ถ้าคุณแน่? อย่าแพ้ เด็ก (ประถม)!

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

ถ้าคุณแน่? อย่าแพ้ เด็ก (ประถม)!

โลโก้รายการ
ออกอากาศ 1 ตุลาคม 2550 - 29 เมษายน 2553
สถานีโทรทัศน์ ไทยทีวีสีช่อง 3
ผู้ดำเนินรายการ กนิษฐ์ สารสิน
(1 ตุลาคม 2550 - 29 เมษายน 2553)
ผลิตโดย บริษัท บีอีซี เทโร เอ็นเตอร์เทนเมนท์ จำกัด (มหาชน)

ถ้าคุณแน่? อย่าแพ้ เด็ก (ประถม)! (หรือชื่อเดิม : ถ้าคุณแน่? อย่าแพ้ ป.4!) เป็นรายการโทรทัศน์ประเภทเกมโชว์ ออกอากาศทุกวันจันทร์-วันศุกร์ เวลา 19.15 น. - 19.45 น. (ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2552 เลื่อนเวลาออกอากาศเป็น 18.45 น. - 19.15 น. และตั้งแต่วันที่ 5 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552 รายการเปลี่ยนเวลาออกอากาศเป็น วันพฤหัสบดี-วันศุกร์ เวลา 18.00 น. - 18.30 น. เนื่องจาก มีรายการใหม่มาคือรายการ 50:50 ออกอากาศทุก วันจันทร์-วันพุธ เวลา 18.00 น. - 18.30 น. ผลิตโดยบริษัทเดียวกัน) ทางสถานีโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 3 ดำเนินรายการโดย ครูเป๊ะ-กนิษฐ์ สารสิน รายการนี้ บริษัท บีอีซี เทโร เอ็นเตอร์เทนเมนท์ จำกัด (มหาชน) ผลิตเป็นภาษาไทย และออกอากาศในประเทศไทย ครั้งแรก เมื่อวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2550 ตามรูปแบบของรายการเกมโชว์ชื่อ “Are You Smarter Than a 5th Grader?” (ไทย: คุณฉลาดกว่าเด็กเกรด 5 จริงหรือ?) ที่ออกอากาศครั้งแรกเมื่อวันที่ 27 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2550 โดยได้รับลิขสิทธิ์จากสถานีโทรทัศน์ฟ็อกซ์ สหรัฐอเมริกาและ Mark burnett production (ปัจจุบันเป็น United Artists Media Group) โดยได้รับลิขสิทธิ์ในการผลิตรายการนี้ ในอีกหลายภาษา และหลายประเทศทั่วโลก และวันที่ 13 ตุลาคม พ.ศ. 2551 ได้เปลี่ยนชื่อรายการเป็น ถ้าคุณแน่? อย่าแพ้ เด็ก (ประถม) ! ก่อนที่จะสิ้นสุดการออกอากาศในวันที่ 29 เมษายน พ.ศ. 2553 รวมทั้งหมด 563 ตอน โดยดาราที่มาร่วมเล่นเกมส์คนแรกคือ กรรชัย กำเนิดพลอย และปิดท้ายด้วย หนูอิมอิม ก้าวมหัศาจรรย์ อย่างไรก็ตามได้นำเทปที่ฉายแล้วมาออกอากาศซ้ำทางช่อง 3 แฟมิลี่(ดิจิตอลทีวีช่อง 13) ในวันจันทร์ - ศุกร์ 19.00 - 19.30 น. (ปัจจุบันได้ยุติออกอากาศรายการนี้แล้ว)

วันและเวลาออกอากาศ[แก้]

  • วันจันทร์ - ศุกร์ เวลา 19.15 น. - 19.45 น. (1 ตุลาคม 2550 - 31 ธันวาคม 2551)
  • วันจันทร์ - ศุกร์ เวลา 18.45 น. - 19.15 น. (1 มกราคม 2552 - 30 ตุลาคม 2552)
  • วันพฤหัสบดี - ศุกร์ เวลา 18.00 น. - 18.30 น. (5 พฤศจิกายน 2552 - 16 เมษายน 2553)
  • วันพฤหัสบดี เวลา 18.00 น. - 18.30 น. (22 เมษายน 2553 - 29 เมษายน 2553)
  • เทปสุดท้ายวันที่ 29 เมษายน 2553

