หาดกมลา

พิกัด: 7°57′26.2″N 98°16′58.9″E / 7.957278°N 98.283028°E / 7.957278; 98.283028
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
หาดกมลา
ชายหาด
หาดกมลาตั้งอยู่ในประเทศไทย
หาดกมลา
หาดกมลา
พิกัด: 7°57′26.2″N 98°16′58.9″E / 7.957278°N 98.283028°E / 7.957278; 98.283028
ประเทศไทย
เขตเวลาUTC+7 (เวลาอินโดจีน)

หาดกมลา เป็นหาดทางตะวันตกของจังหวัดภูเก็ต เป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่สำคัญแห่งหนึ่งของจังหวัดภูเก็ต อยู่ห่างจากหาดป่าตองประมาณ 8 กิโลเมตร และจากตัวเมืองประมาณ 26 กิโลเมตร และใช้เวลาประมาณครึ่งชั่วโมงจากสนามบินภูเก็ต หาดกมลาเหมาะสำหรับผู้ที่ต้องการหลีกเลี่ยงจากความวุ่นวาย และต้องการใช้เวลาส่วนตัวกับคนในครอบครัวหรือเพื่อนฝูง. [1][2][3]

สิ่งแวดล้อม[แก้]

หาดกมลามีหาดทรายที่ทอดยาว และบรรยากาศเงียบสงบ เหมาะสำหรับวันหยุดพักผ่อนของครอบครัว หาดกมลาเป็นทางโค้งยาวสามารถเล่นน้ำได้ตลอดทั้งปี ทะเลมีความสงบที่สุดตั้งแต่เดือนพฤศจิกายนถึงเมษายน และมีคลื่นลมบางส่วนในช่วงเดือนพฤษภาคมถึงตุลาคม หาดกมลาไม่มีผับ บาร์ หรือกิจกรรมกีฬาทางน้ำมากมาย จึงเป็นชายหาดในอุดมคติสำหรับครอบครัวที่มีเด็กเล็ก ผู้ปกครองสามารถนอนอาบแดดในขณะที่ดูลูกๆเล่นน้ำทะเลได้อย่างสบายใจโดยไม่ต้องกังวลว่าเจ้าตัวเล็กจะว่ายน้ำขวางทางของนักเล่นกระดานโต้คลื่น ผู้คนยังสามารถดำน้ำตื้นในตอนเหนือของชายหาดได้ตั้งแต่เดือนพฤศจิกายนถึงเมษายนของทุกปี แต่เป้าหมายของคนส่วนใหญ่ที่มาหาดกมลาคือการพักผ่อนหรือหาจุดที่เหมาะสมในการนอนเล่นบนชายหาดภายใต้แสงแดด หาดกมลามีร้านอาหารมากมายตามชายหาด ที่มีทั้งอาหารไทย อาหารฝรั่ง สลัด ไก่สะเต๊ะ แกงกะหรี่ และอื่นๆ อีกมากมาย. [4][5]

ชีวิตกลางคืน[แก้]

หาดกมลาคึกคักในช่วงกลางคืนเพราะนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและต่างชาติทยอยมาชมการแสดงที่ภูเก็ตแฟนตาซี ซึ่งรวมการแสดงไทยดั้งเดิมระดับประเทศ กับฉากอันตระการตา กายกรรม และการแสดงช้าง นอกจากนี้ยังมีอาหารเย็นและร้านค้าที่มีสินค้าหลากหลายให้เลือกซื้อ

สึนามิ พ.ศ. 2547[แก้]

ผลพวงของสึนามิ (ป่าตอง)

เมื่อวันที่ 26 ธันวาคม พ.ศ. 2547 คลื่นยักษ์สึนามิที่เกิดจากแผ่นดินไหวในมหาสมุทรอินเดีย โจมตีชายหาดฝั่งตะวันตกที่สำคัญของภูเก็ต รวมไปถึงหาดกมลา ทำให้ได้รับความเสียหายอย่างหนัก กมลามีอนุสรณ์สถานสึนามิ ซึ่งสร้างเพื่อลำลึกถึงภัยพิบัติที่เคยเกิดขึ้นในปีพ.ศ. 2547 ทั้งนี้หาดกมลายังเป็นที่ตั้งของหมู่บ้านชาวประมงมุสลิมอีกด้วย. [6][7]

สถานการณ์การแพร่ระบาดโควิด-19[แก้]

ในช่วงปี 2020 ภูเก็ตรวมไปถึงกมลา ได้รับผลกระทบอย่างหนักจากโควิด-19 ซึ่งส่งผลกระทบต่อการท่องเที่ยว แม้ว่าโรคระบาดจะทำให้เกิดความท้าทายทางเศรษฐกิจ แต่ก็เป็นโอกาสที่ดีที่ธรรมชาติจะได้ฟื้นฟูหาดกมลาให้กลับมาเป็นสวรรค์บนดินอีกครั้ง. [8][9]

