ความกลัว

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก ความหวาดกลัว)
เด็กคนหนึ่งกำลังแสดงความกลัวในสภาพแวดล้อมที่ไม่แน่นอน
สีหน้าแสดงความกลัว จากหนังสือ The Expression of the Emotions in Man and Animals ของชาลส์ ดาร์วิน

ความกลัว เป็นอารมณ์ที่เกิดจากการรับรู้ภัยคุกคามของสิ่งมีชีวิต ซึ่งเป็นสาเหตุให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางสมองและการทำงานของอวัยวะ และการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมในที่สุด เช่น การวิ่งหนี การหลบซ่อน หรือการช็อคจากเหตุการณ์ที่ทำร้ายจิตใจ ความกลัวอาจเป็นการตอบสนองต่อตัวกระตุ้นที่เกิดขึ้นในสถานการณ์ปัจจุบัน หรือในอนาคต ซึ่งรับรู้ว่าเป็นความเสี่ยงต่อสุขภาพหรือชีวิต สถานภาพ อำนาจ ความปลอดภัย หรือความมั่งคั่ง หรือสิ่งมีค่าใด ๆ การตอบสนองความกลัวเกิดขึ้นได้จากการรับรู้อันตรายที่นำไปสู่การเผชิญหน้าหรือการหลบหนีจากภัยคุกคาม ซึ่งในกรณีความกลัวสุดโต่ง อาจทำให้ช็อคหรือชาได้

ในมนุษย์และสัตว์ ความกลัวเกิดขึ้นจากกระบวนการประชานและเรียนรู้ ดังนั้นความกลัวจึงสามารถประเมินได้ว่ามีเหตุผลหรือเหมาะสม และไม่มีเหตุผลหรือไม่เหมาะสม ความกลัวที่ไม่มีเหตุผลเรียกว่า โรคกลัว (phobia)

นักจิตวิทยาหลายคน เช่น จอห์น บี. วัตสัน โรเบิร์ต พลุตชิก และพอล เอ็กแมน แนะว่ามีอารมณ์พื้นฐานหรืออารมณ์ที่มีตั้งแต่เกิดอยู่จำนวนหนึ่ง หนึ่งในนั้นคือความกลัว กลุ่มความรู้สึกที่เป็นสมมุติฐานนี้รวมถึงอารมณ์ต่าง ๆ เช่น ความสุข ความเศร้า ความสยองขวัญ ความตื่นตระหนก ความกังวล ปฏิกิริยาเฉียบพลันต่อความเครียด และความโกรธ

ความกลัวมีความหมายใกล้เคียงกับ "ความกังวล" แต่แตกต่างกัน โดยความกังวลเกิดขึ้นเป็นผลจากภัยคุกคามที่รับรู้ว่าควบคุมไม่ได้หรือหลีกเลี่ยงไม่ได้[1]

การตอบสนองความกลัวเป็นการเอาตัวรอดโดยสร้างการตอบสนองพฤติกรรมที่เหมาะสม คงสภาพเช่นนี้ด้วยวิวัฒนาการ[2]

ดูเพิ่ม[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. Öhman, A. (2000). "Fear and anxiety: Evolutionary, cognitive, and clinical perspectives". In M. Lewis & J. M. Haviland-Jones (Eds.). Handbook of emotions. pp. 573–593. New York: The Guilford Press.
  2. Olsson, A.; Phelps, E. A. (2007). "Social learning of fear". Nature Neuroscience. 10 (9): 1095–1102. doi:10.1038/nn1968. PMID 17726475.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]