รูปแบบของเกม[แก้]

ผู้เข้าแข่งขันทุกคน จะเริ่มต้นการแข่งขันในรอบแรก และรอบสุดท้ายตามลำดับ สำหรับกติกาปี 2550 - 2551 ของสหรัฐอเมริกา จะเป็นแบบเงินรางวัลตามขั้นบันไดและรอบแจ๊กพอต 1,000,000 ดอลลาร์และสามารถหยุดเมื่อไหร่ก็ได้เท่าที่อยากหยุดในข้อใดข้อหนึ่ง กติกาในปี 2552 - 2553 เปลี่ยนเป็นเลือกข้อ (ในคำถามเกรด 1 จะมีเงินรางวัลสะสมน้อยสุด คำถามที่มีเงินรางวัลสูงสุดเป็นเกรด 5 (ในปี พ.ศ. 2553 เปลี่ยนเงินสูงสุดเป็นเกรด 4) เปลี่ยนรอบแจ๊กพอตของเวอร์ชันอเมริกาเป็นเงินคูณสิบของเงินที่สะสม และเปลี่ยนกฎเป็นเล่นให้ครบ 8 - 10 ข้อโดยไม่มีการใช้สิทธิ์ "ขอหยุด" เลยแม้แต่ข้อเดียว ต้องเสี่ยงตอบทันทีในเมื่อไม่มีตัวช่วยให้ใช้อีกแล้ว (ยกเว้นคำถามรอบสุดท้ายที่ผู้แข่งขันสามารถเลือกได้ว่าจะตอบคำถามหรือขอหยุดหลังจากที่ครูประกาศวิชาในรอบสุดท้าย) หากสอบตกในข้อ 1 - 9 เงินที่สะสมจะหายไปและสะสมเงินรางวัลใหม่ทดแทนตามเงินที่เหลือให้สะสม (ในปี พ.ศ. 2553 เปลี่ยนเป็นหากสอบตกในข้อ 1 - 7 จะต้องสะสมเงินใหม่ทดแทนเงินที่ถูกลบทิ้งไป)

การแข่งขันรอบแรก[แก้]

การแข่งขันเริ่มต้นด้วยพิธีกร ในบทบาทคุณครู ให้สิทธิผู้เข้าแข่งขันในการเลือกเพื่อนร่วมชั้นเรียน ซึ่งทางรายการได้คัดเลือกจากนักเรียนในระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 จากทั่วประเทศ ที่สมัครเข้าร่วมรายการ มีจำนวน 5 คน ต่อ 1 รอบการแข่งขัน ขึ้นมาทีละคน เพื่อช่วยเหลือผู้เข้าแข่งขันครั้งละ 2 ข้อ หรือจนกว่าผู้เข้าแข่งขันไม่มีความช่วยเหลือให้ใช้อีกแล้ว

เมื่อเลือกเพื่อนร่วมชั้นแล้ว ผู้เข้าแข่งขันจะมีอิสระในการเลือกคำถาม จากชุดคำถามจำนวน 10 ข้อ ที่จำแนกตามหมวดวิชาต่างๆ โดยอ้างอิงคำตอบจากหนังสือเรียน ซึ่งมีระดับความยากที่เป็นไปตามระดับชั้น ตั้งแต่ ป.1 ถึง ป.4 (ป.1 ถึง ป.3 ระดับชั้นละ 2 ข้อ และ ป.4 จำนวน 4 ข้อ) ตามที่ทางรายการจัดมาให้ โดยรูปแบบของคำถาม มีทั้งปรนัย อัตนัย และถามว่า เนื้อหาตามโจทย์ที่ให้มา ถูกหรือผิด ซึ่งในคำถามแต่ละข้อ จะมีมูลค่าของเงินรางวัลสูงขึ้นตามลำดับ ตามตารางด้านล่าง

