ฌัก-หลุยส์ ดาวีด

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ฌัก-หลุยส์ ดาวีด
Jacques-Louis David
ภาพเหมือนของตนเอง ค.ศ.1794
ปัจจุบันอยู่ในพิพิธภัณฑ์ลูฟวร์
ประธานสภากงว็องซียงแห่งชาติ
ดำรงตำแหน่ง
5 มกราคม ค.ศ.1794 – 20 มกราคม ค.ศ.1794
ก่อนหน้าฌอร์ฌ โอกุสต์ กูตง
ถัดไปMarc Guillaume Alexis Vadier
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด30 สิงหาคม ค.ศ. 1748(1748-08-30)
ปารีส, ราชอาณาจักรฝรั่งเศส
เสียชีวิต29 ธันวาคม ค.ศ. 1825(1825-12-29) (77 ปี)
บรัสเซลส์, สหราชอาณาจักรเนเธอร์แลนด์
เชื้อชาติฝรั่งเศส
ศิษย์เก่าวิทยาลัยจตุรชาติ, มหาวิทยาลัยปารีส
รางวัลปรีซ์เดอโรม
เครื่องอิสริยาภรณ์เลฌียงดอเนอร์

ฌัก-หลุยส์ ดาวีด (ฝรั่งเศส: Jacques-Louis David; 30 สิงหาคม ค.ศ. 1748 - 29 ธันวาคม ค.ศ. 1825) เป็นศิลปินในยุคนีโอคลาสสิก ที่มีชื่อเสียงในช่วงการปฏิวัติฝรั่งเศสและยังเป็นจิตรกรในจักรพรรดินโปเลียนที่ 1

ประวัติ[แก้]

ช่วงต้น[แก้]

ฌัก-หลุยส์ ดาวีดเกิดมาในครอบครัวที่ร่ำรวยในปารีส เมื่อเขาอายุได้ประมาณเก้าขวบ พ่อของเขาก็เสียชีวิตลง แม่จึงพาไปอยู่กับลุงที่คณะสถาปนิก เขาเข้ารับการศึกษาที่วิทยาลัยแห่งชาติ แต่เขาก็ไม่เคยเป็นนักเรียนที่ดีเลย เพราะดาวีดมักแอบวาดภาพในชั้นเรียนเสมอ สมุดเสก็ตของเขาเต็มไปด้วยภาพวาดและครั้งหนึ่งเขาเคยกล่าวว่า ผมมักจะซ่อนอยู่หลังเก้าอี้ และวาดภาพตลอดระยะเวลาาของชั่วโมงเรียน นอกจากนี้เขายังป่วยเป็นเนื้องอกบนใบหน้าซึ่งทำให้เขาพูดไม่ค่อยชัด

ในไม่ช้าเขาก็มีความต้องการจะเป็นจิตรกร แต่ลุงและแม่ของเขาคัดค้าน เนื่องจากต้องการให้เขาเป็นสถาปนิก ดาวีดเอาชนะคำคัดค้านเหล่านั้นและไปเรียนศิลปะกับจิตรกรที่มีชื่อเสียงขณะนั้นคือ ฟร็องซัว บูเช และได้รับการสนับสนุนจากบูเชมาตลอด ตอนอายุได้ 18 ปี บูเชส่งเขาไปเรียนกับโฌแซ็ฟ-มารี เวียง (Joseph-Marie Vien) จากนั้นเขาก็ได้เข้าเรียนที่ Royal Academy ของฝรั่งเศส ปัจจุบันคือพิพิธภัณฑ์ลูฟวร์

ดาวีดพยายามที่จะชนะการแข่งขันกร็องพรีเดอรอม ซึ่งเป็นทุนการศึกษาศิลปะของสถาบันการศึกษาแห่งฝรั่งเศส (French Academy) ในกรุงโรม ประเทศอิตาลี เขาล้มเหลวถึงห้าครั้งและทุกครั้งที่ล้มเหลวเขาก็จะผิดหวัง ครั้งหนึ่งเขาแพ้เพราะไม่ได้ปรึกษาเวียงผู้เป็นอาจารย์ และเป็นคณะกรรมการตัดสินในครั้งนั้นด้วย และเวียงมีความรู้สึกว่าการศึกษาสำหรับดาวีดนั้นสามารถรอได้ หลังจากพลาดโอกาสในปี ค.ศ. 1772 ดาวีดก็เขาร่วมการประท้วงอดอาหาร แต่เขาประท้วงได้เพียงสองวัน อาจารย์ของเขาก็เรียกเขาไปพบเพื่อสนับสนุนให้เขาวาดภาพต่อไป

