ข้ามไปเนื้อหา

โบโนโบ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

โบโนโบ[1]
ช่วงเวลาที่มีชีวิตอยู่: 1.5–0Ma
สมัยไพลสโตซีนตอนต้น – สมัยโฮโลซีน
เพศผู้ที่ Apenheul Primate Park
สถานะการอนุรักษ์
CITES Appendix I (CITES)[3]
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ แก้ไขการจำแนกนี้
โดเมน: ยูแคริโอต
Eukaryota
อาณาจักร: สัตว์
Animalia
ไฟลัม: สัตว์มีแกนสันหลัง
Chordata
ชั้น: สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม
Mammalia
อันดับ: อันดับวานร
Primates
อันดับย่อย: Haplorhini
Haplorhini
อันดับฐาน: Simiiformes
Simiiformes
วงศ์: ลิงใหญ่
Hominidae
วงศ์ย่อย: โฮมินินี
Homininae
สกุล: Pan
Pan
Schwarz, 1929
สปีชีส์: Pan paniscus
ชื่อทวินาม
Pan paniscus
Schwarz, 1929
แผนที่แสดงการกระจายพันธุ์ของโบโนโบ

โบโนโบ หรือ ชิมแปนซีแคระ (อังกฤษ: bonobo, dwarf chimpanzee, pygmy chimpanzee; ชื่อวิทยาศาสตร์: Pan paniscus)[2]

การค้นพบ

[แก้]

โบโนโบได้รับการอนุกรมวิธานโดยแอ็นสท์ ชวาทซ์ นักสัตววิทยาชาวเยอรมัน ในปี ค.ศ. 1929 หลังจากก่อนหน้านั้น คือ ในปี ค.ศ. 1927 อ็องรี สเคาเตเดิน นักสัตววิทยาชาวเบลเยียมได้ตรวจสอบหัวกะโหลกและหนังสัตว์แปลกประหลาดชนิดหนึ่งซึ่งน่าจะเป็นชิมแปนซีตัวเมียโตเต็มวัยที่ได้มาจากเบลเจียนคองโก ชวาทซ์ได้ไปเยือนพิพิธภัณฑ์ของสเคาเตเดิน และได้ทำการวัดขนาดกะโหลกและตัวอย่างอีก 2 หัว ก่อนสรุปว่าเป็นชิมแปนซี หรือเอปชนิดใหม่ของโลก ซึ่งจะพบได้เฉพาะฝั่งซ้ายหรือตอนใต้ของแม่น้ำคองโกเท่านั้น[4]

ลักษณะและพฤติกรรม

[แก้]

โบโนโบเป็นลิงไม่มีหางที่นักวิทยาศาสตร์เชื่อกันว่ามีวิวัฒนาการใกล้เคียงมนุษย์มากที่สุด โดยมีบรรพบุรุษร่วมกันก่อนจะมาแยกสายวิวัฒนาการ โดยมีดีเอ็นเอเหมือนกับมนุษย์ถึงร้อยละ 90 โบโนโบมีลักษณะทั่วไปเหมือนกับชิมแปนซี ที่อยู่ในสกุลเดียวกัน แต่มีขนาดเล็กกว่ามาก และมีถิ่นที่อยู่อาศัยจำกัดกว่า และมีพฤติกรรมรักสงบ ไม่ก้าวร้าวหรือล่าลิงชนิดอื่นกินเป็นอาหารเหมือนชิมแปนซี[5]

โบโนโบมีส่วนหัวที่เล็กกว่าชิมแปนซีเมื่อเทียบกับขนาดตัว มีรูปร่างที่เพรียวและแขนยาวกว่า อย่างไรก็ตามทั้งตัวผู้และตัวเมียเมื่อโตเต็มที่จะมีขนาดพอ ๆ กับชิมแปนซีตัวเมีย ซึ่งโบโนโบได้แยกสายวิวัฒนาการมาจากชิมแปนซีเมื่อกว่า 900,000 ปี ถึง 1.5 ล้านปีก่อน [4] จากการที่แม่น้ำคองโกได้ถือกำเนิดขึ้น ทำให้ตัดขาดความสัมพันธ์ซึ่งกันและกัน[6] ได้มีการศึกษาพบว่า โบโนโบเป็นสิ่งมีชีวิตเพียงชนิดเดียวที่ไม่ใช่มนุษย์ ที่สามารถแสดงออกทางความรักและมีพฤติกรรมทางเพศได้เหมือนมนุษย์ เช่น การจูบ, การออรัลเซ็กส์ หรือแม้แต่การผสมพันธุ์แบบหันหน้าเข้าหากัน[7] และยังพบว่ามีพฤติกรรมผสมพันธุ์เพื่อที่จะแลกเปลี่ยนอาหารกัน แทนที่จะต่อสู้แย่งชิงกันแบบสัตว์ชนิดอื่น[8] หรือแม้แต่การใช้อวัยวะเพศที่ขยายใหญ่กว่าปกติเสียดสีกันไปมาของตัวเมียในช่วงวัยเจริญพันธุ์เพื่อแสดงออกถึงความผูกพันฉันพี่น้องกันด้วย[4]

ที่อยู่อาศัย

[แก้]

อยู่อาศัยในตอนกลางของทวีปแอฟริกา พบในเขตสาธารณรัฐประชาธิปไตยคองโกเพียงประเทศเดียวในโลก พบในธรรมชาติเพียง 5,000 ตัว[9] จัดอยู่ในกลุ่มสิ่งมีชีวิตใกล้สูญพันธุ์