โดยหลังจากตอบคำถามถูกต้องครบ 5 ข้อ (ผ่านข้อการันตีไป) และหากตอบคำถามผิด ตั้งแต่ข้อที่ 6 เป็นต้นไป จะได้รับเงินรางวัลการันตี จำนวน 10,000 บาท และหากตอบคำถามถูกต้องครบ 10 ข้อ จะได้รับเงินรางวัล 50,000 บาท พร้อมได้สิทธิตอบคำถามในรอบสุดท้าย มูลค่า 500,000 บาท โดยผู้ที่ทำแจ๊คพอตแตกเป็นคนแรกของรายการนั่นก็คือ เกตุเสพย์สวัสดิ์ ปาลกะวงศ์ ณ อยุธยา

อย่างไรก็ตามขณะเล่นเมื่อไม่มีความช่วยเหลือให้ใช้อีกแล้ว ถ้าไม่แน่ใจในคำตอบ (ประกอบกับไม่มีความช่วยเหลือใดๆ ให้ใช้อีกแล้ว) ผู้เล่นสามารถหยุดเมื่อไหร่ก็ได้เท่าที่อยากจะหยุด และสามารถรับเงินสะสมที่สะสมกลับบ้านไปเลย ถ้าเล่นต่อแล้วตอบถูก ก็ยังคงเล่นต่อและสะสมเงินรางวัลไปเรื่อยๆ แต่ถ้าหากเล่นต่อแล้วตอบผิด Game Over ทันทีแล้วจะถือว่า "สอบตก" โดยการตอบผิดเมื่อผู้แข่งขันเล่นด้วยตัวเองจะได้เงินรางวัลการันตีในข้อที่ 5 นั่นก็คือ 10,000 บาท (ระดับเงินที่สะสมอยู่ถ้าสูงกว่า 10,000 บาทจะถูก drop ลงไปอยู่ที่ 10,000 บาท)(ถ้าตอบผิดโดยที่จำนวนข้อคำถามที่ตอบถูกไม่ถึง 5 ข้อก็จะถือว่ากลับบ้านมือเปล่า (เงินที่สะสมต่ำกว่า 10,000 บาท หายไปกับตาทันที))

คำถามที่ 1 2 3 4 5 6 7 8 9 10 Jackpot
มูลค่า (บาท) 1,000 3,000 5,000 7,000 10,000 15,000 20,000 30,000 40,000 50,000 500,000

ใน ถ้าคุณแน่? อย่าแพ้ เด็ก (ประถม) ! รูปแบบการเล่นเปลี่ยนแปลงดังนี้ ผู้เข้าแข่งขันจะมีอิสระในการเลือกคำถาม จากชุดคำถามจำนวน 12 ข้อ ที่จำแนกตามหมวดวิชาต่างๆ โดยอ้างอิงคำตอบจากหนังสือเรียน ซึ่งมีระดับความยากที่เป็นไปตามระดับชั้น ตั้งแต่ ป.1 ถึง ป.6 (ป.1 ถึง ป.6 ระดับชั้นละ 2 ข้อ แต่ในบางคำถามก็ไม่ได้ระบุระดับชั้น เช่น ความรู้ทั่วไป สารานุกรมไทยฯ) ตามที่ทางรายการจัดมาให้ โดยรูปแบบของคำถาม มีทั้งปรนัย อัตนัย แบบคำนวณ และถามว่า เนื้อหาตามโจทย์ที่ให้มา ถูกหรือผิด ซึ่งในคำถามแต่ละข้อ จะมีมูลค่าของเงินรางวัลสูงขึ้นตามลำดับ ตามตารางด้านล่าง จากนั้น ผู้เข้าแข่งขัน จะทำการสุ่ม เพื่อนร่วมชั้นเรียน ซึ่งทางรายการได้คัดเลือกจากนักเรียนในระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ถึง 6 จากทั่วประเทศ ที่สมัครเข้าร่วมรายการ มีจำนวน 6 คน ต่อ 1 รอบการแข่งขัน ซึ่งมีตั้งแต่ นักเรียนในระดับชั้น ประถมศึกษาปีที่ 1 ถึง 6 ชั้นละ 1 คน เพื่อช่วยเหลือผู้เข้าแข่งขัน แต่หลังจากครูอ่านคำถามจบ จะทำการกดปุ่มสุ่มเลือกเพื่อนร่วมชั้นเรียนใหม่ทุกครั้ง ซึ่งอาจจะได้ เพื่อนร่วมชั้นเรียน คนเก่า หรือ ใหม่ ก็ได้

