พรรคไทรวมพลัง

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก พรรคเพื่อไทรวมพลัง)
พรรคเพื่อไทรวมพลัง
ผู้ก่อตั้งจิตรวรรณ หวังศุภกิจโกศล
หัวหน้าวสวรรธน์ พวงพรศรี
รองหัวหน้า
  • สิทธิชัย กอแก้ว
  • ต่วนเซะ มือฆะ
เลขาธิการวรเชษฐ เชิดชู
รองเลขาธิการเหมชาติ เชื้อโชติ
เหรัญญิกทิพย์วรรณ บุญชม
นายทะเบียนสมาชิกวรางคณา สำราญสุข
โฆษกธนากร ประพฤทธิพงษ์
ที่ปรึกษาพรรคจิตรวรรณ หวังศุภกิจโกศล
กรรมการบริหาร
  • มาลี บุญเรือง
  • อุไล บัวแก้ว
คำขวัญพรรคคนบ้านเฮา
ก่อตั้ง25 ตุลาคม พ.ศ. 2564
ที่ทำการ
จำนวนสมาชิก  (ปี 2566)7,579 คน[1]
สภาผู้แทนราษฎร
2 / 500
การเมืองไทย
รายชื่อพรรคการเมือง
การเลือกตั้ง

พรรคเพื่อไทรวมพลัง (อังกฤษ: THAI RUAMPHALANG) เดิมชื่อ "พรรคเพื่อไทรวมพลัง"[2] เป็นพรรคการเมืองในประเทศไทย เริ่มมีบทบาททางการเมืองในปี 2566 เมื่อชนะการเลือกตั้งอย่างเหนือความคาดหมายในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดอุบลราชธานี 2 เขตเลือกตั้ง[3] โดยพรรคไทรวมพลัง ถูกกล่าวเชื่อมโยงกับตระกูลหวังศุภกิจโกศล (จิตรวรรณ หวังศุภกิจโกศล) และตระกูลจิตรพิทักษ์เลิศ

ประวัติ[แก้]

พรรคไทรวมพลัง หรือพรรคเพื่อไทรวมพลัง เป็นพรรคการเมืองไทยที่จดทะเบียนเป็นลำดับที่ 14/2564 เมื่อวันจันทร์ที่ 25 ตุลาคม พ.ศ. 2564 พร้อมกับพรรคไทยสร้างสรรค์[4] มีนาย วสวรรธน์ พวงพรศรี และว่าที่ร้อยตรี วิชัย จิตรพิทักษ์เลิศ เป็นหัวหน้าพรรคและเลขาธิการพรรคคนแรก[5] โดยมีที่ทำการพรรคแห่งแรกอยู่ที่ 122/91 หมู่ 6 ตำบลสุเทพ อำเภอเมืองเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่[6]

ต่อมาในวันอาทิตย์ที่ 15 พฤษภาคม พ.ศ. 2565 นายวสวรรธน์ได้ยื่นหนังสือลาออกจากตำแหน่งทำให้คณะกรรมการบริหารพรรคที่เหลือต้องพ้นจากตำแหน่งทั้งคณะ และในวันเดียวกันทางพรรคเพื่อไทรวมพลังได้จัดประชุมใหญ่เพื่อเลือกตั้งคณะกรรมการบริหารพรรคชุดใหม่ ซึ่งที่ประชุมมีมติเป็นเอกฉันท์เลือกนายวสวรรธน์ให้ดำรงตำแหน่งหัวหน้าพรรคต่อไป ส่วนตำแหน่งเลขาธิการพรรคเป็นของนายวรเชษฐ เชิดชู[7] พร้อมกันนี้ยังได้ทำการเปลี่ยนแปลงสำนักงานใหญ่ของพรรคเป็น 608 หมู่ 12 ตำบลไร่น้อย อำเภอเมืองอุบลราชธานี จังหวัดอุบลราชธานี ซึ่งเป็นที่ทำการพรรคในปัจจุบัน

ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2566​ พรรคเพื่อไทรวมพลังส่งผู้สมัครแบบบัญชีรายชื่อ 19 คน ไม่มีชื่อแคนดิเดตนายกรัฐมนตรี และแบบแบ่งเขต 2 เขต[8] คือ จังหวัดอุบลราชธานี เขต 3 และเขต 10 โดยผู้สมัครแบบแบ่งเขตชนะการเลือกตั้งทั้ง 2 เขต ส่วนผู้สมัครบัญชีรายชื่อของพรรคไม่ได้รับการเลือกตั้ง

