ฉบับร่าง:พรรคไทยก้าวหน้า (พ.ศ. 2565)

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
  • ความคิดเห็น: ฉบับร่างถูกปัดตกแล้ว ไม่สามารถส่งซ้ำได้ครับ Kaoavi (คาโอะเอวีไอ) (คุย) 21:25, 27 มีนาคม 2567 (+07)
  • ความคิดเห็น: อ้างอิงทั้งหมดขาดการกล่าวอย่างมีนัยยะสำคัญ อ้างอิงทั้งหมดเป็น trivial coverage Sry85 (คุย) 11:09, 8 ธันวาคม 2566 (+07)

พรรคไทยก้าวหน้า
หัวหน้าวัชรพล บุษมงคล
เลขาธิการภูชิสส์ ศรีเจริญ
เหรัญญิกธนภัทร สว่างวงศ์
นายทะเบียนสมาชิกสมชาย ยนวิลาศ
กรรมการบริหาร
  • สุรเดช ปิ่นทองดี
  • เอกณัฏฐ์ เรืองเดชธนาวุฒิ
  • ฉัตรชัย คำใส
  • วุฒิชัย จุลวงศ์
  • ลำโขง ธารธนศักดิ์
  • ปฏิเวศน์ อิสเรศโยธิน
  • ธีรศักดิ์ อริยะอรชุน
  • สายันต์ สายเจียง
  • ศตภพ อานไทสง
ประธานที่ปรึกษาพลเอกสิทธิ์ สิทธิมงคล
คำขวัญไทยก้าวหน้า ประชาเป็นสุข
ก่อตั้ง1 กรกฎาคม พ.ศ. 2565 (1 ปี)
ที่ทำการ84-84/2 หมู่ที่ 5 ตำบลไทรน้อย อำเภอไทรน้อย จังหวัดนนทบุรี
จำนวนสมาชิก  (ปี 2566)5,022 คน
สี  น้ำเงิน
สภาผู้แทนราษฎร
1 / 500
เว็บไซต์
thaiprogressparty.org
การเมืองไทย
รายชื่อพรรคการเมือง
การเลือกตั้ง

พรรคไทยก้าวหน้า (อังกฤษ: The Progress Party; ชื่อย่อ: ทกน. (TPG.)) เป็นพรรคการเมืองไทยที่จดทะเบียนก่อตั้งพรรคเมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2565 ปัจจุบันมีนายวัชรพล บุษมงคล เป็นหัวหน้าพรรค และนายภูชิสส์ ศรีเจริญ เป็นเลขาธิการพรรค

ประวัติ[แก้]

พรรคไทยก้าวหน้าจดทะเบียนจัดตั้งขึ้นเป็นลำดับที่ 7/2565 เมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2565 โดยมีนายวัชรพล บุษมงคล อดีตเลขาธิการพรรคแทนคุณแผ่นดิน เป็นหัวหน้าพรรค นายภูมินทร์ วรปัญญา อดีตที่ปรึกษาผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองหลายตำแหน่ง เป็นเลขาธิการพรรคคนแรก

บทบาททางการเมือง[แก้]

พรรคไทยก้าวหน้าส่งผู้สมัครรับเลือกตั้งครั้งแรกในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2566 โดยส่งผู้สมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรระบบบัญชีรายชื่อ 13 คน และแบ่งเขต 5 คน และเสนอชื่อแคนดิเดตนายกรัฐมนตรี 2 คน ได้แก่วัชรพล บุษมงคล และ พลเอก สิทธิ์ สิทธิมงคล[1] และมีนโยบายของพรรคที่ใช้ในการหาเสียง 7 นโยบาย ซึ่งเน้นเรื่องเศรษฐกิจและสวัสดิการเป็นหลัก[2] แต่ไม่ได้รับเลือกตั้ง

