อัสนี โชติกุล

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
อัสนี โชติกุล
ข้อมูลพื้นฐาน
ชื่อเกิดอัสนี โชติกุล
รู้จักในชื่อจิ๊กโก๋อกหัก
เกิด9 เมษายน พ.ศ. 2498 (68 ปี)
ที่เกิดไทย จังหวัดเลย ประเทศไทย
แนวเพลงร็อก
ร็อกแอนด์โรล
โปรเกรสซีฟร็อก
ฮาร์ดร็อก
นิวเวฟ
อาชีพนักร้อง
นักดนตรี
โปรดิวเซอร์
นักแต่งเพลง
เครื่องดนตรีกีตาร์,เบส,ซึง (พิณอีสาน),ฮาร์โมนิก้า
ช่วงปีพ.ศ. 2518 - ปัจจุบัน
ค่ายเพลงจีเอ็มเอ็ม แกรมมี่
มอร์ มิวสิก
สหภาพดนตรี
สมาชิกอัสนี-วสันต์
อดีตสมาชิกอีสซึ่น
โอเรียลเต็ลฟังก์
บัตเตอร์ฟลาย
เว็บไซต์แฟนเพจเฟซบุ๊กอย่างเป็นทางการของ อัสนี โชติกุล

อัสนี โชติกุล หรือ (ชื่อเล่น: ป้อม) เป็นนักร้อง มือกีตาร์ โปรดิวเซอร์ และนักแต่งเพลง เป็นที่รู้จักในฐานะสมาชิกของ อัสนี วสันต์ รวมทั้งเป็นอดีตสมาชิกของวง อีสซึ่น , โอเรียลเต็ล ฟังก์ และกลุ่มบัตเตอร์ฟลาย

ประวัติ[แก้]

อัสนีเป็นคนตำบลเสี้ยว อำเภอเมืองเลย จังหวัดเลย เกิดเมื่อวันที่ 9 เมษายน พ.ศ. 2498 สูง 165 ซม. มีพี่น้อง 4 คน บิดาเป็นทนาย มารดาเป็นครู เริ่มเล่นกีตาร์ตั้งแต่อายุ 10 ขวบ ชอบดนตรีแนวร็อกแอนด์โรล จบมัธยมศึกษา (มศ.5) จากโรงเรียนเลยพิทยาคม แล้วเข้ากรุงเทพ มาศึกษาต่อที่มหาวิทยาลัยรามคำแหง คณะนิติศาสตร์ ต่อมาปี พ.ศ. 2517 ได้เข้าประกวดดนตรีโฟล์กซอง โดยได้ชนะเลิศการประกวดชิงแชมป์โฟล์คซองแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2517 หลังได้รางวัลชนะเลิศ อาจารย์วิมล จงวิไล ซึ่งเป็นหนึ่งในกรรมการได้พาไปอัดเสียง เป็นจุดกำเนิดของวง อีสซึ่น (Isn't) ตามสำเนียงคำว่า อีสาน กับน้องชาย วสันต์ โชติกุล และ จุมพฏ ปัญญามงคล หลังจากนั้นอัสนีได้ออกจากวงอีสซึ่น มาอยู่กับวงโอเรียนเต็ล ฟังก์ ที่โรงแรมมณเฑียร และได้รู้จักกับ เรวัต พุทธินันทน์ สุรสีห์ อิทธิกุล กฤษณ์ โชคทิพย์พัฒนา ดนู ฮันตระกูล บรูซ แกสตัน และวงบัตเตอร์ฟลาย โดยอัสนีได้ทำงานเป็นโปรดิวเซอร์ที่กรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ อยู่ช่วงหนึ่ง และกลับมาออกอัลบั้มแรกชุด บ้าหอบฟาง ร่วมกับน้องชายในนาม "อัสนี-วสันต์"

นอกจากนี้ยังเคยเป็นมือกีตาร์ให้กับ เรวัต พุทธินันท์ ในอัลบั้ม เต๋อ 1 จนถึงอัลบั้ม ชอบก็บอกชอบ อีกทั้งยังได้ก่อตั้งบริษัท มอร์ มิวสิค ในปี พ.ศ. 2538 ในเวลาต่อมามีการลดขนาดองค์กรทำให้ มอร์ มิวสิก และค่ายเพลงย่อยในเครือจีเอ็มเอ็มต้องปิดกิจการลงไป ในปี พ.ศ. 2554 ได้ก่อตั้ง บริษัท สหภาพดนตรี จำกัด ร่วมกับ นิติพงษ์ ห่อนาค และ ชาตรี คงสุวรรณ โดยมีจุตินันท์ ภิรมย์ภักดี และ วุฒินันท์ ภิรมย์ภักดี เข้าร่วมหุ้นด้วย และในปี พ.ศ. 2558 ได้เปลี่ยนชื่อบริษัทใหม่เป็น มิวสิกมูฟเอนเตอร์เทนเมนต์

