ฟีฟ่าคองเกรส

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

ฟีฟ่าคองเกรส เป็นองค์กรนิติบัญญัติสูงสุดของสหพันธ์ฟุตบอลนานาชาติ (ฝรั่งเศส: Fédération Internationale de Football Association) หรือที่เรียกกันทั่วไปว่า ฟีฟ่า ซึ่งเป็นองค์กรกำกับดูแลกีฬาฟุตบอล ฟุตซอล และฟุตบอลชายหาดในระดับนานาชาติ การประชุมมีทั้ง สมัยสามัญ และ สมัยวิสามัญ

การประชุมสามัญจะจัดขึ้นทุกปี สภาฟีฟ่า (เดิมคือคณะกรรมการบริหาร) อาจเรียกประชุมสภาวิสามัญเมื่อใดก็ได้ หากได้รับความเห็นชอบด้วยมติ 1 ใน 5 ของสมาชิกทั้งหมดของฟีฟ่า[1]

สมาชิกฟีฟ่า จำนวน 211 ประเทศ แต่ละประเทศมีหนึ่งเสียงในสภา สมาชิกฟีฟ่าสามารถเสนอชื่อประเทศที่เสนอตัวเป็นเจ้าภาพฟุตบอลโลก และผู้เข้าชิงตำแหน่งประธานฟีฟ่าได้ การเลือกตั้งประธานฟีฟ่าและการเลือกตั้งประเทศเจ้าภาพฟุตบอลโลกจะมีขึ้นในการประชุมในปีถัดจากปีที่แข่งขันฟุตบอลโลก และการเลือกตั้งประเทศเจ้าภาพฟุตบอลโลกหญิงจะมีขึ้นในการประชุมในปีถัดจากปีที่แข่งขันฟุตบอลโลกหญิง[2]

ประวัติ[แก้]

ฟีฟ่าคองเกรสจัดขึ้นทุกปีตั้งแต่ปี 1998 ก่อนหน้านี้จัดขึ้นทุกสองปี การประชุมใหญ่ไม่ได้จัดขึ้นระหว่างปี 1915 ถึง 1922 และ 1939 ถึง 1945 เนื่องจากสงครามโลกครั้งที่หนึ่งและครั้งที่สองตามลำดับ การเลือกตั้งประธานฟีฟ่าเกิดขึ้นในการประชุมคองเกรสครั้งที่ 1, 3, 12, 29, 30, 39, 51, 53, 61, 65, 69 และ 73

ฟีฟ่าครองเกรสสมัยวิสามัญเมื่อปี 1961 ในลอนดอน ได้เลือกสแตนลีย์ เราส์ เป็นประธาน [3] ฟีฟ่าคองเกรส สมัยวิสามัญประจำปี 2016 ที่ซือริช ได้เลือก จันนี อินฟันตีโน เป็นประธานคนใหม่เมื่อวันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2016[4] มีการเลือกตั้งเพียง 5 ครั้งเท่านั้นที่มีผู้สมัคร 2 คนขึ้นไป คือ ครั้งที่ 39 (1974), ครั้งที่ 51 (1988), ครั้งที่ 53 (2002), ครั้งที่ 65 (2015) และสมัยวิสามัญปี 2016

รายชื่อการประชุม[แก้]

