กลไกทางประสาทของการเจริญสติ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

ในสาขาจิตวิทยาของชาวตะวันตก สติ (อังกฤษ: Mindfulness[1]) ซึ่งสามารถฝึกได้โดยการเ[2] เป็น "การเพ่งความใส่ใจของตนไปที่อารมณ์ ความคิด และความรู้สึกในกายที่เกิดขึ้นในขณะนี้ โดยตั้งใจ โดยยอมรับ โดยไม่ตัดสิน"[2] เป็นการปฏิบัติที่มาจากการเจริญสติในพุทธศาสนา และสร้างความนิยมในประเทศตะวันตกโดย ศ. ดร. จอน คาแบต-ซินน์ ผู้เป็นศาสตราจารย์กิตติคุณของคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยแมสซาชูเซตส์ เป็นหลักปฏิบัติที่มีหลักฐานแล้วว่า มีผลดีต่อปัญหาทางจิตเวชหลายอย่าง เช่น ความเศร้าซึม และดังนั้นจึงมีการประยุกต์ใช้โปรแกรมบำบัดรักษาโดยใช้สติ[3] ตัวอย่างของโปรแกรมเหล่านี้รวมทั้ง mindfulness-based cognitive therapy (ตัวย่อ MBCT แปลว่าการบำบัดทางประชานอาศัยการฝึกสติ), และ mindfulness-based stress reduction (ตัวย่อ MBSR แปลว่า การลดความเครียดอาศัยสติ) ความสามารถประยุกต์ใช้การเจริญสติในการบำบัดรักษา เป็นเรื่องที่มีหลักฐานชัดเจนแล้ว และก็มีงานศึกษาหลายงานที่พยายามจะแยกแยะองค์ประกอบของการเจริญสติ แต่ว่า กลไกการออกฤทธิ์ (Mechanism of action) ที่เป็นรากฐานทางสมองของการเจริญสติและมีผลต่อการบำบัดรักษา ยังเป็นเรื่องที่ยังไม่มีการศึกษาละเอียดดี

พระพุทธรูปปางเจริญสติ

กลไกการออกฤทธิ์ของการเจริญสติ[แก้]

มีการเสนอองค์ประกอบสี่อย่าง ว่าเป็นกลไกการออกฤทธิ์ของการเจริญสติ คือ การควบคุมความใส่ใจ การสำนึกในกาย การควบคุมอารมณ์ และการเปลี่ยนมุมมองเกี่ยวกับตน (เกี่ยวกับอัตตา)[3] ซึ่งล้วนแต่เป็นองค์ประกอบที่สืบเนื่องกัน คือ ยกตัวอย่างเช่น เมื่อเกิดสิ่งเร้าภายนอก การควบคุมการใส่ใจจะช่วยรักษาความมีสติไว้ จะมีสำนึกทางกายที่ดีขึ้น เช่นสำนึกถึงใจที่เต้นเร็วขึ้น ซึ่งปกติจะเป็นเหตุให้เกิดปฏิกิริยาทางอารมณ์ แต่ปฏิกิริยาทางอารมณ์จะควบคุมได้ดีขึ้น ทำให้ปฏิกิริยาไม่เกิดเป็นนิสัย แต่จะเปลี่ยนไปตามของประสบการณ์แต่ละขณะ ซึ่งในที่สุดจะนำไปสู่การเปลี่ยนมุมมองเกี่ยวกับตน (เกี่ยวกับอัตตา)

การควบคุมการใส่ใจ[แก้]

Anterior cingulate cortex

การควบคุมการใส่ใจเป็นวิธีการใส่ใจในวัตถุ โดยสำนึกและยอมรับได้เมื่อมีใจแวบไปทางอื่น แล้วกลับมาใส่ใจที่วัตถุอีกครั้งหนึ่ง หลักฐานบางส่วนเกี่ยวกับกลไกที่เป็นฐานของการควบคุมการใส่ใจระหว่างการเจริญสติ มีดังต่อไปนี้