เขายังคงศึกษาศิลปะ แม้จะล้มเหลวในการชนะกร็องพรีเดอรอม อีกครั้งในปีถัดมา แต่สุดท้ายปี ค.ศ. 1774 ดาวีดก็คว้ารางวัลชนะเลิศมาจนได้ ด้วยผลงาน Erasistratus Discovering the Cause of Antiochus' Disease โดยปกติแล้วผู้ที่จะสามารถเข้าศึกษาที่สถาบันการศึกษาฝรั่งเศสในกรุงโรมได้นั้นจะต้องเข้าโรงเรียนอื่นมาก่อน ทว่าสำหรับดาวีดเขาไม่ต้องทำเช่นนั้น เนื่องจากเวียงอาจารย์ของเขาได้รับตำแหน่งผู้อำนวยการของสถาบันแห่งนี้ในปี ค.ศ. 1775 พอดี เขาจึงไปโรมพร้อมอาจารย์และเข้าศึกษาที่สถาบัน

เมื่ออยู่ในอิตาลีดาวีดได้ดูงานศิลปะคลาสสิกชิ้นสำคัญในสมัยโรมันและซากนครปอมเปอีที่เขารู้สึกเหมือนได้เติมเต็มความรู้สึกมหัศจรรย์ และทำให้เขาประทับใจ จนวาดภาพลงสมุดเสก็ตหมดไปถึง 12 เล่ม และดาวีดยังได้พบกับศิลปินยุคแรกเริ่มของยุคนีโอคลาสสิก คือ ราฟาเอล เมงส์ (Raphael Mengs) และเมงส์ได้แนะนำทฤษฎีการทำงานของนักประวัติศาสตร์ศิลปะ โยฮันน์ โยอาคิม วิงเคิลมันน์ (Johann Joachim Winckelmann) ดาวีดได้เรียนรู้ถึงเทคนิคสำคัญและผลงานที่ได้รับการยกย่องทั้งของราฟาเอลและศิลปินคนอื่น ๆ จากการค้นหาประวัติศิลปินที่เกี่ยวข้องกับงานศิลปะในยุคคลาสสิก

ชีวิตการทำงาน[แก้]

เมื่ออยู่ในโรงเรียน ดาวีดได้รับการยอมรับจากเพื่อนในโรงเรียนว่าเป็นอัจฉริยะ แต่เขาก็เป็นคนที่เพื่อนเข้าใจยากเช่นกัน ดาวีดอยู่ในโรมได้ 5 ปี เขาก็กลับไปยังปารีสและได้เป็นสมาชิกของ Royal Academy และในปี ค.ศ. 1781 เขาก็ส่งภาพสองภาพไปยังสถาบัน ภาพทั้งสองก็ได้เป็นส่วนหนึ่งของการแสดงงานศิลปะประจำปี ซึ่งถือว่าเป็นเกียรติอย่างมากสำหรับดาวีด และได้รับการยกย่องจากจิตรกรที่มีชื่อเสียงในยุคนั้น ทว่าการบริหารงานของคณะบริหารของสถาบันกลับเป็นศัตรูกับเด็กหนุ่ม หลังจากการแสดงงานศิลปะประจำปี กษัตริย์ให้สิทธิพิเศษแก่ดาวีดให้เขาสามารถพักในลูฟวร์ได้ ซึ่งเป็นความปรารถนาอย่างมากของศิลปินคนสำคัญ

ต่อมาเขาก็แต่งงาน และได้มีนักเรียนเป็นของตนเองประมาณ 40-50 คน และได้รับหน้าที่ให้วาดภาพ Horace de fended by his Father แต่ไม่นานเขาก็บอกว่า ถ้าไม่ใช่ในโรม ฉันไม่สามารถวาดคนโรมันได้ ดังนั้นผู้อุปการะของเขาจึงให้เงินเพื่อเป็นค่าเดินทางไปยังโรม ดาวีดเดินทางไปโรมพร้อมกับภรรยาและลูกศิษย์สามคน

