ข้ามไปเนื้อหา

ดัชนีการระเบิดของภูเขาไฟ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ความสัมพันธ์กันระหว่างดัชนีความปะทุได้ของภูเขาไฟและปริมาณตกกระทบ

ดัชนีการระเบิดของภูเขาไฟ (อังกฤษ: Volcanic Explosivity Index: VEI) เป็นมาตราสัมพัทธ์ของการระเบิดของภูเขาไฟ คริสโตเฟอร์ จี นิวฮอลล์แห่งหน่วยงานสำรวจธรณีวิทยาสหรัฐอเมริกาและสตีเฟน เซลฟ์ ที่มหาวิทยาลัยฮาวาย คิดค้นเมื่อปี 1982

ปริมาณของผลผลิต ความสูงของเมฆที่เกิดจากการปะทุ และการสังเกตการณ์เชิงคุณภาพ ใช้เพื่อกำหนดค่าของการระเบิด มาตรานี้เป็นมาตราปลายเปิดโดยมีขนาดของกิจกรรมภูเขาไฟที่ใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์ที่ 8 ซึ่งค่าเริ่มจาก 0 สำหรับภูเขาไฟที่ไม่ได้ระเบิด โดยนิยามว่าน้อยกว่า 10,000 ม.3 ของเทบพราที่พุ่งออกมา และ 8 จะนิยามถึงการระเบิดครั้งมหึมา ซึ่งสามารถพ่นเทบพราออกมาได้ 1.0 × 1012 ม.3 และมีเมฆสูงในแนวตั้งกว่า 20 กิโลเมตร มาตราส่วนนี้เป็นลอการิทึมกับแต่ละช่วงเวลาในมาตราที่แสดงถึงการเพิ่มขึ้นเป็นสิบเท่าในเกณฑ์การพุ่งที่สังเกตได้ ยกเว้น VEI 0, 1 และ 2[1]

การจัดระดับ

[แก้]

ดัชนีนั้นเริ่มจากระดับ 0 ถึง 8 โดยดัชนีการระเบิดของภูเขาไฟนั้นเกี่ยวข้องกับการปะทุ ขึ้นกับว่ามีวัสถุภูเขาไฟนั้นถูกพ่นออกมามากน้อยเพียงใด ความสูงเท่าไร และมีระยะเวลาในการปะทุนานเท่าใด มาตราส่วนตั้งแต่ VEI-2 ขึ้นไปนั้นเป็นแบบลอกอลิทึม โดยการเพิ่มขึ้นทุกครั้ง 1 ระดับจะแสดงถึงการปะทุที่มีพลังมากเพิ่มขึ้นเป็นสิบเท่า ในตารางต่อไปนี้แสดงถึงความถี่ของแต่ละ VEI และค่าโดยประมาณของการปะทุใหม่ของ VEI นั้นหรือสูงกว่า

