ชนากานต์ ยืนยง
ชนากานต์ ยืนยง เป็นอดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดปทุมธานี 1 สมัย อดีตสมาชิกวุฒิสภาจังหวัดปทุมธานี และอดีตอธิการบดีมหาวิทยาลัยปทุมธานี
ประวัติ[แก้]
ดร.ชนากานต์ ยืนยง เกิดเมื่อวันที่ 15 ตุลาคม พ.ศ. 2491 สำเร็จการศึกษาประกาศนียบัตรวิชาการศึกษา จากวิทยาลัยครูพระนครศรีอยุธยา ปริญญาตรี ครุศาสตรบัณฑิต (ค.บ.) จากวิทยาลัยครูเพชรบุรีวิทยาลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ ปริญญาโท ครุศาสตรอุตสาหกรรมมหาบัณฑิต จากสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง และ doctor of management science สาขาการจัดการ , TECHNOLOGICAL UNIVERSITY OF THE PHILIPPINES ประเทศฟิลิปปินส์
การทำงาน[แก้]
ดร.ชนากานต์ ยืนยง เป็นผู้รับใบอนุญาตจัดตั้งสถาบันอุดมศึกษาเอกชน โดยได้รับอนุญาตให้จัดตั้งตามพระราชบัญญัติสถาบันอุดมศึกษาเอกชนในนาม “วิทยาลัยปทุมธานี” เมื่อวันที่ 27 ธันวาคม พ.ศ. 2542[1] (ปัจจุบันคือ มหาวิทยาลัยปทุมธานี) และดำรงตำแหน่งอธิการบดีจนถึงปัจจุบัน และเป็นผู้รับใบอนุญาต วิทยาลัยนครราชสีมา[2] วิทยาลัยนอร์ทเทิร์น[3] (เดิมคือ วิทยาลัยลุ่มน้ำปิง)[4] และสถาบันอุดมศึกษาอีกหลายแห่ง
ดร.ชนากานต์ ยืนยง เข้าสู่งานการเมืองโดยการลงสมัครรับเลือกตั้งในการเลือกตั้งสมาชิกวุฒิสภาไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2549 ได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกวุฒิสภาจังหวัดปทุมธานี ต่อมาลงสมัครรับเลือกตั้งในการเลือกตั้งซ่อมแทน เอกพจน์ ปานแย้ม ส.ส.ปทุมธานี ซึ่งถูกตัดสิทธิ์ทางการเมือง 5 ปี ในคดียุบพรรคการเมือง พ.ศ. 2551[5] และได้รับเลือกตั้งในนามพรรคประชาราช
ต่อมาปี 2554 เธอลงสมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ ลำดับที่ 18 พรรคภูมิใจไทย[6] แต่ไม่ได้รับเลือกตั้ง เนื่องจากพรรคภูมิใจไทยได้เพียง 5 ที่นั่ง
เครื่องราชอิสริยาภรณ์[แก้]
- พ.ศ. 2553 –
เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นที่ 1 ประถมาภรณ์มงกุฎไทย (ป.ม.)[7]
- พ.ศ. 2552 –
เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นที่ 2 ทวีติยาภรณ์ช้างเผือก (ท.ช.)[8]
- พ.ศ. 2558 –
เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่สรรเสริญยิ่งดิเรกคุณาภรณ์ ชั้นที่ 2 ทุติยดิเรกคุณาภรณ์ (ท.ภ.)[9]
อ้างอิง[แก้]
- ↑ ประวัติมหาวิทยาลัยปทุมธานี[ลิงก์เสีย]
- ↑ วิทยาลัยนครราชสีมา
- ↑ วิทยาลัยนอร์ทเทิร์น
- ↑ อดีต ส.ส.เจ้าของใหม่“วิทยาลัยลุ่มน้ำปิง”-ไฟเขียว ม.เซนต์จอห์นเปลี่ยนผู้จัดตั้ง
- ↑ "เปิดชื่อ 109 กก.บริหาร "พปช.-ชาติไทย-มัชฌิมาฯ" ถูกยุบ-เพิกถอนสิทธิเลือกตั้ง 5 ปี". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-08-18. สืบค้นเมื่อ 2021-06-03.
- ↑ รายชื่อปาร์ตี้ลิสต์ภูมิใจไทย
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๕๓ เก็บถาวร 2022-11-28 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๗ ตอนที่ ๑๔ ข หน้า ๑๔๑, ๘ ธันวาคม ๒๕๕๓
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๕๒ เก็บถาวร 2022-11-08 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๖ ตอนที่ ๑๖ ข หน้า ๔, ๔ ธันวาคม ๒๕๕๒
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่สรรเสริญยิ่งดิเรกคุณาภรณ์ ประจำปี ๒๕๕๘ เก็บถาวร 2022-05-23 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๓๒ ตอนที่ ๓๒ ข หน้า ๘๓, ๔ ธันวาคม ๒๕๕๘
- บุคคลที่เกิดในปี พ.ศ. 2491
- บุคคลที่ยังมีชีวิตอยู่
- นักการเมืองสตรีชาวไทย
- สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดปทุมธานี
- สมาชิกวุฒิสภาจังหวัดปทุมธานี
- พรรคประชาธิปัตย์
- พรรคประชาราช
- พรรคภูมิใจไทย
- บุคคลจากมหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา
- บุคคลจากมหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์
- บุคคลจากคณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง
- บุคคลจากมหาวิทยาลัยปทุมธานี
- บุคคลจากวิทยาลัยนครราชสีมา
- บุคคลจากวิทยาลัยนอร์ทเทิร์น