ข้ามไปเนื้อหา

เอฟ 16 ราชานนท์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เอฟ 16 ราชานนท์
เกิดวรวุฒิ ภักดีพินิจ
14 สิงหาคม พ.ศ. 2534 (33 ปี)
เอฟ 16 กับพี่เลี้ยงในช่วงพักยก

เอฟ 16 ราชานนท์ ชื่อเล่น โจโจ้ เกิดวันที่ 14 สิงหาคม พ.ศ. 2534[2] เป็นนักมวยไทยชาวไทยที่มีชื่อเสียงของวงการมวยไทย และเป็นแชมป์รุ่นน้ำหนักไม่เกิน 130 ปอนด์ (ซูเปอร์เฟเธอร์เวท) สนามมวยเวทีลุมพินี,[1] แชมป์รุ่น 135 ปอนด์ของไทย[2] รวมถึง เป็นรองแชมป์มวยรอบมาราธอน[3] ชื่อชกของเขาได้มาจากเครื่องบินขับไล่ เอฟ-16 และมีผลงานสร้างชื่อโดยการเอาชนะ ก้องศักดิ์ (เอกบางไทร) ศิษย์บุญมี ที่สนามมวยเวทีลุมพินี[4] ทั้งนี้ เอฟ 16 ยังเคยพบกับคู่ชกอย่าง น้องโอ๋ ไก่ย่างห้าดาวยิม ในรายการศึกยอดวันเผด็จ ที่จัดขึ้นในวันที่ 12 มีนาคม พ.ศ. 2555 ณ เวทีมวยราชดำเนิน[5]

เอฟ 16 มีช่วงแขนเหยียด 166 เซนติเมตร ช่วงขา 85 เซนติเมตร และรอบอก 98 เซนติเมตร[6] มีครูมวยคนแรกชื่อ ครูคำมูล ชุมพล[7]

ประวัติ

[แก้]

เอฟ 16 ราชานนท์ มีชื่อจริงว่า วรวุฒิ ภักดีพินิจ มีภูมิลำเนาเดิมอยู่ที่ตำบลหนองแวง อำเภอละหานทราย จังหวัดบุรีรัมย์[7] และเป็นบุตรชายของนายเฉลิมพล กับ นางแก้วมณี ภักดีพินิจ เขาได้เริ่มหัดมวยครั้งแรกเมื่ออายุได้ 9 ปี โดยใช้ชื่อ ก้องชายแดน ส.พรานชุมพล และได้รับค่าตัวในการชกครั้งแรก 100 บาท[2] ในเวลาต่อมา เขาได้พบกับคู่ชกอย่าง อรัญชัย เกียรติภัทรพรรณ[8] โดยเอฟ 16 เป็นฝ่ายแพ้คะแนนเนื่องจากมีเวลาซ้อมเพียงไม่กี่วัน จึงยังไม่มีความสมบูรณ์ในการเตรียมตัว[9] ปัจจุบัน เอฟ 16 ราชานนท์ มี น.ต.วิชัย ราชานนท์ เป็นหัวหน้าคณะและผู้จัดการ และเอฟ 16 ได้รับค่าตัว 7 หมื่นบาทในการแข่งขันเมื่อครั้งที่เป็นฝ่ายชนะ ก้องศักดิ์ (เอกบางไทร) ศิษย์บุญมี[2] ที่สนามมวยเวทีลุมพินี[4]

เขายังได้ร่วมแข่งขันในรายการแข่งขันมวยไทยการกุศลชิงถ้วยพระราชทานจากสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ในวันที่ 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2554 โดยได้พบกับ น้องโอ๋ ไก่ย่างห้าดาวยิม ซึ่งเป็นรายการใหญ่ในรอบหลายปี ที่เวทีมวยราชดำเนิน[10] นอกจากนี้ เอฟ 16 ได้รับเลือกเป็นหนึ่งในนักมวยไทยที่เข้าร่วมแข่งขันในรายการศึกเพชรยินดี ที่จัดขึ้นในวันที่ 7 ตุลาคม พ.ศ. 2554 ที่สนามมวยเวทีลุมพินี[11] โดยได้พบกับ น้องโอ๋ ไก่ย่างห้าดาวยิม อีกครั้งหนึ่ง ซึ่งการแข่งขันในครั้งนี้ เอฟ 16 เป็นฝ่ายชนะคะแนน[12][13] และการแข่งขันในครั้งนี้ สามารถทำยอดเก็บค่าผ่านประตูได้ 1,895,600 บาท[14]

ทั้งนี้ เขายังได้รับการบันทึกผลการชกเมื่อเดือนกันยายน พ.ศ. 2554 จากเข้าร่วมแข่งขันในสนามมวยเวทีลุมพินี 5 ครั้งที่ผ่านมา ซึ่งเขาได้พบกับ ตุ๊กตาทอง เพชรพญาไท, ไตรจักร ศิษย์จอมไตร, น้องโอ๋ ไก่ย่างห้าดาวยิม, ก้องศักดิ์ ศิษย์บุญมี (2 ครั้ง) จากสถิตินี้ ได้มีการระบุว่าเขาเป็นฝ่ายชนะคะแนนมาโดยตลอด[6] และในวันที่ 9 ธันวาคม พ.ศ. 2554 เอฟ 16 ได้พบกับ สิงห์ดำ เกียรติหมู่ 9 ในการจัดการแข่งขัน ศึกลุมพินีแชมเปี้ยนเกริกไกร ซึ่งเป็นการฉลองครอบรอบ 55 ปีของสนามมวยเวทีลุมพินี[15] โดยเอฟ 16 เป็นฝ่ายแพ้ทีเคโอในยกที่ 5 และยอดรวมค่าผ่านประตูของการแข่งขันรายการนี้อยู่ที่ 2,115,100 บาท[16]

