ข้ามไปเนื้อหา

แผ่นดินไหวและคลื่นสึนามิในมหาสมุทรอินเดีย พ.ศ. 2547

พิกัด: 3°18′58″N 95°51′14″E / 3.316°N 95.854°E / 3.316; 95.854
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
  • แผ่นดินไหวและคลื่นสึนามิ
  • ในมหาสมุทรอินเดีย พ.ศ. 2547
แผ่นดินไหวและคลื่นสึนามิในมหาสมุทรอินเดีย พ.ศ. 2547ตั้งอยู่ในมหาสมุทรอินเดีย
แผ่นดินไหวและคลื่นสึนามิในมหาสมุทรอินเดีย พ.ศ. 2547
แผ่นดินไหวและคลื่นสึนามิในมหาสมุทรอินเดีย พ.ศ. 2547ตั้งอยู่ในเกาะสุมาตรา
แผ่นดินไหวและคลื่นสึนามิในมหาสมุทรอินเดีย พ.ศ. 2547
แผ่นดินไหวและคลื่นสึนามิในมหาสมุทรอินเดีย พ.ศ. 2547ตั้งอยู่ในโลก
แผ่นดินไหวและคลื่นสึนามิในมหาสมุทรอินเดีย พ.ศ. 2547
เวลาสากลเชิงพิกัด2004-12-26 00:58:53
รหัสเหตุการณ์ ISC7453151
USGS-ANSSComCat
วันที่ท้องถิ่น26 ธันวาคม 2004; 19 ปีก่อน (2004-12-26)[1]
เวลาท้องถิ่น
ระยะเวลา10 นาที
ขนาด9.2–9.3 Mw
ความลึก30 km (19 mi)[1]
ศูนย์กลาง3°18′58″N 95°51′14″E / 3.316°N 95.854°E / 3.316; 95.854[1]
ประเภทเมกะทรัสต์
พื้นที่ที่ได้รับผลกระทบพื้นที่ชายฝั่งรอบมหาสมุทรอินเดีย
ระดับความรุนแรงที่รู้สึกได้IX (ร้ายแรง)
สึนามิ
  • 15 ถึง 30 m (50 ถึง 100 ft);[2][3]
  • สูงสุด 51 m (167 ft)[4]
ผู้ประสบภัยเสียชีวิต 227,898 คน[5][6]

เมื่อวันที่ 26 ธันวาคม พ.ศ. 2547 เวลา 07:58:53 น. ตามเวลาท้องถิ่น (UTC+7) เกิดแผ่นดินไหวขนาดใหญ่มีแมกนิจูดระหว่าง 9.2–9.3 Mw ที่จุดเหนือศูนย์เกิดแผ่นดินไหวริมชายฝั่งตะวันตกของเกาะสุมาตราเหนือ ประเทศอินโดนีเซีย แผ่นดินไหวเมกะทรัสต์ใต้ทะเลที่รู้จักกันในวงการวิทยาศาสตร์เป็น แผ่นดินไหวสุมาตรา–อันดามัน[8][9] เกิดจากการแตกร้าวตามรอยเลื่อนระหว่างแผ่นพม่ากับแผ่นอินเดีย และในบางพื้นที่มีมาตราเมร์กัลลีสูงถึงระดับ IX

สึนามิขนาดมโหฬารสูงถึง 30 m (100 ft) ที่รู้จักกันในชื่อ สึนามิบ็อกซิงเดย์ ตั้งชื่อตามวันเปิดกล่องของขวัญ หรือ สึนามิเอเชีย[10] เข้าท่วมทำลายบ้านเรือนตามแนวชายฝั่งโดยรอบมหาสมุทรอินเดีย ประมาณการว่ามีผู้เสียชีวิตถึง 227,898 คนใน 14 ประเทศ นับเป็นหนึ่งในภัยพิบัติทางธรรมชาติครั้งร้ายแรงที่สุดในประวัติศาสตร์ ผลโดยตรงทำให้เกิดการหยุดชะงักครั้งใหญ่ต่อสภาพความเป็นอยู่และการค้าในพื้นที่ชายฝั่งของประเทศโดยรอบ ได้แก่ จังหวัดอาเจะฮ์ (อินโดนีเซีย), ศรีลังกา, รัฐทมิฬนาฑู (อินเดีย) และเขาหลัก (ไทย) บันดาอาเจะฮ์มีรายงานผู้เสียชีวิตมากที่สุด ถือเป็นภัยธรรมชาติที่ร้ายแรงที่สุดในคริสต์ศตวรรษที่ 21[11] และภัยสึนามิที่รายแรงที่สุดในประวัติศาสตร์[12] ภัยครั้งนี้ยังเป็นภัยพิบัติทางธรรมชาติที่ร้ายแรงที่สุดในประวัติศาสตร์อินโดนีเซีย ศรีลังกา และไทย[13]

แผ่นดินไหวครั้งนี้เป็นครั้งที่รุนแรงที่สุดเท่าที่บันทึกมาในเอเชีย ในคริสต์ศตวรรษที่ 21 และรุนแรงมากที่สุดเป็นอันดับ 3 ของโลกเป็นอย่างน้อยนับตั้งแต่เริ่มใช้งานเครื่องวัดแผ่นดินไหวสมัยใหม่ใน ค.ศ. 1900[14][a] แผ่นดินไหวนี้สร้างรอยเลื่อนยาวที่สุดเท่าที่เคยพบเห็นที่ระหว่าง 1,200 ถึง 1,300 กิโลเมตร (720 ถึง 780 ไมล์) และมีคาบเวลายาวนานที่สุดถึงอย่างน้อย 10 นาที[18] แผ่นดินไหวทำให้โลกสั่นสะเทือนถึง 10 mm (0.4 in)[19] และยังเกิดแรงสั่นสะเทือนไกลถึงรัฐอะแลสกา[20] จุดเหนือศูนย์เกิดแผ่นดินไหวตั้งอยู่ระหว่างเกาะซีเมอลูเวอสุมาตราแผ่นดินใหญ่[21] ชะตาของประเทศและประชากรที่ได้รับผลกระทบทำให้เกิดการช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมทั่วโลก ด้วยเงินบริจาครวมมากกว่า 14,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ[22]

แผ่นดินไหว

[แก้]
Shakemap ของเหตุการณ์นี้จาก USGS

ในตอนแรกมีการบันทึกแผ่นดินไหวในมหาสมุทรอินเดีย พ.ศ. 2547 ด้วยขนาดโมเมนต์ที่ 8.8 สำนักงานสำรวจธรณีวิทยาแห่งสหรัฐระบุไว้ที่ประมาณ 9.1[23] ฮิโรโอะ คานาโมริจากสถาบันเทคโนโลยีแห่งแคลิฟอร์เนียประมาณการว่า Mw 9.2 เหมาะสมที่จะใช้เป็นค่าตัวแทนสำหรับแผ่นดินไหวครั้งใหญ่ครั้งนี้[24] อย่างไรก็ตาม การศึกษาล่าสุดเพิ่มเติมหลายแห่งประมาณการแรงสั้นสะเทือนไว้ที่ Mw 9.3[25][26][27][28] การศึกษาใน พ.ศ. 2559 ประมาณการแรงสั่นสะเทือนไว้ที่ Mw 9.25[29] ส่วนการศึกษาใน พ.ศ. 2564 ปรับปรุงจำนวนประมาณการใน พ.ศ. 2550 จาก Mw 9.1 ไปเป็น Mw 9.2[30]