  การประชุมเลือกประธานฟีฟ่า
* การประชุมวิสามัญ
  การประชุมเลือกเจ้าภาพฟุตบอลโลก
  การประชุมเลือกเจ้าภาพฟุตบอลโลกหญิง
การประชุมครั้งที่[5] ปี เมือง สมาคมสมาชิกที่เข้าร่วม
1 1904 สาธารณรัฐฝรั่งเศสที่ 3 ปารีส 5
2 1905 5
3 1906 สวิตเซอร์แลนด์ แบร์น 7
4 1907 เนเธอร์แลนด์ อัมสเตอร์ดัม 12
5 1908 ออสเตรีย-ฮังการี เวียนนา 16
* 1908 เบลเยียม บรัสเซลส์ 7
6 1909 ออสเตรีย-ฮังการี บูดาเปสต์ 13
7 1910 อิตาลี มิลาน 12
8 1911 เยอรมนี เดรสเดิน 11
9 1912 สวีเดน สตอกโฮล์ม 17
10 1913 เดนมาร์ก โคเปนเฮเกน 12
11 1914 นอร์เวย์ คริสเตียเนีย (ออสโล) 17
12 1923 สวิตเซอร์แลนด์ เจนีวา 17
13 1924 สาธารณรัฐฝรั่งเศสที่ 3 ปารีส 27
14 1925 สาธารณรัฐเชโกสโลวักที่หนึ่ง ปราก 22
15 1926 อิตาลี โรม 23
16 1927 ฟินแลนด์ เฮลซิงกิ 21
17 1928 เนเธอร์แลนด์ อัมสเตอร์ดัม 29
18 1929 สเปน บาร์เซโลนา 23
19 1930 ฮังการี บูดาเปสต์ 27
20 1931 เยอรมนี เบอร์ลิน 25
21 1932 สวีเดน สตอกโฮล์ม 29
22 1934 อิตาลี โรม 27
23 1936 เยอรมนี เบอร์ลิน 37
24 1938 สาธารณรัฐฝรั่งเศสที่ 3 ปารีส 30
25 1946 ลักเซมเบิร์ก ลักเซมเบิร์ก 34
26 1948 อังกฤษ ลอนดอน 48
27 1950 บราซิล รีโอเดจาเนโร 35
28 1952 ฟินแลนด์ เฮลซิงกิ 56
* 1953 ฝรั่งเศส ปารีส 48
29 1954 สวิตเซอร์แลนด์ แบร์น 52
30 1956 โปรตุเกส ลิสบอน 57
31 1958 สวีเดน สตอกโฮล์ม 62
32 1960 อิตาลี โรม 69
* 1961 อังกฤษ ลอนดอน 67
33 1962 ชิลี ซันติอาโก 59
34 1964 ญี่ปุ่น โตเกียว 99
35 1966 อังกฤษ ลอนดอน 94
36 1968 เม็กซิโก กัวดาลาฮารา 78
37 1970 เม็กซิโก เม็กซิโกซิตี 86
38 1972 ฝรั่งเศส ปารีส 102
39 1974 เยอรมนีตะวันตก แฟรงก์เฟิร์ต 122
40 1976 แคนาดา มอนทรีออล 108
41 1978 อาร์เจนตินา บัวโนสไอเรส 107
42 1980 สวิตเซอร์แลนด์ ซือริช 103
43 1982 สเปน มาดริด 127
44 1984 สวิตเซอร์แลนด์ ซือริช 112
45 1986 เม็กซิโก เม็กซิโกซิตี 111
46 1988 สวิตเซอร์แลนด์ ซือริช 111
47 1990 อิตาลี โรม 130
48 1992 สวิตเซอร์แลนด์ ซือริช 118
49 1994 สหรัฐ ชิคาโก 164
50 1996 สวิตเซอร์แลนด์ ซือริช 182
51 (รายละเอียด) 1998 ฝรั่งเศส ปารีส 196
* 1999 สหรัฐ ลอสแอนเจลิส 195
52 2000 สวิตเซอร์แลนด์ ซือริช 200
* 2001 อาร์เจนตินา บัวโนสไอเรส 202
* 2002 เกาหลีใต้ โซล 202
53 (รายละเอียด) 2002 202
* 2003 ประเทศกาตาร์ โดฮา 204
54 2004 ฝรั่งเศส ปารีส 203
55 2005 โมร็อกโก มาร์ราคิช 203
56 2006 เยอรมนี มิวนิก 207
57 2007 สวิตเซอร์แลนด์ ซือริช 206
58 2008 ออสเตรเลีย ซิดนีย์ 200
59 2009 ประเทศบาฮามาส แนสซอ 205
60 2010 แอฟริกาใต้ โจฮันเนสเบิร์ก 207
61 (รายละเอียด) 2011 สวิตเซอร์แลนด์ ซือริช 208
62 2012 ฮังการี บูดาเปสต์ 209
63 2013 มอริเชียส พอร์ตลูอิส 208
64 2014 บราซิล เซาเปาลู 209
65 (รายละเอียด) 2015 สวิตเซอร์แลนด์ ซือริช 210
* (รายละเอียด) 2016 207
66 2016 เม็กซิโก เม็กซิโก 209
67 2017 บาห์เรน มานามา[6] 211
68 (รายละเอียด) 2018 รัสเซีย มอสโก 210
69 (รายละเอียด) 2019 ฝรั่งเศส ปารีส 211
70 2020 สวิตเซอร์แลนด์ ซือริช[note 1] 211
71 2021 สวิตเซอร์แลนด์ ซือริช[note 2] 211
72 2022 ประเทศกาตาร์ โดฮา 210
73 (รายละเอียด) 2023 รวันดา คิกาลี 208
74 (รายละเอียด) 2024 ไทย กรุงเทพมหานคร TBC
* ไตรมาส 4 2024 สวิตเซอร์แลนด์ ซือริช
75 2025
76 2026 แคนาดา หรือ เม็กซิโก หรือ สหรัฐ

