ข้ามไปเนื้อหา

กรกันต์ สุทธิโกเศศ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
กรกันต์ สุทธิโกเศศ
เกิด17 ตุลาคม พ.ศ. 2531 (36 ปี)
กรุงเทพมหานคร ประเทศไทย
ศิษย์เก่าจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
อาชีพ
  • นักร้อง
  • ผู้ประกาศข่าว
  • พิธีกร
  • นักแสดง
อาชีพทางดนตรี
รู้จักในชื่ออาร์ม กรกันต์
แนวเพลงป็อป, ออร์เคสตรา , แจ๊ส, ลูกทุ่ง, ลูกกรุง
เครื่องดนตรีระนาด, เสียงร้อง
ช่วงปีพ.ศ. 2552 - ปัจจุบัน​
ค่ายเพลงเวิร์คพอยท์ เอ็นเทอร์เทนเมนท์
(พ.ศ. 2557 - ปัจจุบัน)

กรกันต์ สุทธิโกเศศ (ชื่อเล่น: อาร์ม) เกิดวันที่ 17 ตุลาคม พ.ศ. 2531 มีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักจากประกวดร้องเพลง KPN Award Thailand Singing Contest 2009 ครั้งที่ 18 ในฐานะรองชนะเลิศอันดับ 1 และ Popular Vote

ประวัติ

[แก้]

อาร์มสำเร็จการศึกษาระดับมัธยมศึกษาจากโรงเรียนเซนต์ดอมินิก แผนการเรียน ศิลป์-คำนวณ และจบการศึกษาระดับปริญญาตรี คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย สาขาวิชาภาพยนตร์และภาพนิ่ง เกียรตินิยมอันดับ 2 เมื่อปีการศึกษา 2553 และได้ผ่านการคัดเลือกให้เป็นผู้อัญเชิญพระเกี้ยวประจำงานฟุตบอลประเพณีจุฬาฯ–ธรรมศาสตร์ ครั้งที่ 67 ในเวลาต่อมา อาร์มได้ผ่านการคัดเลือกให้รับบทบาทเป็นนักแสดงนำละครเวที “นิเทศ จุฬาฯ” ถึง 3 เรื่องติดต่อกัน มีผลงานด้านละครเวทีชิ้นสำคัญเริ่มจากบทบาท “CK” ในละครเรื่อง “เรยา เดอะ มิวสิคัล” แสดงคู่กับคุณชมพู่ อารยา เอ ฮาร์เก็ต เมื่อปลายปี พ.ศ. 2555 และในปีต่อมาได้รับบทบาทเป็น “เจ้าฟ้าชายสิทธิประวัติ” จาก “เลือดขัตติยา เดอะ มิวสิคัล” เปิดการแสดง ณ เมืองไทยรัชดาลัย เธียเตอร์ และต่อมาปี พ.ศ. 2558 อาร์มได้รับบท "ศร" จาก "โหมโรง เดอะ มิวสิคัล" เปิดแสดงรอบแรกวันที่ 4 เมษายน พ.ศ. 2558 ณ โรงละครเคแบงก์สยามพิฆเนศ โดยบริษัท โต๊ะกลมโทรทัศน์ จำกัด และ เวิร์คพอยท์ เอ็นเทอร์เทนเมนท์ และจะมีผลงานละครเวทีในช่วงเดือนพฤษภาคมคือ"มังกรสลัดเกล็ด เดอะมิวสิคัล" โดยรับบทเป็น อ.ป๋วย อึ๊งภากรณ์ ในองก์ "เสรีไทยลายมังกร" เริ่มแสดงวันที่ 29 พฤษภาคม พ.ศ. 2558 ณ ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย หอประชุมใหญ่ ปี พ.ศ. 2559 - 2560 อาร์มได้รับบทเป็น "ชนะลม" จาก นิทานหิ่งห้อย เดอะ มิวสิคัลโรงละครเคแบงก์สยามพิฆเนศ โดยบริษํท โต๊ะกลมโทรทัศน์ จำกัด และ เวิร์คพอยท์ เอ็นเทอร์เทนเมนท์ เดือนพฤศจิกายน 2560 อาร์มได้รับบท ชนะดลจาก หยาดเพชร เพลงรัก ลีลาชีวิต กรมส่งเสริมวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม และ บริษัท โคเมดี้ ไลน์ จำกัด เริ่มการแสดง 24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2560 ปี พ.ศ. 2561 อาร์มได้รับบท "นายมั่นปืนยาว" จาก พระร่วงเดอะมิวสิคัล ณ เมืองไทยรัชดาลัย เธียเตอร์ เริ่มการแสดง 22 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2561

