จอห์น ฮอปฟีลด์
จอห์น ฮอปฟีลด์ | |
---|---|
ฮอปฟีลด์เมื่อปี 2016 | |
เกิด | จอห์น โจเซฟ ฮอปฟีลด์ 15 กรกฎาคม ค.ศ. 1933 ชิคาโก รัฐอิลลินอยส์ สหรัฐอเมริกา |
การศึกษา | วิทยาลัยสวาร์ธมอร์ (AB) มหาวิทยาลัยคอร์เนล (PhD) |
มีชื่อเสียงจาก | โครงข่ายฮอปฟีลด์ โครงข่ายฮอปฟีลด์สมัยใหม่ ฮอปฟีลด์ไดอิเล็กทริก โพลาริตอน คิเนติกพรุฟรีดดิง |
รางวัล |
|
อาชีพทางวิทยาศาสตร์ | |
สาขา | ฟิสิกส์ อณูชีววิทยา ระบบเชิงซ้อน ประสาทวิทยาศาสตร์ |
สถาบันที่ทำงาน | เบลล์แล็บส์ มหาวิทยาลัยพรินซ์ตัน มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย เบิร์กลีย์ แคลเทค |
วิทยานิพนธ์ | A quantum-mechanical theory of the contribution of excitons to the complex dielectric constant of crystals (1958) |
อาจารย์ที่ปรึกษาในระดับปริญญาเอก | แอลเบิร์ต โอเวอร์ฮาวเซอร์ |
ลูกศิษย์ในระดับปริญญาเอก | สตีเวน เกอร์วิน แบร์ทรันด์ ฮัลเพริน เดวิด เจ ซี แม็กเคย์ โฌเซ โอนูชิก แทรี เซยโนวสกี เอริก วินฟรี |
จอห์น โจเซฟ ฮอปฟีลด์ (อังกฤษ: John Joseph Hopfield; เกิด 15 กรกฎาคม 1933)[1] เป็นนักฟิสิกส์ชาวสหรัฐอเมริกา ศาสตราจารย์ประจำมหาวิทยาลัยพรินซ์ตัน ที่เป็นที่รู้จักดีที่สุดจากผลงานการศึกษาโครงข่ายประสาทเทียมแบบเชื่อมโยง ในปี 1982 และในฐานะผู้พัฒนาโครงข่ายฮอปฟีลด์
ในปี 2024 ฮอปฟีลด์และเจฟฟรีย์ ฮินตัน ได้รับรางวัลโนเบลสาขาฟิสิกส์ จากบทบาทในการพัฒนาระดับรากฐานของการเรียนรู้ของเครื่อง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเรื่องโครงข่ายประสาทเทียม[2][3] เขามีผลงานโดดเด่นในพหุสาขา รวมทั้ง ฟิสิกส์สสารควบแน่น, ฟิสิกส์เชิงสถิติ และ ชีวฟิสิกส์
ฮอปฟีลด์ได้รับเลือกเป็นสมาชิกสถาบันวิทยาศาสตร์แห่งชาติในปี 1973, สถาบันศิลปวิทยาศาสตร์แห่งชาติในปี 1975 และสมาคมปรัชญาอเมริกันในปี 1988[4][5][6] ในปี 1985 เขาได้รับรางวัลโกลด์เพลตอวอร์ด (Golden Plate Award) จากสถาบันความสำเร็จอเมริกัน[7] และรางวัลอัลเบิร์ต ไอน์สไตน์เวิลด์อวอร์ด ในปี 2005 ในสาขาวิทยาศาสตร์ชีวภาพ[8] เขาดำรงตำแหน่งประธานสมาคมฟิสิกส์อเมริกันในปี 2006[9]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ "Hopfield, John J." Physics History Network American Institute of Physics. สืบค้นเมื่อ 2024-10-08.
- ↑ "Press release: The Nobel Prize in Physics 2024". NobelPrize.org (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ October 8, 2024. สืบค้นเมื่อ 2024-10-08.
- ↑ Taylor, D.B.; และคณะ (2024-10-08), "Nobel Physics Prize Awarded for Pioneering A.I. Research by 2 Scientists", The New York Times, เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ October 8, 2024, สืบค้นเมื่อ 2024-10-08
- ↑ "John J. Hopfield". www.nasonline.org. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ March 24, 2019. สืบค้นเมื่อ May 24, 2020.
- ↑ "John Joseph Hopfield". American Academy of Arts & Sciences. October 12, 2023. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ October 8, 2024. สืบค้นเมื่อ May 24, 2020.
- ↑ "APS Member History". search.amphilsoc.org. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ October 18, 2023. สืบค้นเมื่อ May 24, 2020.
- ↑ "Golden Plate Awardees of the American Academy of Achievement". www.achievement.org. American Academy of Achievement. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ December 15, 2016. สืบค้นเมื่อ June 26, 2020.
- ↑ "Albert Einstein World Award of Science 2005". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ October 23, 2013. สืบค้นเมื่อ August 13, 2013.
- ↑ "John Hopfield, Array of Contemporary Physicists". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ October 19, 2013. สืบค้นเมื่อ October 19, 2013.