ตะพาบไต้หวัน

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

ตะพาบไต้หวัน
สถานะการอนุรักษ์
CITES Appendix II (CITES)[3]
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ แก้ไขการจำแนกนี้
โดเมน: ยูแคริโอตา
อาณาจักร: สัตว์
ไฟลัม: สัตว์มีแกนสันหลัง
ชั้น: สัตว์เลื้อยคลาน
อันดับ: เต่า
อันดับย่อย: อันดับย่อยเต่า
วงศ์: วงศ์ตะพาบ
สกุล: ตะพาบจีน
(Wiegmann, 1835)[1]
สปีชีส์: Pelodiscus sinensis
ชื่อทวินาม
Pelodiscus sinensis
(Wiegmann, 1835)[1]
ชื่อพ้อง

ดูข้อความ

ตะพาบไต้หวัน (อังกฤษ: Chinese softshelled turtle; จีน: 中華鱉; พินอิน: zhōnghuá biē; ชื่อวิทยาศาสตร์: Pelodiscus sinensis) ตะพาบชนิดหนึ่ง ไม่ใช่ตะพาบพันธุ์พื้นเมืองของไทย แต่เป็นตะพาบที่พบได้ในภูมิภาคเอเชียตะวันออก เช่น จีน, ไต้หวัน, ญี่ปุ่น, เกาหลีเหนือ, เกาหลีใต้ ตลอดจนรัสเซีย และเวียดนาม มีรูปร่างคล้ายตะพาบสวน (Amyda cartilaginea) ที่พบได้ในประเทศไทย แต่ตะพาบไต้หวันมีขนาดเล็กกว่า โตเต็มมีขนาดกระดองประมาณ 25 เซนติเมตร มีนิสัยดุร้าย

ลักษณะกระดองเป็นทรงรีเล็กน้อย ลักษณะโครงร่างแบบผิวกระดองเรียบมีกระดองส่วนที่นิ่มหรือเชิงค่อนข้างมาก มีหัวใหญ่ คอ ยาวมาก ปากแหลม ฟันคมและแข็งแรง เมื่อยังเล็กกระดองเป็นสีเขียวเข้มด้านท้องจะมีสีส้มและสีดำสลับ 5-6 ตำแหน่ง ใต้ท้องมีสีขาว เมื่อโตเต็มวัยกระดองจะเป็นสีเขียวอมเหลือง บริเวณขอบตาจะมีสีเหลืองเห็นได้ชัดเจน ตรงกลางกระดองจะมีรอยขีดขวางลำตัว 6-7 ขีด ส่วนท้องอ่อนนุ่มมีสีขาวอมชมพูหรือสีเหลืองอ่อน ๆ

นิยมรับประทานโดยทำเป็นซุป นิยมกันมากในแบบอาหารจีนและอาหารญี่ปุ่น ทำให้นิยมเลี้ยงเป็นสัตว์เศรษฐกิจ ที่ปัจจุบันนิยมเลี้ยงมากกว่าตะพาบสวน เพราะโตได้เร็วและแพร่ขยายพันธุ์ได้เร็วกว่า และยังนิยมเลี้ยงเป็นสัตว์เลี้ยงสวยงามอีกด้วย โดยเฉพาะในตัวที่เป็นเผือก แต่ในด้านสิ่งแวดล้อมขณะนี้พบเป็นเผ่าพันธุ์ต่างถิ่น ที่รุกรานที่อยู่อาศัยและที่วางไข่ของตะพาบและเต่าพื้นเมืองของไทย

ปัจจุบัน มีฟาร์มเพาะเลี้ยงกันในประเทศไทยแถบจังหวัดภาคตะวันออก เช่น ระยอง, ชลบุรี, ตราด และเพชรบุรี [4] [5]

ความเชื่อ[แก้]

ในความเชื่อของญี่ปุ่น ตะพาบไต้หวันมีชื่อเรียกว่า ซึปปง (ญี่ปุ่น: すっぽん) เป็นสัตว์น้ำที่พบได้ทั่วไปในแหล่งน้ำของญี่ปุ่น โดยในบางครั้งจะมีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Pelodiscus japonica (ซึ่งถือเป็นชนิดย่อย) เชื่อกันว่าซึปปงเป็นสาเหตุที่ทำให้เด็กจมน้ำเสียชีวิตเช่นเดียวกับ กัปปะ ซึ่งเป็นพรายน้ำ