ผลงาน[แก้]

ผลงานเพลงในนามวงอีสซึ่น
ผลงานบ็อกเซ็ท
  • ปี 2548 - รวม อัสนี วสันต์(เป็นการนำสตูดิโออัลบั้มมารวมและจัดจำหน่ายใหม่ ถึงชุดจินตนาการ)
  • ปี 2554 - อัสนี วสันต์ 26 ปี รักเธอเสมอ(เป็นการผลิตใหม่ในรูปแบบแผ่นทองพร้อมเพิ่มแผ่นพิเศษ ขอบคุณที่มีเธอ เป็นการรวมงานที่ไม่ได้บรรจุในสตูดิโออัลบั้ม มีปิ๊ก 10 อัน)
  • ปี 2559 - อัสนี วสันต์ 30 ปี สวัสดีครับ(นำงานที่อัสนี วสันต์ออกกับค่าย มิวสิคมูฟเอนเตอร์เทนเมนท์รวมกับเพลงพิเศษในแผ่น ขอบคุณที่มีเธอ เป็นแผ่นที่ชื่อว่า รักเธอ...คงเดิม มีปิ๊กเพียงอันเดียว)
ผลงานเพลงนามกลุ่มบัตเตอร์ฟลาย
ผลงานเพลงร่วมสังกัด ไนท์สปอต
  • ปี 2528 - แดนศิวิไลซ์ ศิลปิน ธเนศ วรากุลนุเคราะห์
  • ปี 2528 - กัมก๊า กัมก๊า ศิลปิน ฮัคกี้ ไอเคิลมานน์ (ทำนอง กัมก๊า กัมก๊า)
  • ปี 2528 - ขอเพียง...เข้าใจ ศิลปิน มัม แอนด์ ลาโคนิคส์ (คำร้อง อย่าโกรธฉันเลย, เปิดหัวใจ, ผิวปากฝากลม)


ผลงานสตูดิโออัลบั้มในนามอัสนี-วสันต์


ผลงานเพลงนามอัสนี โชติกุล
  • ปี 2543 - เพลงประกอบละคร "เงา" ชื่อเพลง คนสุดท้าย
  • ปี 2547 - เพลงประกอบภาพยนตร์ "บิวตี้ฟูล บ๊อกเซอร์" ชื่อเพลง เธอ (มาจากไหน)
  • ปี 2549 - เพลงประกอบละคร "ลอดลายมังกร" ชื่อเพลง ยืนหยัด ยืนยง
  • ปี 2552 - เพลงประกอบละคร "สู้ยิบตา" ชื่อเพลง รักชนะทุกอย่าง
  • ปี 2555 - เพลง "พูดลอยลอย" สังกัด สหภาพดนตรี
  • ปี 2556 - เพลง หัวใจของพ่อ ร่วมกับ ปาล์มมี่ ในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา ๕ ธันวาคม ๒๕๕๗
  • ปี 2557 - เพลง แผ่นดินนี้...มีพอ เนื่องในโอกาสครบรอบ 30 ปีบางจาก
  • ปี 2558 - เพลงประกอบละคร "เลือดมังกร" ชื่อเพลง หัวใจลิขิต
  • ปี 2558 - เพลง "พูดมาเลย" สังกัด มิวสิคมูฟเอนเตอร์เทนเม้นต์
  • ปี 2562 - เพลงประกอบละคร "สงครามนักปั้น 2 " ชื่อเพลง ไม่ปล่อยมือ
  • ปี 2564 - เพลงประกอบละคร "ตุ๊กตา" ชื่อเพลง คนสุดท้าย


