พระพรหมมงคล (ทอง สิริมงฺคโล)

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
พระพรหมมงคล,วิ.

(ทอง สิริมงฺคโล)
คำนำหน้าชื่อพระเดชพระคุณ
ส่วนบุคคล
เกิด21 กันยายน พ.ศ. 2466 (96 ปี)
มรณภาพ13 ธันวาคม พ.ศ. 2562
นิกายมหานิกาย
การศึกษานักธรรมชั้นเอก
ตำแหน่งชั้นสูง
ที่อยู่วัดพระธาตุศรีจอมทองวรวิหาร จังหวัดเชียงใหม่
บรรพชา19 มกราคม พ.ศ. 2477
อุปสมบท7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2487
พรรษา75
ตำแหน่งอดีตเจ้าอาวาสวัดพระธาตุศรีจอมทองวรวิหาร
,อดีตที่ปรึกษาเจ้าคณะภาค 7 ,อดีตเจ้าสำนักศูนย์ปฏิบัติธรรมประจำจังหวัดเชียงใหม่แห่งที่ 1 ,อดีตที่ปรึกษาสำนักงานกำกับดูแลพระธรรมทูตไปต่างประเทศ,อดีตประธานขับเคลื่อนโครงการหมู่บ้านรักษาศีลห้า ประจำหนเหนือ

พระพรหมมงคล,วิ. นามเดิม ทอง พรหมเสน ฉายา สิริมงฺคโล (21 กันยายน พ.ศ. 2466 – 13 ธันวาคม พ.ศ. 2562) เป็นพระราชาคณะเจ้าคณะรองชั้นหิรัญบัฏ ฝ่ายวิปัสสนาธุระรูปแรกของคณะสงฆ์ฝ่ายมหานิกาย และรูปแรกของกรุงรัตนโกสินทร์ ตำแหน่งหน้าที่ในอดีตเป็นเจ้าอาวาสวัดพระธาตุศรีจอมทองวรวิหาร ที่ปรึกษาเจ้าคณะภาค 7 เจ้าอาวาสวัดเมืองมางเจ้าอาวาสวัดร่ำเปิง (ตโปทาราม) และเจ้าคณะอำเภอฮอด

ประวัติ[แก้]

ชาติภูมิ[แก้]

พระพรหมมงคล,วิ. นามเดิม ทอง พรหมเสน เกิดเมื่อวันศุกร์ที่ 21 กันยายน พ.ศ. 2466 ตรงกับวันขึ้น 12 ค่ำ เดือน 10 ปีกุน ณ บ้านนาแก่ง ตำบลบ้านแอ่น อำเภอฮอด จังหวัดเชียงใหม่ บิดาชื่อ นายทา นามสกุล พรหมเสน มารดาชื่อ นางแต้ม นามสกุล พรหมเสน มีพี่น้องด้วยกัน ๖ คน[1]

อุปสมบท[แก้]

บรรพชา วันศุกร์ที่ 19 มกราคม พ.ศ. 2477 ตรงกันวันขึ้น 4 ค่ำ เดือน 3 ปีจอ ณ วัดนาแก่ง ตำบลบ้านแอ่น อำเภอฮอด จังหวัดเชียงใหม่ โดยมีพระครูบาชัยวงศ์ (หลวงปู่ครูบาแก้ว ชยวํโส) เจ้าอาวาสวัดนาแก่ง เป็นพระอุปัชฌาย์

อุปสมบท วันจันทร์ที่ 7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2487 ตรงกับวันขึ้น 14 ค่ำ เดือน 3 ปี วอก ณ พัทธสีมาอุโบสถวัดบ้านแอ่น ตำบลบ้านแอ่น อำเภอฮอด จังหวัดเชียงใหม่ โดยมีพระครูคัมภีรธรรม (ครูบาอินตา พรหฺมปญฺโญ) เจ้าอาวาสวัดชัยพระเกียรติ เป็นพระอุปัชฌาย์ พระอธิการญาณรังสี เจ้าอาวาสวัดห้วยทราย เป็นพระกรรมวาจาจารย์พระมหาจันทร์ วัดพระสิงห์วรมหาวิหาร เป็นพระอนุสาวนาจารย์ ได้รับฉายานามว่า “สิริมงฺคโล”

วิทยฐานะ[แก้]

  • พ.ศ. ๒๔๗๗ สอบได้นักธรรมชั้นตรี ณ สำนักศาสนศึกษา วัดวังลุง สำนักเรียนคณะจังหวัดเชียงใหม่
  • พ.ศ. ๒๔๘๖ สอบได้นักธรรมชั้นโท ณ สำนักศาสนศึกษา วัดชัยพระเกียรติ สำนักเรียนคณะจังหวัดเชียงใหม่
  • พ.ศ. ๒๔๘๗ สอบได้นักธรรมชั้นเอก ณ สำนักศาสนศึกษา วัดพันอ้น สำนักเรียนคณะจังหวัดเชียงใหม่

มรณภาพ[แก้]

พระพรหมมงคล ถึงแก่มรณภาพด้วยภาวะหัวใจล้มเหลวเฉียบพลันจากภาวะกล้ามเนือหัวใจขาดเลือด ณ วัดพระธาตุศรีจอมทองวรวิหาร เมื่อวันที่ 13 ธันวาคม พ.ศ. 2562 เวลา 00.25 น.