ส่วนผลงานละครโทรทัศน์ เรื่อง “ฝันเฟื่อง” ได้ออกอากาศทางสถานีโทรทัศน์ช่องวัน ทุกวันจันทร์-อังคาร เวลา 20.15-22.15 น. (เริ่มตอนแรก 24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557 และ จบเมื่อวันที่ 20 มกราคม พ.ศ. 2558) ควบคุมการผลิตโดย บริษัท เอ็กแซ็กท์ จำกัด อาร์มรับบท “หมอฉบัง” และ ร่วมแสดงละครเรื่อง My Melody 360 องศารัก ทางสถานีโทรทัศน์โมเดิร์นไนน์ ออกอากาศปี พ.ศ. 2556 และในปีเดียวกันนั้นอาร์มมีผลงานการแสดงและร้องเพลงประกอบภาพยนตร์เรื่องแรกในชีวิตกับ “ประโยคสัญญารัก” และเพลงประกอบนั้น (เพลงเข็มนาฬิกา) ได้รับรางวัล “เพลงประกอบภาพยนตร์ยอดเยี่ยม” จากชมรมวิจารณ์บันเทิงปี พ.ศ. 2556 อีกด้วย และในปี พ.ศ. 2559 อาร์มได้รับบท ณัฐพงษ์ จากละครเรื่อง Angel Destiny อุบัติรักเทวา ทางช่อง True4U

ในด้านการร้องเพลงอาร์มได้รับเกียรติจากวงดุริยางค์ซิมโฟนีกรุงเทพ ให้เป็นศิลปินในหลายคอนเสิร์ต เช่น คอนเสิร์ตเพลงรักโดยวงดุริยางค์ซิมโฟนีกรุงเทพ, 60 พรรษามหาวชิราลงกรณ์, วงดุริยางค์ซิมโฟนีกรุงเทพ บรรเลงสุนทราภรณ์ ซึ่งจัดแสดงที่หอประชุมใหญ่ ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย และได้ร่วมงานกับวาทยกรระดับโลกอย่างคุณทฤษฎี ณ พัทลุงอย่างต่อเนื่อง อาทิเช่น คอนเสิร์ต "ร้อยบรรเลง เพลงพวงร้อย" ทั้ง 2 ครั้งในปี พ.ศ. 2556 และ พ.ศ. 2557 เป็นต้น

นอกจากนี้ในปี พ.ศ. 2557 อาร์มยังได้ฝึกฝนทักษะการใช้เสียงจนสามารถประกอบอาชีพที่ท้าทายอีก 2 อาชีพคือ นักพากย์เสียงการ์ตูน ซึ่งได้รับเลือกจาก วอลท์ ดิสนีย์ พิคเจอร์ส ให้พากย์เสียงร้องในบทบาทของมนุษย์หิมะ Olaf จากภาพยนตร์การ์ตูนเรื่อง “Frozen” และยังเป็นผู้ประกาศข่าวของช่องเวิร์คพอยท์ ในช่วงข่าวรอบวัน ทุกวันจันทร์ถึงศุกร์อีกด้วย

ปลายปี พ.ศ. 2559 อาร์ม กรกันต์ จัดได้ว่าเป็นซุปเปอร์สตาร์ของเมืองไทย เกิดจากที่อาร์มได้เข้าไปประกวดในรายการ The Mask Singer หน้ากากนักร้อง ซีซันที่ 1 มาในชุดหน้ากากระฆัง แข่งใน Group A รอบแรกใช้เพลง ไม้ขีดไฟกับดอกทานตะวัน และรอบที่ 2 ใช้เพลง All of me แพ้หน้ากากทุเรียน (ทอม - อิศรา กิจนิตย์ชีว์) และถูกถอดหน้ากากเมื่อวันที่ 8 ธันวาคม พ.ศ. 2559 ซึ่งจากรายการนี้ทำให้เขาได้รับความนิยมและมีคนรู้จักเพิ่มมากขึ้น และด้วยที่เขามีนิสัยที่เป็นสุภาพบุรุษ อัธยาศัยดี ใจดี จึงทำให้คนที่ได้พบเจอเขา ตกหลุมรักและหลงใหลในตัวเขา

