โครงข่ายฮอปฟีลด์
โครงข่ายฮอปฟีลด์ (Hopfield network) เป็นรูปแบบหนึ่งของโครงข่ายประสาทเทียม เสนอโดยจอห์น ฮอปฟีลด์ นักฟิสิกส์ชาวอเมริกัน[1]
โครงข่ายฮอปฟีลด์เป็นโครงข่ายแบบไม่ประสานเวลาที่มีการโต้ตอบแบบสมมาตรระหว่างหน่วย (เซลล์ประสาท) และทำให้พลังงานของโครงข่ายเป็นค่าต่ำสุดโดยผ่านการดำเนินการตามธรรมชาติ เดิมทีโครงข่ายนี้ถูกคิดขึ้นมาเพื่อเป็นแบบจำลองในการกำหนดเงื่อนไขความเสถียรของแก้วสปิน แต่ต่อมาได้รับการยอมรับในวงกว้างในฐานะแบบจำลองสำหรับหน่วยความจำเชื่อมโยงโดยผ่านโครงข่าย กลายเป็นหนึ่งในแรงบันดาลใจที่นำไปสู่งานวิจัยด้านโครงข่ายประสาทเทียม และยังกลายเป็นพื้นฐานสำหรับเครื่องบ็อลทซ์มันในเวลาต่อมาด้วย
โครงข่ายนี้เป็นแบบจำลองที่ใช้ความผันแปรทางสถิติเพื่อมุ่งเป้าไปที่การทำให้ได้ค่าพลังงานต่ำสุดวงกว้างไม่ใช่แค่ค่าต่ำสุดแบบเฉพาะที่
ในปี 2024 จอห์น ฮอปฟีลด์ได้รับรางวัลโนเบลสาขาฟิสิกส์ร่วมกันกับเจฟฟรีย์ ฮินตันจากการมีส่วนร่วมในการพัฒนาด้านการเรียนรู้ของเครื่อง รวมถึงการคิดค้นโครงข่ายฮอปฟีลด์
โครงสร้างและการทำงาน
[แก้]แต่ละหน่วยภายในโครงข่ายฮอปฟีลด์มีสมบัติค่าป้อนเข้าและค่าขาออกแบบแมคคัลลอค–พิตส์ (McCulloch–Pitts)
ในแต่ละช่วงของเวลา ให้ เป็นค่าสัมประสิทธิ์คู่ควบจากหน่วย ถึง ส่วน คือค่าขีดแบ่งของหน่วย ในขณะที่ เป็นค่าขาออกของหน่วย ในที่นี้ สำหรับคู่ , ทั้งหมด ถ้า แล้ว ในขณะที่ถ้า แล้ว
พลังงานของโครงข่ายทั้งหมด นิยามได้เป็น
แบบจำลองที่มีโครงสร้างดังกล่าวทำงานสำหรับแต่ละส่วนของเวลาดังต่อไปนี้
- เลือกหนึ่งหน่วยโดยการสุ่ม
- คำนวณผลรวมถ่วงน้ำหนักของค่าป้อนเข้าของหน่วยนั้น
- ปรับค่าขาออกของหน่วยนั้นโดยขึ้นกับผลลัพธ์
- ถ้ามากกว่าค่าขีดแบ่ง ให้เป็น 1
- หากเท่ากับค่าขีดแบ่ง ให้เป็นค่าเดียวกับค่าปัจจุบัน
- ถ้าน้อยกว่าค่าขีดแบ่ง ให้เป็น 0
- เพิ่มค่า และทำซ้ำตั้งแต่เริ่มต้น
พอทำเช่นนั้นแล้วก็จะเห็นได้ว่าโดยง่ายว่า จะมีแต่ลดลงไปเรื่อย ๆ เมื่อ เพิ่มขึ้น แล้วในที่สุดก็จะลู่เข้าค่าต่ำสุดค่าหนึ่งไม่เปลี่ยนแปลงอีก
อ้างอิง
[แก้]- ↑ Hopfield, J.J. (1982). "Neural network and physical systems with emergent collective computational abilities". Proceedings of the National Academy of Sciences of the United States of America. 79 (8): 2554–8. PMID 6953413.