ข้ามไปเนื้อหา

ถ้าคุณแน่? อย่าแพ้ เด็ก (ประถม)!

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

ถ้าคุณแน่? อย่าแพ้ เด็ก (ประถม)!

โลโก้รายการ
ออกอากาศ 1 ตุลาคม 2550 - 29 เมษายน 2553
สถานีโทรทัศน์ ไทยทีวีสีช่อง 3
ผู้ดำเนินรายการ กนิษฐ์ สารสิน
(1 ตุลาคม 2550 - 29 เมษายน 2553)
ผลิตโดย บริษัท บีอีซี เทโร เอ็นเตอร์เทนเมนท์ จำกัด (มหาชน)

ถ้าคุณแน่? อย่าแพ้ เด็ก (ประถม)! (หรือชื่อเดิม : ถ้าคุณแน่? อย่าแพ้ ป.4!) เป็นรายการโทรทัศน์ประเภทเกมโชว์ ออกอากาศทุกวันจันทร์-วันศุกร์ เวลา 19.15 น. - 19.45 น. (ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2552 เลื่อนเวลาออกอากาศเป็น 18.45 น. - 19.15 น. และตั้งแต่วันที่ 5 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552 รายการเปลี่ยนเวลาออกอากาศเป็น วันพฤหัสบดี-วันศุกร์ เวลา 18.00 น. - 18.30 น. เนื่องจาก มีรายการใหม่มาคือรายการ 50:50 ออกอากาศทุก วันจันทร์-วันพุธ เวลา 18.00 น. - 18.30 น. ผลิตโดยบริษัทเดียวกัน) ทางสถานีโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 3 ดำเนินรายการโดย ครูเป๊ะ-กนิษฐ์ สารสิน รายการนี้ บริษัท บีอีซี เทโร เอ็นเตอร์เทนเมนท์ จำกัด (มหาชน) ผลิตเป็นภาษาไทย และออกอากาศในประเทศไทย ครั้งแรก เมื่อวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2550 ตามรูปแบบของรายการเกมโชว์ชื่อ “Are You Smarter Than a 5th Grader?” (ไทย: คุณฉลาดกว่าเด็กเกรด 5 จริงหรือ?) ที่ออกอากาศครั้งแรกเมื่อวันที่ 27 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2550 โดยได้รับลิขสิทธิ์จากสถานีโทรทัศน์ฟ็อกซ์ สหรัฐอเมริกาและ Mark burnett production (ปัจจุบันเป็น United Artists Media Group) โดยได้รับลิขสิทธิ์ในการผลิตรายการนี้ ในอีกหลายภาษา และหลายประเทศทั่วโลก และวันที่ 13 ตุลาคม พ.ศ. 2551 ได้เปลี่ยนชื่อรายการเป็น ถ้าคุณแน่? อย่าแพ้ เด็ก (ประถม) ! ก่อนที่จะสิ้นสุดการออกอากาศในวันที่ 29 เมษายน พ.ศ. 2553 รวมทั้งหมด 563 ตอน โดยดาราที่มาร่วมเล่นเกมส์คนแรกคือ กรรชัย กำเนิดพลอย และปิดท้ายด้วย หนูอิมอิม ก้าวมหัศาจรรย์ อย่างไรก็ตามได้นำเทปที่ฉายแล้วมาออกอากาศซ้ำทางช่อง 3 แฟมิลี่(ดิจิตอลทีวีช่อง 13) ในวันจันทร์ - ศุกร์ 19.00 - 19.30 น. (ปัจจุบันได้ยุติออกอากาศรายการนี้แล้ว)

วันและเวลาออกอากาศ[แก้]

  • วันจันทร์ - ศุกร์ เวลา 19.15 น. - 19.45 น. (1 ตุลาคม 2550 - 31 ธันวาคม 2551)
  • วันจันทร์ - ศุกร์ เวลา 18.45 น. - 19.15 น. (1 มกราคม 2552 - 30 ตุลาคม 2552)
  • วันพฤหัสบดี - ศุกร์ เวลา 18.00 น. - 18.30 น. (5 พฤศจิกายน 2552 - 16 เมษายน 2553)
  • วันพฤหัสบดี เวลา 18.00 น. - 18.30 น. (22 เมษายน 2553 - 29 เมษายน 2553)
  • เทปสุดท้ายวันที่ 29 เมษายน 2553

