ข้ามไปเนื้อหา

ผลต่างระหว่างรุ่นของ "เรขาคณิต"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Sian54 (คุย | ส่วนร่วม)
ย้อนกลับไปรุ่นที่ 7369461 โดย 202.29.183.147ด้วยสจห.
ป้ายระบุ: ทำกลับ
Prame tan (คุย | ส่วนร่วม)
เพิ่มเนื้อหาส่วนสำคัญในเรขาคณิต
บรรทัด 1: บรรทัด 1:
{{สั้นมาก}}
{{สั้นมาก}}
'''เรขาคณิต''' ({{lang-en|Geometry}} ; [[ภาษากรีก|กรีก]]: γεωμετρία ; geo = พื้นดิน/โลก, metria = วัด) เป็นสาขาความรู้ที่เกี่ยวข้องกับความสัมพันธ์เชิงตำแหน่ง เรขาคณิตเป็นหนึ่งในสองสาขาของ[[คณิตศาสตร์]]ก่อนยุคใหม่, โดยอีกสาขานั้นคือสาขา[[ทฤษฎีจำนวน]] ซึ่งศึกษาเกี่ยวกับ[[จำนวน]]
'''เรขาคณิต''' ({{lang-en|Geometry}} ; [[ภาษากรีก|กรีก]]: γεωμετρία ; geo = พื้นดิน/โลก, metria = วัด) เป็นสาขาความรู้ที่เกี่ยวข้องกับ[[รูปทรง]] [[รูปร่าง]] ขนาดและตำแหน่งของวัตถุใน[[ปริภูมิ]]<ref>{{Cite web|title=Geometry - Encyclopedia of Mathematics|url=https://encyclopediaofmath.org/wiki/Geometry|website=encyclopediaofmath.org}}</ref> เรขาคณิตเป็นหนึ่งในสองสาขาของ[[คณิตศาสตร์]]ก่อนยุคใหม่, โดยอีกสาขานั้นคือสาขา[[ทฤษฎีจำนวน]] ซึ่งศึกษาเกี่ยวกับ[[จำนวนเต็ม]]


[[เรขาคณิตแบบยุคลิด]]เป็นเรขาคณิตที่นิยมศึกษากันมากที่สุดในช่วงก่อนคริสตศตวรรษที่ 19 เรขาคณิตแบบของยุคลิดศึกษาเรขาคณิตบนระนาบ และเรขาคณิตในปริภูมิสามมิติ โดยมี [[จุด]] [[เส้น]] [[ระนาบ]] [[ระยะทาง]] [[มุม]] [[พื้นผิว]] และ[[ความโค้ง]]เป็นพื้นฐาน ในขณะที่ความก้าวหน้าในการเขียนภาพทำให้เกิดสาขา[[เรขาคณิตโพรเจกทีฟ]] ขึ้นมา<ref name="Stillwell">{{cite book |last1=Stillwell |first1=John |title=Mathematics and Its History |publisher=Springer International Publishing |isbn=978-3-030-55192-6 }}</ref>{{rp|127-130}}

ในช่วงคริสตศตวรรษที่ 19 มีการค้นพบใหม่ ๆ ที่ขยายสาขาเรขาคณิตออกไปโดยกว้าง หนึ่งในนั้นคือ [[Theorema Egregium]] หรือ ''ทฤษฎีบทอันน่าทึ่ง'' โดย [[คาร์ล ฟรีดริช เกาส์]] ซึ่งกล่าวโดยคร่าวว่า [[ความโค้งเกาส์เซียน]] ของพื้นผิวสามารถวัดได้จากบนพื้นผิวนั้น และไม่ขึ้นอยู่กับปริภูมิที่พื้นผิวนั้นอยู่ใน<ref>{{cite book |last1=McCleary |first1=John |title=Geometry from a Differentiable Viewpoint |publisher=Cambridge University Press |isbn=9781139022248 |page=174, 176 |edition=2}}</ref>

