พระยาอภัยภูเบศร (แบน)
พระยาอภัยภูเบศร (แบน) | |
---|---|
ผู้สำเร็จราชการเมืองพระตะบอง เสียมราฐ | |
ดำรงตำแหน่ง พ.ศ. 2353–2357 | |
กษัตริย์ | พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย |
ก่อนหน้า | เจ้าพระยาอภัยภูเบศร (แบน) |
ถัดไป | พระยาอภัยภูเบศร (รศ) |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | แบน |
เสียชีวิต | พ.ศ. 2357 |
บุตร | 9 คน |
พระยาอภัยภูเบศร (แบน) นามเดิม แบน เป็นผู้ว่าราชการเมืองพระตะบอง เสียมราฐ คนที่ 2 ในแผ่นดินพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ระหว่าง พ.ศ. 2353–2357
ครั้งเมื่อเจ้าพระยาอภัยภูเบศร (แบน) ถึงแก่อสัญกรรมลง ทางกรุงเทพได้พิจารณาแต่งตั้งพระยาวิบูลราช (แบน) ขุนนางของเจ้าพระยาอภัยภูเบศร (แบน) ให้เป็นเจ้าเมืองพระตะบอง เสียมราฐ คนที่ 2 มีบทบาทและกรณียกิจทีสำคัญ คือ เมื่อเกิดจลาจลในเขมร เมื่อ พ.ศ. 2453 พระยาอภัยภูเบศร (แบน) ได้ทำการกะเกณฑ์ไพร่พล ก่อกำแพง ทำค่ายคู และขอกองทัพจากเมืองนครราชสีมา จันทบุรี ให้เตรียมพลเข้าช่วยเหลือประจำการที่พระตะบอง เมื่อสมเด็จพระอุไทยราชาธิราชรามาธิบดีทรงทราบถึงการเตรียมความพร้อมที่เมืองพระตะบอง พระองค์ได้อาศัยอำนาจญวนเกลี้ยกล่อมพระยาอภัยภูเบศร (แบน) เข้าเป็นสมัครพรรคพวก อย่าให้ความช่วยเหลือแก่ฝ่ายไทย แต่พระยาอภัยภูเบศร (แบน) มิได้หันเหจิตใจฝักใฝ่ด้วย[1]
พระยาอภัยภูเบศร (แบน) ยังได้ยุติปัญหาที่นำไปสู่ความขัดแย้งกับญวน โดยได้มอบนักถิผู้เป็นภรรยาและแม่ยายสมเด็จพระอุไทยราชาธิราชรามาธิบดี จนทำให้ครอบครัวพระยาเขมรที่อยู่ที่เมืองพระตะบองเกิดความระส่ำระส่าย ต่างพากันอพยพตามนักถิไปเป็นจำนวนมาก ทำให้ญวนและเขมรไม่สามารถหาเหตุมาตีพระตะบองได้
เมื่อ พ.ศ. 2355 เจ้าเมืองพระตะบองมีบทบาทในการป้องกันเมืองหน้าด่านชายแดนไทย ออกสู้รบกับกองทัพเขมรของสมเด็จพระอุไทยราชาธิราชรามาธิบดี ก่อนที่ทางกรุงเทพจะไปถึง พระยาอภัยภูเบศร (แบน) ว่าราชการได้ 5 ปี ถึงอนิจกรรมเมื่อ พ.ศ. 2357[2]
บุตรธิดา
[แก้]พระยาอภัยภูเบศร (แบน) มีบุตรธิดา รวม 9 คน ดังนี้
- พระวิเศษสุนทร (เตียง)
- พระภักดีบริรักษ์ (ศรี)
- พระยานุภาพไตรภพ (อง) บุตรเลี้ยง
- หลวงอาสาประเทศ
- นายเสือ
- อัมพา
- อำแดงแป้น
- อำแดงมก
- อำแดงเมน
อ้างอิง
[แก้]- ↑ ระยับศรี กาญจนะวงศ์. "บทบาทของเจ้าเมืองพระตะบองในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์พ.ศ. 2337-2449" (PDF). มหาวิทยาลัยศิลปากร. p. 110–113.
- ↑ ไกรฤกษ์ นานา. "สยามรัฐท่ามกลางจักวรรดินิยม". p. 61.