ศูนย์เกิดแผ่นดินไหวของแผ่นดินไหวหลักอยู่ห่างจากชายฝั่งตะวันตกของเกาะสุมาตราเหนือประมาณ 160 กิโลเมตร ในมหาสุมทรอินเดียตรงเกาะซีเมอลูเวอตอนเหนือในความลึกใต้ระดับน้ำทะเลเฉลี่ย 30 กิโลเมตร (ตอนแรกรายงานเป็น 10 กิโลเมตร) รอยเลื่อนซุนดาเมกะทรัสต์ (Sunda megathrust) ส่วนเหนือเลื่อนตัวแตกออกยาวกว่า 1,300 กิโลเมตร[21] ทำให้มีการรับรู้ถึงแรงสั่นสะเทือนจากแผ่นดินไหว (ตามมาด้วยสึนามิ) ในบังกลาเทศ, อินเดีย, มาเลเซีย, พม่า, ไทย, ศรีลังกา และมัลดีฟส์[31] จากนั้นรอยเลื่อนย่อย (Splay fault) จึงขยับตาม ทำให้พื้นทะเลเกิดรอยแตกยาวในเวลาไม่กี่วินาที เกิดน้ำทะเลยกตัวสูงและเพิ่มความเร็วแก่คลื่นให้มากขึ้น จากนั้นคลื่นสึนามิได้เข้าทำลายเมืองลกงา (Lhoknga) จนราบเป็นหน้ากลอง[32]

ด้านธรณีสัณฐาน อินโดนีเซียตั้งอยู่ระหว่างวงแหวนแห่งไฟแห่งแปซิฟิกที่ตอนเหนือและตะวันออกใกล้กับนิวกินี และแนวแอลไพด์ส่วนตอนใต้พาดไปทางตะวันตกของประเทศจากเกาะสุมาตรา เกาะชวา, เกาะบาหลี, เกาะโฟลเร็ซ ถึงเกาะติมอร์ เชื่อกันว่าแผ่นดินไหวที่เกาะสุมาตรา พ.ศ. 2545 เป็นแผ่นดินไหวนำก่อนหน้าแผ่นดินไหวหลักกว่าสองปี[33]

เปรียบเทียบ

[แก้]
แผนภูมิวงกลม แสดงขนาดโมเมนต์แผ่นดินไหวที่วัดได้ทั้งหมดตั้งแต่ปี ค.ศ. 1906–2005 เปรียบเทียบกับแผ่นดินไหวขนาดใหญ่แต่ละครั้ง แผ่นดินไหวในมหาสมุทรอินเดียแสดงสีน้ำเงินเข้ม

แผ่นดินไหวใหญ่ครั้งนี้เกิดขึ้นในเขตมุดตัวของเปลือกโลก ซึ่งเป็นแหล่งกำเนิดแผ่นดินไหวขนาดเมกะทรัสต์อยู่เสมอ มีค่าโมเมนต์แผ่นดินไหวสูงในระดับศตวรรษ โดยหากรวมค่าโมเมนต์แผ่นดินไหวทั้งหมดที่เกิดขึ้นในรอบ 100 ปี ตั้งแต่ ค.ศ. 1906 - 2005 แผ่นดินไหวที่อินโดนีเซียครั้งนี้จะมีขนาดโมเมนต์แผ่นดินไหวถึง 1 ใน 8 ของแผ่นดินไหวทั้งหมดดังกล่าว นอกจากนี้ หากรวมกับเหตุการณ์แผ่นดินไหวที่อะแลสกา ค.ศ. 1964 และที่ชิลี ค.ศ. 1960 จะมีขนาดโมเมนต์สูงถึงครึ่งหนึ่งของแผ่นดินไหวทั้งหมดดังกล่าว หากเทียบกับแผ่นดินไหวที่เกิดขึ้นในซานฟรานซิสโกปี ค.ศ. 1906 กับแผ่นดินไหวครั้งนี้ ถือว่าครั้งนั้นมีขนาดเล็กมาก (หากแต่ครั้งนั้นเกิดความเสียหายไม่แพ้กัน)

นับตั้งแต่ ค.ศ. 1900 แผ่นดินไหวในครั้งนี้ถือว่ามีขนาดใหญ่เป็นอันดับ 3 รองจากแผ่นดินไหวในชิลี ค.ศ. 1960 (แมกนิจูด 9.5) และแผ่นดินไหวในอะแลสกา ค.ศ. 1964 (แมกนิจูด 9.2) นอกจากนี้มีอีกเพียงสองครั้งที่มีขนาดแมกนิจูด 9.0 ได้แก่ แผ่นดินไหวที่คาบสมุทรคัมชัตคา ทางตะวันออกของรัสเซีย เมื่อ ค.ศ. 1952[34] และแผ่นดินไหวที่ญี่ปุ่น ค.ศ. 2011 เหตุการณ์แผ่นดินไหวดังกล่าวล้วนก่อให้เกิดคลื่นสึนามิในบริเวณมหาสมุทรแปซิฟิกแทบทั้งสิ้น ถึงกระนั้นกลับมีจำนวนผู้เสียชีวิตไม่มากอย่างมีนัยสำคัญ โดยสาเหตุหลักคือ ชายฝั่งใกล้ศูนย์กลางแผ่นดินไหวมีประชากรอาศัยเบาบาง พื้นที่ที่มีประชากรอาศัยอยู่อย่างหนาแน่นอยู่ห่างไกลจากศูนย์กลางแผ่นดินไหวเหล่านั้นมาก รวมถึงความมีประสิทธิภาพของระบบสาธารณูปโภคและระบบเตือนภัย เช่น ในกรณีของประเทศญี่ปุ่น เป็นต้น

แผ่นดินไหวขนาดใหญ่ (ขนาดเมกะทรัสต์) ครั้งอื่น เกิดขึ้นใน ค.ศ. 1868 ในประเทศเปรู (แผ่นเปลือกโลกนาสกาและแผ่นอเมริกาใต้) ค.ศ. 1827 ในโคลอมเบีย (แผ่นนาสกาและแผ่นอเมริกาใต้) ค.ศ. 1812 ในเวเนซูเอลา (แผ่นแคริบเบียนและแผ่นอเมริกาใต้) และแผ่นดินไหวคาสคาเดีย ค.ศ. 1700 ทางตะวันตกเฉียงเหนือของอเมริกา (แผ่นฮวนเดอฟูกาและแผ่นอเมริกาเหนือ) ทั้งหมดที่กล่าวมานี้คาดว่ามีความรุนแรงมากกว่าแมกนิจูด 9 แต่ไม่มีตัวเลขชัดเจนถึงขนาดที่แท้จริงในขณะนั้น

ภาพเคลื่อนไหวของคลื่นสึนามิสุมาตรา (ที่มา: องค์การสมุทรศาสตร์และบรรยากาศแห่งชาติสหรัฐอเมริกา

สึนามิ

[แก้]
The การแพร่กระจายของสึนามิใช้เวลา 5 ชั่วโมงถึงออสเตรเลียตะวันตก 7 ชั่วโมงถึงคาบสมุทรอาหรับ และกว่าจะถึงชายฝะ่งแอฟริกาใต้ ใช้เวลาหลังเกิดแผ่นดินไหวเกือบ 11 ชั่วโมง