ตำแหน่ง[แก้]

ฝ่ายปกครอง[แก้]

ประวัติการอบรมด้านวิปัสสนากรรมฐาน[แก้]

เกียรติคุณ[แก้]

  • พ.ศ. ๒๕๓๐ ได้รับคัดเลือกให้เป็นบุคคลผู้ทำคุณประโยชน์ต่อพระพุทธศาสนาประเภทส่งเสริม ผู้ปฏิบัติธรรมในงานสัปดาห์ส่งเสริมพระพุทธศาสนาในเทศกาลวันวิสาขบูชา
  • พ.ศ. ๒๕๓๑ ได้รับโล่เกียรติคุณ ผู้มีผลงานดีเด่นด้าน “วัฒนธรรมท้องถิ่น” สาขามนุษยศาสตร์ จากศูนย์วัฒนธรรม วิทยาลัยครูเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่
  • พ.ศ. ๒๕๓๓ ได้รับรางวัลครูบาศรีวิชัย ในงานรำลึกถึงพระครูบาศรีวิขัย ครบรอบ ๑๑๒ ปี ได้รับเลือกให้เป็นผู้ที่มีคุณสมบัติเป็นทั้ง นักบุญและนักพัฒนาแห่งล้านนาไทย
  • พ.ศ. ๒๕๓๕ ได้รับเกียรติบัตรจากคณะสงฆ์จังหวัดเชียงใหม่ให้เป็นผู้มีผลงานดีเด่น ทางด้านการปกครอง เนื่องในวันวิสาขบูชา
  • พ.ศ. ๒๕๓๖ ได้รับถวายปริญญา “พุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์” สาขาพระพุทธสาสนา มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
  • พ.ศ. ๒๕๓๖ ได้รับเกียรติบัตรจากคณะสงฆ์ จังหวัดเชียงใหม่ ให้เป็นผู้มีผลงานดีเด่นทางด้านสาธารณูปการ เนื่องในวันมาฆบูชา
  • พ.ศ. ๒๕๓๖ ได้รับถวายเกียรติบัตรจากกระทรวงศึกษาธิการให้เป็นผู้มีผลงานดีเด่น ในการดำเนินงาน ให้วัดเป็นอุทยานการศึกษาเพื่อเฉลิมฉลอง ๗๐๐ ปี เมืองเชียงใหม่
  • พ.ศ. ๒๕๓๗ ได้รับพระราชทานโล่และเข็มเกียรติคุณจากสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ในด้านอนุรักษ์มรดกไทยดีเด่น ด้านภาษา และ วรรณกรรมของไทย
  • พ.ศ. ๒๕๓๘ ได้รับพัดยศพัฒนาดีเด่น พร้อมด้วยใบประกาศเกียรติคุณ จากสมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณสังวร
  • พ.ศ. ๒๕๔๑ ได้รับโล่เกียรติคุณจากยุวพุทธิกสมาคมแห่งประเทศไทย ใน พระบรมราชินูปถัมภ์ ให้เป็นผู้มีผลงานดีเด่นทางด้านการเผยแผ่วิปัสสนากรรมฐาน เนื่องในโอกาสครบรอบ ๔๘ ปี ของยุวพุทธิกสมาคม
  • พ.ศ. ๒๕๔๒ ได้รับโล่ประกาศเกียรติคุณจากชมรมผู้สูงอายุอำเภอจอมทอง จังหวัดเชียงใหม่ ให้เป็นองค์ประธานอุปถัมภ์การก่อสร้างอาคารชมรมผู้สูงอายุอำเภอจอมทอง จนประสบความสำเร็จ
  • พ.ศ. ๒๕๕๐ ได้รับโล่เกียรติคุณจากมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตเชียงใหม่ โดย พระครูพิพิธสุตาธร รองอธิการบดี มหาวิทยาลัย มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตเชียงใหม่ ในฐานะเป็นผู้กระทำคุณประโยชน์แก่มหาวิทยาลัย
  • พ.ศ. ๒๕๕๐ ได้รับโล่เกียรติคุณจากมหาธาตุวิทยาลัยโดยพระธรรมสุธี อธิบดีสงฆ์วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฏิ์ ให้เป็นศิษย์เก่าผู้ได้รับความสำเร็จอย่างสูงทั้งทางโลก และทางธรรม
  • พ.ศ. ๒๕๕๑ ได้รับรางวัลประกาศเกียรติคุณรางวัลการส่งเสริมการศึกษาเพื่อสันติภาพ ประจำปีพุทธศักราช ๒๕๕๑ จากมูลนิธิการศึกษาเพื่อสันติภาพ พระธรรมปิฎก(ป.อ.ปยุตฺโต)
  • พ.ศ. ๒๕๕๓ ได้รับรางวัลพุทธคุณูปการ ประเภทวัชรเกียรติคุณ จากสภาผู้แทนราษฎรไทย
  • พ.ศ. ๒๕๕๔ ได้รับถวายปริญญา "ศิลปศาสตรดุษฏีบัณฑิตกิตติมศักดิ์" สาขาบริหารการพัฒนา มหาวิทยาลัยนอร์ท-เชียงใหม่
  • พ.ศ. ๒๕๕๕ ได้รับถวายปริญญา "ปรัชญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์" มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่
  • พ.ศ. ๒๕๕๖ ได้รับถวายปริญญา "ศาสนศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติศักดิ์" สาขาวิชาพุทธศาสนา มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย

