ข้ามไปเนื้อหา

ตะพาบหัวกบ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

ตะพาบหัวกบ
สถานะการอนุรักษ์
CITES Appendix II (CITES)[3]
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ แก้ไขการจำแนกนี้
โดเมน: ยูแคริโอต
Eukaryota
อาณาจักร: สัตว์
Animalia
ไฟลัม: สัตว์มีแกนสันหลัง
Chordata
ชั้น: สัตว์เลื้อยคลาน
Reptilia
อันดับ: เต่า
Testudines
อันดับย่อย: อันดับย่อยเต่า
Cryptodira
วงศ์: วงศ์ตะพาบ
Trionychidae
สกุล: กราวเขียว
Pelochelys
Gray, 1864[1][2]
สปีชีส์: Pelochelys cantorii
ชื่อทวินาม
Pelochelys cantorii
Gray, 1864[1][2]
ชื่อพ้อง[4]
  • Pelochelys cantorii
    Gray, 1864
  • Pelochelys cumingii
    Gray, 1864
  • Pelochelys cantoris
    Boulenger, 1889
  • Pelochelys poljakowii
    Strauch, 1890
  • Pelochelys cummingii
    M.A. Smith, 1931 (ex errore)
  • Pelochelys cantori
    Pritchard, 1967 (ex errore)

ตะพาบหัวกบ (อังกฤษ: Cantor's giant soft-shelled turtle; ชื่อวิทยาศาสตร์: Pelochelys cantorii)[1][2] เป็นตะพาบชนิดหนึ่ง มีรูปร่างคล้ายตะพาบทั่วไป จัดเป็นตะพาบขนาดใหญ่ ขนาดใหญ่สุดพบขนาดกระดองยาว 120 เซนติเมตร น้ำหนักถึง 50 กิโลกรัม นับว่าใหญ่ที่สุดในสกุลตะพาบหัวกบนี้ ลำตัวด้านบนสีน้ำตาลเขียว ด้านล่างสีอ่อน หัวมีลักษณะเล็กสั้นคล้ายกบหรืออึ่งอ่าง จึงเป็นที่มาของชื่อ ตามีขนาดเล็ก

เมื่อยังเล็กสีของกระดอง จะมีสีน้ำตาลปนเขียวอ่อน ๆ มีจุดเล็ก ๆ สีเหลืองกระจายทั่วไป และค่อย ๆ จางเมื่อโตขึ้น รวมทั้งสีก็จะเข้มขึ้นด้วย พบได้ทั่วไปในประเทศแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้รวมถึงทุกภาคของประเทศไทย ในแม่น้ำสายใหญ่ โดยเฉพาะแม่น้ำโขงในภาคอีสาน ปัจจุบันเป็นตะพาบที่พบได้น้อยมาก จนถูกจัดให้เป็นสัตว์น้ำคุ้มครองของกรมประมง และจัดอยู่ในบัญชีประเภทที่ 2 (Appendix II) ของอนุสัญญาว่าด้วยการค้าระหว่างประเทศซึ่งชนิดสัตว์ป่าและพืชป่าใกล้สูญพันธุ์ หรือ ไซเตส

มีอุปนิสัย ดุร้าย มักฝังตัวอยู่นิ่ง ๆ ในพื้นทรายใต้น้ำเพื่อกบดานรอดักเหยื่อ ซึ่งได้แก่ ปลาและสัตว์น้ำต่าง ๆ โดยโผล่ส่วนจมูกเพื่อขึ้นมาหายใจเพียงวันละ 2–3 ครั้งเท่านั้น[5] ในภาษาอีสานเรียกว่า "ปลาปู่หลู่" ขณะที่ชื่อวิทยาศาสตร์ cantorii ตั้งขึ้นเพื่อเป็นเกียรติแด่นักสัตว์วิทยาชาวเดนมาร์ก ทีโอดอร์ เอ็ดวาร์ด แซนตอร์[6] และเชื่อว่ามีอายุยืนยาวได้กว่า 100 ปี[5]

ปัจจุบันสามารถเพาะขยายพันธุ์ได้แล้ว นิยมเลี้ยงเป็นสัตว์เลี้ยง โดยในตัวที่กระดองมีจุดสีเหลืองอ่อนเป็นวงกระจายอยู่บริเวณขอบกระดอง โดยที่ไม่แปรเปลี่ยนไปตามวัย จะถูกเรียกว่า "กริวดาว" พบได้เฉพาะภาคกลางและภาคตะวันตกของไทยเท่านั้น ซึ่งหาได้ยากมาก สันนิษฐานว่าในอดีตสามารถพบได้ในลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาตั้งแต่ภาคเหนือมาจนถึงภาคกลาง[7][8]

อ้างอิง

[แก้]
  1. 1.0 1.1 1.2 Choudhury, B.C.; Das, I.; Horne, B.D.; Li, P.; McCormack, T.; Praschag, P.; Rao, D.-Q.; Wang, L. (2021). "Pelochelys cantorii". IUCN Red List of Threatened Species. 2021: e.T135458600A1076984. doi:10.2305/IUCN.UK.2021-2.RLTS.T135458600A1076984.en. สืบค้นเมื่อ 19 November 2021.
  2. 2.0 2.1 2.2 Rhodin, Anders G.J.; Iverson, John B.; Roger, Bour; Fritz, Uwe; Georges, Arthur; Shaffer, H. Bradley; van Dijk, Peter Paul (August 3, 2017). "Turtles of the world, 2017 update: Annotated checklist and atlas of taxonomy, synonymy, distribution, and conservation status (8th Ed.)" (PDF). Chelonian Research Monographs. 7. ISBN 978-1-5323-5026-9. สืบค้นเมื่อ October 4, 2019.
  3. "Appendices | CITES". cites.org. สืบค้นเมื่อ 2022-01-14.
  4. Fritz, Uwe; Havaš, Peter (2007). "Checklist of Chelonians of the World" (PDF). Vertebrate Zoology. 57 (2). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2010-12-17.
  5. 5.0 5.1 "หายหน้าไปนานปี..โผล่อีกทีมีลูกๆ ให้ชื่นใจ". ผู้จัดการออนไลน์. May 19, 2007. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-07-17. สืบค้นเมื่อ July 26, 2016.
  6. Beolens B, Watkins M, Grayson M. 2011. The Eponym Dictionary of Reptiles. Baltimore: Johns Hopkins University Press. xiii + 296 pp. ISBN 978-1-4214-0135-5. ("Pelochelys cantori [sic]", p. 47).
  7. คอลัมน์ V.I.P. ตอน กริวดาว... เสียดาย! สูญพันธุ์ตั้งแต่ยังไม่ได้เกิด โดย กิตติพงษ์ จารุธาณินทร์ หน้า 108-109 นิตยสาร Aquarium Biz Vol.1 ฉบับที่ 11 ประจำเดือนพฤษภาคม 2011
  8. ตะพาบหัวกบ[ลิงก์เสีย]

อ่านเพิ่ม

[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]

วิกิมีเดียคอมมอนส์มีสื่อเกี่ยวกับ Pelochelys cantorii