แทด เมอร์ตีย์ รองประธานสมาคมสึนามิ กล่าวว่า พลังงานทั้งหมดของคลื่นสึนามิเทียบเท่ากับระเบิดทีเอ็นทีขนาด 5 เมกะตัน (21 เพตะจูล) ซึ่งมากกว่าพลังงานระเบิดทั้งหมดที่ใช้ในช่วงสงครามโลกที่สองทั้งหมด (รวมระเบิดนิวเคลียร์สองลูก) สองเท่าแต่ยังคงมีอันดับของขนาดน้อยกว่าพลังงานที่เกิดจากตัวแผ่นดินไหว คลื่นสึนามึซัดเข้าในผืนดินไกลถึง 2 กิโลเมตรในหลายพื้นที่[35]

เนื่องจากรอยเลื่อนจากแผ่นดินไหวขนาด 1,600 กิโลเมตรอยู่ในแนวเกือบเหนือ-ใต้ บริเวณที่มีคลื่นแรงสุดจึงมาจากทางตะวันออก–ตะวันตก ประเทศบังกลาเทศที่อยู่ทางเหนือสุดของอ่าวเบงกอลมีจำนวนผู้เสียชีวิตและบาดเจ็บน้อยแม้ว่าเป็นประเทศพื้นที่ลุ่มค่อนข้างใกล้จุดศูนย์กลางแผ่นดินไหว และยังได้ประโยชน์ที่ว่าแผ่นดินไหวเกิดขึ้นช้าลงในบริเวณรอยแตกทางตอนเหนือ ทำให้พลังงานการเคลื่อนตัวของน้ำในพื้นที่นั้นลดลงอย่างมาก

ความสูงของคลื่นโดยเฉลี่ย

บริเวณชายฝั่งที่มีแผ่นดินกั้นระหว่างชายฝั่งกับจุดกำเนิดคลื่นสึนามิมักจะปลอดภัย แต่บางครั้งคลื่นสึนามิอาจเกิดขึ้นรอบแผ่นดินใหญ่ผ่านการเลี้ยวเบน ทำให้รัฐเกรละถูกคลื่นสึนามิแม้ว่าจะอยู่ทางฝั่งตะวันตกของอินเดีย และชายฝั่งตะวันตกของศรีลังกาได้รับผลกระทบอย่างรุนแรง ระยะทางไม่รับรองความปลอดภัย เนื่องจากประเทศโซมาเลียถูกคลื่นสึนามิแรงกว่าบังกลาเทศ แม้ว่าจะอยู่ไกลกว่าก็ตาม

เนื่องจากระยะทางระหว่างจุดศูนย์กลางถึงชายฝั่ง ทำให้สึนามิใช้เวลาเดินทางชายฝั่งระหว่าง 15 นาทีถึง 7 ชั่วโมง[36][37] ภูมิภาคทางเหนือของเกาะสุมาตราถูกคลื่นกระทบเร็วสุด ส่วนศรีลังกาและชายฝั่งตะวันออกของอินเดียถูกคลื่นกระทบเกือบ 90 นาทีหรือสองชั่วโมงต่อมา ประเทศไทยถูกคลื่นกระทบประมาณ 2 ชั่วโมงให้หลังแม้ว่าจะอยู่ใกล้จุดเหนือศูนย์เกิดแผ่นดินไหว เนื่องจากสึนามิเดินทางผ่านทะเลอันดามันระดับตื้นที่ชายฝั่งตะวันตกช้ากว่าปกติ

พลังงานสึนามิบางส่วนกระจายไปไกลถึงมหาสมุทรแปซิฟิก ซึ่งสร้างสึนามิขนาดเล็กแต่วัดได้ที่ชายฝั่งตะวันตกของอเมริกาเหนือถึงใต้ที่ประมาณ 200 ถึง 400 มิลลิเมตร[38]

สัญญาณและคำเตือนแรก

[แก้]
ระดับน้ำลดลงสูงสุดจากคลื่นสึนามิที่หาดกะตะน้อยเมื่อเวลา 10:25 น. ก่อนที่คลื่นสึนามิลูกที่สามที่แรงที่สุดจะเข้ามา

แม้ว่าจะมีความล่าช้าระหว่างแผ่นดินไหวและผลกระทบของคลื่นสึนามิหลายชั่วโมง แต่เหยื่อเกือบทั้งหมดพากันตื่นตกใจ ไม่มีระบบเตือนภัยสึนามิในมหาสมุทรอินเดียที่ตรวจจับสึนามิหรือเตือนประชากรทั่วไปที่อาศัยอยู่รอบมหาสมุทร [39] การตรวจสึนามิเป็นเรื่องยากเนื่องจากในช่วงที่สึนามิอยู่ในน้ำลึก ตัวคลื่นมีความสูงน้อยและต้องใช้เครือข่ายเซ็นเซอร์เพื่อตรวจจับคลื่น

สัญญาณเตือนแรกของการเกิดคลื่นสึนามิคือแผ่นดินไหว อย่างไรก็ตาม คลื่นสึนามิอาจพัดไกลจากที่กำเนิดออกไปหลายพันกิโลเมตร โดยสามารถรู้สึกแผ่นดินไหวได้ในระดับเบาหรือไม่รู้สึกเลย นอกจากนี้ ในช่วงหลายนาทีก่อนเกิดสึนามิ บางครั้งน้ำทะเลลดลงจากชายฝั่งชั่วคราว ซึ่งสังเกตได้ในบริเวณรอยแตกของแผ่นดินไหวทางฝั่งตะวันออกอย่างชายฝั่งอาเจะฮ์ เกาะภูเก็ต และพื้นที่เขาหลักในประเทศไทย เกาะปีนังในประเทศมาเลเซีย และหมู่เกาะอันดามันและนิโคบาร์ รายงานระบุว่าภาพหายากนี้ทำให้ผู้คน โดยเฉพาะเด็ก ๆ เดินไปที่ชายฝั่งเพื่อสำรวจและเก็บปลาที่เกยตื้นบนชายหาดที่เปิดโล่งยาวถึง 2.5 km (1.6 mi) จนทำให้มีผู้เสียชีวิต[40] กระนั้น ใช่ว่าสึนามิทั้งหมดทำให้เกิดปรากฏการณ์ "ทะเลหาย" ในบางกรณีกลับไม่มีสัญญาณเตือนเลย นั่นคือ ทะเลจะท่วมสูงขึ้นอย่างกะทันหันโดยไม่ถอยกลับ ทำให้ผู้คนจำนวนมากตกใจและไม่มีเวลาหนีมากนัก

คลื่นสึนามิที่อ่าวเบงกอลหลีงเกิดแผ่นดินไหวชั่วโมงเดียว

หนึ่งในพื้นที่ชายฝั่งไม่กี่แห่งที่มีการอพยพล่วงหน้าก่อนเกิดสึนามิคือเกาะซีเมอลูเวอที่อยู่ใกล้จุดศูนย์กลางแผ่นดินไหว คติชนบนเกาะที่เล่าถึงแผ่นดินไหวและสึนามิใน ค.ศ. 1907 และชาวเกาะหนีขึ้นเนินเขาในแผ่นดินหลังเกิดแรงสั่นสะเทือนครั้งแรกก่อนคลื่นสึนามิเข้าโจมตี เรื่องเล่าและคติชนมุขปาฐะจากคนรุ่นก่อนหน้าเหล่านี้อาจมีส่วนช่วยในพลเมืองรอดชีวิต[41] ที่หาดไม้ขาวทางเหนือของเทศบาลนครภูเก็ต ประเทศไทย นักท่องเที่ยวชาวอังกฤษอายุ 10 ขวบชื่อทิลลี สมิธ เคยเรียนเรื่องสึนามิในวิชาภูมิศาสตร์ที่โรงเรียนและจำสัญญาณเตือนของระดับน้ำทะเลที่ลดลงและฟองอากาศที่ก่อตัวเป็นฟองได้ เธอและพ่อแม่จึงเตือนคนอื่น ๆ บนชายหาด ซึ่งอพยพออกไปอย่างปลอดภัย[42] จอห์น ครอสตัน ครูชีววิทยาจากสกอตแลนด์ ก็รู้สัญญาณที่หาดกมลาทางเหนือของภูเก็ต นำรถบัสที่เต็มไปด้วยนักท่องเที่ยวและคนในพื้นที่ขึ้นไปยังที่สูงเพื่อความปลอดภัย