วันที่ 6 กรกฎาคม พ.ศ. 2561 อาร์มได้รับเชิญไปเป็น 1 ใน 5 ปรัศนี ในรายการ แฟนพันธุ์แท้ ในหัวข้อ แฟนพันธุ์แท้ เป๊ก - ผลิตโชค อายนบุตร ช่วงคำถามชิงสุดยอดแฟนพันธุ์แท้ ออกอากาศทางช่องเวิร์คพอยท์

ปลายปี พ.ศ. 2561 อาร์มได้เข้าประกวดในรายการ The Mask Line Thai มาในชุดหน้ากากเบญจรงค์ แข่งในกลุ่มไม้เอก รอบแรกใช้เพลง หมดใจ และรอบที่ 2 ใช้เพลง ไม่มีเธอไม่ตาย แพ้หน้ากากนักรบไทย (ณัฏฐ์ ทิวไผ่งาม) และหน้ากากแมวโกนจา (ระดับดาว ศรีระวงศ์) ถูกถอดหน้ากากเมื่อวันที่ 20 ธันวาคม พ.ศ. 2561 พร้อมกับหน้ากากกระด้ง (ปอ อรรณพ ทองบริสุทธิ์)

ปี พ.ศ. 2562 อาร์มมีซิงเกิลแรกเป็นของตัวเองในรอบ 10 ปี คือเพลง เห็นใจกันพอประมาณ ควบคุมการผลิตโดย โอม - ปัณฑพล ประสารราชกิจ หลังจากนั้นอาร์มได้มีโอกาสร้องเพลงประกอบซีรีส์จีน อภินิหารกระบี่สามภพ เพลง รักสุดแผ่นดินสิ้นแผ่นฟ้า

ผลงาน

[แก้]

ผลงานด้านเพลง

[แก้]
  • Single เพลงรวม "ไว้ใจ" ในอัลบั้ม The Famous Five A Tribute To Hydra ร่วมกับศิลปิน เช่น บุรินทร์ บุญวิสุทธิ์ , โมเดิร์นด็อก , สุนิสา สุขบุญสังข์ , พันกร บุณยะจินดา และ วง ETC
  • Single "ขอร้อง" ควบคุมการผลิตโดย หนึ่ง ETC
  • เพลง "ตะแบกงาม" เพลงประจำสถาบันกันตนา
  • เพลง "คิดถึง" และ "พรานล่อเนื้อ" เพลงของโครงการ BSO ซึ่งเป็นการจัดทำโดย BSO ร่วมกับ มูลนิธิสุนทราภรณ์ เมื่อปีพุทธศักราช 2554
  • เพลง เข็มนาฬิกา" ซึ่งได้ร้องคู่กับ คุณนนทิยา จิวบางป่า และเป็นเพลงประกอบภาพยนตร์ เรื่อง ประโยคสัญญารัก พ.ศ. 2556
  • เพลง ฉันไม่ใช่ พ.ศ. 2547
  • เพลง ถนอม พ.ศ. 2550 เป็นเพลงประกอบละครนิเทศจุฬาฯ เรื่อง เปิด(กระ)โปงคอนแวนต์ ซึ่งทำผลงานร่วมกับ คุณ วรุตม์ พสุธาดล
  • เพลง รักระริน พ.ศ. 2551 ซึ่งทำผลงานร่วมกับ คุณ วรุตม์ พสุธาดล
  • เพลง สัญญา พ.ศ. 2552 เป็นเพลงประกอบละครขอ คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เรื่องวิมานมายา
  • เพลง เธอคือดอกไม้ เป็นเพลงประกอบเวทีการประกวดMiss All Nations Thailand 2017
  • เพลง ไกลเกินฝัน พ.ศ. 2561
  • เพลง เห็นใจกันพอประมาณ พ.ศ. 2562 ควบคุมการผลิตโดย ปัณฑพล ประสารราชกิจ
  • เพลง ได้หมดถ้าสดชื่น พ.ศ. 2562 จากรายการ Melody to Masterpiece สงครามทำเพลง
  • เพลง รักสุดแผ่นดินสิ้นแผ่นฟ้า พ.ศ. 2562 เพลงประกอบซีรีส์ "อภินิหารกระบี่สามภพ"
  • เพลง ประคอง (Embrace) พ.ศ. 2563 ร่วมกับ OME