อย่างไรก็ตามขณะเล่นเมื่อไม่มีความช่วยเหลือให้ใช้อีกแล้ว ถ้าไม่แน่ใจในคำตอบ (ประกอบกับไม่มีความช่วยเหลือใดๆ ให้ใช้อีกแล้ว) ผู้เล่นสามารถหยุดเมื่อไหร่ก็ได้เท่าที่อยากจะหยุด (Drop Out) และสามารถรับเงินสะสมที่สะสมกลับบ้านไปเลย ถ้าเล่นต่อแล้วตอบถูก ก็ยังคงเล่นต่อและสะสมเงินรางวัลไปเรื่อยๆ แต่ถ้าหากเล่นต่อแล้วตอบผิด Game Over ทันทีแล้วจะถือว่า "สอบตก" โดยการตอบผิดเมื่อผู้แข่งขันเล่นด้วยตัวเองจะได้เงินรางวัลการันตีในข้อที่ 6 นั่นก็คือ 15,000 บาท (เว้นแต่ตอบผิดเมื่อยังตอบถูกไม่ถึง 6 ข้อ จึงจะถือว่ากลับบ้านมือเปล่า (เงินที่สะสมต่ำกว่า 15,000 บาท ก็จะหายไปกับตาทันที))

คำถามที่ 1 2 3 4 5 6 7 8 9 10 11 12 Jackpot
มูลค่า (บาท) 1,000 3,000 5,000 7,000 10,000 15,000 20,000 25,000 30,000 35,000 40,000 50,000 1,000,000

ใน ถ้าคุณแน่? อย่าแพ้ เด็ก (ประถม) ! (ซีซั่น 2) กติกาจะคล้ายคลึงกับถ้าคุณแน่? อย่าแพ้ ป.4! โดยมูลค่าของคำถาม 10 ข้อแรก จะเหมือนกัน (ดูได้จากตารางเงินรางวัลของถ้าคุณแน่? อย่าแพ้ ป.4! เฉพาะ 10 ข้อแรก) และชุดคำถามเป็นแบบเดียวกัน (คือ ป.1 ถึง ป.3 ระดับชั้นละ 2 ข้อ และ ป.4 จำนวน 4 ข้อ) แต่จะยกเว้นในคำถามแจ๊คพอตที่มีมูลค่า 1,000,000 บาท และจะต้องเล่นให้ได้อย่างน้อย 6 ข้อ ถึงจะได้เงินรางวัลการันตีขั้นต่ำในกรณีที่ตอบผิด (นั่นคือ 15,000 บาท) และเด็กนักเรียนจะมี 5 คน แต่ระดับชั้นของแต่ละคนจะแตกต่างกัน โดยจะมี ป.1-3 ชั้นละ 1 คน และ ป.4 มี 2 คน และรูปแบบการเล่นจะต่างกัน คือถ้าเลือกนักเรียนในระดับชั้นใด จะต้องเล่นกับคำถามในระดับชั้นนั้น (เช่น เลือกนักเรียน ป.2 จะต้องเล่นกับคำถามของ ป.2) และเมื่อจะเข้าสู่ข้อต่อไป ผู้เข้าแข่งขันสามารถเปลี่ยนเพื่อนได้ หรือจะใช้เพื่อนคนเดิมก็ได้ แต่นักเรียน 1 คน สามารถช่วยเหลือได้ 2 ข้อเท่านั้น และความช่วยเหลือในซีซั่นนี้จะมี 4 ความช่วยเหลือ ซึ่งมาจากซีซั่นที่แล้ว แต่ตัดความช่วยเหลือ "ดูโพล" ออกไป

