กบฏแบ่งแยกดินแดน

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
กบฏแบ่งแยกดินแดน
ส่วนหนึ่งของ รัฐประหารในประเทศไทย พ.ศ. 2490

เหตุการณ์ยึดอำนาจของฝ่ายเผด็จการทหาร พ.ศ. 2490 สร้างความไม่พอใจต่อคณะราษฎรเป็นอย่างมาก จึงทำให้เกิดกบฏแบ่งแยกดินแดน
วันที่8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2491 (75 ปีที่แล้ว)
สถานที่
ผล

ชัยชนะของรัฐบาล

คู่สงคราม
รัฐบาลจอมพลแปลก ฝ่ายกบฏ
ผู้บังคับบัญชาและผู้นำ
จอมพล แปลก พิบูลสงคราม ทองอินทร์ ภูริพัฒน์
ถวิล อุดล
เตียง ศิริขันธ์
ฟอง สิทธิธรรม

กบฏแบ่งแยกดินแดน[1] เกิดขึ้นเมื่อวันที่ 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2491 ได้มีการจับกุมสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรภาคอีสานหลายคน เช่น นายทองอินทร์ ภูริพัฒน์ นายถวิล อุดล นายเตียง ศิริขันธ์ นายฟอง สิทธิธรรม โดยกล่าวหาว่ารวมกันดำเนินการฝึกอาวุธ เพื่อแบ่งแยกดินแดนภาคอีสานออกจากประเทศไทย แต่รัฐบาลไม่สามารถดำเนินการจับกุมได้ เนื่องจากสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรมีสิทธิคุ้มครองทางการเมือง

ที่สุดกรมตำรวจ จึงใช้วิธีใช้อำนาจและเล่ห์เหลี่ยมในการจับกุม 4 อดีตรัฐมนตรีจากภาคอีสาน ประกอบด้วย จำลอง ดาวเรือง ถวิล อุดล ทองอินทร์ ภูริพัฒน์ และ ดร.ทองเปลว ชลภูมิ ซึ่งทั้งหมดเป็นอดีตรัฐมนตรีและนักการเมืองในสังกัดของนายปรีดี พนมยงค์ และเตียง ศิริขันธ์

จากนั้นจึงนำไปสู่คดีสังหาร 4 อดีตรัฐมนตรี เมื่อเวลา 03:00 คืนวันที่ 4 มีนาคม 2492 ที่ถนนพหลโยธิน ก.ม.ที่ 11 บริเวณบางเขน (ใกล้แยกรัชโยธิน) โดยทั้งหมดถูกยิงเสียชีวิตอย่างน่าสงสัยบนรถขนนักโทษของตำรวจ แต่ทางตำรวจแถลงว่าเกิดจากการปะทะกับโจรมลายูที่จะมาชิงตัวนักโทษ ซึ่งไม่มีใครเชื่อถือ

อ้างอิง[แก้]

  1. กจช. ก/ป 7/2491/8 ข อ้างถึงใน ดารารัตน์ เมตตาริกานนท์, การรวมกลุ่มทางการเมืองของ ส.ส.อีสาน พ.ศ. 2476–2494 (กรุงเทพฯ: มติชน, 2546), หน้า 448.