รูปแบบของเกม[แก้]

ผู้เข้าแข่งขันทุกคน จะเริ่มต้นการแข่งขันในรอบแรก และรอบสุดท้ายตามลำดับ โดยอิงรูปแบบกติกาจากเวอร์ชั่นสหรัฐอเมริกา (ในช่วงที่ออกอากาศทางสถานีโทรทัศน์ฟ็อกซ์)

การแข่งขันรอบแรก[แก้]

การแข่งขันเริ่มต้นด้วยพิธีกร ในบทบาทคุณครู ให้สิทธิผู้เข้าแข่งขันในการเลือกเพื่อนร่วมชั้นเรียนขึ้นมาทีละคน (ซึ่งทางรายการได้คัดเลือกจากนักเรียนในระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 จากทั่วประเทศที่สมัครเข้าร่วมรายการ) มีจำนวน 5 คน ต่อ 1 รอบการแข่งขัน เพื่อช่วยเหลือผู้เข้าแข่งขันครั้งละ 2 ข้อ หรือจนกว่าผู้เข้าแข่งขันไม่มีความช่วยเหลือให้ใช้อีกแล้ว

เมื่อเลือกเพื่อนร่วมชั้นแล้ว ผู้เข้าแข่งขันจะมีอิสระในการเลือกคำถาม จากชุดคำถามจำนวน 10 ข้อ ที่จำแนกตามหมวดวิชาต่างๆ โดยอ้างอิงคำตอบจากหนังสือเรียน ซึ่งมีระดับความยากที่เป็นไปตามระดับชั้น ตั้งแต่ ป.1 ถึง ป.4 (ป.1 ถึง ป.3 ระดับชั้นละ 2 ข้อ และ ป.4 จำนวน 4 ข้อ) ตามที่ทางรายการจัดมาให้ โดยรูปแบบของคำถาม มีทั้งปรนัย อัตนัย และถามว่า เนื้อหาตามโจทย์ที่ให้มา ถูกหรือผิด ซึ่งในคำถามแต่ละข้อ จะมีมูลค่าของเงินรางวัลสูงขึ้นตามลำดับ ตามตารางด้านล่าง

โดยหลังจากตอบคำถามถูกต้องครบ 5 ข้อ จะได้รับเงินรางวัลการันตี 10,000 บาท และหากตอบคำถามถูกต้องครบ 10 ข้อ จะได้รับเงินรางวัล 50,000 บาท พร้อมได้สิทธิตอบคำถามในรอบสุดท้าย มูลค่า 500,000 บาท โดยผู้ที่ทำแจ๊คพอตแตกเป็นคนแรกของรายการนั่นก็คือ เกตุเสพย์สวัสดิ์ ปาลกะวงศ์ ณ อยุธยา

อย่างไรก็ตามขณะเล่น ผู้เข้าแข่งขันสามารถที่จะหยุดเมื่อไหร่ก็ได้เท่าที่อยากจะหยุด (Drop Out) แล้วรับเงินรางวัลที่สะสมอยู่ในตอนนั้นกลับบ้านไปเลย

แต่ถ้าหากผู้เข้าแข่งขันสอบตกที่คำถามข้อใด-ไม่ว่าด้วยเหตุใดก็ตาม เช่น

  • ผู้เข้าแข่งขันตอบผิดสะสมครบ 2 ครั้งในรอบการแข่งขันนั้น (โดยที่ครั้งที่ 1 เป็นการตอบผิดด้วยตัวผู้เข้าแข่งขันเองแต่ได้รับการช่วยเหลือสำเร็จในความช่วยเหลือ เพื่อนช่วย ไปก่อนหน้านั้นแล้ว (หากทั้งผู้เข้าแข่งขันและผู้ช่วยตอบคำถามผิดด้วยกันเอง ให้ถือว่าตอบผิดเบิ้ล 2 ครั้งในคำถามข้อนั้นๆ))
  • ตอบผิดจากการใช้ความช่วยเหลือ ถามเพื่อน (กรณีเชื่อคำตอบที่ผิดของผู้ช่วย หรือทั้ง 2 คำตอบของทั้งผู้เข้าแข่งขันเอง (ไม่เชื่อคำตอบผู้ช่วย) และผู้ช่วยนั้นผิดทั้งคู่) หรือ เชื่อเพื่อน