ที่โรมในปี ค.ศ. 1784 ดาวีดได้วาดภาพ Oath of the Horatii และในปี ค.ศ. 1787 ดาวีดก็พลาดตำแหน่งผู้อำนวยการของสถาบันการศึกษาฝรั่งเศสที่โรม เพราะคณะกรรมการบอกว่าเขายังเด็กเกินไปที่จะทำงานนี้แต่พวกเขาก็บอกว่าจะสนับสนุนดาวีด ในปีเดียวกันนี้เองดาวีดก็ได้แสดงผลงานที่มีชื่อเสียงของเขา Death of Socrates หรือความตายของโสกราตีส นักวิจารณ์ศิลปะเปรียบเทียบภาพการตายของโสกราตีสของดาวีดกับภาพ Sistine Ceiling ของมีเกลันเจโล และภาพ Stanze ของราฟาเอล หลังจากการแสดงงานนิทรรศการครั้งที่สิบสองของเขาว่า "สมบูรณ์แบบในทุกอย่าง" เดอนี ดีเดอโร (Denis Diderot) นักปรัชญาและนักวิจารณ์ศิลปะชาวฝรั่งเศสกล่าวไว้ว่า ดูเหมือนดาวีดเลียนแบบศิลปะปูนปั้นนูนต่ำของสมัยโบราณ และภาพวาดมีการสอดคล้องกับสถานการณ์การเมืองในเวลานั้น แต่ภาพนี้ไม่ได้รับเกียรติจากงานนิทรรศการศิลปะประจำของ Works of Encouragement

สำหรับภาพวาดต่อมาในปี ค.ศ. 1789 ดาวีดสร้าง The Lictors Bring to Brutus the Bodies of His Sons งานชิ้นนี้เขียนก่อนเกิดการปฏิวัติฝรั่งเศส เมื่อสมัชชาแห่งชาติ (คณะปฏิวัติ) ได้รับการยอมรับและคุกบัสตีย์ถูกยึด ทางราชสำนักไม่ต้องการให้มีการเผยแพร่สิ่งใดที่จะเป็นการปลุกระดมประชาชน ดังนั้นภาพทั้งหมดจะต้องมีการตรวจสอบก่อนถูกนำขึ้นแขวน แม้แต่ภาพ Portrait of Lavoisier ของนักเคมีและนักฟิสิกส์ที่เป็นสมาชิกของสโมสรฌากอแบ็ง ก็ถูกห้ามนำแขวนด้วยเหตุผลดังกล่าว เมื่อหนังสือพิมพ์รายงานว่ารัฐบาลไม่ได้อนุญาตให้แสดงภาพ The Lictors Bring to Brutus the Bodies of His Sons ของดาวีด ประชาชนก็ไม่พอใจอย่างมากและสุดท้ายราชวงศ์ได้ยินยอมให้แขวนภาพนี้ โดยดูแลความปลอดภัยจากนักเรียนศิลปะ

การปฏิวัติฝรั่งเศส[แก้]

ในช่วงเริ่มต้นการปฏิวัตินี้ ดาวีดเป็นผู้สนับสนุนการปฏิวัติ เขาศรัทธาในรอแบ็สปีแยร์และสมาชิกของสมาคม ในขณะที่คนอื่นเดินทางออกจากเมืองเพื่อโอกาสที่ดีกว่า ดาวีดกลับอยู่ช่วยล้มล้างระบบเก่า เขาออกเสียงโหวตในที่ประชุมแห่งชาติสำหรับการประหารชีวิตพระเจ้าหลุยส์ที่ 16 ซึ่งไม่แน่ใจว่าทำไมเขาถึงทำอย่างนี้ ทั้งที่มีเขาจะมีโอกาสที่ดีมากมายภายใต้การปกครองของกษัตริย์มากกว่าระบบใหม่ บางคนแนะว่าความรักในยุคคลาสสิกของดาวีดทำให้เขายอมรับทุกสิ่งทุกอย่างในยุคสมัยนั้น รวมทั้งรัฐบาลระบอบสาธารณรัฐด้วย

ดาวีดเริ่มทำงานที่เป็นการกระตุ้นทางสังคม เขาได้วาดภาพบรูตัสที่จัดแสดงในละครเวทีเรื่อง Brutus ของวอลแตร์ซึ่งเป็นนักประพันธ์ของฝรั่งเศส และได้รับการตอบรับเป็นอย่างดีจากผู้คน ปี ค.ศ. 1789 ดาวีดพยายามที่จะสร้างเอกลักษณ์ของศิลปะในช่วงเริ่มยุคของการปฏวัติ โดยการวาดภาพ The Oath of the Tennis Court ภาพนี้เป็นภาพการสาบานร่วมกันของสมัชชาแห่งชาติที่ใช้สนามเทนนิสเป็นที่ประชุม