ชนไก่

ไก่ชน/เพาะพันธุ์[แก้]

ไก่ชนภูเก็ตผิดกฎหมาย แต่หาดกมลากลายเป็นศูนย์เพาะพันธุ์ไก่ชนใน ภูเก็ต. ศูนย์เพาะพันธุ์หลายแห่งดำเนินการโดยผู้มีอิทธิพล นักการเมือง และมาเฟียในท้องถิ่น สิ่งนี้ทำให้เกิดความขัดแย้งระหว่างเจ้าของที่ดินที่มีพรมแดนติดกับศูนย์เพาะพันธุ์ไก่เนื่องจากไก่ขันและมูลค่าทางการเงินของที่ดินลดลง. [10][11][12][13][14][15]

ตำนานอาถรรพ์แห่งเกาะลังกาวี (Legend of Langkawi)[แก้]

เป็นเรื่องราวเกี่ยวกับหญิงสาวรูปงาม นามว่า “นางมัสสุหรี” ลูกสาวคนที่สามของ Pandak Mayah และ Cik Alang ซึ่งมีชีวิตอยู่ในช่วงปี ค.ศ. 1762 ถึง 1800 เมื่อเธอโตขึ้น เธอเป็นหนึ่งในหญิงสาวที่สวยที่สุดบนเกาะลังกาวี นางมัสสุหรีได้หมั้นหมายกับ Wan Darus ซึ่งเป็นน้องชายของผู้ใหญ่บ้าน

เมื่อ Wan Darus ต้องออกไปทำสงครามกับกองทัพสยามในขณะนั้น นางมัสสุหรีสนิทสนมกับชายหนุ่มที่ชื่อ Deraman ในขณะที่ Wan Mahora ซึ่งเป็นแม่ยายของนางมัสสุหรี ไม่พอใจกับเรื่องดังกล่าว เธออิจฉาในความงามของนางมัสสุหรีมาโดยตลอด ดังนั้นเธอจึงฉวยโอกาสนี้กล่าวหาว่านางมัสสุหรีล่วงประเวณีในขณะที่ Wan Darus ไม่อยู่

สุสานมาสุรี

หลังจากนั้น นางมัสสุหรีก็ถูกมัดไว้กับต้นไม้ท่ามกลางแสงแดดที่แผดเผาเป็นเวลาหลายวันก่อนที่พวกเขาจะลงโทษเธอ ไม่มีใครเชื่อเมื่อเธอบอกว่าเธอบริสุทธิ์และไม่มีใครรับฟังคำวิงวอนของเธอในขณะที่เธอทนทุกข์ทรมานอย่างมาก ในที่สุดเธอก็ถูกตัดสินประหารชีวิต กลับกลายเป็นว่าไม่มีกริชหรือดาบใดๆของพวกเขาที่สามารถฆ่าเธอได้ไม่ว่าพวกเขาจะพยายามมากแค่ไหนก็ตาม นางมัสสุหรีถึงจุดที่ยอมรับชะตากรรมของเธอ เธอบอกให้พวกเขาฆ่าเธอด้วยกริชของบรรพบุรุษของบิดาของเธอ ในที่สุดพวกเขาก็แทงเธอจนเสียชีวิต แต่แทนที่เลือดที่ไหลออกจะเป็นสีแดง เลือดที่ไหลออกจากร่างกายของเธอกลับเป็นสีขาว ซึ่งเป็นสัญลักษณ์ของความบริสุทธิ์

ด้วยลมหายใจสุดท้ายของเธอ นางมัสสุหรีสาปลังกาวีด้วยความโชคร้ายเจ็ดชั่วอายุคน หลังจากนั้น ลังกาวีก็ประสบกับช่วงเวลาแห่งความทุกข์ยากเช่นนั้นจริงๆ ทั้งจากการรุกรานของสยาม ภัยแล้งและอุทกภัย เพียงพอที่จะเกลี้ยกล่อมผู้คนบนเกาะลังกาวีให้เชื่อว่าคำสาปของนางมัสสุหรีมีอยู่จริง.[16]

ภาคอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว: ชาวบ้านบนเกาะลังกาวีเชื่อในตำนานอาถรรพ์แห่งเกาะลังกาวี (Legend of Langkawi) เป็นอย่างมาก อย่างไรก็ตามพวกเขาเชื่อว่าคำสาปของนางมัสสุหรีได้สิ้นสุดลงในปลายศตวรรษที่ผ่านมา เนื่องจากคนบนเกาะเริ่มอยู่อย่างสงบสุข ชาวบ้านโต้แย้งว่าปัญหาและโศกนาฏกรรมได้สิ้นสุดลงแล้วจึงเริ่มพัฒนาการท่องเที่ยวบนเกาะแห่งนี้[17]