ใน ถ้าคุณแน่? อย่าแพ้ เด็ก (ประถม) ! (ซีซั่นใหม่) ได้ปรับรูปแบบการเล่นให้เป็นการช่วยเหลือเด็กนักเรียนที่เรียนดีแต่ขาดแคลนทุนทรัพย์ โดยผู้เข้าแข่งขันแต่ละคนก็จะต้องคัดเลือกเด็กนักเรียนที่มีคุณสมบัติดังกล่าวมา 1 คน ส่วนกติกาการแข่งขันนั้นจะเหมือนกันซีซั่นที่ 2 ทุกประการ และเมื่อการแข่งขันจบลง ผู้เข้าแข่งขันจะต้องตกลงกันว่าจะแบ่งเงินรางวัลที่ได้มาให้กับเด็กนักเรียนคนนั้นเท่าไร

การแข่งขันรอบสุดท้าย[แก้]

พิธีกรจะแจ้งหมวดวิชา และระดับชั้นของคำถามรอบสุดท้าย ให้ผู้เข้าแข่งขันเลือกที่จะ ตอบคำถาม หรือ ขอหยุด หากเลือกจะตอบคำถาม จะไม่สามารถใช้สิทธิ์ขอหยุดในระหว่างตอบคำถามได้ ทั้งนี้ ผู้เข้าแข่งขันต้องตอบคำถามรอบสุดท้ายด้วยตนเอง โดยไม่มีความช่วยเหลือจากเพื่อนร่วมชั้นเรียนทั้ง 5 คนอีก ซึ่งหากตอบผิด (Flunk Out) จะได้รับเงินรางวัลการันตี 10,000 บาท และหากตอบถูกต้อง จะได้รับเงินรางวัลการันตีสูงสุด 500,000 บาท แต่หากขอหยุด (Drop Out) จะได้รับเงินรางวัล 50,000 บาท ภายหลังได้กำหนดกติกาเพิ่มเติมคือ ในคำถามรอบสุดท้าย จะเป็นคำถามแบบอัตนัย ซึ่งถ้าตอบถูกจะได้เงินรางวัลสูงสุด 500,000 บาท แต่ถ้าผู้เข้าแข่งขันไม่มั่นใจ สามารถขอดูตัวเลือกได้ แต่แจ๊คพอตการันตีจะลดลงเหลือ 100,000 บาท ถ้าตอบถูก และกติกานี้ยังได้ใช้ในถ้าคุณแน่? อย่าแพ้ เด็ก (ประถม) ! เพียงแต่ว่าถ้าตอบถูกโดยไม่ขอดูตัวเลือกจะได้เงินรางวัลการันตีสูงสุด 1,000,000 บาท และถ้าตอบผิดจะได้เงินรางวัลการันตี 15,000 บาท

ในขณะเล่นผู้แข่งขันสามารถหยุดการตอบคำถามเมื่อไหร่ก็ได้ถ้าข้อใดไม่แน่ใจ (Drop Out) ผู้แข่งขันก็จะได้รับรับเงินรางวัลที่สะสมจากข้อที่แล้วกลับบ้านไปเลย แต่หากตอบผิดไปแล้ว 1 ครั้ง ความช่วยเหลือ เพื่อนช่วย ก็จะทำงาน หากผู้ช่วยตอบถูก ถือว่ายังเล่นต่อไปและสะสมเงินตามขั้นบันได ในขณะเล่นถ้าผู้แข่งขันเล่นต่อ (ไม่ว่าจะมีผู้ช่วยหรือไม่) แล้วไปตอบผิดกรณีใดกรณีหนึ่งต่อไปนี้ คือ 1. ผู้แข่งขันตอบคำถามผิดรวมครบ 2 ครั้ง (โดยที่ความช่วยเหลือ เพื่อนช่วย ถูกใช้ไปก่อนแล้วตอนที่ตอบผิดไป 1 ครั้งแล้วช่วยสำเร็จ) 2. ใช้ความช่วยเหลือใดๆ แล้วไปตอบผิดไม่ว่าจะเชื่อผู้ช่วย หรือ คำตอบของผู้ช่วยไม่ตรงกับคำตอบที่ถูกต้องที่คุณครูกล่าวไป (ในความช่วยเหลือ "เชื่อเพื่อน" หรือ "เพื่อนช่วย") การกระทำนี้จะถือว่า Game Over ทันทีและจะถือว่า "สอบตก" (Flunk Out)

