พรรคไทยศรีวิไลย์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
พรรคไทยศรีวิไลย์
หัวหน้าว่าง
รองหัวหน้าอัศวิน รัชฎานนท์
ณรงค์ศักดิ์ เจียมกิจวัฒนา
เลขาธิการภคอร จันทรคณา
เหรัญญิกชุติมา โชคอารีย์
นายทะเบียนสมาชิกอนุรักษ์ อมรเมตตาจิต
โฆษกอรศศิพัชร์ มามีเกตุรัตน์
กรรมการบริหารกฤษยากร สรชัย
อลิศรา กรีสุระเดช
คำขวัญพรรคการเมืองของประชาชน โดยประชาชน เพื่อประชาชน อย่างแท้จริง
ก่อตั้ง2 มีนาคม พ.ศ. 2561 (6 ปี)
ที่ทำการ59/23 หมู่ 2 ตำบลบางรักพัฒนา อำเภอบางบัวทอง จังหวัดนนทบุรี
จำนวนสมาชิก  (ปี 2565)10,040 คน [1]
อุดมการณ์อนุรักษ์นิยม
ชาตินิยม
การเมืองไทย
รายชื่อพรรคการเมือง
การเลือกตั้ง

พรรคไทยศรีวิไลย์ (อังกฤษ: Thai Civilized Party; ชื่อย่อ: ทศล./TCL.) พรรคการเมืองที่จดแจ้งชื่อพรรคต่อ คณะกรรมการการเลือกตั้ง หรือ กกต. เป็นลำดับที่ 28/2561 เมื่อวันที่ 24 ตุลาคม พ.ศ. 2561 โดยมีมงคลกิตติ์ สุขสินธารานนท์ เลขาธิการภาคีเครือข่ายต่อต้านการทุจริตคอร์รัปชั่นแห่งชาติเป็นผู้ยื่นจดแจ้งชื่อพรรค [2]

ในวันที่ 26 เมษายน พ.ศ. 2561 ทางพรรคไทยศรีวิไลย์ได้รับหนังสือจดแจ้งจัดตั้งพรรค หรือ พ.ก. ๗/๒ จาก กกต. เพื่อให้ทางพรรคดำเนินการจดทะเบียนพรรคอย่างเป็นทางการต่อไป [3]

ต่อมาในวันอาทิตย์ที่ 10 มิถุนายน พ.ศ. 2561 ที่ห้องประชุมวายุภักษ์ โรงแรมเซ็นทารา ศูนย์ราชการ พรรคไทยศรีวิไลย์ได้จัดประชุมใหญ่สามัญครั้งที่ 1 เพื่อเลือกหัวหน้าพรรค รองหัวหน้าพรรคและคณะกรรมการบริหารพรรคที่ประชุมมีมติเลือกนาย มงคลกิตติ์ สุขสินธารานนท์ เป็นหัวหน้าพรรคและนายณัชพล สุพัฒนะ หรือ มาร์ค พิทบูล เป็นรองหัวหน้าพรรค [4] และได้ยื่นจดทะเบียนจัดตั้งพรรคต่อ กกต. เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 23 สิงหาคม พ.ศ. 2561

ต่อมาในวันที่ 26 พฤษภาคม 2566 นายมงคลกิตติ์ได้ลาออกจากตำแหน่งหัวหน้าพรรคทำให้คณะกรรมการบริหารพรรคที่เหลือต้องพ้นจากตำแหน่งทั้งคณะ โดยนายมงคลกิตติ์ให้เหตุผลว่าขอเบรคการเมือง[5] จากนั้นในวันที่ 17 ธันวาคม 2566 พรรคไทยศรีวิไลย์ได้จัดประชุมใหญ่สามัญประจำปี ครั้งที่ 4/2566 เพื่อเลือกตั้งคณะกรรมการบริหารพรรคชุดใหม่ ซึ่งที่ประชุมมีมติเลือกนายมงคลกิตติ์ ให้กลับมาดำรงตำแหน่งหัวหน้าพรรค ขณะที่ตำแหน่งเลขาธิการพรรคที่ประชุมมีมติเลือกนางสาวภคอร จันทรคณา และตำแหน่งโฆษกพรรคที่ประชุมมีมติเลือก ลูกศร อรศศิพัชร์ มามีเกตุรัตน์ อดีตนักแสดงชื่อดัง[6]