ในตอนแรก นักมานุษยวิทยาคาดการณ์ว่าประชากรพื้นเมืองบนหมู่เกาะอันดามันจะได้รับผลกระทบจากสึนามิอย่างมาก และบางคนถึงขึ้นกลัวว่าเผ่าโอเงอที่มีประชากรน้อยอยู่แล้วจะถูกกำจัดไป[43] อย่างไรก็ตาม ชนเป่าพื้นเมืองหลายกลุ่มอพยพออกไปและมีผู้ได้รับบาดเจ็บและเสียชีวิตน้อยกว่าที่คาด[44][45] ประเพณีมุขปาฐะที่สืบทอดมาจากแผ่นดินไหวครั้งก่อนช่วยให้ชนเผ่าพื้นเมืองหนีรอดจากคลื่นสึนามิได้ เช่น นิทานพื้นบ้านของชาวโอเงอเล่าว่า "พื้นดินสั่นสะเทือนอย่างรุนแรงตามมาด้วยกำแพงน้ำสูง" ดูเหมือนว่าชาวโอเงอเกือบทั้งหมดรอดชีวิตจากคลื่นสึนามิ[46]

ประเทศไทย

[แก้]

ประมาณ 2 ชั่วโมงหลังจากเกิดแผ่นดินไหว คลื่นสึนามิได้เคลื่อนตัวไปทางทิศตะวันออกผ่านทะเลอันดามันเข้ากระทบชายฝั่งตะวันตกเฉียงใต้ของประเทศไทย ซึ่งตั้งอยู่ห่างจากศูนย์กลางประมาณ 500 กม. (310 ไมล์) ในตอนนั้นจังหวัดทางภาคใต้ได้รับความนิยมจากนักท่องเที่ยวเนื่องจากเทศกาลคริสต์มาส นักท่องเที่ยวจำนวนมากเสียชีวิตจากสึนามิเพราะไม่มีสัญญาณเตือนล่วงหน้า สึนามิเกิดในช่วงน้ำขึ้นพอดี จุดที่ได้รับความเสียหายสำคัญได้แก่ ชายฝั่งทางตะวันตกของเกาะภูเก็ต เขาหลัก จังหวัดพังงา ชายฝั่งจังหวัดกระบี่ จังหวัดสตูล จังหวัดระนอง และจังหวัดตรัง ความเสียหายยังกระจายไปถึงเกาะนอกชายฝั่งเช่น เกาะราชาใหญ่ เกาะพีพี หมู่เกาะสุรินทร์ และหมู่เกาะสิมิลัน มีผู้เสียชีวิตทั้งหมดประมาณ 8,000 คน โดยส่วนใหญ่เสียชีวิตจากการจมน้ำเเละเเรงกระแทก เนื่องจากอพยพได้ล่าช้าเพราะขาดการเตือนภัย เเละระบบเตือนภัยที่ล้าสมัย[aiสรุปข้อมูล 1]

ในประเทศไทยมีความสูงของคลื่นแต่ละพื้นที่ดังนี้[47][48]

  • 6–10 เมตร (20–33 ฟุต) ในเขาหลัก จังหวัดพังงา
  • 3–6 เมตร (9.8–19.7 ฟุต) ตามแนวชายฝั่งทางตะวันตกหันหน้าไปทะเลอันดามัน จังหวัดภูเก็ต
  • 3 เมตร (9.8 ฟุต) ตามแนวชายฝั่งทางใต้หันหน้าไปทะเลอันดามัน จังหวัดภูเก็ต
  • 2 เมตร (6 ฟุต 7 นิ้ว) ตามแนวชายฝั่งทางตะวันออกหันหน้าไปทางอ่าวพังงา จังหวัดภูเก็ต
  • 4–6 เมตร (13–20 ฟุต) บนเกาะพีพี
  • 19.6 เมตร (64 ฟุต) ที่บ้านทุ่งดาบ จังหวัดพังงา
  • 6.8 เมตร (22 ฟุต) บ้านทะเลนอก จังหวัดระนอง
  • 5 เมตร (16 ฟุต) ที่หาดประพาส (สถานีวิจัยทรัพยากรชายฝั่งระนอง)
  • 6.3 เมตร (21 ฟุต) อำเภอท้ายเหมือง จังหวัดพังงา
  • 6.8 เมตร (22 ฟุต) ที่ไร่ด่าน
แผนที่แสดงประเทศที่ได้รับผลกระทบจากคลื่นสึนามิ
เรือบุเรศผดุงกิจ ของตำรวจน้ำ (813) ถูกคลื่นสึนามิซัด

ความเสียหายด้านชีวิตและทรัพย์สิน

[แก้]

ข้อมูล ณ วันที่ 10 มกราคม พ.ศ. 2548 มีจำนวนผู้เสียชีวิต ผู้บาดเจ็บ และผู้สูญหาย ในประเทศไทย มีจำนวนทั้งหมด 5,309 คน ผู้สูญหายจำนวนทั้งหมด 3,370 คน ต่อมาได้มีการรับแจ้งจากญาติพี่น้องของผู้ประสบภัยภายหลังการเกิดเหตุ จำนวนดังกล่าวนี้ลดลงเพราะได้พบผู้ที่รับแจ้งว่าสูญหายบางคนแล้ว นอกจากนี้ยังมีการค้นพบศพผู้เสียชีวิตเพิ่มขึ้น รวมทั้งมีการตรวจสอบเอกลักษณ์ของศพที่เก็บรักษาไว้เพื่อให้ทราบว่าเป็นผู้ใด ในรายงานของกระทรวงมหาดไทยที่เสนอต่อคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 5 เมษายน พ.ศ. 2548 เหตุการณ์ในครั้งนี้ยังทำให้ คุณพุ่ม เจนเซน พระราชนัดดาใน พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร พระโอรสใน ทูลกระหม่อมหญิงอุบลรัตนราชกัญญา สิริวัฒนาพรรณวดี ถึงแก่อนิจกรรมด้วย นอกจากมีผู้เสียชีวิต ผู้บาดเจ็บ และผู้สูญหายเป็นจำนวนมากแล้ว ยังมีความเสียหายในด้านทรัพย์สิน ได้แก่ บ้านเรือนของราษฎร โรงแรม บังกะโล โฮมสเตย์ เกสต์เฮาส์ ร้านค้า ร้านอาหาร ทรัพย์สินส่วนตัวของนักท่องเที่ยว ยานพาหนะ ตลอดจนระบบสาธารณูปโภคต่าง ๆ อาทิ ไฟฟ้า ประปา โทรศัพท์ ถนน เป็นมูลค่ากว่าพันล้านบาท [49]

ความเสียหายด้านเศรษฐกิจ

[แก้]