ละครโทรทัศน์

[แก้]
ปี เรื่อง เครือข่าย บทบาท
2556 My Melody 360 องศารัก ช่อง 9 ครูอาร์ม
2557 ฝันเฟื่อง ช่องวัน หมอฉบัง
2559 Angel Destiny อุบัติรักเทวา ทรูโฟร์ยู ณัฐพงษ์
ดาวหลงฟ้า ภูผาสีเงิน ช่อง 3 แขกผู้เข้าร่วมงาน (รับเชิญ)
2560 Secret Seven เธอคนเหงากับเขาทั้งเจ็ด ช่องวัน 31 กันต์ (รับเชิญ)
2561 – 2563 ระเบิดเถิดเทิงซอยข้าใครอย่าแตะ ช่องเวิร์คพอยท์ บูม
2563 แรงกรรม เรื่องเล่าชาวบ้าน โดยอาจารย์ยอด ตอน บุญช่วย นนท์

ละครเวที

[แก้]
ปี พ.ศ. เรื่อง รับบทเป็น ผลิตโดย
2565 สุนทราภรณ์ เพลงรักเพลงแผ่นดิน โดยเพลงเอก ผู้บรรยายเรื่อง (Narrator) บริษัท เวิร์คพอยท์ เอ็นเทอร์เทนเมนท์ จำกัด (มหาชน)
มูลนิธิสุนทราภรณ์ ในพระราชูปถัมภ์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
2562 สูตรเสน่หา เดอะมิวสิคัล ปฏิคม/นายตัวเปี๊ยก บริษัท บี มิวสิคัล จำกัด
2561 โหมโรง เดอะ มิวสิคัล 2561 ศร บริษัท โต๊ะกลมโทรทัศน์ จำกัด
2561 พระร่วง เดอะมิวสิคัล นายมั่น ปืนยาว บริษัท เดอะวิน ออแกไนเซอร์ จำกัด
2560 หยาดเพชร เพลงรัก ลีลาชีวิต ชนะดล กรมส่งเสริมวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม และ บริษัท โคเมดี้ ไลน์ จำกัด
2559 - 2560 นิทานหิ่งห้อย เดอะ มิวสิคัล ชนะลม บริษัท โต๊ะกลมโทรทัศน์ จำกัด
2559 ธีรราชา เดอะ มิวสิคัล ชัย/หลวงชัยพิเทศ ธนาคารออมสิน
2558 โหมโรง เดอะ มิวสิคัล Restage ศร บริษัท โต๊ะกลมโทรทัศน์ จำกัด
2558 มังกรสลัดเกล็ด เดอะ มิวสิคัล อ.ป๋วย (องก์ เสรีไทยลายมังกร) คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ธนาคารแห่งประเทศไทย
2558 โหมโรง เดอะ มิวสิคัล ศร บริษัท โต๊ะกลมโทรทัศน์ จำกัด
2556 เลือดขัตติยา เดอะ มิวสิคัล เจ้าฟ้าชายสิทธิประวัติ บริษัท ซีเนริโอ จำกัด
2555 เรยา เดอะ มิวสิคัล CK (แสดงร่วมกับ คุณชมพู่ อารยา เอ ฮาร์เก็ต) บริษัท เนชั่น บรอดแคสติ้ง คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน)
2553 The Finale โรงละคร ความรัก นักประพันธ์ เอริค คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
2552 วิมานมายา ปองพล คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
2551 คาเฟ่สีรุ้ง อาชา แซ่ล่อ คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
2551 พรายน้ำ ทาษสตรี คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
ไม่ทราบปี​ โตขึ้นผมจะขี่รุ้ง พญารุ้ง​ โรงเรียนเซนต์ดอมินิก