เกมจะจบลงโดยทันที และผู้เข้าแข่งขันจะได้รับเงินรางวัลที่การันตีไว้ข้างต้น (หากผู้เข้าแข่งขันสอบตกในคำถามข้อที่ 1-5 เงินรางวัลที่สะสมอยู่ก็จะถูกยกเลิกทั้งหมดและกลับบ้านมือเปล่าทันที)

คำถามที่ 1 2 3 4 5 6 7 8 9 10 Jackpot
มูลค่า (บาท) 1,000 3,000 5,000 7,000 10,000 15,000 20,000 30,000 40,000 50,000 500,000

ใน ถ้าคุณแน่? อย่าแพ้ เด็ก (ประถม) ! รูปแบบการเล่นเปลี่ยนแปลงดังนี้ ผู้เข้าแข่งขันจะมีอิสระในการเลือกคำถาม จากชุดคำถามจำนวน 12 ข้อ ที่จำแนกตามหมวดวิชาต่างๆ โดยอ้างอิงคำตอบจากหนังสือเรียน ซึ่งมีระดับความยากที่เป็นไปตามระดับชั้น ตั้งแต่ ป.1 ถึง ป.6 (ป.1 ถึง ป.6 ระดับชั้นละ 2 ข้อ แต่ในบางคำถามก็ไม่ได้ระบุระดับชั้น เช่น ความรู้ทั่วไป สารานุกรมไทยฯ) ตามที่ทางรายการจัดมาให้ โดยรูปแบบของคำถาม มีทั้งปรนัย อัตนัย แบบคำนวณ และถามว่า เนื้อหาตามโจทย์ที่ให้มา ถูกหรือผิด ซึ่งในคำถามแต่ละข้อ จะมีมูลค่าของเงินรางวัลสูงขึ้นตามลำดับ ตามตารางด้านล่าง จากนั้น ผู้เข้าแข่งขัน จะทำการสุ่ม เพื่อนร่วมชั้นเรียน ซึ่งทางรายการได้คัดเลือกจากนักเรียนในระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ถึง 6 จากทั่วประเทศ ที่สมัครเข้าร่วมรายการ มีจำนวน 6 คน ต่อ 1 รอบการแข่งขัน ซึ่งมีตั้งแต่ นักเรียนในระดับชั้น ประถมศึกษาปีที่ 1 ถึง 6 ชั้นละ 1 คน เพื่อช่วยเหลือผู้เข้าแข่งขัน แต่หลังจากครูอ่านคำถามจบ จะทำการกดปุ่มสุ่มเลือกเพื่อนร่วมชั้นเรียนใหม่ทุกครั้ง ซึ่งอาจจะได้ เพื่อนร่วมชั้นเรียน คนเก่า หรือ ใหม่ ก็ได้

อย่างไรก็ตามผู้เข้าแข่งขันสามารถ Drop Out เมื่อไหร่ก็ได้ และรับเงินรางวัลที่สะสมอยู่ในตอนนั้นกลับบ้านไป แต่ถ้าเมื่อไหร่ก็ตามที่ผู้เข้าแข่งขันสอบซ่อมไม่ผ่านในคำถามข้อนั้น หรือตอบคำถามผิดอีกครั้งหลังจากที่ความช่วยเหลือ สอบซ่อม ถูกใช้ไปแล้ว จะถือว่า สอบตก เกมจะจบลงโดยทันทีและได้รับเงินรางวัลที่การันตีไว้ในข้อที่ 6 (หากสอบตกในคำถามข้อที่ 1-6 เงินรางวัลที่ผู้เข้าแข่งขันสะสมอยู่ก็จะถูกยกเลิกทั้งหมดและกลับบ้านมือเปล่าทันที)

