การจัดการของเสียในประเทศไทย

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

การจัดการของเสียในประเทศไทยมีหลายประเด็น เช่น การใช้พลาสติกมากเกินไป, ขยะอุตสาหกรรม เป็นต้น

ขยะมูลฝอย[แก้]

ขยะมูลฝอยชุมชน[แก้]

คนไทยต่อหัวสร้างขยะมูลฝอยประมาณ 1.14 กิโลกรัมต่อวัน โดย 50 เปอร์เซ็นต์ของขยะมูลฝอยดังกล่าวสามารถย่อยสลายได้ทางชีวภาพ[1] ตามสถิติของกระทรวงมหาดไทย ขยะทั่วประเทศใน พ.ศ. 2559 มีจำนวน 27 ล้านตัน ซึ่งเพิ่มขึ้นประมาณ 0.7 เปอร์เซ็นต์จากปีก่อนหน้า ในจำนวนนี้ 4.2 ล้านตันได้บังเกิดขึ้นในกรุงเทพมหานคร[2][3] ตัวเลขประจำ พ.ศ. 2552 อยู่ที่ 15.1 ล้านตัน ประมาณร้อยละยี่สิบของทั้งหมดเกิดขึ้นในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล (BMA)[4] ส่วนของเสียที่เกิดขึ้นใน พ.ศ. 2558 มีการนำกลับมาใช้ใหม่เพียงประมาณห้าล้านตัน และมีเพียงแปดล้านตันเท่านั้นที่ได้รับการจัดการตามแนวทางปฏิบัติที่ดีระดับโลก นอกจากนั้น จากพื้นที่ทิ้งขยะ 2,500 แห่งของประเทศไทย มีเพียง 20 เปอร์เซ็นต์เท่านั้นที่ได้รับการจัดการอย่างเหมาะสม[1] ตามที่กรมควบคุมมลพิษ (PCD) ซึ่งเป็นหน่วยงานเฝ้าระวังขยะมูลฝอยหลักของประเทศไทย ระบุว่า ประเทศกำลังเผชิญกับปัญหาการจัดการขยะมูลฝอยที่ร้ายแรง ซึ่งปัญหาเหล่านั้นกำลังเพิ่มขึ้น ด้านวิจารย์ สิมาฉายา อธิบดีกรมควบคุมมลพิษ กล่าวว่า ปริมาณขยะยังคงเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องถึง 600,000 ตันต่อปี เนื่องจากจำนวนประชากรและการท่องเที่ยวที่เพิ่มขึ้น[3]

แผนการจัดการขยะของประเทศไทยเรียกร้องให้ 75 เปอร์เซ็นต์ของขยะมูลฝอยทั้งหมดของประเทศไทยถูกกำจัด หรือรีไซเคิลอย่างเหมาะสมในทางใดทางหนึ่งภายใน พ.ศ. 2564 ซึ่งเพิ่มขึ้นจาก 49 เปอร์เซ็นต์ในปัจจุบัน ภายในปี พ.ศ. 2564 รัฐบาลและเอกชนวางแผนที่จะใช้จ่ายเงินจำนวน 177 พันล้านบาท (5.1 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ) ในเทคโนโลยีการจัดการขยะและการรณรงค์การรับรู้ของสาธารณชน "เรามีค่าปรับสำหรับการทิ้งขยะ แต่ดูเหมือนไม่มีใครสนใจ" วิจารย์กล่าว "เราจำเป็นต้องยกระดับการบังคับใช้กฎหมาย รวมถึงสอนให้ผู้คนให้รีไซเคิล, นำกลับมาใช้ใหม่ และลดขยะ"[5]