สมณศักดิ์[แก้]

สมณศักดิ์ไทย[แก้]

สมณศักดิ์ต่างประเทศ[แก้]

  • พ.ศ. ๒๕๓๓ ได้รับแต่งตั้งสมณศักดิ์ จากสังฆสภารามัญมหานิกายประเทศศรีลังกาให้เป็น “พระศาสนโสภณสิริบวรวิปัสสนากัมมัฏฐานาจารย์”
  • พ.ศ. ๒๕๕๔ ได้รับแต่งตั้งสมณศักดิ์ จากประเทศสาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมาร์ให้เป็น “อัคคมหากัมมัฏฐานาจาริยะ” [12]

เครื่องประกอบสมณศักดิ์[แก้]

เครื่องประกอบสมณศักดิ์ พระพรหมมงคล[แก้]

ไฟล์:เครืองประกอบ.jpg

ฐานานุกรม[แก้]

พระพรหมมงคล มีฐานนาณุศักดิ์ ตั้งฐานานุกรมได้ 8 รูป คือ

  • พระครูปลัดสุวัฒนมงคลสิทธิคุณ อดุลธรรมาภิบาล ศาสนสุพพิธานสังฆานุนายก

อ้างอิง[แก้]

เชิงอรรถ
  1. ประวัติ พระธรรมมังคลาจารย์ เก็บถาวร 2015-04-21 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, วัดพระธาตุศรีจอมทองวรวิหาร
  2. มติมหาเถรสมาคม ครั้งที่ 06/2554, มติที่ 147/2554 เรื่อง เสนอแต่งตั้ง พระธรรมมังคลาจารย์ วัดพระธาตุศรีจอมทอง จังหวัดเชียงใหม่ ให้เป็นที่ปรึกษาสำนักงานกำกับดูแลพระธรรมทูตไปต่างประเทศ
  3. มติมหาเถรสมาคม ครั้งที่ 07/2557, มติที่ 120/2557 เรื่อง เสนอแต่งตั้งพระสังฆาธิการให้เป็นที่ปรึกษาเจ้าคณะภาค ๗
  4. ราชกิจจานุเบกษา,ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานสัญญาบัตรตั้งสมณศักดิ์ เล่ม 85, ตอนที่ 122, 31 ธันวาคม 2511, ฉบับพิเศษหน้า 6.
  5. ราชกิจจานุเบกษา,ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานสัญญาบัตรตั้งสมณศักดิ์ เล่ม 107, ตอนที่ 242, 5 ธันวาคม 2533, ฉบับพิเศษหน้า 5.
  6. ราชกิจจานุเบกษา,ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานสัญญาบัตรตั้งสมณศักดิ์ เล่ม 116, ตอนที่ 23 ข, 27 ธันวาคม 2542, หน้า 5.
  7. ราชกิจจานุเบกษา,ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานสัญญาบัตรตั้งสมณศักดิ์ เล่ม 123, ตอนที่ 2 ข, 12 มกราคม 2549, หน้า 4.
  8. ราชกิจจานุเบกษา,ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานสัญญาบัตรตั้งสมณศักดิ์ เล่ม 127, ตอนที่ 3 ข, ๒๕ กุมภาพันธ 2553, หน้า 2.
  9. ราชกิจจานุเบกษา,พระราชโองการ ประกาศสถาปนาสมณศักดิ์,เล่ม ๑๓๔ ตอน ๙, ๘ มีนาคม ๒๕๖๐
  10. ราชกิจจานุเบกษา,พระราชโองการ ประกาศสถาปนาสมณศักดิ์, เล่ม 133, ตอนที่ 42 ข, 5 ธันวาคม 2559, หน้า 2
  11. https://www.facebook.com/710455849035666/photos/a.710479045700013.1073741828.710455849035666/1321931307888114/?type=3&theater จากเพจ พัดยศ สมณศักดิ์พระสงฆ์ไทย
  12. ได้รับแต่งตั้งสมณศักดิ์ จากประเทศสาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมาร์ให้เป็น “อัคคมหากัมมัฏฐานาจาริยะ”[ลิงก์เสีย]