บุคลากร[แก้]

หัวหน้าพรรค[แก้]

ลำดับ ชื่อ เริ่มวาระ สิ้นสุดวาระ
1 วสวรรธน์ พวงพรศรี 25 ตุลาคม พ.ศ. 2564 ปัจจุบัน

เลขาธิการพรรค[แก้]

ลำดับ ชื่อ เริ่มวาระ สิ้นสุดวาระ
1 ว่าที่ร้อยตรี วิชัย จิตรพิทักษ์เลิศ 25 ตุลาคม พ.ศ. 2564 15 พฤษภาคม พ.ศ. 2565
2 วรเชษฐ เชิดชู 15 พฤษภาคม พ.ศ. 2565 ปัจจุบัน

กรรมการบริหารพรรค[แก้]


การเลือกตั้ง[แก้]

ผลการเลือกตั้งทั่วไป[แก้]

การเลือกตั้ง จำนวนที่นั่ง คะแนนเสียงทั้งหมด สัดส่วนคะแนนเสียง ที่นั่งเปลี่ยน ผลการเลือกตั้ง ผู้นำเลือกตั้ง
2566
2 / 500
66,476 0.17% เพิ่มขึ้น 2 ร่วมรัฐบาล วสวรรธน์ พวงพรศรี

ข้อวิจารณ์[แก้]

คำร้องคัดค้านการเป็น สส.[แก้]

15 มิถุนายน พ.ศ. 2566 มีเอกสารที่นำเสนอต่อคณะกรรมการการเลือกตั้ง เรื่อง ประกาศผลการเลือกตั้งแบบแบ่งเขต ครั้งที่ 1 ปรากฎว่ามี ว่าที่ ส.ส. ที่ประกาศผลรับรอง 329 คน ขณะที่มี 71 เขต ที่มีเรื่องร้องคัดค้าน มีรายงานว่า เอกสารดังกล่าวอาจเป็นเอกสารสรุปของฝ่ายปฏิบัติการ แจ้งเรื่องร้องคัดค้านการเลือกตั้ง ที่ยังไม่ได้นำเสนอต่อที่ประชุม กกต.[9] โดยพรรคเพื่อไทรวมพลังถูกร้องคัดค้านทั้งสิ้น 1 คน ดังนี้

ลำดับ รายชื่อ สส. เขตที่ลงเลือกตั้ง
1 สมศักดิ์ บุญประชม อุบลราชธานี เขต 10

แต่ถึงกระนั้น กกต. ก็ประกาศรับรอง สส. ทั้ง 500 คนก่อน โดยได้ชี้แจงว่าจะดำเนินการพิจารณาให้แล้วเสร็จภายใน 1 ปี นับตั้งแต่วันเลือกตั้ง

อ้างอิง[แก้]

  1. ข้อมูลพรรคการเมืองที่ยังดำเนินการอยู่ ณ วันที่ 21 กันยายน พ.ศ. 2566
  2. เปลี่ยนชื่อใหม่ "ไทรวมพลัง"-"กังฟู วสวรรธน์" นั่งหัวหน้าพรรคตามเดิม
  3. ‘เพื่อไทรวมพลัง’ พรรคม้ามืด ล้ม ‘เพื่อไทย’ 2 เขต ที่ อุบลฯ
  4. 'เพื่อไทรวมพลัง-ไทยสร้างสรรค์' 2 พรรคการเมืองน้องใหม่
  5. เปิดตัวหลานเมีย "วีรศักดิ์ หวังศุภกิจโกศล" นำพรรคใหม่ นอมินีสีน้ำเงิน
  6. "พรรคเพื่อไทรวมพลัง”วิชัย จิตรพิทักษ์เลิศ” พี่เมีย รมช.พาณิชย์ นั่งเลขาฯ
  7. พรรคเพื่อไทรวมพลัง(พทล.)เลือกกรรมการบริหารชุดใหม่
  8. ‘เพื่อไทรวมพลัง’ คือใคร ม้ามืดส่ง 2 ส.ส. ‘ส.จ.หน่อย-เสี่ยเชียง’ ล้มช้างคว้าเก้าอี้อุบลฯ
  9. "เปิดชื่อ 71 ว่าที่ ส.ส. กกต.จ่อแขวน เหตุร้องคัดค้าน". Thai PBS.