ผลงานการแต่งเพลง (คำร้อง-ทำนอง), เรียบเรียงเสียงประสานและโปรดิวเซอร์ ของอัสนี โชติกุล
  • ปี 2524 - อัลบั้ม นักสู้จากที่ราบสูง
  • ปี 2525 - อัลบั้ม เรามาร้องเพลงกัน
  • ปี 2525 - อัลบั้ม คิดไม่ออก
  • ปี 2526 - อัลบั้ม Something In Our Minds
  • ปี 2526 - อัลบั้ม เพลงประกอบภาพยนตร์ "เงิน เงิน เงิน"
  • ปี 2526 - อัลบั้ม เต๋อ 1 ศิลปิน เรวัต พุทธินันทน์
  • ปี 2527 - เรียบเรียงเพลงในอัลบั้ม ซี่โครงบุญมา ศิลปิน วงอมตะ
  • ปี 2527 - อัลบั้ม อยู่กับยาย
  • ปี 2527 - อัลบั้ม ฉันเป็นฉันเอง ศิลปิน แหวน ฐิติมา
  • ปี 2527 - โปรดิวเซอร์อัลบั้ม บทเพลง ของ อีสซึ่น
  • ปี 2528 - อัลบั้ม กัมก๊า กัมก๊า ศิลปิน ฮัคกี้ ไอเคิลมานน์ (ทำนอง กัมก๊า กัมก๊า)
  • ปี 2528 - อัลบั้ม ขอเพียงเข้าใจ ศิลปิน มัม แอนด์ ลาโคนิคส์ (คำร้อง อย่าโกรธฉันเลย, เปิดหัวใจ, ผิวปากฝากลม)
  • ปี 2528 - อัลบั้ม เต๋อ 2 ศิลปิน เรวัต พุทธินันทน์
  • ปี 2528 - อัลบั้ม กัลปาวสาน ศิลปิน สุรสีห์ อิทธิกุล
  • ปี 2528 - โปรดิวเซอร์อัลบั้ม แดนศิวิไลซ์ ของ ธเนศ วรากุลนุเคราะห์
  • ปี 2528 - อัลบั้ม อัลบั้มรัก ศิลปิน นันทิดา แก้วบัวสาย
  • ปี 2528 - อัลบั้ม เปเป้ & บัตเตอร์ฟลาย
  • ปี 2528 - อัลบั้ม ดอกไม้ จดหมาย ความรัก ศิลปิน นรินทร ณ บางช้าง
  • ปี 2529 - อัลบั้ม เรามีเรา ศิลปิน แหวน ฐิติมา
  • ปี 2529 - เรียบเรียงเพลงในอัลบั้ม จนกระดูกเข้าหม้อ ศิลปิน วงอมตะ
  • ปี 2529 - อัลบั้ม Action!
  • ปี 2529 - โปรดิวเซอร์อัลบั้ม บ้าหอบฟาง
  • ปี 2529 - อัลบั้ม เต๋อ 3 ศิลปิน เรวัต พุทธินันทน์
  • ปี 2529 - โปรดิวเซอร์อัลบั้ม ร็อค เล็ก เล็ก ศิลปิน ไมโคร
  • ปี 2530 - อัลบั้ม สบาย สบาย ศิลปิน ธงไชย แมคอินไตย์
  • ปี 2530 - เรียบเรียงเพลงในจากอัลบั้ม รอจนแหวนหลวม ศิลปิน วงอมตะ
  • ปี 2530 - โปรดิวเซอร์อัลบั้ม ผักชีโรยหน้า (ร่วมกับ วสันต์ โชติกุล)
  • ปี 2530 - อัลบั้ม คนที่รู้ใจ ศิลปิน แหวน ฐิติมา
  • ปี 2530 - อัลบั้ม บิลลี่ บิลลี่ ศิลปิน บิลลี่ โอแกน
  • ปี 2530 - ทำนอง ชีวิตสัมพันธ์ (ร่วมกับ แอ๊ด คาราบาว) เพลงพิเศษจากคอนเสิร์ต เวลคัม ทู อิสานเขียว
  • ปี 2531 - โปรดิวเซอร์อัลบั้ม กระดี่ได้น้ำ (ร่วมกับ วสันต์ โชติกุล)
  • ปี 2531 - เรียบเรียงเพลงในจากอัลบั้ม ไทยอพยพ ศิลปิน วงอมตะ
  • ปี 2532 - โปรดิวเซอร์อัลบั้ม ฟักทอง (ร่วมกับ วสันต์ โชติกุล)
  • ปี 2533 - โปรดิวเซอร์อัลบั้ม สับปะรด (ร่วมกับ วสันต์ โชติกุล)
  • ปี 2536 - โปรดิวเซอร์อัลบั้ม อร่อยน้ำลาย ศิลปิน วงอมตะ
  • ปี 2536 - โปรดิวเซอร์และเรียบเรียงเพลงในอัลบั้ม รุ้งกินน้ำ (ร่วมกับ วสันต์ โชติกุล)
  • ปี 2540 - โปรดิวเซอร์อัลบั้ม บางอ้อ (ร่วมกับ วสันต์ โชติกุล)
