กปาละ
![]() | บทความนี้อาจต้องการตรวจสอบต้นฉบับ ในด้านไวยากรณ์ รูปแบบการเขียน การเรียบเรียง คุณภาพ หรือการสะกด คุณสามารถช่วยพัฒนาบทความได้ |
กปาละ ( กระโหลกศีรษะมนุษย์ ) | ||||
![]() | ||||
กปาละในพิธีกรรมศาสนาพุทธแบบทิเบตนิกายวัชรยาน | ||||
ศาสนา | ศาสนาฮินดู ลัทธิศักติ ศาสนาพุทธนิกายวัชรยาน | |||
ภาษาอังกฤษ | Kapala | |||
'ภาษาฮินดี | कपाल | |||
ภาษาจีน | 嘎巴拉碗 | |||
ประติมานวิทยาในศาสนาฮินดู | เทวดาในศาสนาฮินดูซึ่งมีลักษณะดุร้าย | |||
ประติมานวิทยาในศาสนาพุทธ | เทพเจ้าและธรรมบาลซึ่งมีลักษณะดุร้าย |
กปาละประติมานวิทยาของศาสนาต่าง ๆ
เทวรูปพระแม่มริอัมมัน (กาลี) ทรงกปาละในหัตถ์ขวาล่าง พุทธศตวรรษที่สิบแปด พิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติอินเดีย
กปาละ (อังกฤษ: Kapala, สันสกฤต: कपाल ) หรือ กบาลในภาษาไทย คือ กระโหลกศีรษะมนุษย์ที่นำมาทำถ้วยสำหรับประกอบพิธีกรรมของทางศาสนาและลัทธิต่าง ๆ เช่น ศาสนาฮินดู ลัทธิตันตระ ลัทธิศักติ ศาสนาพุทธนิกายวัชรยาน เป็นต้น กบาลนั้นเป็นสัญลักษณ์แห่งปัญญา และสัญลักษณ์ของการก้าวข้ามในคติต่าง ๆ[1][2]
ประติมานวิทยา[แก้]
ศาสนาฮินดู[แก้]
ในประติมานวิทยาของเทวรูปในศาสนาฮินดูเป็นเทพอาวุธและสัญลักษณ์ของเทวดาในศาสนาฮินดูหลายพระองค์ซึ่งมีลักษณะดุร้าย เช่น พระแม่กาลี พระแม่มริอัมมัน พระไภรวะ พระกาล (พระกาฬไชยศรี) พระนางโยคินี เป็นต้น
ศาสนาพุทธนิกายวัชรยาน[แก้]
ในประติมานวิทยาของเทวรูปในศาสนาพุทธนิกายวัชรยานเป็นเทพอาวุธและสัญลักษณ์ของ เทพเจ้าและธรรมบาลหลายพระองค์ซึ่งมีลักษณะดุร้าย เช่น พระมหากาล พระแม่ฑากินี พระแม่วัชรโยคินี เป็นต้น
อ้างอิง[แก้]
![]() |
คอมมอนส์ มีภาพและสื่อเกี่ยวกับ: กปาละ |
![]() |
บทความเกี่ยวกับความเชื่อนี้ยังเป็นโครง คุณสามารถช่วยวิกิพีเดียได้โดยการเพิ่มเติมข้อมูล |