  • ผู้เจริญสติมีการทำงานใน anterior cingulate cortex ส่วนหน้า (rostral) หรือย่อว่า rACC และ medial prefrontal cortex (MPFC) ส่วนล่าง (dorsal)[4] ซึ่งบอกเป็นนัยว่า ผู้เจริญสติสามารถประมวลสิ่งเร้าที่ไม่มีลงรอยกันหรือเป็นตัวกวนสมาธิ และควบคุมอารมณ์ได้ดีกว่า แต่ว่า เมื่อผู้เจริญสติมีประสิทธิภาพในการใส่ใจได้ดีขึ้น การควบคุมก็จำเป็นน้อยลง ซึ่งในระยะยาวจะลดการทำงานของ ACC[5]
  • เนื้อเทาของเปลือกสมองในเขต ACC ส่วนล่าง (dorsal) หรือย่อว่า dACC หนากว่าในผู้ชำนาญการเจริญสติ[6]
  • มีคลื่นสมองแบบทีตาในสมองกลีบหน้าแนวกลาง (midline theta rhythm) มากขึ้น ซึ่งสัมพันธ์กับการทำงานที่ต้องมีการใส่ใจมาก และเชื่อกันว่า เป็นการแสดงการทำงานใน ACC[7]

ACC มีหน้าที่ตรวจจับข้อมูลที่ขัดแย้งกันที่มาจากตัวกวนสมาธิ เมื่อบุคคลมีสิ่งเร้าที่ขัดแย้งกัน สมองอาจจะประมวลสิ่งเร้าได้อย่างไม่ถูกต้องในเบื้องต้น ซึ่งทำให้เกิดสัญญาณทางสมองแบบ error-related negativity (ERN) แต่ก่อนที่ ERN จะถึงระดับขีดเริ่มเปลี่ยน ส่วนสมองที่เรียกว่า frontocentral N2 จะตรวจจับความขัดแย้งกันได้ และเมื่อแก้ข้อมูลที่ประมวลผิดแล้ว ACC ส่วนหน้า (rostral) ก็จะทำงาน จึงเกิดความใส่ใจในสิ่งเร้าอย่างถูกต้อง[8] ดังนั้น การเจริญสติอาจจะใช้รักษาโรคที่เกี่ยวกับความใส่ใจเช่น สมาธิสั้นและโรคอารมณ์สองขั้วได้

ความสำนึกในกาย[แก้]

เนื้อเทาและ insula

ความสำนึกในกาย หมายถึงการพุ่งความสนไปที่สิ่งที่รับรู้หรือภารกิจภายในกาย เช่น การหายใจ ผู้เจริญสติ 10 ท่านให้คำตอบในการสัมภาษณ์เชิงคุณภาพ เป็นตัวอย่างดังต่อไปนี้[9]

  • "ถ้ากำลังเดินอยู่ ฉันจะตั้งใจสังเกตความรู้สึกการเคลื่อนไหวของกาย"
  • "ฉันจะสังเกตว่า อาหารและเครื่องดื่มมีผลต่อความคิด ความรู้สึกทางกาย และต่ออารมณ์ของฉันอย่างไร"

กลไกการสำนึกรู้ในกายที่เป็นไปได้สองอย่าง ของผู้เจริญสติ มีดังต่อไปนี้

  • ผู้เจริญสติมีเปลือกสมองที่หนากว่า[10] และมีเนื้อเทาที่หนากว่าใน anterior insular cortex ซีกขวา[11]
  • โดยนัยที่ต่างกัน ผู้เริ่มเจริญสติเพียงแค่ 8 อาทิตย์ไม่มีความแตกต่างของเนื้อเทาใน insula แต่มีเนื้อเทาที่หนาเพิ่มขึ้นใน temporo-parietal junction[12]

insula มีหน้าที่เกี่ยวกับการสำนึกรู้สิ่งเร้า และความหนาของเนื้อเทามีสหสัมพันธ์กับความแม่นยำในการตรวจจับสิ่งเร้าของระบบประสาท[13][14] เนื่องจากยังไม่มีหลักฐานเชิงปริมาณที่แสดงว่า การเจริญสติมีผลต่อการสำนึกรู้ทางกาย เรื่องนี้จึงยังไม่เข้าใจกันดี

