ข้ามไปเนื้อหา

ซัมบวงกา

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ซัมบวงกา
นครหนาแน่น
เรียงตามเข็มนาฬิกาจากบนสุด: ศาลาว่าการซัมบวงกา, เกาะเกรตซันตาครูซ, Paseo del Mar, ภาพมุมสูง, Metropolitan Cathedral of Immaculate Conception, มัสยิดซันตาบาร์บารา
สมญา: 
เมืองแห่งดอกไม้
เมืองละตินเอเชีย
เมืองแห่งปลาซาร์ดีน
คำขวัญ: 
Build Back Better Zamboanga
เพลง: Zamboanga Hermosa
ที่ตั้งในเขตตังไวนางซัมบวงกา
ประเทศ ฟิลิปปินส์
เขตตังไวนางซัมบวงกา
จังหวัดตีโมกซัมบวงกา (ในเชิงภูมิศาสตร์เท่านั้น)
District1st (West Coast) and 2nd (East Coast) districts of Zamboanga City
ก่อตั้ง23 มิถุนายน พ.ศ. 2178
ตั้งขึ้นตามกฎหมาย12 ตุลาคม พ.ศ. 2479 (ค.ศ. 1936)
ยกสถานะเป็นนคร26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2479 (ค.ศ. 1937)
บารังไกย์98
การปกครอง
 • ประเภทSangguniang Panlungsod
 • นายกเทศมนตรีMaria Isabelle Climaco-Salazar
 • รองนายกเทศมนตรีRommel Agan
 • Congressman
 • ผู้เลือกตั้ง467,535 คน (พ.ศ. 2562)
พื้นที่[1]
 • ทั้งหมด1,414.7 ตร.กม. (546.2 ตร.ไมล์)
อันดับพื้นที่อันดับที่ 3
ความสูง16.0 เมตร (52.5 ฟุต)
ประชากร
 (พ.ศ. 2558)[2]
 • ทั้งหมด861,799 คน
 • ความหนาแน่น610 คน/ตร.กม. (1,600 คน/ตร.ไมล์)
เดมะนิมZamboangueño
เขตเวลาUTC+8 (PST)
รหัสไปรษณีย์7000
PSGC097332000
ไอดีดี:รหัสโทรศัพท์+63 (0)62
ภูมิอากาศแบบร้อนชื้น
ระดับรายได้นครระดับที่ 1
เว็บไซต์www.zamboanga.gov.ph

ซัมบวงกา (ชาบากาโน: Zamboanga, ฟิลิปปินส์: Zamboanga) เป็นนครหนาแน่นแห่งหนึ่งในเขตตังไวนางซัมบวงกา ประเทศฟิลิปปินส์ มีประชากร 861,799 คนในปี พ.ศ. 2558 เป็นนครที่มีประชากรมากเป็นอันดับที่ 6 และมีพื้นที่มากเป็นอันดับที่ 3 ของประเทศ[3] นครแห่งนี้ถือเป็นศูนย์พาณิชยกรรมและอุตสาหกรรมของภูมิภาคตังไวนางซัมบวงกา[4] ซัมบวงกาได้รับการยกฐานะให้เป็นนครหนาแน่นเมื่อวันที่ 22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2526[5]

แม้ว่าในทางภูมิศาสตร์ ซัมบวงกาจะตั้งอยู่ในจังหวัดตีโมกซัมบวงกา แต่นครปกครองอย่างเป็นอิสระจากตัวจังหวัด[6][7]

ภูมิอากาศ

[แก้]
ข้อมูลภูมิอากาศของซัมบวงกา
เดือน ม.ค. ก.พ. มี.ค. เม.ย. พ.ค. มิ.ย. ก.ค. ส.ค. ก.ย. ต.ค. พ.ย. ธ.ค. ทั้งปี
อุณหภูมิสูงสุดที่เคยบันทึก °C (°F) 39
(102)
42
(108)
37
(99)
41
(106)
37
(99)
42
(108)
40
(104)
38
(100)
41
(106)
37
(99)
37
(99)
38
(100)
42
(108)
อุณหภูมิสูงสุดเฉลี่ย °C (°F) 31
(88)
31
(88)
31
(88)
32
(90)
32
(90)
31
(88)
31
(88)
31
(88)
31
(88)
31
(88)
31
(88)
31
(88)
31
(88)
อุณหภูมิเฉลี่ยแต่ละวัน °C (°F) 27
(81)
27
(81)
28
(82)
28
(82)
28
(82)
28
(82)
27
(81)
28
(82)
27
(81)
27
(81)
27
(81)
27
(81)
28
(82)
อุณหภูมิต่ำสุดเฉลี่ย °C (°F) 23
(73)
23
(73)
24
(75)
24
(75)
25
(77)
24
(75)
24
(75)
24
(75)
24
(75)
24
(75)
23
(73)
23
(73)
24
(75)
อุณหภูมิต่ำสุดที่เคยบันทึก °C (°F) 17
(63)
17
(63)
20
(68)
13
(55)
21
(70)
20
(68)
17
(63)
21
(70)
15
(59)
13
(55)
21
(70)
20
(68)
13
(55)
ปริมาณฝน มม (นิ้ว) 40
(1.57)
50
(1.97)
40
(1.57)
50
(1.97)
90
(3.54)
120
(4.72)
130
(5.12)
120
(4.72)
130
(5.12)
160
(6.3)
110
(4.33)
80
(3.15)
1,190
(46.85)
ความชื้นร้อยละ 90 90 89 91 91 92 93 92 92 93 93 91 92
วันที่มีฝนตกโดยเฉลี่ย 1 1 2 3 6 4 3 3 4 6 4 1 38
แหล่งที่มา: Canty and Associates LLC [8]