การประชุมวิสามัญ[แก้]

มีการประชุมวิสามัญเกิดขึ้นทั้งหมด 8 ครั้ง เมื่อปี 1908 (บรัสเซลส์), 1953 (ปารีส), 1961 (ลอนดอน), 1999 (ลอสแอนเจลิส), 2001 (บัวโนสไอเรส), 2002 (โซล), 2003 (โดฮา) และ 2016 (ซูริค) [11] ในการประชุมสมัยวิสามัญปี 2016 เซ็พ บลัทเทอร์ ประธานฟีฟ่าในขณะนั้นจะยังคงอยู่ในตำแหน่งของเขาจนกว่าผู้สืบทอดตำแหน่งของเขาจะได้รับเลือก[12] อย่างไรก็ตาม เนื่องจากเขาถูกแบน รักษาการประธานฟีฟ่า อีซา ฮายาตู จึงรับหน้าที่ดูแลฟีฟ่าแทน[13]

ดูเพิ่ม[แก้]

หมายเหตุ[แก้]

  1. การประชุมฟีฟ่าคองเกรสครั้งที่ 70 ซึ่งเดิมมีกำหนดจัดขึ้นที่อาดดิสอาบาบา ประเทศเอธิโอเปีย ในวันที่ 5 มิถุนายน 2020[7] ถูกปรับเปลี่ยนเป็นการประชุมออนไลน์ในวันที่ 18 กันยายน 2020 เนื่องจากการระบาดทั่วของโควิด-19 ในประเทศเอธิโอเปีย[8]
  2. การประชุมฟีฟ่าคองเกรสครั้งที่ 71 ซึ่งเดิมมีกำหนดจัดขึ้นที่โตเกียว ประเทศญี่ปุ่น ในเดือนพฤษภาคม 2021[9] ถูกปรับเปลี่ยนเป็นการประชุมออนไลน์ในวันที่ 21 พฤษภาคม 2021 เนื่องจากการระบาดทั่วของโควิด-19 ในประเทศญี่ปุ่น[10]

อ้างอิง[แก้]

  1. "FIFA Statutes (2010 edition)" (PDF). 19 October 2003. p. 21. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ December 15, 2010.
  2. "FIFA Congress". FIFA. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-04-05.
  3. "FIFA presidential elections". FIFA. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-04-08.
  4. Sweetman, Tom. "FIFA: Presidential election confirmed for February 26". CNN. 20 October 2015. Accessed on 22 December 2015.
  5. "FIFA Congress venues 1904-2016" (PDF). FIFA.com. Fédération Internationale de Football Association. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 10 June 2017. สืบค้นเมื่อ 20 December 2016.
  6. "FIFA Council discusses vision for the future of football". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ October 17, 2016.
  7. "70th FIFA Congress in Addis Ababa, Ethiopia on 5 June 2020" (PDF). FIFA. 5 February 2020. เก็บ (PDF)จากแหล่งเดิมเมื่อ 5 March 2022. สืบค้นเมื่อ 13 May 2020.
  8. "Bureau of the FIFA Council decisions on FIFA events". FIFA. 12 May 2020. สืบค้นเมื่อ 13 May 2020.
  9. "FIFA Council unanimously appoints China PR as hosts of new Club World Cup in 2021". FIFA. 24 October 2019.
  10. "FIFA Council passes landmark reforms for female players and coaches, agrees further steps in COVID-19 response". FIFA. 4 December 2020. สืบค้นเมื่อ 4 December 2020.
  11. FIFA Congress venues from 1904 to 2011
  12. "FIFA President to lay down his mandate at extraordinary elective Congress". FIFA. 2 June 2015. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ June 2, 2015. สืบค้นเมื่อ 2 June 2015.
  13. FIFA.com

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]