ประเทศไมโครนีเชีย

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก ประเทศไมโครนีเซีย)

พิกัดภูมิศาสตร์: 6°55′N 158°15′E / 6.917°N 158.250°E / 6.917; 158.250

สหพันธรัฐไมโครนีเชีย

Federated States of Micronesia (อังกฤษ)
ตราแผ่นดินของไมโครนีเชีย
ตราแผ่นดิน
คำขวัญ"สันติภาพ เอกภาพ เสรีภาพ"
ที่ตั้งของไมโครนีเชีย
เมืองหลวงปาลีกีร์
6°55′N 158°11′E / 6.917°N 158.183°E / 6.917; 158.183
เมืองใหญ่สุดเวโน[1]
ภาษาทางการอังกฤษ
ภาษาที่ได้รับการยอมรับ
ในระดับภูมิภาค
กลุ่มชาติพันธุ์
(2000)
ศาสนา
(2016)[2]
การปกครองสหพันธ์ สาธารณรัฐระบบรัฐสภาที่มีประธานาธิบดีมีอำนาจบริหารที่เป็นอิสระจากสภานิติบัญญัติ สาธารณรัฐธรรมนูญ
Wesley Simina
อาเรน ปาลิก
สภานิติบัญญัติรัฐสภา
เป็นเอกราช 
• ประกาศเป็นสาธารณรัฐ
10 พฤษภาคม ค.ศ. 1979
3 พฤศจิกายน ค.ศ. 1986
พื้นที่
• รวม
702 ตารางกิโลเมตร (271 ตารางไมล์) (อันดับที่ 177)
น้อยมาก
ประชากร
• 2019 ประมาณ
104,468[3] (อันดับที่ 198)
158.1 ต่อตารางกิโลเมตร (409.5 ต่อตารางไมล์) (อันดับที่ 75)
จีดีพี (อำนาจซื้อ) 2019 (ประมาณ)
• รวม
367 ล้านดอลลาร์สหรัฐ
3,584 ดอลลาร์สหรัฐ[4]
จีดีพี (ราคาตลาด) 2019 (ประมาณ)
• รวม
383 ล้านดอลลาร์สหรัฐ
3,735 ดอลลาร์สหรัฐ[4]
จีนี (2013)40.1[5]
ปานกลาง
เอชดีไอ (2019)เพิ่มขึ้น 0.620[6]
ปานกลาง · อันดับที่ 136
สกุลเงินดอลลาร์สหรัฐ (USD)
เขตเวลาUTC+10 ถึง +11
• ฤดูร้อน (เวลาออมแสง)
ไม่ใช้
รูปแบบวันที่ดด/วว/ปปปป
ขับรถด้านขวา
รหัสโทรศัพท์+691
รหัส ISO 3166FM
โดเมนบนสุด.fm
เว็บไซต์
fsmgov.org
ก่อนหน้า
ดินแดนในภาวะทรัสตีของหมู่เกาะแปซิฟิก
  1. ภาษาระดับภูมิภาคใช้ในระดับรัฐและเทศบาล

ไมโครนีเชีย[7] (อังกฤษ: Micronesia) หรือ สหพันธรัฐไมโครนีเชีย (อังกฤษ: Federated States of Micronesia) เป็นรัฐบาลภายใต้รัฐธรรมนูญที่มีความสัมพันธ์เสรีกับสหรัฐอเมริกา ตั้งอยู่ในมหาสมุทรแปซิฟิก อยู่ทางตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศปาปัวนิวกินี

ประเทศไมโครนีเชียจัดอยู่ในภูมิภาคไมโครนีเชีย ซึ่งประกอบด้วยเกาะเล็ก ๆ หลายร้อยเกาะ ครอบคลุมพื้นที่ 5 ประเทศกับ 2 ดินแดน คำว่า Micronesia มักจะนำมาใช้เรียกเป็นชื่อประเทศ อย่างไรก็ดี ไมโครนีเชียก็เป็นชื่ออย่างเป็นทางการของภูมิภาคนี้ด้วยเช่นกัน

ไมโครนีเชียในอดีตเป็นส่วนหนึ่งของดินแดนในภาวะทรัสตีแห่งหมู่เกาะแปซิฟิก ซึ่งเป็นดินแดนภาวะพึ่งพิงขององค์การสหประชาชาติภายใต้การบริหารของสหรัฐอเมริกา ใน พ.ศ. 2522 ไมโครนีเชียได้นำรัฐธรรมนูญมาใช้ และในพ.ศ. 2529 ได้รับเอกราชภายใต้สัญญาความสัมพันธ์เสรี (Compact of Free Association) กับสหรัฐอเมริกา ปัญหาในปัจจุบันคือ อัตราการว่างงานสูง การประมงมากเกินไป และการพึ่งพาสหรัฐมากเกินไป

ประวัติศาสตร์[แก้]