การท่องเที่ยว

[แก้]

กรมการท่องเที่ยวเลือกซัมบวงกาให้เป็นจุดหมายปลายทางด้านการท่องเที่ยวที่สำคัญบนคาบสมุทรซัมบวงกา[9] ในปี พ.ศ. 2548 มีนักท่องเที่ยวเข้ามา 439,160 คน ซึ่งเพิ่มขึ้นจากปีก่อน 8% และจากการรายงาน พบว่า 50% ของนักท่องเที่ยวที่เข้ามาในประเทศฟิลิปปินส์ จะมาเยี่ยมเยือนซัมบวงกาด้วย[10]

ประชากรศาสตร์

[แก้]

ประชากร

[แก้]

ซัมบวงกาเป็นนครที่มีประชากรมากเป็นอันดับที่ 6 ของประเทศ และอันดับที่ 2 ของมินดาเนา รองจากดาเบา ในช่วงปี พ.ศ. 2553–2558 พบว่ามีประชากรเพิ่มขึ้นถึง 54,670 คน คิดเป็นร้อยละ 1.26 ซึ่งน้อยกว่าช่วงปี พ.ศ. 2543–2553 ที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.98% คาดการณ์ว่าประชากรจะถึงหลักล้านในช่วงปี พ.ศ. 2563–2568[11]

บารังไกย์ที่มีประชากรมากที่สุดคือ ตาโลน-ตาโลน ซึ่งมีประชากรร้อยละ 4.1 ของนคร รองลงมาเป็นบารังไกย์มัมปัง (4.0%), ตูมากา (3.6%), เตตูอัน (3.5%), คาลารีอัน (3.4%), ซันโรเค และปาโซนันคา (ทั้งคู่ 3.2%)

ศาสนา

[แก้]

ส่วนใหญ่นับถือศาสนาคริสต์ ร้อยละ 70 รองลงมานับถือศาสนาอิสลาม ร้อยละ 25 และมีกลุ่มน้อยที่นับถือศาสนาพุทธ, ลัทธินอกศาสนา, ลัทธิวิญญาณ, อเทวนิยม และศาสนาซิกข์

กลุ่มชาติพันธุ์

[แก้]

บรรพบุรุษของผู้อาศัยในเมืองปัจจุบัน ถูกเชื่อว่ามีการอพยพไปยังมินดาเนาตะวันตกเฉียงใต้ กลุ่มชาติพันธุ์ที่ยังคงเหลือในตัวเมืองนี้ ได้แก่ ซามา, ยาคัน, เตาซุก และบัดเจา[12][13][14][15]

ภาษา

[แก้]

ซัมบวงเกโน เป็น 1 ใน 6 ภาษาของฟิลิปปินส์ที่มีพื้นฐานจากภาษาสเปน มักรู้จักกันในชื่อภาษาชาบากาโน[16] ภาษานี้ใช้พูดกันในตัวเมืองและในจังหวัดบาซีลันที่อยู่ใกล้เคียงกัน ภาษาหลักอื่น ๆ ได้แก่ ภาษาฟิลิปีโน และภาษาอังกฤษ

ภาษาอื่น ๆ ที่พูดโดยผู้อพยพเข้ามาในตัวเมือง ได้แก่ ภาษาเตาซุก, ภาษาเซบัวโน, ภาษาฮีลีไกโนน และภาษาซูบาโนน

การขนส่ง

[แก้]

ทางอากาศ

[แก้]

ท่าอากาศยานนานาชาติซัมบวงกา มีทางวิ่งยาว 2,610 เมตร สามารถรองรับเครื่องบินใหญ่อย่าง C-17 Globemaster III, Antonov An-124, Airbus A330 และ Boeing 747 ได้[17][18] โดยรัฐบาลได้อัดฉีดเงินกว่า 240 ล้านเปโซเพื่อปรับปรุงท่าอากาศยาน[19] ในปี พ.ศ. 2551 ท่าอากาศยานนานาชาติซัมบวงกาเป็นท่าอากาศยานที่มีผู้โดยสารมากเป็นอันดับที่ 10 ของประเทศ[20]