ปัจจุบันสาธารณรัฐประชาธิปไตยคองโกมีพื้นที่อนุรักษ์ซึ่งเป็นป่าดงดิบที่ใหญ่ที่สุดในทวีปแอฟริกา คิดเป็นร้อยละ 8 และต้องการเพิ่มเป็นร้อยละ 10 และร้อยละ 15 ในที่สุด โดยรัฐบาลสาธารณรัฐประชาธิปไตยคองโกต้องการป้องกันการทำลายป่าในพื้นที่ลุ่มคองโกด้วย

การผสมข้ามพันธุ์กับชิมแปนซี

[แก้]

นักวิจัยพบว่าทั้งชิมแปนซีกลาง (Pan troglodytes troglodytes) และ ชิมแปนซีตะวันออก (Pan troglodytes schweinfurthii) มีสารพันธุกรรมร่วมกับโบโนโบมากกว่าลิงชิมแปนซีชนิดย่อยอื่น ๆ[10] เชื่อกันว่า ส่วนผสมทางพันธุกรรมเกิดขึ้นอย่างน้อยสองครั้งภายใน 550,000 ปีที่ผ่านมา[11] ในปัจจุบัน การผสมพันธุ์ระหว่างโบโนโบและชิมแปนซีในป่าถูกขวาง เนื่องจากประชากรมีการเกิดสปีชีส์ต่างบริเวณและถูกแยกออกจากฝั่งต่างๆ ของแม่น้ำคองโก[12]

ภายในสวนสัตว์ มีการบันทึกลูกผสมระหว่างโบโนโบและชิมแปนซี ระหว่างปี 1990 ถึง 1992 มีการตั้งครรภ์ 5 ครั้งและศึกษาระหว่างโบโนโบตัวผู้กับชิมแปนซีตัวเมีย 2 ตัว การตั้งครรภ์ครั้งแรก ทั้งสองตัวแท้งลูกเนื่องจากแรงกดดันด้านสิ่งแวดล้อม การตั้งครรภ์สามครั้งต่อไปนี้นำไปสู่การเกิดของลูกผสมสามตัว[13]

ลูกผสมระหว่างโบโนโบและชิมแปนซีชื่อ Tiby ยังได้แสดงในภาพยนตร์สวีเดนปี 2017 อาร์ต ตัวแม่งงงงงง[14]

อ้างอิง

[แก้]
  1. Groves, C. (2005-11-16). Wilson, D. E.; Reeder, D. M. (บ.ก.). Mammal Species of the World (3rd ed.). Johns Hopkins University Press. p. 183. ISBN 0-801-88221-4.
  2. 2.0 2.1 Fruth B, Hickey JR, André C, Furuichi T, Hart J, Hart T, Kuehl H, Maisels F, Nackoney J, Reinartz G, Sop T, Thompson J, Williamson EA (2016) [errata version of 2016 assessment]. "Pan paniscus". IUCN Red List of Threatened Species. 2016: e.T15932A102331567.
  3. "Appendices | CITES". cites.org. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-12-05. สืบค้นเมื่อ 2022-01-14.
  4. 4.0 4.1 4.2 แกะรอยเอปในตำนาน, คอลัมน์ เรื่องเล่าจากต่างแดน โดย นิตยสารเนชั่นแนล จีโอกราฟิก ฉบับภาษาไทยเดือนมีนาคม หน้า 22: เดลินิวส์ ฉบับที่ 23,173 ประจำวันอาทิตย์ที่ 24 มีนาคม พ.ศ. 2556 ขึ้น 13 ค่ำ เดือน 4 ปีมะโรง
  5. โบโนโบ สายพันธุ์ใกล้เคียงมนุษย์ที่สุด เสี่ยงสูญพันธุ์ จากประชาชาติธุรกิจ
  6. "สารคดี BBC : เปิดโลกกว้างแอฟริกา ตอนที่ 10 คลิป 1/2". ช่อง 7. 28 November 2014. สืบค้นเมื่อ 30 November 2014.
  7. โบโนโบ้
  8. พฤติกรรมรักร่วมเพศในสัตว์[ลิงก์เสีย]
  9. "คองโกจัดเขตอนุรักษ์โบโนโบ". เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-12-09. สืบค้นเมื่อ 2012-12-09.
  10. Owens, Brian (2016-10-27). "Chimps and bonobos interbred and exchanged genes". New Scientist. สืบค้นเมื่อ 2022-04-06.
  11. "Ancient interbreeding between chimpanzees and bonobos". cnag.crg.eu. 2022-04-06. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-12-31. สืบค้นเมื่อ 2022-04-06.
  12. Jewett, Katie (2017-04-25). "The Great Divide". www.biographic.com. สืบค้นเมื่อ 2022-04-06.
  13. Vervaecke, Hilde; Elsacker, L. van (1992). "Hybrids between common chimpanzees (Pan troglodytes) and pygmy chimpanzees (Pan paniscus) in captivity". Mammalia. 56 (4): 667–669. ISSN 1864-1547. สืบค้นเมื่อ 2023-12-01.
  14. Foundation, Arcus (2021-04-29). Killing, Capture, Trade and Ape Conservation: Volume 4. Cambridge University Press. p. 111. ISBN 9781108487948.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]