การควบคุมอารมณ์[แก้]

คอร์เทกซ์กลีบหน้าผากส่วนหน้าและอะมิกดะลา ของคนไข้ความผิดปกติทางบุคลิกภาพแบบก้ำกึ่ง

อารมณ์สามารถควบคุมได้โดยทางประชานหรือทางพฤติกรรม การควบคุมทางประชาน (cognitive regulation) โดยนัยของการเจริญสติ หมายถึงการควบคุมการให้ความใส่ใจกับสิ่งเร้าหนึ่ง ๆ หรือหมายถึงการเปลี่ยนการตอบสนองต่อสิ่งเร้านั้น ๆ ความเปลี่ยนแปลงทางประชานนี้ทำโดย reappraisal (การประเมินใหม่) คือการมองสิ่งเร้าในทางบวก และ extinction (การระงับ) คือการเปลี่ยนการตอบสนองต่อสิ่งเร้าไปในทางตรงกันข้าม ส่วนการควบคุมทางพฤติกรรม (behavioral regulation) หมายถึงการห้ามการแสดงออกของพฤติกรรมบางอย่างเพื่อตอบสนองต่อสิ่งเร้า งานวิจัยบอกเป็นนัยว่า มีกลไกสองอย่างที่การเจริญสติมีอิทธิพลต่อการตอบสนองทางอารมณ์ต่อสิ่งเร้า

  • การเจริญสติควบคุมอารมณ์โดยเพิ่มการทำงานของคอร์เทกซ์กลีบหน้าผากส่วนหน้าส่วนล่างด้านใน (dorso-medial PFC) และ rACC [4]
  • การทำงานเพิ่มขึ้นของคอร์เทกซ์กลีบหน้าผากส่วนหน้าส่วนบนด้านข้าง (ventrolateral PFC) สามารถควบคุมอารมณ์โดยลดการทำงานของอะมิกดะลา[15][16][17] ซึ่งเป็นเหตุการณ์ที่พยากรณ์โดยงานศึกษาหนึ่ง ที่ตามสังเกตผลของการเจริญสติต่อพื้นอารมณ์/ทัศนคติ (mood/attitude) และการทำงานในสมอง[18]

คอร์เทกซ์กลีบหน้าผากส่วนหน้าด้านข้าง (Lateral prefrontal cortex ตัวย่อ lPFC) สำคัญต่อการใส่ใจแบบคัดเลือก ในขณะที่คอร์เทกซ์กลีบหน้าผากส่วนบน (ventral prefrontal cortex ตัวย่อ vPFC) มีหน้าที่ระงับการตอบสนอง และดังที่กล่าวมาแล้วว่า ACC มีส่วนในการรักษาความใส่ใจที่สิ่งเร้า และอะมิกดะลามีหน้าที่ทำให้เกิดอารมณ์ ดังนั้น จึงเชื่อกันว่า การเจริญสติสามารถควบคุมความคิดเชิงลบ และลดระดับการตอบสนองทางอารมณ์ โดยผ่านเขตต่าง ๆ ของสมองเหล่านี้ ความบกพร่องในการควบคุมอารมณ์ จะเห็นได้ในโรคบางอย่างเช่น ความผิดปกติทางบุคลิกภาพแบบก้ำกึ่ง[19] และโรคซึมเศร้า[20] และโรคหลายอย่างเช่นนี้ สัมพันธ์กับ PFC ที่ทำงานลดลง และกับอะมิกดะลาที่ทำงานสูงขึ้น ดังนั้น การเจริญสติอาจจะช่วยทำให้โรคดีขึ้น