ในช่วงหลังของคริสตศตวรรษที่ 19 มีการค้นพบเรขาคณิตในรูปแบบอื่นที่นอกเหนือไปจากเรขาคณิตแบบยุคลิดโดยปฏิเสธ[[สัจพจน์เส้นขนาน]]ของยุคลิด ผ่านงานของ [[นิโคไล อิวาโนวิช โลบาเชฟสกี]] และ [[ยานอส โบลไย]] ปัจจุบันเรียกเรขาคณิตที่ไม่มีสัจพจน์เส้นขนานว่า [[เรขาคณิตแบบไม่ยุคลิด]]<ref name="Stillwell"/>{{rp|359-365}} เรขาคณิตที่ใช้ใน[[ทฤษฎีสัมพัทธภาพ]]ของ[[ไอน์สไตน์|อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์]] เป็นเรขาคณิตแบบไม่ยุคลิดซึ่งมีชื่อเสียงที่สุด<ref>{{cite book |last1=Carmeli |first1=Moshe |title=Relativity: Modern Large-Scale Structures of the Cosmos |date=2008 |publisher=World Scientific Publishing |page=92-93}}</ref>

ในปัจจุบันเรขาคณิตได้ขยายออกไปกว้างขวางมาก และแบ่งย่อยออกไปตามเครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาปัญหาทางเรขาคณิต ตัวอย่างเช่น [[เรขาคณิตเชิงอนุพันธ์]] [[เรขาคณิตเชิงพีชคณิต]] [[เรขาคณิตเชิงคณนา]] และ [[เรขาคณิตวิยุต]] นอกจากนี้แล้ว เรขาคณิตยังมีบทประยุกต์ในคณิตศาสตร์สาขาอื่น ๆ ที่ดูเหมือนจะไม่เกี่ยวข้องกับเรขาคณิตโดยตรง ตัวอย่างที่เป็นที่รู้จักคือ [[ทฤษฎีบทสุดท้ายของแฟร์มา]] ซึ่ง [[แอนดรูว์ ไวลส์]] ได้พิสูจน์สำเร็จในปี ค.ศ. 1994 บทพิสูจน์ของไวลส์ใช้เครื่องมือทาง[[เรขาคณิตเชิงพีชคณิต]]เป็นหัวใจสำคัญ<ref>https://www.ams.org/publications/journals/notices/201703/rnoti-p209.pdf</ref>

== สาขาของเรขาคณิต ==
=== เรขาคณิตแบบยุคลิด ===
{{main|เรขาคณิตแบบยุคลิด}}
เรขาคณิตแบบยุคลิดเป็นเรขาคณิตแบบคลาสสิค ซึ่งศึกษารูปร่างและรูปทรงที่เป็นไปตามสัจพจน์ที่ริเริ่มโดย[[ยุคลิด]]

=== เรขาคณิตเชิงอนุพันธ์ ===
{{main|เรขาคณิตเชิงอนุพันธ์}}

[[ไฟล์:Hyperbolic triangle.svg|thumb|[[เรขาคณิตเชิงอนุพันธ์]]ใช้เครื่องมือจาก[[แคลคุลัส]]เพื่อศึกษาพื้นผิวและความโค้ง]]
เรขาคณิตเชิงอนุพันธ์มุ่งศึกษาเรขาคณิตของ[[เส้นโค้ง]] [[พื้นผิว]] และ[[แมนิโฟลด์]] โดยอาศัยเครื่องมือและวิธีการจาก [[แคลคุลัสเชิงอนุพันธ์]] หรือ [[แคลคุลัสเชิงปริพันธ์]] เข้าร่วม<ref>{{Cite web|title=Differential geometry - Encyclopedia of Mathematics|url=https://encyclopediaofmath.org/wiki/Differential_geometry|website=encyclopediaofmath.org}}</ref>

=== ทอพอโลยี ===
{{main|ทอพอโลยี}}

ทอพอโลยีเป็นสาขาเกี่ยวข้องกับการส่งต่อเนื่อง และสมบัติของปริภูมิ อาทิ ความเชื่อมโยง และความกระชับ