ปี ค.ศ. 1790 ดาวีดเริ่มเปลี่ยนแปลงแนวทางการวาดภาพ เขาวาดภาพเหตุการณ์สำคัญเป็นภาพประวัติศาสตร์ซึ่งจะนำออกแสดงที่งานนิทรรศการในปีต่อไป โดยใช้เทคนิคปากกาและหมึก ภาพแสดงให้เห็นถึงความสามัคคีของคนที่รักชาติ การทำงานศิลปะนี้เป็นตัวแทนของเหตุการณ์สำคัญ

ดาวีดรวมสัญลักษณ์ของการปฏิวัติมากมายและสร้างขึ้นมาเป็นภาพโดยลักษณะของภาพจะเหมือนพวกยุคคลาสสิกเป็นภาพแบบกรีก การแสดงภาพเขียนเพื่อเป็นสิ่งที่กระตุ้นผู้คนนั้นอยู่ในความรับผิดชอบดูแลของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงประชาสัมพันธ์ ในงานเทศกาลครบรอบการปฏิวัติระบอบพระมหากษัตริย์ ภาพ Hercules ได้เปิดเผยในการเดินขบวนต่อจากเลดีลิเบอร์ตี (มารียาน) เป็นสัญลักษณ์ความคิดของวิชาอุดมคติที่ถูกล้มล้างระบอบโดยใช้ภาพ Hercules เป็นสัญลักษณ์ ในคำพูดของเขาระหว่างที่ขบวนกำลังดำเนินไป เขากล่าวถึงพรรคฝ่ายค้านให้ความสำคัญระหว่างประชาชน และการปกครองที่มีพระมหากษัตรรย์ทรงเป็นประมุข หลังจากภาพ Hercules ได้รับการแต่งตั้งทำให้ความขัดแย้งนี้ชัดเจนยิ่งขึ้น มันเป็นความคิดอุดมคติที่ดาวีดเชื่อมโยงกับ Hercules ของเขาที่เปลี่ยนจากสัญลักษณ์ของระบอบการปกครองเก่าเป็นสัญลักษณ์ใหม่ที่มีประสิทธิภาพของการปฏิวัติ ดาวีดหันไปเข้าเป็นตัวแทนของกลุ่มอำนาจนิยม แต่เขาได้รับความชื่นชอบจากกษัตริย์ซึ่งมันเป็นสิ่งตรงข้ามของสัญลักษณ์ และภาพ Hercules ได้กลายเป็นสัญลักษณ์ของการชุมนุมไปในที่สุด

หลังจากพระเจ้าหลุยส์ที่ 16 ทรงถูกประหารชีวิต เมื่อ 21 มกราคม ค.ศ. 1793 ก็มีผู้ถูกลอบสังหารอีกคนโดยฝีมือองครักษ์เพื่อเป็นการแก้แค้นสำหรับการโหวตให้กับการประหารชีวิตกษัตริย์ ผู้ถูกสังหารคือ หลุยส์ มีแชล เลอ เปเลอตีเย เดอ แซ็ง ฟาร์โฌ (Louis Michel le Peletier de Saint Fargeau) ดาวีดถูกเรียกตัวไปในงานศพ และเขาได้วาด Le Peletier Assassinated เป็นภาพที่เขาถูกลอบสังหาร งานชิ้นนี้เป็นสิ่งสำคัญในอาชีพการงานของเขา เพราะเป็นงานชิ้นแรกของการปฏิวัติฝรั่งเศส

วันที่ 13 กรกฎาคม ค.ศ. 1793 มารา เพื่อนของดาวีดถูกลอบสังหารโดยชาร์ล็อต กอร์แด ด้วยมีดที่เธอซ่อนไว้ในเสื้อผ้า เธอเข้าไปในบ้านของมาราโดยใช้ข้ออ้างว่าจะเสนอรายชื่อของคนที่เป็นศัตรูกับประเทศฝรั่งเศส มาราขอบคุณเธอและบอกว่าพวกเขาจะประหารชีวิตคนเหล่านั้นด้วยกิโยตีนในสัปดาห์ต่อไป กอร์แดก็แทงเขาทันที และเธอก็ถูกประหารชีวิตในเวลาต่อมา

