พรรคสหชีพ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
พรรคสหชีพ
หัวหน้าพลตำรวจเอก อดุล อดุลเดชจรัส
เลขาธิการเดือน บุนนาค
นายกรัฐมนตรีปรีดี พนมยงค์ (2489)
ก่อตั้งพ.ศ. 2488
ถูกยุบ29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2494
ก่อนหน้าขบวนการเสรีไทย สายอีสาน
อุดมการณ์ชาตินิยม
สังคมนิยม
สภาผู้แทนราษฎร ส.ค. 2489
58 / 82
การเมืองไทย
รายชื่อพรรคการเมือง
การเลือกตั้ง

พรรคสหชีพ พรรคการเมืองในประเทศไทยในอดีต มีแนวทางการก่อตั้งพรรคและอุดมการณ์คล้ายคลึงกับพรรคแนวรัฐธรรมนูญ คือ เป็นสังคมนิยม แต่ทั้งสองพรรคนี้มิได้ดำเนินการเกี่ยวข้องกัน

รายชื่อนายกรัฐมนตรี[แก้]

หลวงประดิษฐ์มนูธรรม

ปรีดี พนมยงค์ (วาระ: 2489)

ประวัติ[แก้]

สมาชิกและผู้ก่อตั้งพรรคสหชีพส่วนใหญ่เป็นสมาชิกขบวนการเสรีไทยสายอีสาน ที่ให้การสนับสนุน ปรีดี พนมยงค์ เช่น

และกลุ่มอื่น เช่น จรูญ สืบแสง, สงวน ตุลารักษ์, เดือน บุนนาค, พันเอก กาจ กาจสงคราม เป็นต้น[1] โดยมี พลตำรวจเอก อดุล อดุลเดชจรัส เป็นหัวหน้าพรรค และนายเดือน บุนนาค เป็นเลขาธิการพรรค

ภายหลัง การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเพิ่มเติม สิงหาคม พ.ศ. 2489 พรรคสหชีพมี สส. ในสภาทั้งสิ้น 58 คน รองจาก พรรคประชาธิปัตย์ และเป็นพรรคจัดตั้งรัฐบาล ภายหลังจากที่ ควง อภัยวงศ์ ลาออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี พรรคได้เสนอชื่อ ปรีดี พนมยงค์ ให้ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี จนเมื่อหลังสิงหาคม พ.ศ. 2489 ปรีดีลาออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรีเนื่องด้วยปัญหาสุขภาพ พรรคแนวรัฐธรรมนูญจึงเสนอชื่อพลเรือตรี ถวัลย์ ธำรงนาวาสวัสดิ์ ให้ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี และด้วยเสียงสนับสนุนจากพรรคสหชีพและพรรคอิสระ ทำให้ถวัลย์ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีในเวลาต่อมา

การเสียชีวิตของสมาชิกพรรค[แก้]

ภายหลังเหตุการณ์กบฏวังหลวง ในปี พ.ศ. 2492 สมาชิกพรรคสหชีพหลายคนถูกลอบสังหาร เช่น จำลอง ดาวเรือง , ถวิล อุดล และทองอินทร์ ภูริพัฒน์ ถูกสังหารอย่างมีปริศนาที่ถนนพหลโยธิน กิโลเมตรที่ 13 ยามดึก ต่อมาไม่นาน เตียง ศิริขันธ์ ก็ถูกสังหารอีกคนหนึ่ง

ถูกยุบพรรค[แก้]

พรรคสหชีพถูกยุบพรรคหลังการรัฐประหารในปี พ.ศ. 2494 ตามคำสั่งของคณะรัฐประหารที่ให้ยกเลิกรัฐธรรมนูญ ปี พ.ศ. 2492 ที่ใช้อยู่ขณะนั้น และนำรัฐธรรมนูญ ปี พ.ศ. 2475 กลับมาใช้อีกครั้ง

พรรคสหชีพ พ.ศ. 2537[แก้]

พรรคสหชีพ ถูกจัดตั้งขึ้นอีกครั้งในปี พ.ศ. 2537 โดยมี สถาปน์ ศิริขันธ์ อดีต สส.สกลนคร เป็นหัวหน้าพรรค[2] แต่ไม่ประสบความสำเร็จ และยุบพรรคไปเนื่องจากไม่ส่งผู้สมัครสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ในการเลือกตั้ง พ.ศ. 2538[3]

อ้างอิง[แก้]

ดูเพิ่ม[แก้]

อ้างอิง[แก้]