศ. 2455 ขึ้นเรียนชั้น 4 ได้รับหนังสือ The Three Admirals เป็นรางวัลในการเรียนดี
- ปี พ.ศ. 2456 ได้ศึกษาต่อที่โรงเรียนแรฟเฟิลส์ (Raffles Institute) ซึ่งเป็นสถานศึกษาขั้นสูงของรัฐบาล โดยเข้าเรียนวิชาสามัญชั้น 5 เมื่อขึ้นเรียนชั้น 6 สามารถสอบเทอมต้นและได้ผ่านขึ้นเรียนชั้น 7 ทันที สุรชัยจบได้ Government Standard VII Certificate ในปี พ.ศ. 2457
- ปี พ.ศ. 2458 ได้ศึกษาต่อในโรงเรียนแรฟเฟิลส์ ในสาขา Commerce ขณะนั้นเกิดสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง และได้ส่งผลคุกคามมาถึงประเทศสิงคโปร์ สุรชัยได้ถูกสั่งให้อพยพไปอยู่ในเรือรบใหญ่ ลอยลำอยู่กลางทะเล พร้อมเด็กนักเรียนและคนชรา ด้วยอาหารและน้ำดื่มที่มีจำกัด สุรชัย และ หลวงวัยวุฒิปรีชา (ม.ล.ไวยวัฒน์) พร้อมเพื่อน ได้ขึ้นจากเรือรบใหญ่ มาพักอาศัยอยู่ที่บ้านนายวัฒนา สิงหโกวินท์ เมื่อกลับมาที่บ้านพักเซนต์แอนดรู (St. Andrew’s Boarding House) ได้ทราบข่าวว่ายายป่วยหนัก จึงได้ขอลากลับประเทศไทย
บทบาททางสังคม[แก้]
ด้านการศาสนา[แก้]
ปี พ.ศ. 2458 สุรชัยได้อุปสมบท ณ วัดเขาบางทราย ตามคำร้องขอของผู้เป็นยายและพระวินัยธรรม (เภา โสภิโต) วัดเขาบางทราย ด้วยเกรงจะไปนับถือศาสนาอื่น โดยมีสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (เจริญ ญาณวโร) ขณะยังเป็นพระธรรมไตรโลกาจารย์ เป็นพระอุปัชฌาย์ ถือเป็นสัทธิวิหาริก ลำดับที่ 390 โดยได้รับฉายาว่า “คมฺภีราโณ”
สุรชัยได้อุปสมบท เป็นระยะเวลา 5 เดือน ระหว่างบวชได้พยายามศึกษาพระพุทธศาสนา จนมีความรู้สอบได้ในวินัยบัญญัติธรรมวิภาค และพุทธานุพุทธประวัติ เมื่อมีเวลาว่าง พระเขมทัสสีชลธีสมานคุณ (เอี่ยม เมฆิโย) เจ้าอาวาสวัดเขาบางทราย[17][18] ได้ขอให้ช่วยสอนภาษาอังกฤษแก่นักเรียนวัดเขาบางทราย ในจำนวนศิษย์ที่สอน มีนายแพทย์ สง่า วิชพันธ์ อดีตผู้อำนวยการโรงพยาบาลชลบุรี [19] รวมอยู่ด้วย
ด้านธุรกิจ[แก้]
ปี พ.ศ. 2461 สุรชัยได้สมรสกับเทียน ภริยาคนที่ 2 ที่บ้านตลาดพนัสนิคม อำเภอพนัสนิคม จังหวัดชลบุรี และได้เริ่มกิจการค้าขายที่ท่าแม่น้ำบางปะกง ตลาดท่าตะกูด อำเภอพานทอง จังหวัดชลบุรี เป็นเวลา 3 เดือน ก่อนย้ายมาค้าขายที่ตลาดบางปลาสร้อย อำเภอเมือง จังหวัดชลบุรี โดยใช้ชื่อร้าน “คัมภีรญาณ” ตามฉายาที่ได้รับจากสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (เจริญ ญาณวโร) ต่อมาเมื่อธุรกิจเติบโตขึ้น จึงได้ขยายกิจการโดยค้าขายทุกอย่างตั้งแต่อาวุธปืน เครื่องชั่งตวง จักรเย็บผ้า น้ำตาล (รับมาจากโรงหีบของกำนันฮวด) และเครื่องสังฆทาน