เรื่องราวของซึปปงถูกรวบรวมไว้ในหนังสือรวบรวมเรื่องแปลกเหนือธรรมชาติของญี่ปุ่นในปี ค.ศ. 1812 เกี่ยวกับพ่อค้าคนหนึ่งชื่อ คิโระกุ (亀六) อาศัยอยู่ที่นิอิกะตะ ทำการค้าขายซุปตะพาบน้ำ ด้วยการฆ่าขายเป็นจำนวนร้อย ๆ ตัว เป็นเวลานาน คืนหนึ่ง ขณะที่นอนหลับอยู่เขาฝันว่าที่นอนซึ่งเขานอนอยู่นั้นก็เปลี่ยนสภาพเป็นสิ่งที่อ่อนหยุ่นคล้ายน้ำ และรอบตัวก็มีแต่ตะพาบน้ำคืบคลานมาทำร้ายเขา และกัดเข้าที่คอ จนเขาสะดุ้งตื่น ภรรยาเขาถามว่าเกิดอะไรขึ้น และคืนต่อ ๆ มาก็ฝันในลักษณะเช่นนี้ทุกคืน จนท้ายที่สุดเขาต้องยุติอาชีพนี้และออกบวช[6]

ชื่อพ้อง[แก้]

ชื่อพ้องของตะพาบชนิดนี้มีจำนวนมาก โดยมีตัวอย่างดังนี้:[7]

  • Testudo rostrata Thunberg, 1787 (nomen suppressum)
  • Testudo striata Suckow, 1798
  • Testudo semimembranacea Hermann, 1804 (nomen suppressum et rejectum)
  • Emydes rostrataBrongniart, 1805
  • Trionyx (Aspidonectes) sinensis Wiegmann, 1834 (nomen conservandum)
  • Trionyx japonicusTemminck & Schlegel, 1835
  • Trionyx tuberculatus Cantor, 1842
  • Pelodiscus sinensisFitzinger, 1843
  • Tyrse perocellata Gray, 1844
  • Trionyx perocellatusGray, 1856
  • Trionyx schlegelii Brandt, 1857
  • Potamochelys perocellatusGray, 1864
  • Potamochelys tuberculatusGray, 1864
  • Landemania irrorata Gray, 1869
  • Landemania perocellataGray, 1869
  • Trionyx peroculatus Günther, 1869 (ex errore)
  • Gymnopus perocellatusDavid, 1872
  • Gymnopus simonii David, 1875 (nomen nudum)
  • Ceramopelta latirostris Heude, 1880
  • Cinctisternum bicinctum Heude, 1880
  • Coelognathus novemcostatus Heude, 1880
  • Coptopelta septemcostata Heude, 1880
  • Gomphopelta officinae Heude, 1880
  • Psilognathus laevis Heude, 1880
  • Temnognathus mordax Heude, 1880
  • Trionyx sinensis newtoni Bethencourt-Ferreira, 1897
  • Tortisternum novemcostatum Heude, 1880
  • Temnognanthus mordaxBoulenger, 1889
  • Tyrse sinensisHay, 1904
  • Amyda japonicaStejneger, 1907
  • Amyda schlegeliiStejneger, 1907
  • Amyda sinensisStejneger, 1907
  • Amyda tuberculataSchmidt, 1927
  • Trionyx sinensis sinensisSmith, 1931
  • Trionyx sinensis tuberculatusSmith, 1931
  • Amyda schlegelii haseri Pavlov, 1932
  • Amyda schlegelii licenti Pavlov, 1932
  • Amyda sinensis sinensisMertens, Müller & Rust, 1934
  • Amyda sinensis tuberculataMertens, Müller & Rust, 1934
  • Trionyx schlegeli Chkhikvadze, 1987 (ex errore)
  • Trionix sinensisRichard, 1999
  • Pelodiscus sinensis sinensisFerri, 2002
  • Pelodiscus sinensis tuberculatusFerri, 2002
  • Pelodiscus sinensis japonicusJoseph-Ouni, 2004

อ้างอิง[แก้]

  1. 1.0 1.1 Rhodin 2010, p. 000.128
  2. Asian Turtle Trade Working Group (2000). "Pelodiscus sinensis". IUCN Red List of Threatened Species. 2000: e.T39620A97401140. doi:10.2305/IUCN.UK.2000.RLTS.T39620A10251914.en.{{cite iucn}}: error: |doi= / |page= mismatch (help)
  3. "Appendices | CITES". cites.org. สืบค้นเมื่อ 2022-01-14.
  4. การเพาะเลี้ยงตะพาบน้ำพันธุ์ไต้หวัน จากกรมประมง
  5. ตะพาบไต้หวัน[ลิงก์เสีย]
  6. Suppon
  7. Fritz, Uwe; Havaš, Peter (2007). "Checklist of Chelonians of the World" (PDF). Vertebrate Zoology. 57 (2): 319–320. ISSN 1864-5755. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2010-12-17. สืบค้นเมื่อ 29 May 2012.

บรรณานุกรม[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]