ในกรณีที่ผู้เข้าแข่งขันเลือกที่จะ ขอหยุด หรือ สอบตก (ตอบผิดครบ 2 ครั้ง ไม่ว่าจะตอบผิดเองหรือเพื่อนตอบผิดต่อในความช่วยเหลือ เพื่อนช่วย หรือใช้ความช่วยเหลือแล้วตอบคำถามผิด) ผู้เข้าแข่งขันต้องประกาศต่อหน้ากล้องว่า "พี่มันแย่ พี่แพ้ ป.4" แต่หากขอหยุด หรือสอบตกในคำถามแจ็คพอต คำประกาศหน้ากล้องของผู้เข้าแข่งขัน จะเปลี่ยนไปเป็น "พี่มันแน่ ถึงพี่จะแพ้ ป.4"

ใน ถ้าคุณแน่? อย่าแพ้ เด็ก (ประถม) ! กรณีที่ผู้เข้าแข่งขันเลือกที่จะ ขอหยุด หรือ สอบตก (ตอบผิดครบ 2 ครั้ง ไม่ว่าจะตอบผิดเอง ใช้ความช่วยเหลือแล้วตอบคำถามผิด หรือสอบซ่อมไม่ผ่าน (ตอบผิดครบ 3 ครั้ง) ) ผู้เข้าแข่งขันต้องประกาศต่อหน้ากล้องว่า "พี่มันแย่ พี่แพ้ เด็กประถม" พร้อมกับลงโทษให้ผู้เข้าแข่งขันคาบไม้บรรทัดที่เขียนว่า "พี่มันแย่ พี่แพ้ เด็กประถม" เอาไว้แล้วถ่ายรูปลงห้องเรียน ซึ่งภายหลังไม่มีการคาบไม้บรรทัดอีกต่อไป

ความช่วยเหลือ[แก้]

ใน "ถ้าคุณแน่? อย่าแพ้ ป.4!" ผู้เข้าแข่งขันมีสิทธิใช้ความช่วยเหลือ 3 รูปแบบ โดยสามารถใช้ได้เพียงรูปแบบละ 1 ครั้งเท่านั้น (ไม่เหมือนกับเกมเศรษฐี ที่สามารถใช้ได้มากกว่า 1 ตัว) และสามารถใช้ได้ในการแข่งขันรอบแรกเท่านั้น ไม่สามารถใช้กับคำถามในรอบสุดท้ายได้ ซึ่งความช่วยเหลือดังกล่าว ประกอบไปด้วย

  • ถามเพื่อน (Peek) - (อีกชื่อหนึ่งความช่วยเหลือนี้คือ แอบดูคำตอบเพื่อน)ผู้เข้าแข่งขันจะได้สิทธิในการดูคำตอบของเพื่อนร่วมชั้นเรียนที่เลือกขึ้นมา เฉพาะในข้อนั้นได้ ทั้งนี้ ผู้เข้าแข่งขันมีสิทธิเลือกที่จะเชื่อในคำตอบของเพื่อนร่วมชั้นเรียนหรือไม่ก็ได้
  • เชื่อเพื่อน (Copy) - ผู้เข้าแข่งขันจะต้องใช้คำตอบของเพื่อนร่วมชั้นเรียนที่เลือกขึ้นมา (เรียกสั้นๆ ว่า คัดลอกคำตอบของผู้ช่วย) ทั้งนี้ ผู้เข้าแข่งขันจะไม่มีสิทธิรับรู้คำตอบของเพื่อนชั้นเรียน จนกว่าจะมีการเฉลยคำตอบ และคำตอบที่ผู้ช่วยตอบต้องเป็นที่ครูเฉลยเท่านั้น จึงจะได้เข้าไปเล่นคำถามข้อต่อไป มิฉะนั้น Game Over ทันทีและเป็นอันสอบตก
  • เพื่อนช่วย (Save) - ในกรณีที่ผู้เข้าแข่งขันตอบคำถามผิดเป็นครั้งแรก แต่ขณะที่เพื่อนร่วมชั้นเรียนตอบถูก จะถือเป็นการใช้ความช่วยเหลือนี้โดยอัตโนมัติทันที และให้ถือว่าผู้เข้าแข่งขันตอบถูกในข้อนั้นไปโดยปริยาย แต่ถ้าหากเพื่อนร่วมชั้นเรียนตอบผิดต่อ Game Over ทันที (ในสหรัฐอเมริกา กติกาชุดใหม่จะเปลี่ยนจากเกมจบเป็น เงินสะสมจะเปลี่ยนเป็น 0 ทันทีและสะสมใหม่ แต่ปี พ.ศ. 2553 เวอร์ชันสหรัฐอเมริกายกเลิกความช่วยเหลือ Save แล้วเปลี่ยนเป็น ตอบผิดเมื่อไร เงินสะสมจะเปลี่ยนเป็น 0 ทันทีและสะสมใหม่ทดแทน)