ด้านการเมือง[แก้]
สุรชัยได้เริ่มเข้าสู่การเมืองของเมืองชลบุรี ตั้งแต่ ปี พ.ศ. 2473 ซึ่งเป็นช่วงเปลี่ยนผ่านการเปลี่ยนแปลงรูปแบบการปกครองของเมืองชลบุรี จากช่วงที่ 2 (หลัง พ.ศ. 2440 - 2475) มาเป็นช่วงที่ 3 (ตั้งแต่ พ.ศ. 2475 - ปัจจุบัน) ดังนี้ [20][21]
- ปี พ.ศ. 2473 เมื่ออายุ 37 ปี ได้รับการแต่งตั้งจากพระยาพิพิธอำพลวิมลราชภักดี เจ้าเมืองชลบุรี ให้เป็นผู้ใหญ่บ้าน ตำบลบางปลาสร้อย อำเภอเมือง จังหวัดชลบุรี จนถึงปี พ.ศ. 2478 ตำแหน่งผู้ใหญ่บ้านได้ถูกยุบเลิก เพราะมีการยกฐานะตำบลบางปลาสร้อย ตำบลมะขามหย่ง และตำบลบ้านโขกขึ้นเป็นเทศบาลเมืองชลบุรี
- ปี พ.ศ. 2478 ได้รับการแต่งตั้งเป็นเทศมนตรีเมืองชลบุรี ในสมัยเริ่มแรก โดยมีหลวงธำรงธุระราษฎร์ เป็นนายกเทศมนตรี จนถึงปี พ.ศ. 2479 ได้มีการเปลี่ยนรูปแบบจากการแต่งตั้งเป็นการเลือกตั้ง
- ปี พ.ศ. 2479 ได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาเทศบาลเมืองชลบุรี และได้รับเลือกจากสภาเทศบาลให้เป็นเทศมนตรีอีกครั้ง โดยมีหลวงบำรุงราชนิยม (สูญ สิงคาลวณิช) เป็นนายกเทศมนตรี โดยสุรชัยได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาเทศบาลเมืองชลบุรีตั้งแต่สมัยเริ่มแรกและสมัยต่อมาอีกหลายสมัย จนกระทั่งปี พ.ศ. 2494 เมื่ออายุ 58 ปี จึงได้รับเลือกให้เป็นนายกเทศมนตรีเมืองชลบุรี
อ้างอิง[แก้]
- ↑ สุรชยานุสรณ์ , พ.ย.2534, พิมพ์เนื่องในโอกาสบำเพ็ญกุศลสตมวารอุทิศ
- ↑ ค่ายนรกประเทศไทย หลงจู๊ ในพื้นที่ชลบุรี คือชาวจีนที่อพยพมาจากประเทศจีน ทำมาหากินจนเป็นผู้ที่มีที่ดินเยอะ มีอิทธิพล และค่อนข้างจะมีฐานะ บางหลงจู๊มีที่ดินหลักร้อยไร่ บางหลงจู๊มีที่ดินหลักพันถึงหมื่นไร่ ตามอิทธิพลที่มี
- ↑ ประตูฮวด - เหม คือกำนันฮวด และภริยาชื่อเหม
- ↑ "ประวัติพระเทพรัตนดิลก เจ้าคณะจังหวัดนครราชสีมา". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-05-31. สืบค้นเมื่อ 2020-04-15.