=== เรขาคณิตเชิงพีชคณิต===
{{main|เรขาคณิตเชิงพีชคณิต}}

เรขาคณิตเชิงพีชคณิตพัฒนามาจากการหาคำตอบของเซตของพหุนามใน[[ระบบพิกัดคาร์ทีเซียน]] เรขาคณิตเชิงพีชคณิตอาศัยเครื่องมือจาก [[เรขาคณิตเชิงโพรเจคทีฟ]] [[เรขาคณิตทวิตรรกยะ]] [[วาไรตีเชิงพีชคณิต]] และ [[พีชคณิตสลับที่]] ซึ่งต่างเป็นสาขาที่เพิ่งสร้างขึ้นในช่วงคริสตศตวรรษที่ 19 เป็นต้นมา ในช่วงท้ายของทศวรรษ 1950 เรขาคณิตเชิงพีชคณิตได้รับการพัฒนาฐานรากจากงานของ [[ฌ็อง-ปีแยร์ แซร์]] และ [[อเล็กซานเดอร์ โกรเธนดีก]] ซึ่งเสนอแนวคิดเรื่อง [[สกีม]] และประยุกต์ใช้วิธีทางทอพอโลยี

บทพิสูจน์[[ทฤษฎีบทสุดท้ายของแฟร์มา]] โดย [[ไวลส์|แอนดรูว์ ไวลส์]] ใช้เครื่องมือขั้นสูงจากเรขาคณิตเชิงพีชคณิตมาแก้ปัญหาใน[[ทฤษฎีจำนวน]]
== รายการอ้างอิง ==
<references />
{{กล่องท้ายเรื่องคณิตศาสตร์}}
{{กล่องท้ายเรื่องคณิตศาสตร์}}



รุ่นแก้ไขเมื่อ 00:31, 6 กุมภาพันธ์ 2564

เรขาคณิต (อังกฤษ: Geometry ; กรีก: γεωμετρία ; geo = พื้นดิน/โลก, metria = วัด) เป็นสาขาความรู้ที่เกี่ยวข้องกับรูปทรง รูปร่าง ขนาดและตำแหน่งของวัตถุในปริภูมิ[1] เรขาคณิตเป็นหนึ่งในสองสาขาของคณิตศาสตร์ก่อนยุคใหม่, โดยอีกสาขานั้นคือสาขาทฤษฎีจำนวน ซึ่งศึกษาเกี่ยวกับจำนวนเต็ม

เรขาคณิตแบบยุคลิดเป็นเรขาคณิตที่นิยมศึกษากันมากที่สุดในช่วงก่อนคริสตศตวรรษที่ 19 เรขาคณิตแบบของยุคลิดศึกษาเรขาคณิตบนระนาบ และเรขาคณิตในปริภูมิสามมิติ โดยมี จุด เส้น ระนาบ ระยะทาง มุม พื้นผิว และความโค้งเป็นพื้นฐาน ในขณะที่ความก้าวหน้าในการเขียนภาพทำให้เกิดสาขาเรขาคณิตโพรเจกทีฟ ขึ้นมา[2]: 127–130 

ในช่วงคริสตศตวรรษที่ 19 มีการค้นพบใหม่ ๆ ที่ขยายสาขาเรขาคณิตออกไปโดยกว้าง หนึ่งในนั้นคือ Theorema Egregium หรือ ทฤษฎีบทอันน่าทึ่ง โดย คาร์ล ฟรีดริช เกาส์ ซึ่งกล่าวโดยคร่าวว่า ความโค้งเกาส์เซียน ของพื้นผิวสามารถวัดได้จากบนพื้นผิวนั้น และไม่ขึ้นอยู่กับปริภูมิที่พื้นผิวนั้นอยู่ใน[3]

ในช่วงหลังของคริสตศตวรรษที่ 19 มีการค้นพบเรขาคณิตในรูปแบบอื่นที่นอกเหนือไปจากเรขาคณิตแบบยุคลิดโดยปฏิเสธสัจพจน์เส้นขนานของยุคลิด ผ่านงานของ นิโคไล อิวาโนวิช โลบาเชฟสกี และ ยานอส โบลไย ปัจจุบันเรียกเรขาคณิตที่ไม่มีสัจพจน์เส้นขนานว่า เรขาคณิตแบบไม่ยุคลิด[2]: 359–365  เรขาคณิตที่ใช้ในทฤษฎีสัมพัทธภาพของอัลเบิร์ต ไอน์สไตน์ เป็นเรขาคณิตแบบไม่ยุคลิดซึ่งมีชื่อเสียงที่สุด[4]