หลังจากเปลี่ยนรูปแบบเป็น ถ้าคุณแน่? อย่าแพ้เด็ก (ประถม) ! ได้มีการเพิ่มความช่วยเหลืออีก 2 รูปแบบ คือ

  • ดูโพล - คือการดูผลคะแนนของคำตอบที่คิดว่าน่าจะถูกต้องจากผู้ชมในห้องส่ง ในกรณีที่เป็นคำถามปรนัยแบบ 6 ตัวเลือก ซึ่งมีเพียง 2 คำถามเท่านั้น (ในซีซั่นปัจจุบัน ได้ยกเลิกความช่วยเหลือนี้ไปแล้ว)
  • สอบซ่อม - คือการให้ผู้เข้าแข่งขันตอบใหม่ในกรณีที่ผู้เข้าแข่งขันตอบคำถามผิดโดยที่ได้ใช้ความช่วยเหลือ "เพื่อนช่วย" ไปแล้ว หรือในกรณีที่ใช้ "เพื่อนช่วย" แต่ไม่สามารถช่วยเหลือได้ ความช่วยเหลือนี้จะถูกใช้โดยอัตโนมัติ แต่จะหมดสิทธิ์ในการตอบคำถามรอบแจ๊คพอตทันที ไม่ว่าผลที่ได้จะเป็นอย่างไรโดยหากความช่วยเหลือ สอบซ่อม ถูกใช้แล้วสอบซ่อมสำเร็จ เงินสูงสุดที่จะได้ก็คือ 50,000 บาท แต่ถ้าสอบซ่อมไม่สำเร็จ (ตอบผิด) Game Over ทันทีและเป็นอันสอบตก

โดยเมื่อได้ใช้ความช่วยเหลือข้างต้นหมดไปแล้ว (ยกเว้น ดูโพล และ สอบซ่อม) ผู้เข้าแข่งขันจะไม่สามารถขอรับความช่วยเหลือจากเพื่อนร่วมชั้นเรียนได้อีกต่อไป แต่ทั้ง 5 คน (หรือ 6 คน) จะยังคงตอบคำถามอยู่ที่โต๊ะประจำตัวของพวกเขาต่อไป ผู้เข้าแข่งขันจะต้องตอบคำถามเพียงคนเดียว โดยจะมีสิทธิ์ที่จะ Drop Out หรือ ตอบคำถามข้อนั้นให้ถูกไปเลย

รายชื่อผู้เข้าแข่งขันที่ตอบคำถามถึงรอบสุดท้าย[แก้]

ผู้ตอบคำถามถูกต้อง[แก้]

การแข่งขันรอบปกติ[แก้]

ถ้าคุณแน่? อย่าแพ้ ป.4![แก้]
ถ้าคุณแน่? อย่าแพ้ เด็ก (ประถม) ![แก้]

การแข่งขันรอบการกุศล[แก้]

เงินรางวัล 100,000 บาท[แก้]
เงินรางวัล 500,000 บาท[แก้]

ผู้ตอบคำถามผิด[แก้]

การแข่งขันรอบปกติ[แก้]

ถ้าคุณแน่? อย่าแพ้ ป.4 ![แก้]
ถ้าคุณแน่? อย่าแพ้เด็ก (ประถม) ![แก้]

การแข่งขันรอบล้างตา[แก้]

รางวัลที่ได้รับ[แก้]

ดูเพิ่ม[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]