ประเทศไทยใน พ.ศ. 2562

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ประเทศไทย
ใน พ.ศ.
2562
ดูเพิ่ม:

เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นใน พ.ศ. 2562 (ค.ศ. 2019) ในประเทศไทย

พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จพระราชดำเนินเลียบพระนครโดยริ้วกระบวนพยุหยาตราสถลมารค ในพระราชพิธีบรมราชาภิเษก เมื่อวันที่ 5 พฤษภาคม พ.ศ. 2562

ผู้นำ[แก้]

เหตุการณ์[แก้]

มกราคม[แก้]

  • 4 มกราคม – พายุโซนร้อนปาบึก พายุลูกแรกของปี 2562 ที่พัดเข้าสู่อำเภอปากพนัง จังหวัดนครศรีธรรมราช ส่งผลให้มีฝนตกหนัก ลมแรงและคลื่นสูงในพื้นที่ภาคใต้ ซึ่งเป็นพายุลูกแรกในรอบ 21 ปีที่พัดเข้าสู่ภาคใต้ ความแรงของพายุยังน้อยกว่าพายุไต้ฝุ่นลินดาและพายุไต้ฝุ่นเกย์ที่เคยพัดเข้าสู่ประเทศไทย
  • 5 มกราคม – เราะฮัฟ มุฮัมมัด อัลกุนูนถูกทางการไทยควบคุมตัวขณะเปลี่ยนเครื่องผ่านท่าอากาศยานสุวรรณภูมิขณะเดินทางจากประเทศคูเวตไปประเทศออสเตรเลีย ขณะพยายามหนีครอบครัวของตนและลี้ภัยในประเทศออสเตรเลีย และกังวลว่าเธออาจถูกประหารชีวิตหากถูกเนรเทศกลับประเทศซาอุดีอาระเบียบ้านเกิด

กุมภาพันธ์[แก้]

  • 8 กุมภาพันธ์ – สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร ทรงมีพระราชโองการ เรื่อง สถาบันพระมหากษัตริย์ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ความโดยสรุปว่า การนำพระบรมราชวงศ์ทุกพระองค์ แม้จะทรงกราบถวายบังคมลาออกจากฐานันดรศักดิ์ไปแล้ว มาเกี่ยวข้องกับระบบการเมืองเป็นการกระทำที่มิบังควรไม่เหมาะสมอย่างยิ่ง[1][2]

มีนาคม[แก้]

มีนาคม[แก้]

เมษายน[แก้]

  • 3 เมษายน - ท่าอากาศยานแม่สอด ทำพิธีเปิดใช้อาคารผู้โดยสารหลังใหม่เป็นวันแรก
  • 10 เมษายน – เกิดเหตุเพลิงไหม้จากห้องเครื่องชั้นใต้ดินของอาคารศูนย์การค้าเซ็นทรัลเวิลด์ฝั่งอาคารสำนักงาน โดยเปลวไฟและความร้อนได้ลามขึ้นไปยังชั้น 8 ผ่านช่องลมระบายควัน เหตุการณ์นี้ส่งผลให้ผู้ได้รับบาดเจ็บ 16 ราย และมีผู้เสียชีวิต 2 ราย [5]

พฤษภาคม[แก้]

มิถุนายน[แก้]

  • 5 มิถุนายน – สภาผู้แทนราษฎร (ร่วมกับวุฒิสภา) ลงมติเลือกพลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา เป็นนายกรัฐมนตรีต่อ

กรกฎาคม[แก้]

  • 9 กรกฎาคม – ราชกิจจานุเบกษาประกาศคำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติบางคำสั่ง ซึ่งโอนคดีศาลทหารกลับเป็นของศาลยุติธรรม[7]
  • 10 กรกฎาคม – มีพระบรมราชโองการแต่งตั้งคณะรัฐมนตรีไทย คณะที่ 62 (ประยุทธ์ 2)
  • 28 กรกฎาคม - พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าฯ สถาปนาเจ้าฟ้าต่างกรมฝ่ายใน สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าพัชรกิติยาภา นเรนทิราเทพยวดี" ขึ้นเป็น "สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้ากรมหลวงราชสาริณีสิริพัชร มหาวัชรราชธิดา
  • 28 กรกฎาคม - พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าฯ ประกาศสถาปนา ท่านผู้หญิงสินีนาฏ วงศ์วชิราภักดิ์ ขึ้นเป็น เจ้าคุณพระสินีนาฏ พิลาสกัลยาณี