  • ปี 2542 - โปรดิวเซอร์อัลบั้ม OHO ของ โอโฮ
  • ปี 2545 - โปรดิวเซอร์อัลบั้ม จินตนาการ (ร่วมกับ วสันต์ โชติกุล)
  • ปี 2549 - โปรดิวเซอร์อัลบั้ม เด็กเลี้ยงแกะ (ร่วมกับ วสันต์ โชติกุล)
  • ปี 2550 - โปรดิวเซอร์อัลบั้ม พักร้อน (ร่วมกับ วสันต์ โชติกุล)
  • ปี 2555 - เรียบเรียงเพลง พูดลอยลอย
  • ปี 2558 - แต่งคำร้องทำนองเรียบเรียงเพลง พูดมาเลย
ผลงานที่ร้องร่วมกับศิลปินคนอื่น
  • ปี 2530 - เพลง ชีวิตสัมพันธ์ ร่วมกับ วงคาราบาว , หงา คาราวาน , สุเทพ โฮป , พงษ์เทพ กระโดนชำนาญ , สีเผือก คนด่านเกวียน - (เพลงพิเศษจากคอนเสิร์ต เวลคัม ทู อิสานเขียว)
  • ปี 2532 - เพลง พลจันทร์เดือนเพ็ญ - ร่วมกับ แอ๊ด คาราบาว , หงา คาราวาน (อัลบั้ม ทำมือ ของ แอ๊ด คาราบาว)
  • ปี 2545 - ร่วมร้องเพลง คนขายฝัน - ร่วมกับ แอ๊ด คาราบาว , เสก โลโซ , ธงไชย แมคอินไตย์ , ใหม่ เจริญปุระ , แอม เสาวลักษณ์ , มาช่า วัฒนพานิช (เพลงพิเศษจากมหกรรมคอนเสิร์ต ถูกใจคนไทย ร่วมใจใช้สินค้าถูกกฎหมาย)
  • ปี 2545 - ร่วมร้องเพลง ขวานไทยใจหนึ่งเดียว - ร่วมกับกลุ่มศิลปินอีกมากมาย (ดูที่ ขวานไทยใจหนึ่งเดียว)
  • ปี 2558 - เพลง UP & DOWN - ของวง CORESONG ร่วมกับ แอ๊ด คาราบาว (เพลงประกอบรายการ CORESONG)
  • ปี 2559 - เพลง สิงห์ใหญ่ หัวใจสิงห์ (ชื่อเดิม - Bring it On) - ร่วมกับ แอ๊ด คาราบาว , พงษ์สิทธิ์ คำภีร์ (เพลงพิเศษจากคอนเสิร์ต สิงห์ใหญ่ หัวใจสิงห์)
ผลงานรวมเพลง
  • ปี 2533 - รวมเพลงติดบอร์ด (ผักชี - กระดี่ - ฟักทอง) / จัดจำหน่ายในรูปแบบ เทปคลาสเซ็ท และ ซีดี
  • ปี 2535 - รวมฮิตติดบอร์ด 2 / จัดจำหน่ายในรูปแบบ เทปคลาสเซ็ท และ ซีดี
  • ปี 2537 - อัสนี - วสันต์ รวมฮิต รักเธอเสมอ / จัดจำหน่ายในรูปแบบ เทปคลาสเซ็ท และ ซีดี
  • ปี 2543 - Superstar Project - อัสนี & วสันต์ / จัดจำหน่ายในรูปแบบ เทปคลาสเซ็ท และ ซีดี จำนวน 3 ชุด
  • ปี 2548 - อัสนี - วสันต์ Sing / จัดจำหน่ายเป็น ดีวีดี 2 จำนวน ชุด และ วิดีโอ ซีดี จำนวน 4 ชุด
  • ปี 2550 - อัสนี - วสันต์ โชติกุล Written By นิติพงษ์ ห่อนาค / จัดจำหน่ายในรูปแบบ ซีดี และ วิดีโอ คาราโอเกะ
  • ปี 2554 - อัสนี - วสันต์ สายล่อฟ้า / จัดจำหน่ายในรูปแบบ ซีดี , วิดีโอ ซีดี และ ดีวีดี คาราโอเกะ
  • ปี 2556 - อัสนี - วสันต์ ฮิต / จัดจำหน่ายในรูปแบบ ซีดี และ ดีวีดี คาราโอเกะ
  • ปี 2558 - อัสนี - วสันต์ อยากได้ยินว่ารักกัน / จัดจำหน่ายในรูปแบบ ซีดี และ ดีวีดี คาราโอเกะ
  • ปี 2558 - MP3 : ASANEE WASAN 50 BEST ROCK HITS / จัดจำหน่ายในรูปแบบ MP3
  • ปี 2558 - MP3 : ASANEE WASAN 50 BEST LOVE HITS / จัดจำหน่ายในรูปแบบ MP3
ผลงานคาราโอเกะ