คำถามที่ 1 2 3 4 5 6 7 8 9 10 11 12 Jackpot
มูลค่า (บาท) 1,000 3,000 5,000 7,000 10,000 15,000 20,000 25,000 30,000 35,000 40,000 50,000 1,000,000

ใน ถ้าคุณแน่? อย่าแพ้ เด็ก (ประถม) ! (ซีซั่น 2) กติกาจะคล้ายคลึงกับถ้าคุณแน่? อย่าแพ้ ป.4! โดยมูลค่าเงินรางวัลของคำถาม 10 ข้อแรก จะเหมือนกัน (ดูได้จากตารางเงินรางวัลของถ้าคุณแน่? อย่าแพ้ ป.4! เฉพาะ 10 ข้อแรก) และชุดคำถามเป็นแบบเดียวกัน (คือ ป.1 ถึง ป.3 ระดับชั้นละ 2 ข้อ และ ป.4 จำนวน 4 ข้อ) แต่จะยกเว้นในคำถามแจ๊คพอตที่ยังคงมีมูลค่าอยู่ที่ 1,000,000 บาท และจะต้องตอบคำถามถูกให้ได้อย่างน้อย 6 ข้อ ถึงจะได้เงินรางวัลการันตีขั้นต่ำในกรณีที่ผู้เข้าแข่งขันสอบตก (นั่นคือ 15,000 บาท) และเด็กนักเรียนจะมี 5 คน แต่ระดับชั้นของแต่ละคนจะแตกต่างกัน โดยจะมี ป.1-3 ชั้นละ 1 คน และ ป.4 มี 2 คน และรูปแบบการเล่นจะต่างกัน คือถ้าเลือกนักเรียนในระดับชั้นใด จะต้องเล่นกับคำถามในระดับชั้นนั้น (เช่น เลือกนักเรียน ป.2 จะต้องเล่นกับคำถามของ ป.2) และเมื่อจะเข้าสู่ข้อต่อไป ผู้เข้าแข่งขันสามารถเปลี่ยนเพื่อนได้ หรือจะใช้เพื่อนคนเดิมก็ได้ แต่นักเรียน 1 คน สามารถช่วยเหลือได้ 2 ข้อเท่านั้น และความช่วยเหลือในซีซั่นนี้จะมี 4 ความช่วยเหลือ ซึ่งมาจากซีซั่นที่แล้ว แต่ตัดความช่วยเหลือ "ดูโพล" ออกไป

ใน ถ้าคุณแน่? อย่าแพ้ เด็ก (ประถม) ! (ซีซั่นใหม่) ได้ปรับรูปแบบการเล่นให้เป็นการช่วยเหลือเด็กนักเรียนที่เรียนดีแต่ขาดแคลนทุนทรัพย์ โดยผู้เข้าแข่งขันแต่ละคนก็จะต้องคัดเลือกเด็กนักเรียนที่มีคุณสมบัติดังกล่าวมา 1 คน ส่วนกติกาการแข่งขันนั้นจะเหมือนกันซีซั่นที่ 2 ทุกประการ และเมื่อการแข่งขันจบลง ผู้เข้าแข่งขันจะต้องตกลงกันว่าจะแบ่งเงินรางวัลที่ได้มาให้กับเด็กนักเรียนคนนั้นเท่าไร

การแข่งขันรอบสุดท้าย[แก้]