ในประเทศไทยบทบาทในการจัดการขยะมูลฝอย (MSW) และการจัดการขยะอุตสาหกรรมจัดโดยรัฐบาลไทย ซึ่งต่อมาแบ่งออกเป็นรัฐบาลของประเทศ, รัฐบาลระดับภูมิภาค และการปกครองส่วนท้องถิ่น รัฐบาลแต่ละแห่งมีหน้าที่รับผิดชอบงานที่แตกต่างกัน รัฐบาลของประเทศมีหน้าที่กระตุ้นกฎระเบียบ, นโยบาย และมาตรฐาน รัฐบาลระดับภูมิภาคมีหน้าที่รับผิดชอบในการประสานงานของรัฐบาลของประเทศและการปกครองส่วนท้องถิ่น การปกครองส่วนท้องถิ่นมีหน้าที่รับผิดชอบในการจัดการขยะในพื้นที่ปกครองของตน[6] การปกครองส่วนท้องถิ่นไม่กำจัดขยะเอง แต่จ้างบริษัทเอกชนที่ได้รับสิทธิ์นั้นจากกรมควบคุมมลพิษ[7] ส่วนปัญหาสำคัญคือการขาดเงินทุนสำหรับการจัดการขยะ—ครัวเรือนไทยโดยเฉลี่ยจ่ายเงินน้อยกว่าหนึ่งดอลลาร์ต่อเดือนเพื่อกำจัดขยะมูลฝอย[1] ซึ่งบริษัทหลักคือศูนย์การจัดการของเสียนิคมอุตสาหกรรมบางปู;[8] บริษัท บริหารและพัฒนาเพื่อการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม จำกัด (มหาชน) (GENCO);[9] บริษัท เอสจีเอส (ประเทศไทย) จํากัด;[10] บริษัท เวสท์ แมเนจเม้นท์สยาม จำกัด (WMS);[11] บริษัท เบตเตอร์ เวิลด์ กรีน จำกัด (มหาชน) (BWG)[12] และบริษัท โปรเฟสชั่นแนล เวสต์ เทคโนโลยี (1999) จำกัด (มหาชน) ส่วนบริษัทนำทรัพยากรกลับมาผลิตใหม่ชั้นนำคือวงษ์พาณิชย์ ซึ่งซื้อวัสดุรีไซเคิลผสม (กระดาษ, พลาสติก, แก้ว, อลูมิเนียม, เหล็ก) ในราคาประมาณ 11,300 บาทต่อตัน[4][13] บริษัทเหล่านี้มีหน้าที่รับผิดชอบต่อของเสียที่รับจากลูกค้าก่อนนำไปกำจัด

ดูเพิ่ม[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. 1.0 1.1 1.2 "How Thailand is hurtling towards a massive waste disposal crisis". First Post. 2014-09-01. สืบค้นเมื่อ 9 September 2016.
  2. Suksamran, Nauvarat (11 December 2017). "Suttipong told to clean up or else". Bangkok Post. สืบค้นเมื่อ 11 December 2017.
  3. 3.0 3.1 Mala, Dumrongkiat (13 June 2016). "Media 'must help solve waste issue'". Bangkok Post. สืบค้นเมื่อ 13 June 2016.
  4. 4.0 4.1 Gheewala, Shabbir (2011-12-10). "Thai Style Recycling". Waste Management World (WMW). สืบค้นเมื่อ 13 June 2016.
  5. Yukako, Ono; Iwamoto, Kentaro (6 October 2016). "Waste is in the spotlight as governments think green". Nikkei Asian Review. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-11-30. สืบค้นเมื่อ 6 October 2016.
  6. Jiaranaikhajorn, Taweechai. "Waste and Hazardous Substances Management Bureau" (PDF). Pollution Control Department (PCD). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2020-06-17. สืบค้นเมื่อ 22 November 2014.
  7. "Pollution Control Department (PCD) Statement". Ministry of Natural Resources and Environment. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-11-11. สืบค้นเมื่อ 2022-09-13.
  8. Visvanathan, C. "Hazardous and Industrial Solid Waste Management in Thailand—an Overview" (PDF). www.faculty.ait.ac.th/visu/. Asian Institute of Technology Thailand. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2014-11-11. สืบค้นเมื่อ 22 November 2014.
  9. "Genco Background". General Environment Conservation Public Company Ltd. สืบค้นเมื่อ 22 November 2014.
  10. "About SGS". SGS (Thailand) Ltd. สืบค้นเมื่อ 22 November 2014.
  11. "About Waste Management Siam, Ltd. (WMS)". Waste Management Siam Ltd. สืบค้นเมื่อ 22 November 2014.
  12. "About BWG". Better World Green Public Company Ltd. สืบค้นเมื่อ 22 November 2014.
  13. "About Us". Wongpanit. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-08-15. สืบค้นเมื่อ 9 September 2016.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]