ระดับ
VEI
ปริมาตร
มวลสารปะทุ
การจัดระดับ คำอธิบาย เถ้าปะทุ ความถี่ การพ่นขึ้นไปบน
ชั้นโทรพอสเฟียร์
การพ่นขึ้นไปบน
ชั้นสตราโตสเฟียร์[2]
ตัวอย่าง
0 < 104 ม.3 ฮาวายเอียน ล้นออกมา
(Effusive)
< 100 ม. ต่อเนื่อง น้อยนิด ไม่มี
ภูเขาฮูดู (ประมาณ 7050 ปีก่อนคริสต์ศักราช)[3], เออริบัส (2506), คีเลาเวอา (2520), เกาะโซโกรโร (2536), มอว์สันพีค (2549), ดัลโล (2554), ปิตน เดอ ลา ฟัวร์เนส (2560)
1 > 104 ม.3 ฮาวายเอียน / สตรอมโบเลียน เบา
(Gentle)
100 ม. – 1 กม. รายวัน เล็กน้อย ไม่มี
สตรอมโบลี (ปะทุมาตั้งแต่สมัยจักรวรรดิโรมันโบราณ), ยีรากองโก (2545), เกาะราอูล (2549)
2 > 106 m3 สตรอมโบเลียน / วูลคาเนียน ระเบิด
(Explosive)
1–5 กม. 2 สัปดาห์ ปานกลาง ไม่มี
อังเซ็น (2335), กุมเบรวิเอคา (2492), กาเลรัซ (2536), ซีนาบุง (2553), วากาอารี (2562)
3 > 107 ม.3 วูลคาเนียน / เปเลียน / ซับพลิเนียน มหันตภัย
(Catastrophic)
3–15 กม. 3 เดือน มากมาย เป็นไปได้
ลาสเซนพีค (2458), เนวาโดเดลรุยซ์ (2528), โซฟรีแอร์ฮิลส์ (2538), องทาเกะ (2557), อานักกรากะตัว (2561)
4 > 0.1 กม.3 เปเลียน / พลิเนียน/ซับพลิเนียน หายนะ
(Cataclysmic)
> 10 กม. (แบบพลิเนียนหรือซับพลิเนียน) 18 เดือน มากมาย แน่นอน
ตาอัล (2292), ลากิ (2326), คีเลาเวอา (2333), มายอน (2357), เปอเล (2445), โกลีมา (2456), ซากูราจิมะ (2457), คาตัว (2461), กาลุงกุง (2525), เอยาฟยาตลาเยอคุตล์ (2553), เมอราปี (2553), เนโบร (2554), กัลบูโก (2558)
5 > 1 กม.3 เปเลียน / พลิเนียน ปะทุ
(Paroxysmic)
> 10 กม. (แบบพลิเนียน) 12 ปี มากมาย มีนัยสำคัญ
วิซูเวียส (622), ฟุจิ (2250), ภูเขาทาราเวรา (2429), ภูเขาอากุง (2506), เซนต์เฮเลนส์ (2523), เอลชิชน (2525), ภูเขาฮุดสัน (2534), ปูเยอวย (2554)
6 > 10 กม.3 พลิเนียน / อัลตราพลิเนียน มหึมา
(Colossal)
> 20 กม. 50 - 100 ปี มากมาย มากมาย
ภูเขาไฟทะเลสาบลาคา (ประมาณ 12,900 ปีก่อนคริสตกาล), ภูเขาเวเนียมินอฟ (ประมาณ 1750 ปีก่อนคริสตกาล), ทะเลสาบอีโลปังโก (1078), อวยนาปูตินา (2143), กรากะตัว (2426), ซานตามาเรีย (2445), โนวารัพตา (2455), ปินาตูโบ (2534)
7 > 100 กม.3 อัลตราพลิเนียน มหามหึมา
(Super-colossal)
> 20 กม. 500 - 1,000 ปี มากมาย มากมาย
แมซามา (ประมาณ 5600 ปีก่อนคริสตกาล), ธีรา (ประมาณ 1620 ปีก่อนคริสตกาล), ตาอูโป (723), แพ็กตู (1489), ซามาลัส (ภูเขารินจานี) (1800), ตัมโบรา (2538)
8 > 1000 กม.3 อัลตราพลิเนียน อภิมหามหึมา
(Mega-colossal)
> 20 กม. > 50,000 ปี[4][5] มโหฬาร มโหฬาร
ลาแคริตาแคลเดรา (26.3 ล้านปีก่อน), เยลโลว์สโตน (630,000 ปีก่อนคริสตกาล), โตบา (74,000 ปีก่อนคริสตกาล), ตาอูโป (25,360 ปีก่อนคริสตกาล)

อ้างอิง

[แก้]
  1. Newhall, Christopher G.; Self, Stephen (1982). "The Volcanic Explosivity Index (VEI): An Estimate of Explosive Magnitude for Historical Volcanism" (PDF). Journal of Geophysical Research. 87 (C2): 1231–1238. Bibcode:1982JGR....87.1231N. doi:10.1029/JC087iC02p01231. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ December 13, 2013.
  2. "Volcanic Explosivity Index (VEI)". Global Volcanism Program. Smithsonian National Museum of Natural History. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ November 10, 2011. สืบค้นเมื่อ August 21, 2014.
  3. "Global Volcanism Program - Hoodoo Mountain". volcano.si.edu.
  4. Dosseto, A. (2011). Turner, S. P.; Van-Orman, J. A. (บ.ก.). Timescales of Magmatic Processes: From Core to Atmosphere. Wiley-Blackwell. ISBN 978-1-4443-3260-5.
  5. Rothery, David A. (27 August 2010). Volcanoes, Earthquakes and Tsunamis. Teach Yourself. ISBN 978-1444103113.