คอนเสิร์ต

[แก้]
ปี พ.ศ. ชื่อคอนเสิร์ต ศิลปิน สถานที่จัดแสดง
2562 คุณพระช่วยสำแดงสด ๙ รัตนโกสินทร์เรืองรอง เท่ง เถิดเทิง, พัน พลุแตก, โย่ง เชิญยิ้ม, พวง เชิญยิ้ม, นง เชิญยิ้ม, แนน สาธิดา, ปุ้ย ดวงพร, กบ ทรงสิทธิ์, นัน ไมค์ทองคำ โรงละครเคแบงก์สยามพิฆเนศ
2561 คุณพระช่วยสำแดงสด ๘ ฟื้นอโยธยา เท่ง เถิดเทิง, พัน พลุแตก, โย่ง เชิญยิ้ม, พวง เชิญยิ้ม, นง เชิญยิ้ม, สหรัถ สังคปรีชา, นนท์ ธนนท์, แนน สาธิดา, ปุ้ย ดวงพร
2560 OPPO Presents Concert The Mask Singer 2 ทอม รูม39, เอ๊ะ จิรากร, เป้ก ผลิตโชค, เสนาหอย, ซาร่า AF, หนึ่ง จักรวาล, กันต์ กันตถาวร, ตั๊ก ศิริพร, ปุยฝ้าย AF, ปัณฑพล ประสารราชกิจ, ศรัณย์รัชต์ ดีน, โต๋ ศักดิ์สิทธิ์, ซานิ, บี พีระพัฒน์, ปนัดดา เรืองวุฒิ, แปม ไกอา, อภิวัชร์ เอื้อถาวรสุข, ธรรศภาคย์ ชี, กอล์ฟ ฟักกลิ้งฮีโร่, ธนวัฒน์ ประสิทธิสมพร ฮอลล์ 98 ไบเทค บางนา
2560 คุณพระช่วยสำแดงสด ๗ นาคฟ้อนมังกรระบำ สหรัถ สังคปรีชา, แปม ไกอา, โต๋ ศักดิ์สิทธิ์, ตั๊ก ศิริพร, อิ๊ด โปงลางสะออน, เท่ง เถิดเทิง, พัน พลุแตก, โย่ง เชิญยิ้ม, พวง เชิญยิ้ม, นง เชิญยิ้ม โรงละครเคแบงก์สยามพิฆเนศ
2560 Mini Concert The Mask Singer ทอม รูม39, เอ๊ะ จิรากร, บุ๋ม ปนัดดา, เป้ก ผลิตโชค, ก้อย รัชวิน, ชมพู่ ก่อนบ่าย, แปม ไกอา, สงกรานต์ The Voice, เสนาหอย, ซาร่า AF, หนึ่ง จักรวาล, กันต์ กันตถาวร, วงรูม 39, น้องพรีม The Voice Kids
2556 - 2557 ร้อยบรรเลง เพลงพวงร้อย ธนชัย อุชชิน, ธีรนัยน์ ณ หนองคาย, กิตตินันท์ ชินสำราญ, ปิยะรัฐ กัลย์จาฤก, กรวิช เทพหัสดิน ณ อยุธยา, พิจิกา จิตตะปุตตะ, ดวงพร พงศ์ผาสุก, สาธิดา พรหมพิริยะ พระที่นั่งเทวราชสภารมย์ พระราชวังพญาไท (2556)
หอประชุมใหญ่ ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย (2557)
2557 ศรีพัชรินทรา คีตาภิรมย์ ธีรนัยน์ ณ หนองคาย, กิตตินันท์ ชินสำราญ พระที่นั่งเทวราชสภารมย์ พระราชวังพญาไท
2555 สามชายกับสายน้ำ เธียเตอร์ คอนเสิร์ต โรงละคร Black box
2555 OMG The Power of Love Concert บี พีรพัฒน์, ลิเดีย, มัม ลาโคนิคส์, พันกร บุณยะจินดา และ จักรวาล เสาธงยุติธรรม เพลย์เฮาส์ เซ็นทรัลเวิลด์
2554 BSO บรรเลง สุนทราภรณ์ หอประชุมใหญ่ ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย
2553 ดนตรีในสวน ครั้งที่ 18
2553 The Famous Five A Tribute to Hydra Concert นครินทร์ กิ่งศักดิ์, ธนา ลวสุต, พันกร บุณยะจินดา, สุนิสา สุขบุญสังข์, ETC, บุรินทร์ GROOVE RIDERS และ โมเดิร์นด็อก อินดอร์ สเตเดียม หัวหมาก
2552 Touch Me Concert ปาล์มมี่, เบน ชลาทิศ, อาภาพร นครสวรรค์, มัม ลาโคนิคส์, ETC, ภัครมัย โปตระนันท์
2552 Be a Woman Concert นันทิดา แก้วบัวสาย, วิยะดา โกมารกุล ณ นคร, รัดเกล้า อามระดิษ, สุธาสินี พุทธินันท์ และ มัม ลาโคนิคส์ รอยัล พารากอน ฮอลล์