หลังจากนั้นนายมงคลกิตติ์ได้ยื่นหนังสือลาออกจากสมาชิกพรรคไทยศรีวิไลย์ ทำให้พ้นจากตำแหน่งหัวหน้าพรรคและทำให้คณะกรรมการบริหารพรรคต้องพ้นจากตำแหน่งทั้งคณะ ในวันที่ 27 เมษายน 2567 ก่อนการประชุมใหญ่สามัญประจำปีของพรรคประชาธิปัตย์ นายมงคลกิตติ์ได้มาเข้าร่วมประชุมและโชว์บัตรสมาชิกพรรคประชาธิปัตย์ หลังจากไปสมัครสมาชิกพรรค ณ ที่ทำการพรรค เมื่อวันที่ 26 เมษายน[7]

กระแสวิจารณ์[แก้]

ในโลกโซเชียลมีการแชร์ข้อความขอรับบริจาคของพรรคไทยศรีวิไลย์ จนมีกระแสวิพากษ์วิจารณ์กันมาก โดยในเพจ พรรคไทยศรีวิไลย์ ระบุว่า ”ร่วมบริจาคทุนได้ตามบัญชีนี้ครับ  พรรคการเมืองของประชาชน โดยประชาชน เพื่อประชาชน อย่างแท้จริง” ปรากฏว่ามีผู้มาแสดงความคิดเห็นจำนวนมาก  โดยส่วนใหญ่เป็นห่วงว่าการขอบริจาครูปแบบดังกล่าวเหมาะสมหรือไม่[8]

ประวัติการทำงานในรัฐสภา[แก้]

ครั้งที่ การเลือกตั้ง จำนวน ส.ส. สถานภาพพรรค นายกรัฐมนตรี หมายเหตุ
1. 2562 1 คน ฝ่ายค้าน พล.อ. ประยุทธ์ จันทร์โอชา

อ้างอิง[แก้]

  1. ข้อมูลพรรคการเมืองที่ยังดำเนินการอยู่ ณ วันที่ 1 ธันวาคม 2565
  2. ข้อมูลพรรคการเมืองที่ยังดำเนินการอยู่ ณ วันที่ 1 ธันวาคม 2565
  3. "พ.ก. ๗/๒ จาก กกต". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-06-13. สืบค้นเมื่อ 2018-06-11.
  4. พรรคไทยศรีวิไลย์เลือก “มงคลกิตติ์” นั่งหัวหน้าพรรค โชว์ทุบหม้อข้าวประกาศนโยบายปราบโกงทั้งแผ่นดิน
  5. "'เต้ มงคลกิตติ์' ทิ้ง 'ไทยศรีวิไลย์' ลาออกพ้นหัวหน้าพรรค". ไทยโพสต์. 27 พฤษภาคม 2023. สืบค้นเมื่อ 27 เมษายน 2024.
  6. ""มงคลกิตติ์" คัมแบคหัวหน้าไทยศรีวิไลย์ ตั้ง กก.บห.ชุดใหม่ "ลูกศร-อรศศิพัชร์" โทรโข่งพรรค". Sanook.com. 17 ธันวาคม 2023. สืบค้นเมื่อ 27 เมษายน 2024.
  7. ""เต้ มงคลกิตติ์" โชว์บัตรสมาชิก ปชป. มั่นใจพรรคจะกลับมายิ่งใหญ่อีกครั้งในปี 70". ไทยรัฐ. 27 เมษายน 2024. สืบค้นเมื่อ 27 เมษายน 2024.
  8. โซเชียลกระหึ่ม! ถามความเหมาะสม ‘ไทยศรีวิไลย์’ ขอบริจาคทุนพรรค แต่ในนามส่วนตัว

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]