ชาวยุโรปไม่ค่อยสนใจหมู่เกาะแคโรไลน์มากนัก เนื่องจากมีคุณค่าทางเศรษฐกิจน้อย เมื่อเทียบกับดินแดนอื่น ๆ ที่มีอยู่ที่อยู่ใกล้เคียง ต่อมาชาวอังกฤษและอเมริกันมาล่าวาฬ พวกนี้เข้ามาข่มเหงและนำโรคระบาดสู่ชนพื้นเมือง กลุ่มเกาะแคโรไลน์ตกเป็นอาณานิคมของหลายชาติ ตั้งแต่ สเปน ต่อมาเป็นของเยอรมันและญี่ปุ่น และหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ก็เป็นของสหรัฐอเมริกา ต่อมาได้รับเอกราชใน พ.ศ. 2522

การเมือง[แก้]

ระบอบสหพันธรัฐ คณะรัฐมนตรีมี 14 ที่นั่ง 4 ที่นั่งมาจากผู้แทนจาก 4 รัฐ มีวาระ 4 ปี และอีก 10 คน มีวาระ 2 ปี

การแบ่งเขตการปกครอง[แก้]

รัฐของไมโครนีเชีย

ประเทศไมโครนีเชียแบ่งการปกครองเป็น 4 รัฐ เรียงจากด้านตะวันตกไปตะวันออก ดังนี้

รัฐ[8] เมืองหลวง พื้นที่ ประชากร[9] ความหนาแน่น
ประชากร
ตร.กม. ตร.ไมล์[10] คน/ตร.กม.[9] คน/ตร.ไมล์
แยป โคโลเนีย (Colonia) 118.1 45.6 16,436 94 243
ชุก เวโน 127.4 49.2 54,595 420 1088
โปนเปย์ โกโลเนีย (Kolonia) 345.5 133.4 34,685 98 255
โกชาเอ Tofol 109.6 42.3 7,686 66 170

ภูมิศาสตร์[แก้]

ไมโครนีเชีย ประกอบด้วยเกาะมากมายที่เกิดจากการแตกต่างกันไปทั้งเกาะภูเขาไฟ เกาะปะการัง ซึ่งรวมกันเรียกว่ากลุ่มเกาะแคโรไลน์

เศรษฐกิจ[แก้]

เศรษฐกิจของไมโครนีเชียจำเป็นต้องพึ่งพาสหรัฐอเมริกา ซึ่งจัดสรรเงินช่วยเหลือให้ภายใต้กรอบความตกลง (Compact of Free Association) เพื่อพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและภาคบริการ กิจกรรมทางเศรษฐกิจของไมโครนีเชียประกอบไปด้วย การทำฟาร์ม การทำประมง รายได้จากการทำแร่บางส่วน ซึ่งไม่รวมแร่ฟอสเฟตและเครื่องปั้นดินเผาสำหรับอุตสาหกรรมท่องเที่ยว ไมโครนีเชียไม่มีสินค้าหลักที่จะนำรายได้เข้าประเทศ และต้องนำเข้าสินค้าอุปโภคบริโภคจากต่างประเทศ เป็นมูลค่าประมาณ 67.7 ล้านดอลลาร์สหรัฐต่อปี รายได้รัฐบาลมาจากเงินให้เปล่าจากต่างประเทศ และค่าธรรมเนียมจากการให้สัมปทานประมง อย่างไรก็ตาม ไมโครนีเชีย มีพื้นที่เหมาะสมต่อการเกษตร (มีพื้นที่เพาะปลูกประมาณร้อยละ 5.7 ของพื้นที่ทั้งหมด) แต่ไม่ได้พัฒนาอย่างมีประสิทธิภาพ รวมทั้งยังขาดโครงสร้างพื้นฐานต่าง ๆ รัฐบาลปัจจุบันจึงเน้นการพัฒนาการเกษตร การประมง และการท่องเที่ยวเพื่อทำรายได้ให้ประเทศ

วัฒนธรรม[แก้]

เป็นวัฒนธรรมชาวเกาะ การแต่งกายไม่ว่าชายหรือหญิงเปลือยท่อนบน ท่อนล่างนุ่งผ้าคล้ายกระโปรง ชาวเกาะสืบทอดภูมิปัญญาการต่อเรือแคนูไว้ใช้เองมานานับร้อย ๆ ปี เรือแคนูขนาดเล็กใช้ฝีพาย แต่เรือแคนูออกทะเลจะกางใบแล่นด้วยลม การไปมาหาสู่ใช้วิธีเดินและเรือ การมาเยือนผู้มาเยือนต้องมีของมาฝากเจ้าบ้าน

อ้างอิง[แก้]