ด้านเศรษฐกิจที่ได้รับผลกระทบมากที่สุด คือ อุตสาหกรรมการท่องเที่ยว โดยจังหวัดที่ได้รับผลกระทบมากที่สุด คือ ภูเก็ต,พังงาและกระบี่ ซึ่งเป็นจังหวัดที่มีจำนวนนักท่องเที่ยวเสียชีวิต และบาดเจ็บมากที่สุด มีแหล่งท่องเที่ยวได้รับความเสียหายมาก จำนวน 8 แห่ง คือ

ผลกระทบ

[แก้]

ประเทศที่ได้รับผลกระทบ

[แก้]
  ได้รับความเสียหายอย่างหนักและสูญเสียชีวิต
  ได้รับความเสียหายปานกลางและสูญเสียชีวิตบางส่วน
  ได้รับความเสียหายน้อยและไม่มีผู้เสียชีวิต
  สูญเสียพลเมืองต่างชาติ

ตามรายงานTsunami Evaluation Coalitionฉบับสุดท้าย มีจำนวนผู้เสีียชีวิต 227,898 คน[50] ยอดรวมทั่วไปอีกแห่งจากสำนักงานทูตพิเศษแห่งสหประชาชาติเพื่อการฟื้นฟูจากคลื่นสึนามิระบุว่ามีผู้เสียชีวิต 229,866 คน[51] เมื่อวัดจำนวนผู้เสียชีวิต ถือเป็นหนึ่งในสืบแผ่นดินไหวที่ร้ายแรงที่สุดในประวัติศาสตร์ที่มีการบันทึก และเป็นสึนามิที่เลวร้ายที่สุดในประวัติศาสตร์ ประเทศอินโดนีเซียได้รับผลกระทบมากที่สุด โดยมียอดผู้เสียชีวิตสูงสุดประมาณ 170,000 คน[52] เฉพาะอินโดนีเซียมีผู้เสียชีวิตมากถึง 172,761 คน[53] ตามรายงานช่วงแรกของซีตี ฟาดีละฮ์ ซูปารี รัฐมนตรีกระทรวงสาธารณสุขอินโดนีเซียในขณะนั้น ประมาณการว่ามีผู้เสียชีวิตในอินโดนีเซียอย่างเดียวสูงถึง 220,000 คน รวมเป็น 280,000 คน[54] อย่างไรก็ตาม จำนวนผู้เสียชีวิตและสูญหายที่คาดการณ์ไว้ในภายหลังที่อินโดนีเซียลดลงกว่า 50,000 ราย ในรายงานของ Tsunami Evaluation Coalition ระบุว่า "ควรระลึกว่าข้อมูลทั้งหมดอาจมีข้อผิดพลาดได้ เนื่องจากข้อมูลเกี่ยวกับบุคคลที่สูญหายเป็นการเฉพาะ อาจไม่ดีเท่าที่คาดหวังไว้เสมอไป"[55] รายงานจากประเทศไทยระบุว่าประเทศพม่าอาจมีผู้เสียชีวิตมากกว่า[56]

สึนามิสร้างความเสียหายและทำให้มีผู้เสียชีวิตไกลสุดถึงชายฝั่งแอฟริกาตะวันออก โดยมีบันทึกผู้เสียชีวิตจากเหตุการณ์สึนามิโดยตรงมากที่สุดที่ Rooi-Els ใกล้กับเคปทาวน์ ซึ่งอยู่ห่างจากศูนย์กลางแผ่นดินไหวถึง 8,000 km (5,000 mi)[57]

นอกจากพลเรือนที่เสียชีวิตหรือสูญหายจำนวนมากแล้ว นักท่องเที่ยวต่างชาติมากถึง 9,000 คน (ส่วนใหญ่มาจากทวีปยุโรป) ที่กำลังเพลิดเพลินกับช่วงวันหยุดช่วงเทศกาลท่องเที่ยวสูงสุด โดยเฉพาะผู้ที่มีจากกลุ่มประเทศนอร์ดิก ก็เสียชีวิตหรือสูญหายเช่นกัน[58]

การตอบสนองเเละการฟื้นฟู

[แก้]

หลังจากเกิดเหตุการณ์สึนามิในปี 2547 ได้มีการช่วยเหลือและฟื้นฟูจากทั้งภาครัฐและองค์กรระหว่างประเทศ:

  1. ความช่วยเหลือจากทั่วโลก:
    • หลายประเทศและองค์กรระหว่างประเทศได้ให้การช่วยเหลือ ทั้งในด้านการส่งทีมแพทย์ สิ่งของช่วยเหลือ และการฟื้นฟู
    • ประเทศไทยได้รับความช่วยเหลือจากหลายประเทศ รวมถึงการส่งหน่วยงานช่วยเหลือจากองค์การสหประชาชาติ (UN) และ กองทุนสึนามิ ที่มีการระดมทุนเพื่อช่วยเหลือผู้ประสบภัย
  2. การสร้างระบบเตือนภัยสึนามิ:
    • หลังจากเหตุการณ์นี้ ประเทศไทยและประเทศต่าง ๆ ในแถบมหาสมุทรอินเดียได้มีการพัฒนาระบบเตือนภัยสึนามิที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น
    • ศูนย์เตือนภัยสึนามิแห่งชาติ ของประเทศไทยได้จัดตั้งขึ้นในภายหลัง เพื่อให้สามารถเตือนภัยได้ทันท่วงทีหากเกิดแผ่นดินไหวหรือเหตุการณ์ที่อาจก่อให้เกิดคลื่นยักษ์
  3. การฟื้นฟูพื้นที่:
    • หลังจากเหตุการณ์สึนามิ การฟื้นฟูในพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบโดยเฉพาะในภาคใต้ของไทย เช่น ภูเก็ต, พังงา, และกระบี่ มีการสร้างระบบโครงสร้างพื้นฐานใหม่ การฟื้นฟูธุรกิจท่องเที่ยว และการช่วยเหลือผู้ที่ประสบภัยจากการสูญเสีย
ประเทศที่ได้รับความเสียหาย[a] จำนวนผู้เสียชีวิตที่ยืนยัน จำนวนผู้เสียชีวิตโดยประมาณ[b] ได้รับบาดเจ็บ สูญหาย ไร้ที่อยู่อาศัย อ้างอิง
อินโดนีเซีย 130,736 167,540 37,063 500,000+ [59]
ศรีลังกา 35,322[c] 35,322 21,411 516,150 [60]
อินเดีย 12,405 16,269 3,874 647,599
ไทย 5,395[d] 8,212 8,457 2,817 7,000 [61][62]
โซมาเลีย 78 289 5,000 [63][64]
พม่า 61 400–600 45 200 3,200 [56][65]
มัลดีฟส์ 82 108 26 15,000+ [66][67]
มาเลเซีย 68 75 299 6 5,000+ [68][69]
แทนซาเนีย 10 13 3 [70]
เซเชลส์ 3 3 57 200 [71][72]
บังกลาเทศ 2 2 [73]
แอฟริกาใต้ 2[e] 2 [74]
เยเมน 2 2 [75]
เคนยา 1 1 2
มาดากัสการ์ 1,000+ [76]
รวมโดยประมาณ 184,167 227,898 125,000 43,789 1,740,000
  • ^a ตารางนี้อ้างเฉพาะประเทศที่ได้รับผลกระทบโดยตรงจากคลื่นสึนามิเท่านั้น ไม่รวมประเทศที่มีพลเมืองได้รับผลกระทบขณะอยู่ต่างประเทศ
  • ^b รวมผู้ที่รายงานว่า 'ยืนยัน' หากไม่มีการประมาณแยก จำนวนในคอลัมน์นี้เหมือนกับที่รายงานไว้ภายใต้ "ยืนยัน"
  • ^c ไม่รวมผู้ที่สูญหายประมาณ 19,000 คนที่ตอนแรกประกาศโดยเจ้าหน้าที่กองทัพพยัคฆ์ปลดปล่อยทมิฬอีฬัมจากภูมิภาคที่ควบคุมอยู่
  • ^d ข้อมูลนี้รวมชาวต่างชาติอย่างน้อย 2,464 คน
  • ^e ไม่รวมพลเมืองแอฟริกาใต้ที่เสียชีวิตนอกประเทศ (เช่น นักท่องเที่ยวในไทย)

