แอ็นสท์ รุสคา

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
แอ็นสท์ รุสคา
เกิดแอ็นสท์ เอากุสท์ ฟรีดริช รุสคา
25 ธันวาคม ค.ศ. 1906(1906-12-25)
ไฮเดิลแบร์ค, จักรวรรดิเยอรมัน
เสียชีวิต27 พฤษภาคม ค.ศ. 1988(1988-05-27) (81 ปี)
เบอร์ลินตะวันตก, เยอรมนี
สัญชาติเยอรมัน
ศิษย์เก่ามหาวิทยาลัยเทคนิคมิวนิก
มีชื่อเสียงจากประดิษฐ์กล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอน
รางวัลรางวัลแอลเบิร์ต แลสเกอร์สำหรับการวิจัยพื้นฐานทางการแพทย์ (ค.ศ. 1960)
รางวัลและเหรียญดัดเดล (ค.ศ. 1975)
รางวัลโรแบร์ท ค็อค (ค.ศ. 1986)
รางวัลโนเบลสาขาฟิสิกส์ (ค.ศ. 1986)
อาชีพทางวิทยาศาสตร์
สาขาฟิสิกส์
สถาบันที่ทำงานสถาบันฟริทซ์ ฮาเบอร์
มหาวิทยาลัยเทคนิคเบอร์ลิน
อาจารย์ที่ปรึกษาในระดับปริญญาเอกมัคส์ คน็อล
กล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนที่สร้างโดยรุสคาในปี ค.ศ. 1933

แอ็นสท์ เอากุสท์ ฟรีดริช รุสคา (เยอรมัน: Ernst August Friedrich Ruska; 25 ธันวาคม ค.ศ. 1906 – 27 พฤษภาคม ค.ศ. 1988) เป็นนักฟิสิกส์ชาวเยอรมัน เกิดที่เมืองไฮเดิลแบร์ค และเรียนที่มหาวิทยาลัยเทคนิคมิวนิก หลังเข้าทำงานที่มหาวิทยาลัยเทคนิคแห่งเบอร์ลิน รุสคาได้ตั้งข้อสังเกตว่ากล้องจุลทรรศน์ที่ใช้อิเล็กตรอนจะให้รายละเอียดของภาพมากกว่าชนิดที่ใช้แสง เขาและมัคส์ คน็อล จึงได้ร่วมกันสร้างกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนขึ้น[1] ต่อมารุสคาได้ร่วมงานกับบริษัทซีเมนส์ ซึ่งมีส่วนในการพัฒนากล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนในเชิงพาณิชย์ ในปี ค.ศ. 1955 เขาดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการฝ่ายจุลทรรศนศาสตร์ของสถาบันฟริทซ์ ฮาเบอร์[2] และเป็นศาสตราจารย์ที่มหาวิทยาลัยเทคนิคเบอร์ลิน[3] รุสคาได้รับรางวัลแลสเกอร์ในปี ค.ศ. 1960 และในปี ค.ศ. 1986 เขาได้รับรางวัลโนเบลสาขาฟิสิกส์ร่วมกับแกร์ท บินนิช และไฮน์ริช โรเรอร์[4] รุสคาเสียชีวิตที่เบอร์ลินตะวันตกในอีก 2 ปีต่อมา

อ้างอิง[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]