พิธีกรจะแจ้งหมวดวิชา และระดับชั้นของคำถามรอบสุดท้าย ให้ผู้เข้าแข่งขันเลือกที่จะ ตอบคำถาม หรือ ขอหยุด หากเลือกจะตอบคำถาม ก็จะถูกบังคับให้ตอบคำถามทันที ทั้งนี้ ผู้เข้าแข่งขันต้องตอบคำถามรอบสุดท้ายด้วยตนเอง โดยไม่มีความช่วยเหลือจากเพื่อนร่วมชั้นเรียนทั้ง 5 คนอีก หากตอบถูกจะได้รับเงินรางวัลแจ็คพอต 500,000 บาท แต่หากขอหยุด (Drop Out) จะได้รับเงินรางวัล 50,000 บาท ภายหลังได้กำหนดกติกาเพิ่มเติมคือ ในคำถามรอบสุดท้าย จะเป็นคำถามแบบอัตนัย ซึ่งถ้าตอบถูกจะได้เงินรางวัลสูงสุด 500,000 บาท แต่ถ้าผู้เข้าแข่งขันไม่มั่นใจ สามารถขอดูตัวเลือกได้ แต่เงินรางวัลแจ๊คพอตก็จะลดลงเหลือ 100,000 บาท ถ้าตอบถูก และกติกานี้ยังได้ใช้ต่อในถ้าคุณแน่? อย่าแพ้ เด็ก (ประถม) ! เพียงแต่ว่าถ้าตอบถูกโดยไม่ขอดูตัวเลือกจะได้เงินรางวัลแจ็คพอต 1,000,000 บาท แต่ถ้าผู้เข้าแข่งขันตอบผิด (ไม่ว่าจะขอดูตัวเลือกคำตอบหรือไม่ก็ตาม ก็จะได้รับเงินรางวัลที่การันตีไว้ในการแข่งขันรอบแรกกลับบ้านไป)

ในกรณีที่ผู้เข้าแข่งขันเลือกที่จะ ขอหยุด หรือ สอบตก ผู้เข้าแข่งขันต้องประกาศต่อหน้ากล้องว่า "พี่มันแย่ พี่แพ้ ป.4" แต่หากขอหยุด หรือสอบตกในคำถามแจ็คพอต คำประกาศหน้ากล้องของผู้เข้าแข่งขัน จะเปลี่ยนไปเป็น "พี่มันแน่ ถึงพี่จะแพ้ ป.4" (ใน ถ้าคุณแน่? อย่าแพ้ เด็ก (ประถม) ! กรณีที่ผู้เข้าแข่งขันเลือกที่จะ ขอหยุด หรือ สอบตก ผู้เข้าแข่งขันต้องประกาศต่อหน้ากล้องว่า "พี่มันแย่ พี่แพ้ เด็กประถม" พร้อมกับลงโทษให้ผู้เข้าแข่งขันคาบไม้บรรทัดที่เขียนว่า "พี่มันแย่ พี่แพ้ เด็กประถม" เอาไว้แล้วถ่ายรูปลงห้องเรียน ซึ่งภายหลังไม่มีการลงโทษลักษณะนี้อีกต่อไป)

ความช่วยเหลือ[แก้]

ใน "ถ้าคุณแน่? อย่าแพ้ ป.4!" ผู้เข้าแข่งขันมีสิทธิใช้ความช่วยเหลือ 3 รูปแบบ โดยสามารถใช้ได้เพียงรูปแบบละ 1 ครั้ง และสามารถใช้ได้ในการแข่งขันรอบแรกเท่านั้น ไม่สามารถใช้กับคำถามในรอบสุดท้ายได้ ซึ่งความช่วยเหลือดังกล่าว ประกอบไปด้วย

  • ถามเพื่อน (Peek) - (อีกชื่อหนึ่งความช่วยเหลือนี้คือ แอบดูคำตอบเพื่อน)ผู้เข้าแข่งขันจะได้สิทธิในการดูคำตอบของเพื่อนร่วมชั้นเรียนที่เลือกขึ้นมา เฉพาะในข้อนั้นได้ ทั้งนี้ ผู้เข้าแข่งขันมีสิทธิเลือกที่จะเชื่อในคำตอบของเพื่อนร่วมชั้นเรียนหรือไม่ก็ได้
  • เชื่อเพื่อน (Copy) - ผู้เข้าแข่งขันจะต้องใช้คำตอบของเพื่อนร่วมชั้นเรียนที่เลือกขึ้นมา (กล่าวคือ ผู้เข้าแข่งขันคัดลอกคำตอบของผู้ช่วยที่ตอบไว้) ทั้งนี้ ผู้เข้าแข่งขันจะไม่มีสิทธิรับรู้คำตอบของเพื่อนชั้นเรียน จนกว่าจะมีการเฉลยคำตอบ และคำตอบที่ผู้ช่วยตอบต้องเป็นที่ครูเฉลยเท่านั้น จึงจะได้เข้าไปเล่นคำถามข้อต่อไป หากผู้ช่วยตอบผิดจะถือว่าผู้เข้าแข่งขันตอบผิดไปด้วยและจะถือว่า สอบตก
  • เพื่อนช่วย (Save) - ในกรณีที่ผู้เข้าแข่งขันตอบคำถามผิดเป็นครั้งแรก แต่ขณะที่เพื่อนร่วมชั้นเรียนตอบถูก จะถือเป็นการใช้ความช่วยเหลือนี้โดยอัตโนมัติทันที และให้ถือว่าผู้เข้าแข่งขันตอบถูกในข้อนั้นไปโดยปริยาย

