วังสะพานขาว

พิกัด: 13°45′26″N 100°30′53″E / 13.7572474°N 100.5147314°E / 13.7572474; 100.5147314
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
วังสะพานขาว
วังสะพานขาว
แผนที่
ข้อมูลทั่วไป
สถานะเปลี่ยนสภาพ
ประเภทวัง
สถาปัตยกรรมตะวันตก
ที่ตั้งแขวงคลองมหานาค เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย
เมือง กรุงเทพมหานคร
ประเทศ ไทย
พิกัด13°45′21″N 100°30′56″E / 13.75583°N 100.51556°E / 13.75583; 100.51556
เริ่มสร้างก่อน พ.ศ. 2450
พิธีเปิด16 มกราคม พ.ศ. 2450
เจ้าของกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์
ปัจจุบันเป็นที่ตั้งของกรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ

วังสะพานขาว ตั้งอยู่ริมถนนหลานหลวงตัดกับถนนกรุงเกษม เคยเป็นที่ทำการกรมประชาสงเคราะห์ ปัจจุบันเป็นกรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์

วังสะพานขาวเคยเป็นวังที่ประทับของพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงสิงหวิกรมเกรียงไกร‎ พระราชโอรสองค์ที่ 42 ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 5) โดยทรงสร้างพระราชทานให้แก่พระองค์เจ้าวุฒิไชยเฉลิมลาภ เมื่อทรงสำเร็จการศึกษาวิชาการทหารเรือจากประเทศอังกฤษแล้ว ซึ่งสร้างเสร็จทำพิธีขึ้นตำหนักเมื่อวันพฤหัสบดีที่ 16 มกราคม พ.ศ. 2450[1]ทรงใช้เป็นที่ประทับและที่ทรงงานราชการ

ภายหลังที่พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงสิงหวิกรมเกรียงไกรสิ้นพระชนม์ ในปี พ.ศ. 2490 แล้ว ต่อมาในปี พ.ศ. 2493 กระทรวงมหาดไทยได้ขอซื้อที่ดินพร้อมอาคารจากทายาท เพื่อเป็นที่ตั้งของกรมประชาสงเคราะห์ ซึ่งเดิมอาศัยพื้นที่พระราชวังสราญรมย์อยู่

ปัจจุบัน ตำหนักกรมหลวงสิงหวิกรมเกรียงไกร วังสะพานขาว ได้รับการอนุรักษ์เป็นโบราณสถาน

สถาปัตยกรรม[แก้]

ตำหนักที่ประทับ (ซึ่งปัจจุบันใช้เป็นอาคารที่ทำการของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์) มีลักษณะเป็นสถาปัตยกรรมตะวันตกเป็นอาคารสองชั้น ด้านหลังมีหอคอยเพิ่มขึ้นเป็นสามชั้น มีการใช้ศิลปะลายปูนปั้นประดับตามซุ้มหน้าต่าง ตามรอยต่อนอกอาคารระหว่างชั้นบน ชั้นล่าง มุมอาคาร เหนือคูหาโค้งที่มุขหน้า และคูหาโค้งตามช่องเฉลียงชั้นล่าง ชั้นบนด้านหลังมีระเบียงแล่นไปจดกับส่วนหอคอย

ภายในตัวตำหนักมีห้องต่างๆ 10 ห้อง ชั้นล่าง 4 ห้อง ชั้นบน 6 ห้อง (ไม่นับโถงบันได โถงกลางชั้นบน และห้องน้ำ ซึ่งอยู่ด้านหลัง) ห้องทุกห้องในแต่ละชั้น มีประตูเปิดทะลุถึงกันหมด ประตูและหน้าต่างแต่ละบานมีขนาดสูงใหญ่ ล้อมด้วยกรอบไม้สีเข้ม เหนือประตูและหน้าต่างมีทับหลังเป็นแผ่นไม้ฉลุลายละเอียด บนผนังห้องประดับด้วยศิลปะปูนปั้น แบบเดียวกับภายนอกตำหนัก สอดรับกับลายฉลุบนเพดานห้อง

ระเบียงภาพ[แก้]

อ้างอิง[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]

13°45′26″N 100°30′53″E / 13.7572474°N 100.5147314°E / 13.7572474; 100.5147314