- ↑ พระเทพรัตนดิลก (วิจิตร จิตตทันโต ป.ธ.5)
- ↑ รายนามผู้บริจาคก่อสร้างตึก สก. รายละหกแสนบาท ลำดับที่ 127
- ↑ คุณแหน : 21 พฤศจิกายน 2558
- ↑ โครงสร้างและการดำเนินงานขององค์การเภสัชกรรม
- ↑ ทำเนียบผู้อำนวยการโรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา
- ↑ โคราชในอดีต
- ↑ รายงานการวิจัยปอดอักเสบในผู้ป่วยใช้เครื่องช่วยหายใจในโรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา[ลิงก์เสีย]
- ↑ พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า
- ↑ ประวัติโรงเรียนชลบุรี “สุขบท”
- ↑ ขณะนั้นเป็น พระสมุห์ เรียง ได้รับพระราชทานนามสกุล วัจนะประพันธ์ จากพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว
- ↑ [1] รองหุ้มแพร หลวงสิทธิสุรชัย (เติม) นายเวร กรมบัญชาการพระอัศวราช ได้รับพระราชทานนามสกุล วรคุตตานนท์ จากพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว
- ↑ เดิมทีคนไทยไม่ได้มีนามสกุลจะมีเพียงชื่อเรียกเท่านั้น ในสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงโปรดให้มีการตั้งนามสกุลเหมือนกับประเทศอื่นๆ โดยให้ตราพระราชบัญญัติขนานนามสกุล เมื่อวันที่ 22 มีนาคม พ.ศ. 2455 มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2456
- ↑ พระเขมทัสสี (เอี่ยม เมฆิโย)
- ↑ พระเขมทัสสีชลธีสมานคุณ (เอี่ยม เมฆิโย) หลวงปู่เอี่ยม วัดเขาบางทราย ชลบุรี
- ↑ "ประวัติโรงพยาบาลชลบุรี". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-02-03. สืบค้นเมื่อ 2020-04-24.
- ↑ "ประวัติจังหวัดชลบุรีและเหตุการณ์สำคัญ". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-11-02. สืบค้นเมื่อ 2020-04-24.
- ↑ ในยุครัตนโกสินทร์ เมืองชลบุรีมีการเปลี่ยนแปลงรูปแบบการปกครอง 3 ช่วง ช่วงแรก (ก่อน พ.ศ. 2440 หรือ ร.ศ.115) ช่วงนี้จังหวัดชลบุรียังไม่เกิด แต่ได้มีเมืองต่างๆ ในพื้นที่เกิดขึ้นแล้ว คือ เมืองพนัสนิคม เมืองบางปลาสร้อย และเมืองบางละมุง , ช่วงสอง (หลัง พ.ศ. 2440 - 2475) ขณะนั้นคำว่าจังหวัดมีใช้แห่งเดียวในราชอาณาจักร คือ จังหวัดกรุงเทพมหานคร เข้าใจว่าคำว่า เมืองชลบุรีมีชื่อเรียกในช่วงนี้ โดยมีอำเภอเมืองบางปลาสร้อย (ที่ตั้งตัวเมือง) อำเภอพานทอง อำเภอบางละมุง อำเภอพนัสนิคม อยู่ในเขตการปกครองในระยะต้น และในระยะหลังปี 2460 มีอำเภอศรีราชา ฯลฯ เกิดขึ้นรวมอยู่ในเขตเมืองชลบุรีตามมา , ช่วงสาม (ตั้งแต่ พ.ศ. 2475 - ปัจจุบัน) มีการเปลี่ยนแปลงในรูปการปกครองประเทศครั้งใหญ่ โดยพระราชบัญญัติระเบียบราชการบริหารแห่งราชอาณาจักรสยาม พ.ศ. 2476 ได้ยกเลิกเขตการปกครองแบบเมืองทั่วราชอาณาจักร แล้วตั้งขึ้นเป็นจังหวัดแทน มีข้าหลวงประจำจังหวัด เป็นผู้ปกครองบังคับบัญชา เมืองชลบุรีจึงเป็น จังหวัดชลบุรี (แต่เปลี่ยนข้าหลวงประจำจังหวัดเป็นผู้ว่าราชการจังหวัด)