  1. Summary Analysis of Key Indicators: from the FSM 2010 Census of Population and Housing (PDF). Palikir: Division of Statistics, Office of SBOC. p. 8. เก็บ (PDF)จากแหล่งเดิมเมื่อ April 17, 2018. สืบค้นเมื่อ 16 March 2018 – โดยทาง Prism (SPC).
  2. "Religions in Federated States Of Micronesia | PEW-GRF". www.globalreligiousfutures.org. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ July 3, 2020. สืบค้นเมื่อ August 2, 2020.
  3. "NA – FSM Statistics". เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ September 28, 2020. สืบค้นเมื่อ June 10, 2020.
  4. 4.0 4.1 "Report for Selected Countries and Subjects". www.imf.org. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ June 12, 2020. สืบค้นเมื่อ May 12, 2020.
  5. "GINI index". World Bank. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ December 20, 2013. สืบค้นเมื่อ 26 July 2013.
  6. Human Development Report 2020 The Next Frontier: Human Development and the Anthropocene (PDF). United Nations Development Programme. 15 December 2020. pp. 343–346. ISBN 978-92-1-126442-5. เก็บ (PDF)จากแหล่งเดิมเมื่อ December 15, 2020. สืบค้นเมื่อ 16 December 2020.
  7. "ประกาศสำนักงานราชบัณฑิตยสภา เรื่อง กำหนดชื่อประเทศ ดินแดน เขตการปกครอง และเมืองหลวง" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 139 (พิเศษ 205 ง). 1 กันยายน 2565.
  8. "The World Factbook -- Central Intelligence Agency". Cia World Factbook. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 7 August 2018. สืบค้นเมื่อ 8 August 2018.
  9. 9.0 9.1 FSM government website - Population เก็บถาวร มิถุนายน 29, 2012 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
  10. FSM government website - Geography เก็บถาวร มีนาคม 4, 2016 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน

ข้อมูล[แก้]

  • Arnold, Bruce Makoto (2011). "Conflicted Childhoods in the South Seas: The Failure of Racial Assiimilation in the Nan'yo". Tufts Historical Review. 4 (11): 79–96. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ August 15, 2021. สืบค้นเมื่อ January 2, 2014.
  • Brower, Kenneth; Harri Peccinotti (1981). Micronesia: The Land, the People, and the Sea. Baton Rouge: Louisiana State University Press. ISBN 978-0-8071-0992-2.
  • Darrach, Brad; David Doubilet (1995). "Treasured Islands". Life. No. August 1995. pp. 46–53.
  • Falgout, Suzanne (1995). "Americans in Paradise: Anthropologists, Custom, and Democracy in Postwar Micronesia". Ethnology. 34 (Spring 1995): 99–111. doi:10.2307/3774100. JSTOR 3774100.
  • Friedman, Hal M. (1993). "The Beast in Paradise: The United States Navy in Micronesia, 1943–1947". Pacific Historical Review. 62 (May 1993): 173–195. doi:10.2307/3639910. JSTOR 3639910.
  • Friedman, Hal M. (1994). "Arguing over Empire: American Interservice and Interdepartmental Rivalry over Micronesia, 1943-1947". Journal of Pacific History. 29 (1): 36–48. doi:10.1080/00223349408572757.
  • Hanlon, David (1998). Remaking Micronesia: Discourses over Development in a Pacific Territory, 1944–1982. Honolulu: University of Hawaii Press. ISBN 978-0-8248-1894-4.
  • Hezel, Francis X. (1995). "The Church in Micronesia". America. 18 (February 1995): 23–24.
  • Kluge, P. F. (1991). The Edge of Paradise: America in Micronesia. New York: Random House. ISBN 978-0-394-58178-1.
  • Malcomson, S. L. (1989). "Stranger than Paradise". Mother Jones. 14 (January 1989): 19–25.
  • "Micronesia: A New Nation". U.S. News & World Report (October 15, 1984): 80–81.
  • Parfit, Michael (2003). "Islands of the Pacific". National Geographic. 203 (March 2003): 106–125.
  • Pastor y Santos, Emilio (1950). Territorios de soberanía española en Oceanía (ภาษาสเปน). Madrid: Consejo Superior de Investigaciones Científicas, Instituto de Estudios Africanos. OCLC 912692168.
  • Patterson, Carolyn Bennett (1986). "In the Far Pacific: At the Birth of Nations". National Geographic. 170 (October 1986): 460–500.
  • Peoples, James G. (1993). "Political Evolution in Micronesia". Ethnology. 32 (Winter 1993): 1–17. doi:10.2307/3773542. JSTOR 3773542.
  • Rainbird, Paul (2003). "Taking the Tapu: Defining Micronesia by Absence". Journal of Pacific History. 38 (2): 237–250. doi:10.1080/0022334032000120558. S2CID 162140479.
  • Schwalbenberg, Henry M.; Hatcher, Thomas (1994). "Micronesian Trade and Foreign Assistance: Contrasting the Japanese and American Colonial Periods". Journal of Pacific History. 29 (1): 95–104. doi:10.1080/00223349408572762.

แหล่งข้อมลอื่น[แก้]

รัฐบาล

ข้อมูลทั่วไป

สื่อข่าว

แผนที่

การเดินทาง

สภาพอากาศ