กอร์แดเป็นสมาชิกของพรรคการเมืองฝ่ายตรงข้ามซึ่งชื่อปรากฏอยู่ในกระดาษข้อความของมาราใน ภาพการตายของมารา (The Death of Marat) ตามที่ดาวีดได้วาดเอาไว้ บางทีภาพนี้อาจเป็นภาพที่มีชื่อเสียงที่สุดของดาวีด จนได้รับการเรียกว่า "ปีเอตาของการปฏิวัติ" (Pietà of revolution) หลังจากการประหารชีวิตของกษัตริย์หลุยส์ สงครามระหว่างสาธารณรัฐใหม่และประเทศมหาอำนาจในยุโรป ดาวีดได้เป็นสมาชิกของคณะกรรมาธิการความมั่นคงทั่วไป (Committee of General Security) คณะกรรมาธิการเข้มงวดมากเมื่อมีการให้ประหารมารี อ็องตัวแน็ต ดาวีดได้เป็นคนที่วาดภาพบันทึกเหตุการณ์ถูกประหารของนาง

ดาวีดจัดงานเทศกาลครั้งสุดท้ายของเขาเป็นการจัดงานครั้งใหญ่ที่สุด เป็นเทศกาลแห่งพระผู้เป็นเจ้า ซึ่งเป็นสิ่งที่ทำให้เกิดความเชื่ออย่างแรงกล้า และเขาก็ตัดสินใจที่จะสร้างศาสนาใหม่ผสมความคิดทางศีลธรรมกับสาธารณรัฐบนพื้นฐานความคิดของรูโซและรอแบ็สปีแยร์ ในฐานะพระชั้นสูงองค์ใหม่ ในไม่ช้าสงครามเริ่มเป็นไปด้วยดี กองทหารฝรั่งเศสเดินทางข้ามตอนใต้ของเนเธอร์แลนด์ แต่เกิดภาวะเร่งด่วนเพราะผู้คุมศูนย์กลางของกองทัพมีจำนวนไม่มาก แล้วในที่สุดกองทัพก็พ่ายแพ้ในสงคราม ดาวีดก็ถูกจับกุมในฐานะที่เป็นคนร่วมขบวนการนี้ด้วย และขณะที่อยู่ในเรือนจำนั้นเขาได้วาดภาพเหมือนของตนเอง

หลังการปฏิวัติ[แก้]

หลังจากภรรยาของเขามาเยี่ยมในเรือนจำ เขาได้เกิดความคิดที่จะบอกเล่าเรื่องราวของ Sabine Women โดยเป็นเรื่องราวของผู้หญิงที่เข้ามาระหว่างนักรบที่กำลังต้อสู้กัน ภาพวาดนี้เขียนขึ้นเพื่อเป็นเกียรตแก่ภรรยาของเขา

ดาวีดคิดสไตล์ใหม่สำหรับการวาดภาพนี้ซึ่งเขาเรียกว่า "แบบอย่างกรีก" เมื่อเทียบกับ "แบบอย่างโรมัน" ภาพวาดของเขาก่อนหน้านี้ได้รับอิทธิพลอย่างมากจากการทำงานของนักประวัติศาสตร์โยฮันน์ โยอาคิม ในคำพูดของดาวีดเขากล่าวไว้ว่า ลักษณะที่โดดเด่นที่สุดของผลงานชิ้นเอกของกรีกมีความเรียบง่าย สง่างามและความยิ่งใหญ่ในความเงียบที่แสดงออกมาก่อให้เกิดความประทับใจ และงานนี้ยังนำเขาไปสู่ความสนใจของนโปเลียน

ดาวีดมีความเลื่อมใสในตัวนโปเลียนตั้งแต่ครั้งแรกที่พบตั้งแต่สมัยที่นโปเลียนยังไม่ได้เป็นจักรพรรดิ และนโปเลียนเองก็ชื่นชอบในตัวดาวีดอย่างมากทรงโปรดเกล้าฯ ให้ดาวีดเข้ามาเป็นจิตรกรประจำราชสำนัก และขอให้ดาวีดไปอียิปต์ด้วยกันในปี ค.ศ. 1798 แต่ดาวีดปฏิเสธ โดยอ้างว่าเขาแก่เกินไปสำหรับการผจญภัยและส่งนักเรียนของตนไปแทน