พิธีกร

[แก้]

ผลงานการพากย์

[แก้]
  • พากย์เสียงร้องภาษาไทยเป็น โอลาฟ จากเรื่องต่อไปนี้
  • พากย์เสียงรายการ Let Me in Thailand Season 4 Reborn (เทปผู้ชาย)

ผลงานอ่านข่าว

[แก้]

ดีเจ

[แก้]
  • 103 FM Like music station ทุกวันจันทร์–ศุกร์ 13.00 - 16.00

รางวัล

[แก้]

รางวัลจากการประกวดร้องเพลง

  • ปี พ.ศ. 2546 : รางวัลชนะเลิศการประกวดร้องเพลงงาน ศาลาเฉลิมกรุงสืบสานตำนานเพลง ครั้งที่ 3 โดยได้รับถ้วยพระราชทานจากสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี
  • ปี พ.ศ. 2546 : รางวัลชนะเลิศการประกวดร้องเพลงงาน Fashion Island Kid and Teen Music Challenge 2003 โดยได้รับถ้วยประทานจากหม่อมเจ้าสิริวัณวรี มหิดล
  • ปี พ.ศ. 2547 : รางวัลชนะเลิศการประกวดร้องเพลงงาน Bangkok Music Award 2004 จัดโดยกรุงเทพมหานคร
  • ปี พ.ศ. 2548 : รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1 และ รางวัล Popular Vote จากการประกวดร้องเพลงงาน Style by Toyota It's You จากบทเพลง "ฉันไม่ใช่" ซึ่งแต่งโดย คุณเชษฐา ยารถเอก จากค่ายเพลง Warner Music Thailand
  • ปี พ.ศ. 2552 : รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1 และ รางวัล Popular Vote จากการประกวด KPN Award Thailand Sining Contest 2009

รางวัลด้านอื่นๆ

  • ปี พ.ศ. 2560 : รางวัลพระกินรี ครั้ง7 ในฐานะ นักแสดง เวิร์คพอยท์ ในวันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2560 ณ ศูนย์ประชุม สถาบันวิชัยจุฬาภรณ์ กรุงเทพฯ
  • ปี พ.ศ. 2561 : รางวัลผู้ใช้ภาษาไทยดีเด่น ในวันภาษาไทยแห่งชาติ ในวันที่ 29 กรกฎาคม 2561 ณ หอประชุมใหญ่ ศูนย์วัฒนธรรมแห่ง ประเทศไทย
  • ปี พ.ศ. 2562 : รางวัลผู้ประกาศข่าวหรือพิธีกรรายการข่าวชายที่สุดแห่งปี 2018 จากงาน Dara Daily Awards ครั้งที่ 8
  • ปี พ.ศ. 2562 : รางวัลผู้ประกาศข่าวดาวรุ่งดีเด่น ประเภทสื่อมวลชน ประจำปี 2562 จากงานวันเยาวชนแห่งชาติ ปี 2562
  • ปี พ.ศ. 2566 : รางวัลเทพทองครั้งที่ 21 ประเภทบุคคลดีเด่นด้านวิทยุโทรทัศน์ โดยสมาคมนักวิทยุและโทรทัศน์แห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์[1]

อ้างอิง

[แก้]
  1. "คนบันเทิง องค์กรดีเด่น เตรียมเข้ารับพระราชทานรางวัล "เทพทอง" ครั้งที่ 21 (มีคลิป)". thenews4news. 2023-04-10. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2023-05-17. สืบค้นเมื่อ 2023-05-17.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]