  • ปี 2534 - แกรมมี่ คาราโอเกะ ชุดที่ 4 - อัสนี - วสันต์ โชติกุล (สนับสนุนโดย SHARP KARAOKE) / จัดจำหน่ายเป็น ม้วนวิดีโอ
  • ปี 2536 - เทปคาราโอเกะ อัสนี-วสันต์ โชติกุล (สนับสนุนโดย PANASONIC KARAOKE) / จัดจำหน่ายเป็นเทปคาสเซ็ท
  • ปี 2536 - มิวสิกวิดีโอคาราโอเกะ อัสนี-วสันต์ โชติกุล ชุดที่ 1 (คือม้วนของ แกรมมี่ คาราโอเกะ ชุดที่ 4 เป็นการจัดจำหน่ายซ้ำ แล้วเปลี่ยนหน้าปกและตัวของม้วน) และชุดที่ 2 (สนับสนุนโดย PANASONIC KARAOKE) / จัดจำหน่ายเป็น ม้วนวิดีโอ (ชุด 1-2) และแผ่นเลเซอร์ดิสก์ (ชุด 2)
  • ปี 2540 - มิวสิกวิดีโอคาราโอเกะ อัสนี-วสันต์ โชติกุล ชุดที่ 1-2 (สนับสนุนโดย CORONA EXTRA) / จัดจำหน่ายเป็น ม้วนวิดีโอ และวิดีโอ ซีดี)
  • ปี 2541 - อัสนี-วสันต์ โชติกุล ชุด บางอ้อ & โลโซ ชุด เอ็นเตอร์เทนเม้นท์ / จัดจำหน่ายเป็นม้วนวิดีโอ และวิดีโอ ซีดี)
  • ปี 2545 - อัลบั้ม จินตนาการ
  • ปี 2548 - Karaoke อัสนี - วสันต์ Sing / จัดจำหน่ายเป็น ดีวีดี 2 จำนวน ชุด และ วิดีโอ ซีดี จำนวน 4 ชุด
  • ปี 2549 - อัลบั้ม เด็กเลี้ยงแกะ
  • ปี 2550 - อัสนี - วสันต์ โชติกุล Written By นิติพงษ์ ห่อนาค
  • ปี 2554 - อัสนี - วสันต์ สายล่อฟ้า / จัดจำหน่ายในรูปแบบ วิดีโอ ซีดี และ ดีวีดี คาราโอเกะ
  • ปี 2556 - อัสนี - วสันต์ ฮิต / จัดจำหน่ายในรูปแบบ ดีวีดี คาราโอเกะ
  • ปี 2558 - อัสนี - วสันต์ อยากได้ยินว่ารักกัน / จัดจำหน่ายในรูปแบบ ดีวีดี คาราโอเกะ
ผลงานด้านโฆษณา
  • โฆษณาลูกอมโอเล่ (ในนามกลุ่มบัตเตอร์ฟลาย)
  • โฆษณาเครื่องดื่มกรีนสปอร์ต (ในนามกลุ่มบัตเตอร์ฟลาย)
  • โฆษณาโค้ก และ ทำเพลงประกอบโฆษณาให้กับโค้กหลายตัว
  • โฆษณาถุงเท้าคาร์สัน
  • โฆษณากระทิงแดง
  • โฆษณารถกระบะ โตโยต้า ไฮลักซ์ วีโก้ ในเพลงประกอบโฆษณา "สู้สุดใจ"
  • โฆษณาสิงห์ คอร์ปเปอเรชั่น ในเพลงประกอบโฆษณา "คนหัวใจสิงห์"
คอนเสิร์ต
  • 27 ธันวาคม พ.ศ. 2530 : คอนเสิร์ต เวลคัม ทู อิสานเขียว ของวงคาราบาว (ณ สนามกีฬากองทัพบก) - ศิลปินรับเชิญ (ศิลปินเดี่ยว)
  • วันที่ 21 เมษายน พ.ศ. 2534 : คอนเสิร์ต Earth Day (ครั้งที่ 1) (ณ สนามกีฬากองทัพบก) - ศิลปินรับเชิญ (ร่วมกับ วสันต์ โชติกุล)
  • 5 กันยายน พ.ศ. 2541 : คอนเสิร์ต จากเพื่อน พี่และน้อง แด่ เรวัต พุทธินันทน์ Tribute to Rewat Buddhinan (ณ ศูนย์ประชุมแห่งชาติสิริกิติ์) - ศิลปินรับเชิญ (ร่วมกับ วสันต์ โชติกุล)
  • 1 ธันวาคม พ.ศ. 2550 : คอนเสิร์ต บาวเบญจเพส ของวงคาราบาว (ณ อิมแพ็ค อารีน่า เมืองทองธานี) - ศิลปินรับเชิญ (ศิลปินเดี่ยว)
  • วันที่ 4 เมษายน พ.ศ. 2558 : คอนเสิร์ต Yes We Can Chatree-Asanee-Nitipong (ณ รอยัล พารากอน ฮอลล์ สยามพารากอน) - ศิลปินหลัก (ร่วมกับ ชาตรี คงสุวรรณ และ นิติพงษ์ ห่อนาค)
ผลงานการแสดง

