ข้ามไปเนื้อหา

ตำบลบางปลาสร้อย

พิกัด: 13°22′10.69″N 100°59′0.09″E / 13.3696361°N 100.9833583°E / 13.3696361; 100.9833583
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ตำบลบางปลาสร้อย
การถอดเสียงอักษรโรมัน
 • อักษรโรมันTambon Bang Pla Soi
ตำบลบางปลาสร้อยตั้งอยู่ในจังหวัดชลบุรี
ตำบลบางปลาสร้อย
ตำบลบางปลาสร้อย
ที่ตั้งของตำบลบางปลาสร้อย
พิกัด: 13°22′10.69″N 100°59′0.09″E / 13.3696361°N 100.9833583°E / 13.3696361; 100.9833583
ประเทศไทย
จังหวัดชลบุรี
อำเภอเมืองชลบุรี
ประชากร
 (2566)
 • ทั้งหมด12,613 คน
รหัสไปรษณีย์ 20000
รหัสภูมิศาสตร์200101
สารานุกรมประเทศไทย ส่วนหนึ่งของสารานุกรมประเทศไทย

บางปลาสร้อย เป็นตำบลหนึ่งในอำเภอเมืองชลบุรี จังหวัดชลบุรี ตั้งอยู่ในเขตเทศบาลเมืองชลบุรี เป็นที่ตั้งของสถานที่สำคัญทางราชการ เช่น ศาลากลางจังหวัดชลบุรี ที่ว่าการอำเภอเมืองชลบุรี ศาลจังหวัดชลบุรี โรงเรียนชลกันยานุกูล เป็นต้น

ที่มาของชื่อ[แก้]

ที่มาของชื่อเรียกตำบลบางปลาสร้อยเนื่องจากมีคลองสายหนึ่ง ซึ่งมีต้นน้ำจากเขาเขียวอยู่ทางทิศใต้ของอำเภอเมืองชลบุรีในปัจจุบัน ไหลมาลงทะเลในตำบลนี้และปรากฎว่าในคลองนี้มีปลาชนิดหนึ่งที่ชื่อว่า "ปลาสร้อย" เป็นจำนวนมาก ชาวบ้านจึงเรียกหมู่บ้านนี้ว่า "บ้านบางปลาสร้อย" ซึ่งคำว่า "บาง" หมายถึง หมู่บ้านนั่นเอง[1]

ประวัติ[แก้]

เมืองบางปลาสร้อยแต่ก่อนชาวบ้านในพื้นที่และคนต่างถิ่นเรียกพื้นที่นี้กันว่าบางปลาสร้อย คนจีนเรียก "มั่งก้ะส่วย" [2] ในขณะที่เอกสารทางราชการเรียกพื้นที่ดังกล่าวว่าชลบุรี มาตั้งแต่ปี พ.ศ. 1919 เอกสารทางราชการมาปรากฏชื่อเมืองบางปลาสร้อยอีกครั้งในปี พ.ศ. 2459 ซึ่งตรงกับสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 6) กระทรวงมหาดไทยได้ดำเนินการขอเปลี่ยนคำเรียกหน่วยการปกครองส่วนภูมิภาคจาก "เมือง" เป็น "จังหวัด" และเปลี่ยนตำแหน่งผู้ว่าราชการเมือง เป็นผู้ว่าราชการจังหวัดพร้อมทัังขอเปลี่ยนชื่ออำเภอตามชื่อตำบลที่เป็นที่ตั้งที่ว่าการอำเภอ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมีพระราชหัตถเลขาตอบมาว่า "นามอำเภอบางแห่งเป็นนามเมือง หรือ สถานที่มีตำนานควรคงไว้ตามเดิม นอกจากนั้นให้เปลี่ยนไปตามที่เสนอ..." ด้วยเหตุนี้เมืองชลบุรีจึงเปลี่ยนเป็นจังหวัดชลบุรี อำเภอเมือง เปลี่ยนเป็น อำภอบางปลาสร้อย ปัจจุบันบางปลาสร้อยเป็นเพียงชื่อตำบลหนึ่งในเขตอำเภอเมืองชลบุรี[3]