การประยุกต์ใช้การเจริญสติ[แก้]

การลดความเจ็บปวด[แก้]

รู้กันแล้วว่าความเจ็บปวดจะกระตุ้นให้เขตสมองเหล่านี้ทำงาน คือ ACC, insula cortex ด้านหน้าและหลัง (anterior/posterior), Somatosensory cortex ทั้งระดับปฐมภูมิและทุติยภูมิ, และทาลามัส[21] การเจริญสติอาจจะมีกลไกหลายอย่างที่ช่วยให้บุคคลสามารถควบคุมความเจ็บปวดเหนือสำนึกได้[21]

  • งานวิจัยในปี ค.ศ. 2010 พบว่า การเจริญสติลดการคาดหวังว่าจะเจ็บ ในสมองกลีบข้างซีกขวา และ mid-cingulate cortex และเพิ่มการทำงานของ ACC และ ventromedial-prefrontal cortex (vm-PFC) และเพราะว่า vm-PFC มีหน้าที่ระงับการตอบสนองทางอารมณ์ต่อสิ่งเร้า จึงสรุปว่า การคาดหวังความเจ็บปวดได้ลดลง เพราะการควบคุมทางประชานและทางอารมณ์[22]
  • ส่วนงานวิจัยอีกงานหนึ่งในปี ค.ศ. 2010 พบว่า ผู้กำลังเจริญสติ มีการทำงานในระดับที่สูงกว่าใน insula, ทาลามัส, และ mid-cingulate cortex และการทำงานในระดับที่ลดลงในเขตสมองที่มีหน้าที่ควบคุมอารมณ์คือ medial-PFC, OFC, และอะมิกดะลา เชื่อกันว่า ผู้เจริญสติมีสถานะทางใจ ที่ช่วยให้ใส่ใจอย่างจดจ่อต่อข้อมูลประสาทสัมผัสที่ได้จากสิ่งเร้า และในขณะเดียวกัน ก็ช่วยระงับการประเมินและการตอบสนองทางอารมณ์อีกด้วย[6]

งานศึกษาแรกพบว่า ผู้เจริญสติไม่แตกต่างในความไวต่อความเจ็บปวด แต่ต่างกันที่การคาดหวังความเจ็บปวด แต่งานศึกษาที่สองแสดงว่า ผู้เจริญสติประสบความเจ็บปวดน้อยกว่า ผลงานศึกษาที่ขัดแย้งกันนี้อาจแสดงว่า กลไกการทำงานของการเจริญสติ อาจขึ้นอยู่กับระดับความชำนาญหรือเทคนิคการเจริญสติ[21]

การตอบสนองทางภูมิคุ้มกัน[แก้]

มีหลักฐานที่แสดงว่า การทำงานในระดับที่สูงกว่าของสมองส่วนหน้า (anterior) ซีกซ้าย อาจมีสหสัมพันธ์กับภูมิคุ้มกันที่ดีกว่า วัดโดยการทำงานของเซลล์ NK (Natural killer cell)[23] และก็มีหลักฐานด้วยที่แสดงว่า ชีวิตที่เคร่งเครียดจะมีผลลบต่อระดับ Antibody titer[24] ซึ่งเป็นระดับสารภูมิต้านทาน (antibody) ในร่างกายที่เป็นการตอบสนองต่อสารแปลกปลอม และเนื่องจากว่า โปรแกรมการเจริญสติหลายโปรแกรม มีจุดหมายเพื่อลดความเครียด จึงมีการศึกษาผลของสติต่อการตอบสนองของภูมิคุ้มกันด้วย

  • ในงานศึกษากับคนไข้ที่เข้าร่วมโปรแกรมการเจริญสติเป็นเวลา 8 อาทิตย์ พบว่า ผู้เจริญสติมีระดับ antibody titer เป็นปฏิกิริยาต่อวัคซีนไข้หวัดใหญ่ที่สูงกว่า และเนื่องจากสมองส่วนหน้า (anterior) ซีกซ้ายทำงานในระดับที่สูงกว่า จึงอาจเป็นเหตุของระดับ antibody titer ที่สูงขึ้น[25]

