พรรคไท (พ.ศ. 2539)

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
พรรคไท
หัวหน้าธนบดินทร์ แสงสถาพร
เลขาธิการพลเอกอำพน อมรวิสัยสรเดช
โฆษกพิมพ์ใจ วิกสิตเจริญกุล
คำขวัญปณิธาน มุ่งมั่น สร้างสรรค์ สมานสามัคคี
ก่อตั้ง18 ตุลาคม พ.ศ. 2539
ถูกยุบ28 ตุลาคม พ.ศ. 2546[1]
ที่ทำการ67/171 ซอย 4 หมู่บ้าน ช.อมรพันธ์ 9 แขวงลาดพร้าว เขตลาดพร้าว กทม
สี  สีเหลือง
การเมืองไทย
รายชื่อพรรคการเมือง
การเลือกตั้ง

พรรคไท (อังกฤษ: THAI PARTY) ได้รับการจดทะเบียนเป็นพรรคการเมืองตามพระราชบัญญัติพรรคการเมือง พ.ศ. 2524 ในทะเบียนพรรคการเมืองเลขที่ 50/2539 เมื่อวันที่ 18 ตุลาคม พ.ศ. 2539 โดยมีสำนักงานใหญ่พรรคตั้งอยู่ ณ เลขที่ 67/171 ซอย 4 หมู่บ้าน ซ.อมรพันธ์ 9 แขวงลาดพร้าว เขตลาดพร้าว กรุงเทพมหานคร [2] โดยมีนายธนบดินทร์ แสงสถาพร เป็นหัวหน้าพรรคคนแรก และมีนางพะเยีย ตรีสิน เป็นเลขาธิการพรรค โดยมีคำขวัญของพรรคว่า ปณิธาน มุ่งมั่น สร้างสรรค์ สมานสามัคคี

พรรคไทมีการเคลื่อนไหวทางการเมืองต่อมา โดยมีการเปลี่ยนแปลงในระดับบริหารหลายครั้ง โดยเฉพาะในปี พ.ศ. 2543 มีการเปลี่ยนแปลงราว 2 เดือนครั้ง เลยทีเดียว ซึ่งน่าจะเป็นผลจากการแย่งชิงอำนาจภายในพรรคระหว่าง นายธนบดินทร์ แสงสถาพร อดีตหัวหน้าพรรค กับนายสุวัฒน์ ยมจินดา หัวหน้าพรรคคนใหม่ โดยเป็นเรื่องใหญ่ถึงขั้นมีการฟ้องร้อง

บทบาททางการเมือง[แก้]

พรรคไทได้ร่วมกิจกรรมทางการเมืองโดยส่งสมาชิกลงสมัครรับเลือกตั้งในการเลือกตั้งทั่วไป วันที่ 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2539 และการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในประเทศไทย พ.ศ. 2544 ในการเลือกตั้งทั่วไป วันที่ 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2539 นั้น มีผู้สมัครในนามพรรคไทได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรทั้งสิ้น 1 คน คือ นายสุชาติ ตันเจริญ ซึ่งลงสมัครรับเลือกตั้งในเขต 2 จังหวัดฉะเชิงเทรา ซึ่งต่อมาได้เข้าร่วมรัฐบาลกับรัฐบาลของนายชวน หลีกภัย ภายหลังการลาออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรีของพลเอกชวลิต ยงใจยุทธ

สำหรับการเลือกตั้งทั่วไป วันที่ 6 มกราคม พ.ศ. 2544 นั้นพรรคไทได้ส่งสมาชิกลงรับสมัครรับเลือกตั้งทั้งสิ้นจำนวน 8 คน โดยแบ่งเป็นผู้สมัครในแบบแบ่งเขต 3 คน และแบบบัญชีรายชื่อ (Party List) 5 คนแต่ไม่มีผู้ใดได้รับการเลือกตั้งให้เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเลย อย่างไรก็ตาม ในการเลือกตั้งครั้งนี้บัญชีรายชื่อของพรรคไท (หมายเลข 19) ได้รับเลือกตั้งทั้งหมด 57,534 คะแนน ซึ่งคิดเป็นร้อยละ 0.20 ไม่ถึงเกณฑ์ขั้นต่ำร้อยละ 5 ที่กำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญ ปี 2540 ทำให้พรรคไทไม่ได้รับการจัดสรรที่นั่งในสภาผู้แทนราษฎร

การเลือกตั้ง[แก้]

ผลการเลือกตั้งทั่วไป[แก้]

การเลือกตั้ง จำนวนที่นั่ง คะแนนเสียงทั้งหมด สัดส่วนคะแนนเสียง ที่นั่งเปลี่ยน สถานภาพพรรค ผู้นำเลือกตั้ง
2539
1 / 393
เพิ่มขึ้น 1 ฝ่ายค้าน (2539-2540) ธนบดินทร์ แสงสถาพร
ร่วมรัฐบาล (2540-2544)
2544
0 / 500
57,534 0.20% ลดลง 1 ไม่ได้รับเลือกตั้ง สุวัฒน์ ยมจินดา

ยุบพรรค[แก้]

ต่อมาในปี พ.ศ. 2546 ศาลรัฐธรรมนูญได้มีคำสั่งยุบพรรคไท เนื่องจากไม่ดำเนินการให้เป็นไปตามมาตรา 26 และมาตรา 62 แห่งพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง พ.ศ. 2541


อ้างอิง[แก้]