ตามหลักฐานทางประวัติศาสตร์ในสมัยกรุงศรีอยุธยา ชุมชนบางปลาสร้อยปรากฏนามอยู่ในแผนที่ไตรภูมิสมัยอยุธยา เป็นชุมชนที่พัฒนาขึ้นกลายมาเป็นเมืองท่าภายหลังจากเมืองศรีพโล ที่เป็นเมืองท่าจอดพักเรือสินค้าทางทะเล บนเส้นทางการค้าทางทะเลระหว่างอาณาจักรอยุธยากับนานาชาติ หลังจากชายฝั่งทะเลของเมืองศรีพโล ถูกโคลนเลนพัดพาจากปากน้ำบางปะกงทับถมจนตื้นเขิน เรือไม่สามารถจอดเทียบท่าได้เหมือนแต่เดิม ท่าจอดพักขนถ่ายสินค้าจึงถูกเลื่อนตัวมาที่ชุมชนบางปลาสร้อยแทน ซึ่งในสมัยอยุธยาการค้ากับชาวต่างชาติเฟื่องฟูมาก เมืองบางปลาสร้อยจึงเริ่มเป็นที่รู้จักของชาวต่างชาติจำนวนมากที่เดินทางเข้ามาทำการค้าขาย จากการที่มีเรือสินค้าของนานาประเทศมาจอดพักขนถ่ายสินค้า ซื้อเสบียงอุปโภค บริโภค และซ่อมบำรุงเรือทั้งขาเข้าและขาออกจากอาณาจักรอยุธยา บางปลาสร้อยจึงเกิดความมั่งคั่งและมีความหลากหลายของผู้คนจากหลายเชื้อชาติทั้งชาวไทย ชาวอินเดีย และชาวจีน

ในสมัยกรุงธนบุรี พระเจ้ากรุงธนบุรีได้มีการแต่งตั้งให้พระชลบุรีศรีมหาสุมทร (หวัง สมุทรานนท์) ดำรงตำแหน่งเจ้าเมืองชลบุรี ระหว่างการปกครองเมืองชลบุรีด้วยความสามารถ ทำให้ชลบุรีเป็นหัวเมืองชายทะเลที่มีชื่อในสมัยนั้น ประกอบกับการค้าระหว่างไทย จีน มีความเจริญรุ่งเรืองขึ้นมา ทำให้มีการอพยพย้ายถิ่นฐานของชาวจีนเข้ามาอยู่อาศัยในชุมชนบริเวณบางปลาสร้อยเป็นจำนวนมาก โดยจะมีการสร้างที่อยู่อาศัยติดอยู่กับบริเวณริมชายฝั่งทะเล เนื่องจากในช่วงเวลานี้บางปลาสร้อยยังมีสถานะเป็นเมืองท่า ขนถ่ายสินค้าที่จอดพักเรือของชาวต่างชาติที่เข้ามาติดต่อค้าระหว่างประเทศ[4]

ที่ตั้งและอาณาเขต[แก้]

ตำบลบางปลาสร้อยมีอาณาเขตติดต่อกับเขตการปกครองข้างเคียงดังต่อไปนี้

ประชากร[แก้]

จากการสำรวจเมื่อปี พ.ศ. 2566 ตำบลบางปลาสร้อยมีประชากรทั้งสิ้น 12,613 คน รายละเอียดตามตารางมีดังนี้

องค์การปกครองส่วนท้องถิ่น ชาย หญิง รวม จำนวนบ้าน
ตำบลบางปลาสร้อยในเขตเทศบาลเมืองชลบุรี 5,955 6,658 12,613 7,323
รวม 5,955 6,658 12,613 7,323
ที่มา: สำนักบริหารการทะเบียน กรมการปกครอง[5]

สถานที่สำคัญ[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. "บางปลาสร้อย". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2024-07-04. สืบค้นเมื่อ 2024-07-04.
  2. สุบิณ สืบสงวน, ที่ระลึก 80 ปี, กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์ตีรณสาร, 2518. หน้า 69.
  3. ภารดี มหาขันธ์; นันท์ชญา มหาขันธ์, "ความหลากหลายทางนิเวศวัฒนธรรมบางปลาสร้อย: ฐานรากและภูมิพลังของจังหวัดชลบุรี A Variety of Bang Plasoi Ecological Aspect of Culture: Foundation and Intelligence Power of Chon Buri," วารสารวิชาการมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ 25(50) (มกราคม - เมษายน 2561), หน้า 4.
  4. "บางปลาสร้อย". wikicommunity.sac.or.th.
  5. "สถิติจำนวนประชากรและบ้าน พ.ศ. 2566". สำนักบริหารการทะเบียน กรมการปกครอง. สืบค้นเมื่อ 6 กรกฎาคม 2024.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]