ศิรินทรา ยายี (Sirintra Yayee) ถูกติดตามและระบุว่าเธอเป็นทายาทลำดับที่เจ็ดของเจ้าหญิงมัสสุหรี ครอบครัวของเธอย้ายไปอยู่ที่กมลา จังหวัดภูเก็ต ครั้งหนึ่งเธอได้รับข้อเสนอให้อยู่บนเกาะลังกาวี แม้จะได้รับการต้อนรับอย่างอบอุ่นจากชาวลังกาวี เธอก็ยังปฏิเสธและเลือกที่จะใช้ชีวิตต่อไปที่จังหวัดภูเก็ตแทน ชีวิตของศิรินทรา ยายี ดูเหมือนจะเปลี่ยนไปบ้างแล้ว แต่ความเป็นจริง ตั้งแต่ชีวิตของเธอในสมัยก่อน สู่จินตนาการและเทพนิยายในวัยเด็กและวัยผู้ใหญ่ตอนต้นของเธอ ตอนนี้เธอแต่งงานแล้วและกลับไปใช้ชีวิตตามปกติเฉกเช่นคนทั่วไปแล้ว.[18]

นอกจากนี้ ยังมีอีกห้าครอบครัวในหมู่บ้านที่อ้างความเกี่ยวพันทางสายเลือดกับเจ้าหญิงมัสสุหรีได้แก่ ครอบครัวดุมลักษณ์ ครอบครัวแสงทอง ครอบครัวสาริยา ครอบครัวสุขศรีสินธุ์ และครอบครัวสังวาลย์ ครอบครัวทั้งหมดนี้บอกว่าพวกเขาไม่ต้องการอะไรนอกจากให้สาธารณชนได้รู้ว่ายายีไม่ใช่ทายาทเพียงผู้เดียว คุณสะอาด สุขศรีสินธุ์ อายุ 58 ปี กล่าวว่าคุณทวดของเขา (Toh Arkem) เป็นลูกชายคนเดียวของเจ้าหญิงมัสสุหรี หลังจากที่เจ้าหญิงสิ้นพระชนม์แล้ว คุณทวดของเขาก็ย้ายไปอยู่ที่กมลา และต่อมาก็มีบุตรชายสี่คนและบุตรสาวอีกสองคน ก่อนที่คุณทวดจะเสียชีวิต เขาได้มอบกริชให้ลูกๆของเขาแต่ละคน ทั้งหกครอบครัวยังคงมีกริชเป็นเครื่องพิสูจน์สายเลือดของพวกเขา (Chern Yayee) หัวหน้าครอบครัวตระกูลยายี กล่าวว่า “ตั้งแต่แรกเริ่ม ข้าพเจ้าทราบมาโดยตลอดว่าเราไม่ใช่ทายาทที่มีชีวิตเพียงตระกูลเดียวของเจ้าหญิง ข้าพเจ้ารู้ว่ายังมีอีกห้าครอบครัวเช่นกัน สิ่งสำคัญคือหลานสาวของข้าพเจ้า ศิรินทรา เป็นทายาทรุ่นที่เจ็ดของเจ้าหญิง นั่นเป็นเหตุผลที่รัฐบาลมาเลเซียต้องการให้เธออยู่ในลังกาวีเพื่อยุติคำสาป.”[19]

อ้างอิง[แก้]

  1. "Kamala Beach in Phuket".
  2. "Kamala Beach 101". 23 February 2021.
  3. "Kamala Beach Vacation Travel Guide".
  4. "Wiki Travel KB".
  5. "Kamala Beach Phuket".
  6. "Tsunami, December 26, 2004 at Patong Beach, Phuket, Thailand: Personal Notes from Mark Oberle".
  7. "Tsunami reconnaissance survey in Thailand using satellite images and GPS".
  8. "Empty beaches, chained doors: Surreal scenes in Phuket as island pins reopening hopes on vaccines".
  9. "Thailand Ready to Tackle Outbreak From Reopening, Minister Says".
  10. "Phuket Secret Cockfight: Death in the Afternoon".
  11. "See cockfights in Phuket, Thailand".
  12. "ตร.สืบสวนภูเก็ตร่วม ตร.วิชิตบุกซุ้มไก่ชน รวบ 69 คนไทย-พม่าลอบเล่นพนัน". 12 January 2020.
  13. "รวบ 60 เซีนนพนันไก่ชนขณะล้อมวงตีไก่กันอย่างเมามัน".
  14. "ตำรวจภูเก็ตนำกำลังปิดล้อมจับนักพนันชนไก่ ได้ผู้ต้องหาเกือบ 60 คน". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-08-07. สืบค้นเมื่อ 2021-08-26.
  15. "วงไก่ชนกระเจิง รวบ 15 นักพนันชนไก่ทั้งไทยและเมียนมาที่ป่าคลอก".
  16. "Legends of Mahsuri".
  17. "The legend of Mahsuri and the curse of Langkawi island". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-09-08. สืบค้นเมื่อ 2021-09-10.
  18. "GRANDPA YARNS: An heir of mystery".
  19. "More descendants of princess emerge".