ทางบก

[แก้]

รูปแบบการขนส่งภายในตัวเมืองได้แก่ แท็กซี่, รถจี๊ปนีย์, รถสามล้อเครื่อง และ ฮาบาล-ฮาบาล[21] นอกจากนี้ยังมีรถโดยสารปรับอากาศของกลุ่มบริษัทรถโดยสารประจำทางยันโซน ที่ให้บริการระยะทางไกลจากซัมบวงกาไปยังส่วนอื่น ๆ ของมินดาเนาและวิซายัส

ทางทะเล

[แก้]

ในปี พ.ศ. 2545 ท่าเรือซัมบวงกา มีสถิติผู้โดยสารกว่า 5.57 ล้านคน แซงหน้าท่าเรือที่จังหวัดบาตังกัส 1.3 ล้านคน และท่าเรือมะนิลาที่ 1.59 ล้านคน[22] ต่อมาวันที่ 28 พฤษภาคม พ.ศ. 2552 รัฐบาลได้สนับสนุนเงินกว่า 700 ล้านเปโซ เพื่อขยายท่าเรือ[23]

เมืองพี่น้อง

[แก้]
ในประเทศ
ต่างประเทศ

อ้างอิง

[แก้]
  1. "Province: ZAMBOANGA DEL SUR". Philippine Statistics Authority. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 12 มีนาคม 2016. สืบค้นเมื่อ 8 พฤษภาคม 2018.
  2. "Total Population by Province, City, Municipality and Barangay: as of August 1, 2015". Philippine Statistics Authority. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (xlsx)เมื่อ 9 มกราคม 2020. สืบค้นเมื่อ 8 พฤษภาคม 2018.
  3. "Largest City in the Philippines". 2010. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 10 พฤศจิกายน 2012. สืบค้นเมื่อ 16 เมษายน 2010.
  4. "Executive Order No. 429, October 12, 1990". Supreme Court E-Library. สืบค้นเมื่อ 15 มีนาคม 2016.
  5. "New Page 4". www.dipolognon.com. สืบค้นเมื่อ 5 พฤษภาคม 2018.
  6. "Zamboanga City, Zamboanga Del Sur | Philippine Statistics Authority". psa.gov.ph (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2018-05-05.
  7. "Zamboanga del Sur - Just another WordPress weblog". Zamboanga del Sur (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). สืบค้นเมื่อ 5 พฤษภาคม 2018.
  8. "Zamboanga City Weather 1930 -2016". Weatherbase. สืบค้นเมื่อ 7 มกราคม 2017.
  9. "Zamboanga picked as peninsula's tourism flagship," BusinessWorld. September 22, 2006.
  10. "Zamboanga Peninsula shaping up as a tourist draw," BusinessWorld. 6 ตุลาคม 2006.
  11. Mercurio, Richmond S. (19 กันยายน 2015). "Philippine cities with over 1M population to nearly triple by 2025". Philippine Star.
  12. "THE BADJAO SEA PEOPLE OF ZAMBOANGA". The Coral Triangle. สืบค้นเมื่อ 4 พฤษภาคม 2018.
  13. "The Badjao of Zamboanga: Victims of war and relocation". Rappler (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 4 พฤษภาคม 2018.
  14. Mawallil, Amir. "OPINION: A perspective on Tausug bravery". ABS-CBN News (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). สืบค้นเมื่อ 4 พฤษภาคม 2018.
  15. "Meeting the Yakan people in Zamboanga City". Rappler (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 4 พฤษภาคม 2018.
  16. "El Torno Chabacano". Instituto Cervantes. Instituto Cervantes.
  17. "ZAM | Zamboanga International Airport". skyscrapercity.com. 21 กันยายน 2011.
  18. "Antonov An-124-100 approaching at the Zamboanga City International Airport". MyAviation.net. 2009. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 22 เมษายน 2014. สืบค้นเมื่อ 8 พฤษภาคม 2018.
  19. "365 completion of rehabilitition of the existing facilies of the airport". Daily Zamboanga Times. 2008. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 3 มีนาคม 2016. สืบค้นเมื่อ 8 พฤษภาคม 2018.
  20. "Airport of Zamboanga". 2010. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 22 เมษายน 2009. สืบค้นเมื่อ 20 เมษายน 2009.
  21. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 6 เมษายน 2018. สืบค้นเมื่อ 8 พฤษภาคม 2018.
  22. "Philippine Ports Authority". 2010. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 31 มกราคม 2009. สืบค้นเมื่อ 20 เมษายน 2009.
  23. "700 Million Php port expansion project". sunstar zamboanga. 2009. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 15 มกราคม 2010.
  24. Raymond Tan Shu Kiah (19 มิถุนายน 2000). "The Seminar On Twin City - Sandakan and Zamboanga". Virtual Office of Datuk Raymond Tan Shu Kiah. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 14 เมษายน 2012. สืบค้นเมื่อ 27 มีนาคม 2014.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]