หลังจากที่รัฐประหารของนโปเลียนประสบความสำเร็จ นโปเลียนก็ให้ดาวีดรับหน้าที่วาดภาพของพระองค์ขณะที่ข้ามภูเขาแอลป์ เพื่อแสดงถึงความกล้าหาญและชัยชนะของพระองค์ ในที่สุดดาวีดก็กลายเป็นจิตรกรของราชสำนักอย่างเป็นทางการ ภาพที่วาดนั้นคือ Napoleon at the Saint-Bernard Pass และนโปเลียนก็ควบคุมการเขียนภาพนี้ด้วยตนเอง ซึ่งมีการเปลี่ยนแปลงวากซ้ำหลายครั้ง

ถูกเนรเทศและความตาย[แก้]

เมื่อราชวงศ์บูร์บงกลับมามีอำนาจอีกครั้ง หลังจากจักรพรรดินโปเลียนเสื่อมอำนาจ ดาวีดก็อยู่ในรายชื่อของผู้ปฏิวัติในอดีตที่โหวตให้มีการปลดและประหารชีวิตกษัตริย์หลุยส์ที่ 16 กษัตริย์บูร์บงพระองค์ใหม่หรือพระเจ้าหลุยส์ที่ 18 พระราชทานอภัยโทษให้แก่ดาวีด และให้เขามาเป็นจิตรกรของราชสำนัก แต่ดาวีดปฏิเสธและเนรเทศตัวเองไปอยู่ที่กรุงบรัสเซลส์ เมืองหลวงของเบลเยียม ที่นั่นเขาได้ฝึกฝนงานศิลปะและเขายังมีอิทธิพลต่อศิลปินบรัสเซลส์ เช่น ฟร็องซัว-โฌแซ็ฟ นาแวซ และอีญัส บริส เขาอาศัยอยู่เงียบ ๆ กับภรรยาในช่วงเวลาที่เหลือของชีวิตของเขา ในเวลานั้นเขาได้วาดภาพฉากที่เป็นตำนานและรูปประชาชนของกรุงบรัสเซลส์ และภาพที่เกี่ยวกับนโปเลียน เช่น Baron Gerard

ดาวีดสร้างงานในช่วงสุดท้ายของเขาที่ใช้เวลาอันยาวนาน นั่นคือ ภาพ Mars Being Disarmed by Venus and the three Graces ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1822-1824 ในเดือนธันวาคมของปีค.ศ. 1823 เขาได้เขียนไว้ว่า "นี่คือภาพสุดท้ายของฉัน ฉันต้องการจะวาด แต่ฉันต้องการตัวเองเกินกว่าในภาพนี้ ฉันจะใส่วันที่ฉันอายุ 74 ปีเอาไว้ และหลังจากนั้นฉันจะไม่จับพู่กันของฉันอีกแล้ว" เมื่อวาดภาพเสร็จภาพได้แสดงครั้งแรกในกรุงบรัสเซลส์ ที่ปารีสนักศึกษาเก่าของเขาและผู้คนไปชมนิทรรศการ ทำให้ได้ผลกำไร 13,000 ฟรังก์หลังจากหักค่าใช้จ่าย

ดาวีดเสียชีวิตลงในวันที่ 29 ธันวาคม ค.ศ. 1825 เนื่องจากตอนที่เขากำลังจะออกจากโรงละครเกิดอุบัติเหตุรถปะทะกัน หลังจากเขาเสียชีวิตภาพวาดของเขาบางส่วนก็ถูกนำมาประมูล ร่างของเขาไม่ได้รับอนุญาตให้ฝังในฝรั่งเศสด้วยเหตุผลที่ปลงพระชนม์พระเจ้าหลุยส์ที่ 16 ร่างของจิตรกร ฌัก-หลุยส์ ดาวีด จึงถูกฝังอยู่ที่สุสานบรัสเซลส์ ในขณะที่หัวใจของเขาถูกฝังอยู่ที่ปารีส

ผลงาน[แก้]

การทำงานระหว่างการปฏิวัติฝรั่งเศส[แก้]

ผลงานในช่วง ค.ศ. 1781-1799

การทำงานในราชสำนักนโปเลียน[แก้]

มีหลายผลงานหลายทั้งตอนที่นโปเลียนยังเป็นนายพลและจักรพรรดิ

นโปเลียนขณะนำทัพรบกับอิตาลีโดยสามารถพิชิตเทือกเขาแอลป์โดยสลักชื่อว่า bornaparte ว่าเป็นหนึ่งในผู้พิชิตเทือกเขาแอลป์
ภาพนโปเลียนสวมมงกุฎให้โฌเซฟีนที่มหาวิหารน็อทร์-ดาม

ช่วงหลังของชีวิต[แก้]

ผลงานท้าย ๆ[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]