แผ่นพม่า

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
แผ่นพม่า
แผ่นพม่า
ประเภทแผ่นรอง
พื้นที่โดยประมาณ1,100,000 กม.2[1]
การเคลื่อนตัว1ทิศเหนือ
อัตราเร็ว146 มม./ปี
ลักษณะภูมิศาสตร์ทะเลอันดามัน
1โดยเทียบกับแผ่นแอฟริกา
แผ่นพม่า มีขอบเขตล้อมรอบด้วยแผ่นอินเดีย (ร่องลึกซุนดา) และแผ่นซุนดา (ตามทะเลอันดามัน)

แผ่นพม่า (อังกฤษ: Burma Plate) เป็นแผ่นธรณีแปรสัณฐานขนาดเล็กในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ บางครั้งถูกพิจารณาเป็นส่วนหนึ่งของแผ่นยูเรเชียที่มีขนาดใหญ่กว่า โดยหมู่เกาะอันดามัน หมู่เกาะนิโคบาร์ และเกาะสุมาตราตะวันตกเฉียงเหนือตั้งอยู่บนแผ่นนี้ หมู่เกาะรูปโค้งนี้เป็นตัวแบ่งทะเลอันดามันออกจากมหาสมุทรอินเดียทางตะวันตก

ทางตะวันออกของแผ่นนี้เป็นแผ่นซุนดา ซึ่งถูกแยกด้วยแนวแผ่นเปลือกโลกตามรอยเลื่อนแปรสภาพ ที่ทอดตัวไปตามแนวเหนือใต้ตามทะเลอันดามัน ขอบเขตนี้อยู่ระหว่างแผ่นพม่าและแผ่นซุนดาซึ่งเป็นการขยายตัวของพื้นมหาสมุทรบริเวณขอบ ซึ่งนำไปสู่ช่องเปิดในทะเลอันดามัน (จากทางใต้) โดยการ "ดัน" หมู่เกาะรูปโค้งอันดามัน-นิโคบาร์-สุมาตราออกจากแผ่นดินใหญ่ของเอเชีย ซึ่งเป็นกระบวนการที่เริ่มต้นอย่างจริงจังเมื่อประมาณ 4 ล้านปีก่อน

ทางตะวันตกเป็นแผ่นอินเดียที่มีขนาดใหญ่กว่า ซึ่งมุดตัวลงทางตะวันตกของแผ่นพม่า เขตมุดตัวที่กว้างขวางนี้เกิดเป็นร่องลึกซุนดา

ประวัติแผ่นธรณี[แก้]

ในแบบจำลองการแปรสัณฐานของเปลือกโลกที่สร้างขึ้นใหม่ของพื้นที่นี้ การเคลื่อนที่ไปทางเหนือโดยทั่วไปของแผ่นอินโด-ออสเตรเลียเป็นผลให้มันเกิดการชนกันอย่างสำคัญกับทวีปยูเรเชีย ซึ่งเริ่มต้นขึ้นในระหว่างสมัยอีโอซีน ประมาณ 50-55 ล้านปีก่อน การชนกันนี้ทำให้ทวีปเอเชียเริ่มมีการก่อเทือกเขาขึ้น ซึ่งกลายเป็นเทือกเขาหิมาลัย เช่นเดียวกับการแตกของแผ่นอินโด-ออสเตรเลียเป็นแผ่นอินเดีย, แผ่นออสเตรเลีย และอาจรวมไปถึงแผ่นคาปริคอร์นในปัจจุบัน[2]

เมื่อแผ่นอินเดียเลื่อนไปทางเหนือในอัตราเร็วมากโดยเฉลี่ย 16 ซม./ปี และหมุนทวนเข็มนาฬิกา ผลจากการเคลื่อนไหวและหมุนนี้ ทำให้เกิดการมุดตัวลงไปตามแผ่นทางตะวันออก (ภูมิภาคพม่า-อันดามัน-มลายู) โดยยูเรเซียนั้นอยู่ในมุมเฉียง

แรงแปรสภาพตามหน้าประทะการหมุดตัวนี้เริ่มเปลี่ยนเส้นทางให้โค้งซุนดาเคลื่อนไปตามเข็มนาฬิกา ในช่วงปลายสมัยโอลิโกซีน (ประมาณ 32 ล้านปีก่อน) โดยทำให้รอยเลื่อนได้รับการพัฒนาขึ้นและแผ่นพม่าและแผ่นซุนดาเริ่ม "แยกออก" จากแผ่นยูเรเซียที่ใหญ่กว่า

หลังจากการเกิดชุดของรอยเลื่อนแปรสภาพที่เพิ่มขึ้น และมีการมุดตัวอย่างต่อเนื่องของแผ่นดินเดียใต้แผ่นพม่า จึงพบการก่อตัวขึ้นของแอ่งโค้งด้านหลังของแอ่งขอบและการขยายตัวของพื้นมหาสมุทรซึ่งจะกลายเป็นทะเลอันดามัน โดยกระบวนการนี้เกิดขึ้นในช่วงกลางสมัยไพลโอซีน (3-4 ล้านปีก่อน)

ร่องลึกและโค้งซุนดาตะวันตกแสดงการแปรสัณฐานและกิจกรรมของแผ่นดินไหว

กิจกรรมการแปรสัณฐานล่าสุด[แก้]

วันที่ 26 ธันวาคม พ.ศ. 2547 ส่วนขนาดใหญ่ของขอบเขตระหว่างแผ่นพม่าและแผ่นอินเดียเกิดการไถล ทำให้เกิดเหตุการณ์แผ่นดินไหวและคลื่นสึนามิในมหาสมุทรอินเดีย พ.ศ. 2547 ขึ้น[3] แผ่นดินไหวเมกะทรัสต์นี้มีการประมาณขนาดโมเมนต์ที่ 9.1–9.3 Mw[4] มากกว่า 1,600 กม. ของขอบเขตเกิดการเลื่อนย้อนมุมต่ำและเลื่อนไป 5 เมตรในทางแนวตั้ง และ 11 เมตรในทางแนวนอน[4] การยกตัวอย่างรวดเร็วของพื้นทะเลในเวลาสั้น ๆ (เจ็ดนาที[4]) นี้ เกิดเป็นสึนามิขนาดใหญ่ซึ่งทำให้มีผู้เสียชีวิตประมาณ 229,800 คนตามแนวชายฝั่งของมหาสมุทรอินเดีย

อ้างอิง[แก้]

  1. "Sizes of Tectonic or Lithospheric Plates". Geology.about.com. 2014-03-05. สืบค้นเมื่อ 2016-02-02.
  2. Gordon, Richard G. (2009-03-01). "Lithospheric Deformation in the equatorial Indian Ocean: Timing and Tibet". Geology. 37 (3): 287–288. doi:10.1130/focus032009.1. สืบค้นเมื่อ 2016-02-02.
  3. "Thirty-eight Indian cities in high-risk earthquake zones".
  4. 4.0 4.1 4.2 Strand, Carl; John Masek (2008). Sumatra-Andaman Islands earthquake and tsunami of December 26, 2004 : lifeline performance. Reston, Va.: American Society of Civil Engineers. ISBN 9780784409510.

การค้นคว้าเพิ่มเติม[แก้]