เมื่อวันที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2566 พรรคไทยก้าวหน้าได้ร่วมกับพรรคเล็กอีก 4 พรรค ได้แก่ พรรคทางเลือกใหม่ พรรคภาคีเครือข่ายไทย พรรคไทยชนะ และพรรคประชากรไทย ออกแถลงการณ์ต้องการให้จัดตั้งรัฐบาลและมีผู้บริหารประเทศโดยเร็วที่สุด เพื่อปากท้องของประชาชน หลังจากในขณะนั้นการเลือกตั้งผ่านมาแล้วมากกว่า 80 วัน แต่ยังไม่สามารถจัดตั้งรัฐบาลได้[3]

ไชยามพวาน มั่นเพียรจิตต์ ส.ส.คนแรกของพรรค

ต่อมาเมื่อวันที่ 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2566 เว็บไซต์ของระบบบริหารจัดการสารสนเทศด้านทรัพยากรมนุษย์ สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร แก้ไขประวัติของนายไชยามพวาน มั่นเพียรจิตต์ หรือ ปูอัด สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรกรุงเทพมหานคร ซึ่งถูกขับออกจากพรรคก้าวไกลกรณีคุกคามทางเพศ โดยระบุว่านายไชยามพวานอยู่ในสังกัดพรรคไทยก้าวหน้า[1] โดยนายไชยามพวานถือเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรคนแรกของพรรค[4]

บุคลากร[แก้]

หัวหน้าพรรค[แก้]

ลำดับที่ ชื่อ เริ่ม สิ้นสุด
1 วัชรพล บุษมงคล 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2565 ปัจจุบัน

เลขาธิการพรรค[แก้]

ลำดับที่ ชื่อ เริ่ม สิ้นสุด
1 ภูมินทร์ วรปัญญา 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2565 8 ธันวาคม พ.ศ. 2565
2 ภูชิสส์ ศรีเจริญ 26 มีนาคม พ.ศ. 2566 ปัจจุบัน

กรรมการบริหารพรรค[แก้]

ลำดับ ชื่อ ตำแหน่ง
1 วัชรพล บุษมงคล หัวหน้าพรรค
2 ภูชิสส์ ศรีเจริญ เลขาธิการพรรค
3 ธนภัทร สว่างวงศ์ เหรัญญิกพรรค
4 สมชาย ยนวิลาศ นายทะเบียนสมาชิกพรรค
5 สุรเดช ปิ่นทองดี กรรมการบริหารพรรค
6 เอกณัฏฐ์ เรืองเดชธนาวุฒิ
7 ฉัตรชัย คำใส
8 วุฒิชัย จุลวงศ์
9 ลำโขง ธารธนศักดิ์
10 ปฏิเวศน์ อิสเรศโยธิน
11 ธีรศักดิ์ อริยะอรชุน
12 สายันต์ สายเจียง
13 ศตภพ อานไทสง

อ้างอิง[แก้]

  1. 1.0 1.1 "ระบบสำนักเลขาธิการสภาฯ เปลี่ยน สังกัดพรรคของ 'สส.ไชยามพวาน' จาก 'ก้าวไกล' เป็น 'ไทยก้าวหน้า'". สำนักข่าวทูเดย์. 29 พฤศจิกายน 2023. สืบค้นเมื่อ 29 พฤศจิกายน 2023.{{cite news}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  2. ""ปูอัด" ได้พรรคใหม่แล้ว! ซบไทยก้าวหน้า หลังก้าวไกลขับออก". ผู้จัดการออนไลน์. 28 พฤศจิกายน 2023. สืบค้นเมื่อ 11 ธันวาคม 2023.{{cite news}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  3. ""5พรรคนอกสภาฯ" แถลงการณ์หนุนตั้งรัฐบาลโดยเร็ว". กรุงเทพธุรกิจ. 3 สิงหาคม 2023. สืบค้นเมื่อ 29 พฤศจิกายน 2023.{{cite news}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  4. "สส.คนแรก! "ไชยามพวาน" เข้าพรรคไทยก้าวหน้า". องค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทย. 29 พฤศจิกายน 2023. สืบค้นเมื่อ 29 พฤศจิกายน 2023.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]