สิงหาคม[แก้]

  • 2 สิงหาคม – เกิดเหตุลอบวางระเบิด 9 จุด 5 พื้นที่ในกรุงเทพมหานคร เป็นเหตุให้มีผู้ได้รับบาดเจ็บ 5 คน[8] ด้านนายกรัฐมนตรีบอกว่าเป็นการสร้างสถานการณ์ และผู้บัญชาการทหารบกให้สัมภาษณ์ว่าเป็นฝีมือ "กลุ่มเดิม ๆ"[9]

กันยายน[แก้]

  • 1 กันยายน – อิทธิพลพายุโพดุล และ พายุคาจิกิ ทำให้เกิดอุทกภัยในจังหวัดอุบลราชธานี นับเป็นอุทกภัยใหญ่สุดในรอบ 20 ปี

ตุลาคม[แก้]

  • 4 ตุลาคม – คณากร เพียรชนะ ผู้พิพากษาศาลจังหวัดยะลา ใช้ปืนพกยิงตัวเองได้รับบาดเจ็บสาหัส โดยมีเอกสารคำแถลงการณ์ระบุว่า เนื่องจากตนถูกแทรกแซงในการพิจารณาคดีความมั่นคง[10]
  • 18 ตุลาคม - พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงเฉลิมพระปรนามาภิไธย พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ใหม่ โดยทรงเฉลิมพระสมัญญานามว่า “พระสยามเทวามหามกุฏวิทยมหาราช” เนื่องในวันคล้ายวันพระราชสมภพของล้นเกล้า รัชกาลที่ 4 และน้อมสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณที่ทรงมีคุณูปการต่อประเทศชาติและประชาชน ทำให้ประเทศไทย มีพระมหากษัตริย์ที่ทรงได้รับพระสมัญญานามว่าเป็น “มหาราช” 8 พระองค์
  • 21 ตุลาคม – พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัวมีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้เจ้าคุณพระสินีนาฏ พิลาสกัลยาณี พ้นจากตำแหน่งข้าราชการในพระองค์ฝ่ายทหาร ถอดฐานันดรศักดิ์และยศทหาร ตลอดจนเรียกคืนเครื่องราชอิสริยาภรณ์ทุกชั้นตรา[11]

พฤศจิกายน[แก้]

  • 5 พฤศจิกายน – คนร้ายใช้อาวุธปืนสังหารเจ้าหน้าที่ชุดรักษาความปลอดภัยหมู่บ้าน ตำบลลำพะยา อำเภอเมืองยะลา เสียชีวิต 15 ราย บาดเจ็บสาหัส 4 ราย[12]
  • 7 พฤศจิกายน – กรุงเทพมหานครได้รับการจัดอันดับเป็นอันดับที่ 5 ของเมืองที่มีสภาพอากาศเลวร้ายที่สุดในโลก โดยสภาพอากาศเป็นพิษเกินมาตรฐาน
  • 20 พฤศจิกายน – ศาลรัฐธรรมนูญมีคำวินิจฉัยให้ธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจพ้นสภาพความเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
  • 20–23 พฤศจิกายน – สมเด็จพระสันตะปาปาฟรานซิสเสด็จเยือนไทยอย่างเป็นทางการในฐานะแขกของรัฐบาล

ธันวาคม[แก้]

ผู้เสียชีวิต[แก้]

มกราคม[แก้]

นิยม วรปัญญา
พระครูประโชติรัตนานุรักษ์ (สว่าง จนฺทวํโส)

มีนาคม[แก้]

วีรชัย พลาศรัย

พฤษภาคม[แก้]

ประเสริฐ ณ นคร
เปรม ติณสูลานนท์

มิถุนายน[แก้]