ในปัจจุบันเรขาคณิตได้ขยายออกไปกว้างขวางมาก และแบ่งย่อยออกไปตามเครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาปัญหาทางเรขาคณิต ตัวอย่างเช่น เรขาคณิตเชิงอนุพันธ์ เรขาคณิตเชิงพีชคณิต เรขาคณิตเชิงคณนา และ เรขาคณิตวิยุต นอกจากนี้แล้ว เรขาคณิตยังมีบทประยุกต์ในคณิตศาสตร์สาขาอื่น ๆ ที่ดูเหมือนจะไม่เกี่ยวข้องกับเรขาคณิตโดยตรง ตัวอย่างที่เป็นที่รู้จักคือ ทฤษฎีบทสุดท้ายของแฟร์มา ซึ่ง แอนดรูว์ ไวลส์ ได้พิสูจน์สำเร็จในปี ค.ศ. 1994 บทพิสูจน์ของไวลส์ใช้เครื่องมือทางเรขาคณิตเชิงพีชคณิตเป็นหัวใจสำคัญ[5]

สาขาของเรขาคณิต

เรขาคณิตแบบยุคลิด

เรขาคณิตแบบยุคลิดเป็นเรขาคณิตแบบคลาสสิค ซึ่งศึกษารูปร่างและรูปทรงที่เป็นไปตามสัจพจน์ที่ริเริ่มโดยยุคลิด

เรขาคณิตเชิงอนุพันธ์

เรขาคณิตเชิงอนุพันธ์ใช้เครื่องมือจากแคลคุลัสเพื่อศึกษาพื้นผิวและความโค้ง

เรขาคณิตเชิงอนุพันธ์มุ่งศึกษาเรขาคณิตของเส้นโค้ง พื้นผิว และแมนิโฟลด์ โดยอาศัยเครื่องมือและวิธีการจาก แคลคุลัสเชิงอนุพันธ์ หรือ แคลคุลัสเชิงปริพันธ์ เข้าร่วม[6]

ทอพอโลยี

ทอพอโลยีเป็นสาขาเกี่ยวข้องกับการส่งต่อเนื่อง และสมบัติของปริภูมิ อาทิ ความเชื่อมโยง และความกระชับ

เรขาคณิตเชิงพีชคณิต

เรขาคณิตเชิงพีชคณิตพัฒนามาจากการหาคำตอบของเซตของพหุนามในระบบพิกัดคาร์ทีเซียน เรขาคณิตเชิงพีชคณิตอาศัยเครื่องมือจาก เรขาคณิตเชิงโพรเจคทีฟ เรขาคณิตทวิตรรกยะ วาไรตีเชิงพีชคณิต และ พีชคณิตสลับที่ ซึ่งต่างเป็นสาขาที่เพิ่งสร้างขึ้นในช่วงคริสตศตวรรษที่ 19 เป็นต้นมา ในช่วงท้ายของทศวรรษ 1950 เรขาคณิตเชิงพีชคณิตได้รับการพัฒนาฐานรากจากงานของ ฌ็อง-ปีแยร์ แซร์ และ อเล็กซานเดอร์ โกรเธนดีก ซึ่งเสนอแนวคิดเรื่อง สกีม และประยุกต์ใช้วิธีทางทอพอโลยี

บทพิสูจน์ทฤษฎีบทสุดท้ายของแฟร์มา โดย แอนดรูว์ ไวลส์ ใช้เครื่องมือขั้นสูงจากเรขาคณิตเชิงพีชคณิตมาแก้ปัญหาในทฤษฎีจำนวน

รายการอ้างอิง

  1. "Geometry - Encyclopedia of Mathematics". encyclopediaofmath.org.
  2. 2.0 2.1 Stillwell, John. Mathematics and Its History. Springer International Publishing. ISBN 978-3-030-55192-6.
  3. McCleary, John. Geometry from a Differentiable Viewpoint (2 ed.). Cambridge University Press. p. 174, 176. ISBN 9781139022248.
  4. Carmeli, Moshe (2008). Relativity: Modern Large-Scale Structures of the Cosmos. World Scientific Publishing. p. 92-93.
  5. https://www.ams.org/publications/journals/notices/201703/rnoti-p209.pdf
  6. "Differential geometry - Encyclopedia of Mathematics". encyclopediaofmath.org.