ดูเพิ่ม

[แก้]

หมายเหตุ

[แก้]
  1. แผ่นดินไหวครั้งนี้มีขนาดโดยประมาณเทียบเท่าหรือน้อยกว่าแผ่นดินไหวอะแลสกา ค.ศ. 1964 (Mw  9.2–9.3)[15] แผ่นดินไหวทั้งสองเมื่อวัดแล้ว อาจทำให้มีความรุนแรงหลังจากแผ่นดินไหวบัลดิเบีย ค.ศ. 1964 (Mww  9.5–9.6)[16] (ทั้งสองอยู่ในอันดับ 2) หรือหนึ่งในนั้นใหญ่เป็นอันดับสองหรือสาม (เช่น เหตุการณ์ใน ค.ศ. 1964 อยู่ที่อันดับ 2 รองลงมาคือเหตุการณ์ ค.ศ. 2004 และในทางกลับกัน)[17]

อ้างอิง

[แก้]
  1. 1.0 1.1 1.2 National Earthquake Information Center (26 December 2004). "M 9.1 - 2004 Sumatra - Andaman Islands Earthquake". United States Geological Survey. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 26 September 2019. สืบค้นเมื่อ 24 April 2023.
  2. "Astonishing Wave Heights Among the Findings of an International Tsunami Survey Team on Sumatra". U.S. Geological Survey. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 27 August 2016. สืบค้นเมื่อ 16 June 2016.
  3. Paris, R.; Lavigne F.; Wassimer P.; Sartohadi J. (2007). "Coastal sedimentation associated with the December 26, 2004 tsunami in Lhoknga, west Banda Aceh (Sumatra, Indonesia)". Marine Geology. Elsevier. 238 (1–4): 93–106. Bibcode:2007MGeol.238...93P. doi:10.1016/j.margeo.2006.12.009. ISSN 0025-3227.
  4. Paris, Raphaël; Cachão, Mário; Fournier, Jérôme; Voldoire, Olivier (1 April 2010). "Nannoliths abundance and distribution in tsunami deposits: example from the December 26, 2004 tsunami in Lhok Nga (north-west Sumatra, Indonesia)". Géomorphologie: Relief, Processus, Environnement. 16 (1): 109–118. doi:10.4000/geomorphologie.7865. ISSN 1266-5304. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 25 July 2020. สืบค้นเมื่อ 2 June 2020.
  5. Telford, John; Cosgrave, John (2006). Joint Evaluation of the International Response to the Indian Ocean Tsunami: Synthesis Report (PDF) (ภาษาอังกฤษ). London: Tsunami Evaluation Coalition. p. 33. ISBN 0-85003-807-3.
  6. "Earthquakes with 50,000 or More Deaths". U.S. Geological Survey. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 5 June 2013.
  7. "Indian Ocean Tsunami – Economic Aspects". indianoceantsunami.web.unc.edu. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 18 April 2019. สืบค้นเมื่อ 4 January 2018.
  8. Lay, T.; Kanamori, H.; Ammon, C.; Nettles, M.; Ward, S.; Aster, R.; Beck, S.; Bilek, S.; Brudzinski, M.; Butler, R.; DeShon, H.; Ekström, G.; Satake, K.; Sipkin, S. (20 May 2005). "The Great Sumatra-Andaman Earthquake of 26 December 2004" (PDF). Science. 308 (5725): 1127–1133. Bibcode:2005Sci...308.1127L. doi:10.1126/science.1112250. PMID 15905392. S2CID 43739943. เก็บ (PDF)จากแหล่งเดิมเมื่อ 22 July 2021. สืบค้นเมื่อ 20 March 2019.
  9. "Tsunamis and Earthquakes: Tsunami Generation from the 2004 Sumatra Earthquake – USGS Western Coastal and Marine Geology". Walrus.wr.usgs.gov. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 26 December 2018. สืบค้นเมื่อ 12 August 2010.
  10. "A decade after the 2004 Asian Tsunami: recalling the turning point for disaster management". www.who.int (ภาษาอังกฤษ). 2014-12-24. สืบค้นเมื่อ 2024-05-18.
  11. Goff, James; Dudley, Walter C. (2021). "Boxing Day: The World's Worst Disaster of the 21st Century". Tsunami: The World's Greatest Waves (ภาษาอังกฤษ). New York: Oxford University Press. p. 189. doi:10.1093/oso/9780197546123.001.0001. ISBN 9780197546123.
  12. Satake, Kenji (2014-11-13). "Advances in earthquake and tsunami sciences and disaster risk reduction since the 2004 Indian ocean tsunami". Geoscience Letters. 1 (1): 15. Bibcode:2014GSL.....1...15S. doi:10.1186/s40562-014-0015-7. ISSN 2196-4092.
  13. Athukorala, Prema-chandra (2012). "Indian Ocean Tsunami: Disaster, Generosity and Recovery". Asian Economic Journal (ภาษาอังกฤษ). 26 (3): 211–231. doi:10.1111/j.1467-8381.2012.02083.x. ISSN 1351-3958.
  14. Gross, Richard S.; Chao, Benjamin F. (2006-11-01). "The rotational and gravitational signature of the December 26, 2004 Sumatran earthquake". Surveys in Geophysics (ภาษาอังกฤษ). 27 (6): 615–632. Bibcode:2006SGeo...27..615G. doi:10.1007/s10712-006-9008-1. ISSN 1573-0956.
  15. ANSS. "1964 M 9.2 - The 1964 Prince William Sound, Alaska Earthquake". Comprehensive Catalog. U.S. Geological Survey
  16. ANSS. "1960 M 9.5 - 1960 Great Chilean Earthquake (Valdivia Earthquake)". Comprehensive Catalog. U.S. Geological Survey
  17. "What are the biggest historical earthquakes?". Earth Observatory of Singapore. สืบค้นเมื่อ 21 June 2024.
  18. "Analysis of the Sumatra-Andaman Earthquake Reveals Longest Fault Rupture Ever". National Science Foundation. 19 May 2005. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 12 August 2021. สืบค้นเมื่อ 15 December 2016.
  19. Walton, Marsha (20 May 2005). "Scientists: Sumatra quake longest ever recorded". CNN. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 14 February 2012. สืบค้นเมื่อ 15 December 2016.
  20. West, Michael; Sanches, John J.; McNutt, Stephen R. (20 May 2005). "Periodically Triggered Seismicity at Mount Wrangell, Alaska, After the Sumatra Earthquake". Science. 308 (5725): 1144–1146. Bibcode:2005Sci...308.1144W. doi:10.1126/science.1112462. PMID 15905395. S2CID 27869948.
  21. 21.0 21.1 Nalbant, Suleyman S.; Steacy, Sandy; Sieh, Kerry; Natawidjaja, Danny; McCloskey, John (9 June 2005). "Seismology: Earthquake risk on the Sunda trench" (PDF). Nature. 435 (7043): 756–757. Bibcode:2005Natur.435..756N. doi:10.1038/nature435756a. hdl:10220/8668. PMID 15944691. S2CID 4321796. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 4 June 2010. สืบค้นเมื่อ 16 May 2009.
  22. Jayasuriya, Sisira; McCawley, Peter (2010). The Asian Tsunami: Aid and Reconstruction after a Disaster. Cheltenham, UK; Northampton, MA: Edward Elgar. ISBN 978-1-84844-692-2. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 22 July 2011. สืบค้นเมื่อ 6 December 2010.
  23. "Long-term ocean observing for international capacity development around tsunami early warning | U.S. Geological Survey". www.usgs.gov (ภาษาอังกฤษ). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 18 October 2022. สืบค้นเมื่อ 18 October 2022.