อ้างอิง[แก้]

  1. แปลตามความหมายที่ใช้ได้ว่า "ความเป็นผู้มีสติ" "สติ" และ "การเจริญสติ" ดังที่พบใน Black, David S. (n.d.), A Brief Definition of Mindfulness (PDF)
  2. 2.0 2.1 Zgierska, A; Rabago, D; Chawla, N; Kushner, K; Koehler, R; Marlatt, A (2009), "Mindfulness meditation for substance use disorders: a systematic review", Subst Abus (Systematic review), 30 (4): 266–94, doi:10.1080/08897070903250019, PMC 2800788, PMID 19904664{{citation}}: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์)
  3. 3.0 3.1 Holzel, B. K.; Lazar, S. W.; Gard, T.; Schuman-Olivier, Z.; Vago, D. R.; Ott, U. (2011). "How Does Mindfulness Meditation Work? Proposing Mechanisms of Action From a Conceptual and Neural Perspective". Perspectives on Psychological Science. 6 (6): 537–559. doi:10.1177/1745691611419671.{{cite journal}}: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์)
  4. 4.0 4.1 Hölzel, B.K; Ott, U; Hempel, H; Hackl, A; Wolf, K; Stark, R; Vaitl, D (2007). "Differential engagement of anterior cingulate cortex and adjacent medial frontal cortex in adept meditators and nonmeditators". Neuroscience Letters. 421: 16–21.{{cite journal}}: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์)
  5. Brefczynski-Lewis, J.A; Lutz, A; Schaefer, H.S; Levinson, D.B; Davidson, R.J (2007). "Neural correlates of attentional expertise in long-term meditation practitioners". Proceedings of the National Academy of Sciences of the United States of America. 104: 11483–11488.{{cite journal}}: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์)
  6. 6.0 6.1 Grant, J.A; Courtemanche, J; Duerden, E.G; Duncan, G.H; Rainville, P (2010). "Cortical thickness and pain sensitivity in Zen meditators". Emotion. 10: 43–53.{{cite journal}}: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์)
  7. Asada, H; Fukuda, Y; Tsunoda, S; Yamaguchi, M; & Tonoike, M (1999). "Frontal midline theta rhythms reflect alternative activation of prefrontal cortex and anterior cingulate cortex in humans". Neuroscience Letters. 274: 29–32.{{cite journal}}: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์)
  8. van Veen, V.; Carter, C.S (2002). "The anterior cingulate as a conflict monitor: FMRI and ERP studies". Physiology & Behavior. 77: 477–482.{{cite journal}}: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์)
  9. Hölzel, B.K; Ott, U; Hempel, H; Stark, R (May 2006), "Wie wirkt Achtsamkeit? Eine Interviewstudie mit erfahrenen Meditierenden" [How does mindfulness work? An interview study with experienced meditators], Paper presented at the 24th Symposium of the Section for Clinical Psychology and Psychotherapy of the German Society for Psychology, Würzburg, Germany{{citation}}: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์)
  10. Lazar, S.W; Kerr, C.E; Wasserman, R.H; Gray, J.R; Greve, D.N;Treadway, M.T; ...; Fischl, B (2005). "Meditation experience is associated with increased cortical thickness". NeuroReport. 16: 1893–1897.{{cite journal}}: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์)
  11. Hölzel, B.K; Ott, U; Gard, T; Hempel, H; Weygandt, M; Morgen,K; Vaitl, D (2008). "Investigation of mindfulness meditation practitioners with voxel-based morphometry". Social Cognitive and Affective Neuroscience. 3: 55–61.{{cite journal}}: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์)
  12. Hölzel, B.K; Carmody, J; Vangel, M; Congleton, C; Yerramsetti, S.M; Gard, T; Lazar, S.W (2011). "Mindfulness practice leads to increases in regional brain gray matter density". Psychiatry Research. 191: 36–43.{{cite journal}}: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์)