รางวัลที่ได้รับ[แก้]

  • พ.ศ. 2518 ชนะเลิศการประกวดโฟล์คซอง ของชมรมโฟล์คซองแห่งประเทศไทย
  • พ.ศ. 2532 รางวัลส่งเสริมและประสานงานเยาวชนแห่งชาติ ประจำปี พ.ศ. 2531-2532 (เพลงทำดีได้ดี)
  • พ.ศ. 2536 รางวัลสีสันอวอร์ดส อัลบั้มยอดเยี่ยม “รุ้งกินน้ำ” และสาขาศิลปินยอดเยี่ยม
  • พ.ศ. 2536 รางวัลสีสันอวอร์ดส เพลงในการบันทึกเสียงยอดเยี่ยม (เพลง ทุกข์ไม่เว้นวันราชการ)
  • พ.ศ. 2539 ศิลปินยอดเยี่ยม รางวัลพระพิฆเนศทองพระราชทาน จากสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
  • พ.ศ. 2548 รางวัลผู้มีอุปการะคุณห้องสมุดแห่งประเทศไทย พระราชทาน จากสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี (ห้องสมุด อัสนี-วสันต์ จ.เลย)
  • พ.ศ. 2548 รับพระราชทานปริญญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ให้กับผู้ทำคุณประโยชน์กับท้องถิ่น จากมหาวิทยาลัยราชภัฎเลย [1]
  • พ.ศ. 2552 รางวัลพิเศษ SEED HALL OF FAME จากงานประกาศผลรางวัล SEED AWARD ครั้งที่ 4 ณ หอประชุมใหญ่ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (ท่าพระจันทร์)[2]
  • พ.ศ. 2554 รางวัลไทยประดิษฐ์ - รางวัลพิเศษมอบให้กับผลงานที่มีชื่อเสียงมายาวนานและเป็นฝีมือคนไทยแท้ จากงานประกาศผลรางวัลแชนแนลวีไทยแลนด์มิวสิกวิดีโออวอร์ดส CHANNEL[V] MUSIC VIDEO AWARD ครั้งที่  7 เพลงของเรา จัดโดยแชนแนลวีไทยแลนด์ ณ คริสตัล ดีไซน์ เซ็นเตอร์พ.ศ. 2536[3]

อ้างอิง[แก้]

  1. รับพระราชทานปริญญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์
  2. รางวัลพิเศษ SEED HALL OF FAME
  3. รางวัลไทยประดิษฐ์

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]

  • อัสนี โชติกุล ที่เฟซบุ๊ก
  • อัสนี โชติกุล ที่เฟซบุ๊ก