  24. Kanamori, Hiroo (2006). "Seismological Aspects of the December 2004 Great Sumatra-Andaman Earthquake". Earthquake Spectra (ภาษาอังกฤษ). 22 (3_suppl): 1–12. Bibcode:2006EarSp..22....1K. doi:10.1193/1.2201969. ISSN 8755-2930.
  25. Tsai, Victor C.; Nettles, Meredith; Ekström, Göran; Dziewonski, Adam M. (2005). "Multiple CMT source analysis of the 2004 Sumatra earthquake". Geophysical Research Letters (ภาษาอังกฤษ). 32 (17). Bibcode:2005GeoRL..3217304T. doi:10.1029/2005GL023813. ISSN 0094-8276.
  26. Hirata, Kenji; Satake, Kenji; Tanioka, Yuichiro; Kuragano, Tsurane; Hasegawa, Yohei; Hayashi, Yutaka; Hamada, Nobuo (2006-02-01). "The 2004 Indian Ocean tsunami: Tsunami source model from satellite altimetry". Earth, Planets and Space. 58 (2): 195–201. Bibcode:2006EP&S...58..195H. doi:10.1186/BF03353378. ISSN 1880-5981.
  27. Menke, William; Abend, Hannah; Bach, Dalia; Newman, Kori; Levin, Vadim (2006-11-01). "Review of the source characteristics of the Great Sumatra–Andaman Islands earthquake of 2004". Surveys in Geophysics (ภาษาอังกฤษ). 27 (6): 603–613. Bibcode:2006SGeo...27..603M. doi:10.1007/s10712-006-9013-4. ISSN 1573-0956.
  28. Stein, Seth; Okal, Emile A. (2007-01-01). "Ultralong Period Seismic Study of the December 2004 Indian Ocean Earthquake and Implications for Regional Tectonics and the Subduction Process". Bulletin of the Seismological Society of America (ภาษาอังกฤษ). 97 (1A): S279–S295. Bibcode:2007BuSSA..97S.279S. doi:10.1785/0120050617. ISSN 1943-3573.
  29. Bletery, Quentin; Sladen, Anthony; Jiang, Junle; Simons, Mark (2016). "A Bayesian source model for the 2004 great Sumatra-Andaman earthquake". Journal of Geophysical Research: Solid Earth (ภาษาอังกฤษ). 121 (7): 5116–5135. Bibcode:2016JGRB..121.5116B. doi:10.1002/2016JB012911. ISSN 2169-9313.
  30. Fujii, Yushiro; Satake, Kenji; Watada, Shingo; Ho, Tung-Cheng (2021-12-01). "Re-examination of Slip Distribution of the 2004 Sumatra–Andaman Earthquake (Mw 9.2) by the Inversion of Tsunami Data Using Green's Functions Corrected for Compressible Seawater Over the Elastic Earth". Pure and Applied Geophysics (ภาษาอังกฤษ). 178 (12): 4777–4796. doi:10.1007/s00024-021-02909-6. ISSN 1420-9136.
  31. Løvholt, F.; และคณะ (30 November 2006). "Earthquake related tsunami hazard along the western coast of Thailand" (PDF). Natural Hazards and Earth System Sciences. 6 (6): 979–997. Bibcode:2006NHESS...6..979L. doi:10.5194/nhess-6-979-2006. hdl:11250/2426119. เก็บ (PDF)จากแหล่งเดิมเมื่อ 25 July 2021. สืบค้นเมื่อ 1 September 2019.
  32. Sibuet, J.; และคณะ (15 November 2007). "26th December 2004 great Sumatra–Andaman earthquake: Co-seismic and post-seismic motions in northern Sumatra" (PDF). Earth and Planetary Science Letters. 263 (1–2): 88–103. Bibcode:2007E&PSL.263...88S. doi:10.1016/j.epsl.2007.09.005. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 19 May 2009. สืบค้นเมื่อ 16 May 2009.
  33. Vallée, M. (2007). "Rupture Properties of the Giant Sumatra Earthquake Imaged by Empirical Green's Function Analysis" (PDF). Bulletin of the Seismological Society of America. Seismological Society of America. 97 (1A): S103–S114. Bibcode:2007BuSSA..97S.103V. doi:10.1785/0120050616. เก็บ (PDF)จากแหล่งเดิมเมื่อ 10 October 2016. สืบค้นเมื่อ 10 February 2016.
  34. "Kamchatka Earthquake, 4 November 1952." United States Geological Survey.
  35. Pearce, Fred; Holmes, Bob (15 January 2005). "Tsunami: The impact will last for decades". New Scientist. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 17 April 2008.
  36. "Tsunami time travel map". Tsunami Laboratory, Novosibirsk, Russia. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 3 April 2012. สืบค้นเมื่อ 20 July 2012.
  37. "Time travel map: Active Fault Research Center: National Institute of Advanced Industrial Science and Technology, Japan". Staff.aist.go.jp. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 17 July 2012. สืบค้นเมื่อ 24 December 2012.
  38. "Indian Ocean Tsunami of 26 December 2004". West Coast/Alaska Tsunami Warning Center (USGS). 31 December 2004. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 4 February 2012.
  39. "The 2004 Boxing Day tsunami". Australian Geographic. 18 December 2014. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 23 February 2015. สืบค้นเมื่อ 5 March 2015.
  40. Block, Melissa (27 December 2004). "Sri Lankans Seek Lost Relatives After Tsunami". All Things Considered. NPR. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 23 November 2016. สืบค้นเมื่อ 20 December 2016.
  41. Campbell, Matthew; Loveard, Keith; et al. "Tsunami disaster: Focus: Nature's timebomb เก็บถาวร 16 พฤษภาคม 2018 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน." Times Online. 2 January 2005.
  42. "Girl, 10, used geography lesson to save lives". The Telegraph. London. 1 January 2005. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 25 January 2017. สืบค้นเมื่อ 20 December 2016.
  43. Subir Bhaumik (30 December 2004). "Andaman aborigines' fate unclear". BBC News. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 12 December 2010. สืบค้นเมื่อ 13 February 2010.
  44. Gupta, Manu; Sharma, Anshu (2006). "Compounded loss: the post tsunami recovery experience of Indian island communities". Disaster Prevention and Management. 15 (1): 67–78. Bibcode:2006DisPM..15...67G. doi:10.1108/09653560610654248.
  45. Math, Suresh Bada; Girimaji‌1, Satish Chandra; Benegal, V; Uday Kumar, GS; Hamza, A; Nagaraja, D (2006). "Tsunami: Psychosocial aspects of Andaman and Nicobar islands. Assessments and intervention in the early phase". International Review of Psychiatry. 18 (3): 233–239. doi:10.1080/09540260600656001. PMID 16753660. S2CID 10258905.
  46. Bhaumik, Subir (20 January 2005). "Tsunami folklore 'saved islanders'". BBC News. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 30 September 2009. สืบค้นเมื่อ 20 December 2016.
  47. "Chapter 4: Field Survey and Numerical Simulation on the 2004 Off-Sumatra Earthquake and Tsunami in Thailand" (PDF). Tohoku University. เก็บ (PDF)จากแหล่งเดิมเมื่อ 15 February 2017. สืบค้นเมื่อ 10 October 2015.