สมเด็จพระพุทธชินวงศ์ (สมศักดิ์ อุปสโม)

กรกฎาคม[แก้]

ธง แจ่มศรี

สิงหาคม[แก้]

หม่อมราชวงศ์ถนัดศรี สวัสดิวัตน์

กันยายน[แก้]

ตุลาคม[แก้]

พฤศจิกายน[แก้]

ธันวาคม[แก้]

เชิงอรรถ[แก้]

  1. วันที่ 9 มิถุนายน มีพระบรมราชโองการแต่งตั้งให้เป็นนายกรัฐมนตรี ในฐานะผู้ได้รับเสนอชื่อเป็นนายกรัฐมนตรีจากพรรคพลังประชารัฐ

ดูเพิ่ม[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. "Thailand's king condemns bid by sister to become PM". BBC. กรุงเทพมหานคร. 2019-02-08. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-02-08. สืบค้นเมื่อ 2019-02-08.
  2. "ประกาศ สถาบันพระมหากษัตริย์ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย" (PDF) (Press release). Bangkok: ราชกิจจานุเบกษา. 2019-02-08. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2019-02-09. สืบค้นเมื่อ 2019-02-08.
  3. "ยุบ'ไทยรักษาชาติ'! ฐานทำ'สถาบัน'เสื่อม". เดลินิวส์. 7 มีนาคม 2562. สืบค้นเมื่อ 10 มีนาคม 2562. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  4. "ฝุ่น : PM 2.5 ในเชียงใหม่ขึ้นสูงแตะอันดับหนึ่งของโลก". บีบีซีไทย. 12 มีนาคม 2562.
  5. "ช็อก! ไฟไหม้ เซ็นทรัลเวิลด์ จังหวะนาทีระเบิด เพลิงลุกท่วม". ข่าวสด.
  6. "ประกาศ เรื่อง สถาปนาสมเด็จพระราชินี" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 1 พฤษภาคม 2562. สืบค้นเมื่อ 2 พฤษภาคม 2562. {{cite journal}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  7. "ประยุทธ์ โละประกาศ/คำสั่ง คสช. 66 ฉบับ โอนคดีศาลทหารกลับไปศาลยุติธรรม". บีบีซีไทย. 9 กรกฎาคม 2562. สืบค้นเมื่อ 10 กรกฎาคม 2562. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  8. "กทม. เยียวยา 'ผู้บาดเจ็บ' เหตุระเบิด ตามสิทธิ พร้อมดูแลจนกว่าจะหาย". มติชนออนไลน์. 5 สิงหาคม 2562.
  9. "ระเบิด กทม. : ประยุทธ์-ประวิตร ฟันธง "สร้างสถานการณ์" หลังเกิดเหตุป่วน กทม". บีบีซีไทย. 2 สิงหาคม 2562. สืบค้นเมื่อ 3 สิงหาคม 2562. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  10. "เปิดไทม์ไลน์ "ผู้พิพากษายิงตัว" คลิปแถลง ถูกแทรกแซง วอนเยียวยาลูกเมีย". ข่าวสด. 5 ตุลาคม 2562. สืบค้นเมื่อ 10 ตุลาคม 2562. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  11. "ประกาศ เรื่องให้ข้าราชการในพระองค์ฝ่ายทหารพ้นจากตำแห่นง ถอดฐานันดรศักดิ์และยศทหาร ตลอดจนเรียกคืนเครื่องราชอิสริยาภรณ์ทุกชั้นตรา" ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 136 ตอนที่ 55 ข. 21 ตุลาคม 2562. สืบค้นเมื่อ 22 ตุลาคม 2562.
  12. "ไฟใต้ : ผู้เชี่ยวชาญด้านความขัดแย้งชี้รูปแบบโจมตี ชรบ.ส่อเค้าบีอาร์เอ็น". บีบีซีไทย. 6 พฤศจิกายน 2562. สืบค้นเมื่อ 7 พฤศจิกายน 2562. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  13. "Nuad Thai, traditional Thai massage". ยูเนสโก. 2562. สืบค้นเมื่อ 13 ธันวาคม 2562. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]