  13. Craig, A.D (2003). "Interoception: The sense of the physiological condition of the body". Current Opinion in Neurobiology. 13: 500–505.
  14. Critchley, H.D; Wiens, S; Rotshtein, P; Ohman, A; Dolan, R.J. (2004). "Neural systems supporting interoceptive awareness". Nature Neuroscience. 7: 189–195.{{cite journal}}: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์)
  15. Harenski, C.L.; Hamann, S (2006). "Neural correlates of regulating negative emotions related to moral violations". NeuroImage. 30: 313–324.{{cite journal}}: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์)
  16. Beauregard, M; Levesque, J; Bourgouin, P (2001). "Neural correlates of conscious self-regulation of emotion". Journal of Neuroscience. 21. RC165.{{cite journal}}: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์)
  17. Schaefer, S.M; Jackson, D.C; Davidson, R.J; Aguirre, G.K; Kimberg, D.Y; Thompson-Schill, S.L (2002). "Modulation of amygdalar activity by the conscious regulation of negative emotion". Journal of Cognitive Neuroscience. 14: 913–921.{{cite journal}}: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์)
  18. Creswell, J.D; Way, B.M; Eisenberger, N.I; & Lieberman, M.D (2007). "Neural correlates of dispositional mindfulness during affect labeling". Psychosomatic Medicin. 69: 560–565.{{cite journal}}: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์)
  19. Silbersweig, D; Clarkin, J.F; Goldstein, M; Kernberg, O.F; Tuescher, O; Levy, K.N; . . . Rauch, S.L (2007). "Failure of frontolimbic inhibitory function in the context of negative emotion in borderline personality disorder". American Journal of Psychiatry. 164: 1832–1841.{{cite journal}}: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์)
  20. Abercrombie, H.C; Schaefer, S.M; Larson, C.L; Oakes, T.R; Lindgren,K.A; Holden, J.E; . . . Davidson, R.J (1998). "Metabolic rate in the right amygdala predicts negative affect in depressed patients". NeuroReport. 9: 3301–3307.{{cite journal}}: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์)
  21. 21.0 21.1 21.2 Zeidan, F; Grant, J. A; Brown, C. A; McHaffie, J. G; Coghill, R. C (2012). "Mindfulness meditation-related pain relief: Evidence for unique brain mechanisms in the regulation of pain". Neuroscience Letters. 520 (2): 165–173. doi:10.1016/j.neulet.2012.03.082.{{cite journal}}: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์)
  22. Brown, C.A.; Jones, A.K (September 3, 2010). "Meditation experience predicts less negative appraisal of pain: electrophysiological evidence for the involvement of anticipatory neural responses". Pain. 150: 428–438.{{cite journal}}: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์)
  23. Kang, DH; Davidson, RJ; Coe, CL; Wheeler, RW; Tomarken, AJ; Ershler, WB (1991). "Frontal brain asymmetry and immune function". Behav Neurosci. 105: 860–869.{{cite journal}}: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์)
  24. Kiecolt-Glaser, JK; Glaser, R; Gravenstein, S; Malarkey, WB; Sheridan, J. (1996). "Chronic stress alters the immune response to influenza virus vaccine in older adults". Proc Natl Acad Sci USA. 93: 3043–7.{{cite journal}}: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์)
  25. Davidson, R. J; Kabat-Zinn, J; Schumacher, J; Rosenkranz, M; Muller, D; Santorelli, S. F; . . . Sheridan, J. F (2003). "Alterations in brain and immune function produced by mindfulness meditation". Psychosomatic Medicine. 65 (4): 564–570. doi:10.1097/01.psy.0000077505.67574.e3.{{cite journal}}: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์)

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]

ดูเพิ่ม[แก้]