  48. Tsuji, Yoshinobu; และคณะ (2006). "The 2004 Indian tsunami in Thailand: Surveyed runup heights and tide gauge records" (PDF). Earth Planets Space. 58 (2): 223–232. Bibcode:2006EP&S...58..223T. doi:10.1186/BF03353382. S2CID 23896058. เก็บ (PDF)จากแหล่งเดิมเมื่อ 21 September 2016. สืบค้นเมื่อ 3 August 2016.
  49. ความเสียหายที่ประเทศไทยได้รับจากพิบัติภัยคลื่นสึนามิ
  50. Telford, John; Cosgrave, John (2006). Joint Evaluation of the International Response to the Indian Ocean Tsunami: Synthesis Report (PDF) (ภาษาอังกฤษ). London: Tsunami Evaluation Coalition. p. 33. ISBN 0-85003-807-3.
  51. UN Office of the Special Envoy for Tsunami Recovery (January 2006). "The Human Toll". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 23 April 2006.
  52. "Home". Islamic Relief USA. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 19 January 2011. สืบค้นเมื่อ 12 August 2010.
  53. Parwanto, Novia Budi; Oyama, Tatsuo (2014). "A statistical analysis and comparison of historical earthquake and tsunami disasters in Japan and Indonesia". International Journal of Disaster Risk Reduction. 7: 122–141. Bibcode:2014IJDRR...7..122P. doi:10.1016/j.ijdrr.2013.10.003. ISSN 2212-4209.
  54. "Indonesia quake toll jumps again". BBC News. 25 January 2005. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 21 August 2021. สืบค้นเมื่อ 24 December 2012.
  55. Telford, John; Cosgrave, John (2006). Joint Evaluation of the International Response to the Indian Ocean Tsunami: Synthesis Report (PDF) (ภาษาอังกฤษ). London: Tsunami Evaluation Coalition. p. 159. ISBN 0-85003-807-3.
  56. 56.0 56.1 อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ AsiaNews-Myanmar
  57. "Hundreds of thousands of people killed as tsunamis devastate large swathes of South and Southeast Asia, coming as far as South Africa | South African History Online". www.sahistory.org.za (ภาษาอังกฤษ). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 15 November 2022. สืบค้นเมื่อ 2022-11-15.
  58. "A2/2004Y Aasian luonnonkatastrofi 26.12.2004" (ภาษาฟินแลนด์). Onnettomuustutkintakeskus. 26 December 2004. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 25 July 2021. สืบค้นเมื่อ 26 December 2019.
  59. Meisl, C.S.; Safaie S.; Elwood K.J.; Gupta R.; Kowsari R. (2006). "Housing Reconstruction in Northern Sumatra after the December 2004 Great Sumatra Earthquake and Tsunami". Earthquake Spectra. 22 (3_suppl): 777–802. Bibcode:2006EarSp..22..777M. doi:10.1193/1.2201668. S2CID 110185015.
  60. "One year after the tsunami, Sri Lankan survivors still live in squalour". World Socialist Web Site. 29 December 2005. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 23 November 2012. สืบค้นเมื่อ 24 December 2012.
  61. "TsunamiMemorial.or.th". 28 September 2007. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 28 September 2007. สืบค้นเมื่อ 24 December 2012.
  62. Schwartz, D.; Goldberg A.; Ashenasi I.; Nakash G.; Leiba A.; Levei Y.; Bar-Dayan Y. (2006). "Prehospital care of tsunami victims in Thailand: description and analysis". Prehospital and Disaster Medicine. 21 (3): 204–210. doi:10.1017/S1049023X0000368X. PMID 16892886. S2CID 25251413.
  63. Martin Plaut (26 December 2005). "Tsunami: Somalia's slow recovery". BBC News. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 1 December 2012. สืบค้นเมื่อ 24 December 2012.
  64. "India, Indonesia, Maldives, Myanmar, Somalia, Thailand: Earthquake and Tsunami OCHA Situation Report No. 14". Reliefweb.int. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 7 May 2008. สืบค้นเมื่อ 12 August 2010.
  65. "Asia-Pacific | 'Hundreds feared dead' in Burma". BBC News. 4 January 2005. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 4 November 2012. สืบค้นเมื่อ 24 December 2012.
  66. "TsunamiMaldives.mv". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 17 June 2009. สืบค้นเมื่อ 24 December 2012.
  67. UNICEF (May 2006). "The 2004 Indian Ocean Tsunami Disaster: Evaluation of UNICEF's response (emergency and recovery phase). Maldives Report" (PDF). p. i. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 18 January 2012. สืบค้นเมื่อ 26 June 2011.
  68. english@peopledaily.com.cn (13 January 2005). "Death toll in Asian tsunami disaster tops 159,000". People's Daily. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 9 June 2011. สืบค้นเมื่อ 12 August 2010.
  69. "Killer Waves". Channelnewsasia.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 23 October 2012. สืบค้นเมื่อ 24 December 2012.
  70. "Asian tsunami death toll passes 144,000". Australia: ABC. 3 January 2005. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 17 June 2009. สืบค้นเมื่อ 12 August 2010.
  71. "The Seychelles raises its voice". 4 November 2005. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 6 May 2008. สืบค้นเมื่อ 12 August 2010.
  72. "Tsunami Evaluation Coalition: Initial Findings" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 24 March 2006. สืบค้นเมื่อ 12 August 2010.
  73. Ioualalen, M.; Pelinovsky, E.; Asavanant, J.; Lipikorn, R.; Deschamps, A. (2007). "On the weak impact of the 26 December Indian Ocean tsunami on the Bangladesh coast". Natural Hazards and Earth System Sciences. 7 (1): 141–147. Bibcode:2007NHESS...7..141I. doi:10.5194/nhess-7-141-2007.
  74. Okal, E.A.; Hartnady C.J. (2010). "The South Sandwich Islands earthquake of 27 June 1929: seismological study and inference on tsunami risk for the southern Atlantic" (PDF). South African Journal of Geology. 112 (3–4): 359–370. doi:10.2113/gssajg.112.3-4.359. เก็บ (PDF)จากแหล่งเดิมเมื่อ 17 April 2012. สืบค้นเมื่อ 26 June 2011.
  75. "YEMEN: Tsunami damage over US$1 million – UNEP assessment". Irinnews.org. 22 February 2005. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 26 March 2014. สืบค้นเมื่อ 24 December 2012.
  76. "Tsunami devastates Somali island". BBC News. 29 December 2004. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 10 February 2009. สืบค้นเมื่อ 24 December 2012.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]


อ้างอิงผิดพลาด: มีป้ายระบุ <ref> สำหรับกลุ่มชื่อ "aiสรุปข้อมูล" แต่ไม่พบป้ายระบุ <references group="aiสรุปข้อมูล"/> ที่สอดคล้องกัน