หลังจากเปลี่ยนรูปแบบเป็น ถ้าคุณแน่? อย่าแพ้เด็ก (ประถม) ! ได้มีการเพิ่มความช่วยเหลืออีก 2 รูปแบบ คือ

  • ดูโพล - คือการดูผลคะแนนของคำตอบที่คิดว่าน่าจะถูกต้องจากผู้ชมในห้องส่ง ในกรณีที่เป็นคำถามปรนัยแบบ 6 ตัวเลือก ซึ่งมีเพียง 2 คำถามเท่านั้น (ในซีซั่นหลังสุดได้ยกเลิกความช่วยเหลือนี้ไป)
  • สอบซ่อม - คือการให้ผู้เข้าแข่งขันตอบใหม่ในกรณีที่ผู้เข้าแข่งขันตอบคำถามผิดโดยที่ได้ใช้ความช่วยเหลือ "เพื่อนช่วย" ไปแล้ว หรือในกรณีที่ใช้ "เพื่อนช่วย" แต่ไม่สามารถช่วยเหลือได้ ความช่วยเหลือนี้จะถูกใช้โดยอัตโนมัติ แต่จะหมดสิทธิ์ในการเล่นคำถามรอบแจ๊คพอตทันที ไม่ว่าผลที่ได้จะเป็นอย่างไร โดยหากความช่วยเหลือนี้ถูกใช้แล้วสอบซ่อมสำเร็จ เงินรางวัลสูงสุดที่จะได้รับก็คือ 50,000 บาท แต่ถ้าสอบซ่อมไม่สำเร็จ (ตอบผิดอีกครั้ง) ก็จะสอบตกไปโดยทันที

โดยเมื่อได้ใช้ความช่วยเหลือข้างต้นหมดไปแล้ว (ยกเว้น ดูโพล และ สอบซ่อม) ผู้เข้าแข่งขันจะไม่สามารถขอรับความช่วยเหลือจากเพื่อนร่วมชั้นเรียนได้อีกต่อไป แต่ทั้ง 5 คน (หรือ 6 คน) จะยังคงตอบคำถามอยู่ที่โต๊ะประจำตัวของพวกเขาต่อไป ผู้เข้าแข่งขันจะต้องตอบคำถามเพียงคนเดียว โดยจะมีสิทธิ์ที่จะ Drop Out หรือตอบคำถามข้อนั้นให้ถูกไปเลยเพื่อสะสมเงินรางวัลตามปกติ

รายชื่อผู้เข้าแข่งขันที่ตอบคำถามถึงรอบสุดท้าย[แก้]

ผู้ตอบคำถามถูกต้อง[แก้]

การแข่งขันรอบปกติ[แก้]

ถ้าคุณแน่? อย่าแพ้ ป.4![แก้]
ถ้าคุณแน่? อย่าแพ้ เด็ก (ประถม) ![แก้]

การแข่งขันรอบการกุศล[แก้]

เงินรางวัล 100,000 บาท[แก้]
เงินรางวัล 500,000 บาท[แก้]

ผู้ตอบคำถามผิด[แก้]

การแข่งขันรอบปกติ[แก้]

ถ้าคุณแน่? อย่าแพ้ ป.4 ![แก้]
ถ้าคุณแน่? อย่าแพ้เด็ก (ประถม) ![แก้]

การแข่งขันรอบล้างตา[แก้]

รางวัลที่ได้รับ[แก้]

ดูเพิ่ม[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]