ปัจจุบัน เอฟ 16 มีค่าตัวอยู่ที่กว่า 1 แสนบาทต่อไฟท์ รวมถึงเป็นนักมวยไทยที่สร้างแรงดลบันดาลใจให้แก่นักมวยไทยเยาวชนร่วมค่ายหลายราย ด้วยแรงจูงใจด้านความเก่งกาจรวมถึงเงินที่ได้รับ[17]

ชีวิตส่วนตัว

[แก้]

เอฟ 16 เป็นนักมวยไทยที่ไม่สูบบุหรี่ รวมถึงเป็นผู้ที่ชอบในกีฬาตะกร้อกับฟุตบอล ซึ่งเขาเคยเปิดเผยความประทับใจต่อสโมสรฟุตบอลลิเวอร์พูล รวมถึงนักฟุตบอล หลุยส์ ซัวเรซ ให้กับทางสื่อข่าวมาแล้วครั้งหนึ่ง[18] ทั้งนี้ เอฟ 16 เคยศึกษาที่คณะเทคโนโลยีการสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยรามคำแหง[2] และได้ศึกษาต่อที่โรงเรียนพลตำรวจในภายหลัง[7] รวมถึงที่มหาวิทยาลัยรัตนบัณฑิต (อาร์แบค)[18]

สถิติการชก

[แก้]

พ.ศ. 2554 [7]

[แก้]
วันที่ ผล คู่ชก สถานที่จัด วิธีชนะ
11 ม.ค. 2554 แพ้ ปานเพชร ช.ณ พัทลุง สนามมวยเวทีลุมพินี คะแนนตัดสิน
1 มี.ค. 2554 ชนะ อรัญชัย เกียรติภัทรพรรณ สนามมวยเวทีลุมพินี คะแนนตัดสิน
2 เม.ย. 2554 ชนะ อรัญชัย เกียรติภัทรพรรณ เวทีมวยอ้อมน้อย คะแนนตัดสิน
3 พ.ค. 2554 ชนะ ตุ๊กตาทอง เพชรพญาไท สนามมวยเวทีลุมพินี คะแนนตัดสิน
26 พ.ค. 2554 ชนะ ไตรจักร ศิษย์จอมไตร เวทีมวยราชดำเนิน คะแนนตัดสิน
7 ก.ค. 2554 ชนะ น้องโอ๋ ไก่ย่างห้าดาวยิม เวทีมวยราชดำเนิน คะแนนตัดสิน
2 ส.ค. 2554 แพ้ ก้องศักดิ์ ศิษย์บุญมี สนามมวยเวทีลุมพินี คะแนนตัดสิน
6 ก.ย. 2554 ชนะ ก้องศักดิ์ ศิษย์บุญมี สนามมวยเวทีลุมพินี คะแนนตัดสิน
7 ต.ค. 2554 ชนะ น้องโอ๋ ไก่ย่างห้าดาวยิม สนามมวยเวทีลุมพินี คะแนนตัดสิน
9 ธ.ค. 2554 แพ้ สิงห์ดำ เกียรติหมู่ 9 สนามมวยเวทีลุมพินี ทีเคโอ[16]

อ้างอิง

[แก้]
  1. 1.0 1.1 แชมป์. ปีที่ 29 ฉบับที่ 1514. วันศุกร์ที่ 21 ตุลาคม 2554. ISSN 0858-1193. หน้า 32
  2. 2.0 2.1 2.2 2.3 2.4 50 คำตอบมวยดัง. น็อกเอาต์ฉบับมวยสยาม. ปีที่ 23 ฉบับที่ 1980. วันที่ 28 ก.ย.-4 ต.ค. 2554. ISSN 1513-5438. หน้า 24
  3. 10 ยอดมวยแห่งสยามปี 2554. มวยสยามรายวัน. ปีที่ 19 ฉบับที่ 6695. วันพฤหัสบดีที่ 29 ธันวาคม พ.ศ. 2554. หน้า 17
  4. 4.0 4.1 "F-16 rises up to down champion Kongsak". Bangkok Post (ภาษาอังกฤษ). 11 กันยายน 2011. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 21 กรกฎาคม 2012.
  5. มวยสยามรายวัน. ปีที่ 19 ฉบับที่ 6764. วันพุธที่ 7 มีนาคม พ.ศ. 2555. หน้า 22
  6. 6.0 6.1 มองต่างมุม. มวยตู้. ปีที่ 26 ฉบับที่ 1311. วันศุกร์ที่ 4 พ.ย. 2554. ISBN 974-90910-7-8. หน้า 8
  7. 7.0 7.1 7.2 7.3 มวยสยามรายวัน. ปีที่ 19 ฉบับที่ 6669. วันเสาร์ที่ 3 ธันวาคม พ.ศ. 2554. หน้า 16
  8. "ชี้มวยเด็ด 09/09/53". ไทยรัฐ. 9 กันยายน 2010.
  9. ""เอฟ16" ขอเอาคืนทบต้นทบดอก". มวยไทย2000. 23 กันยายน 2010. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 9 กันยายน 2012.
  10. ระเบิดมวยไทยการกุศลชิงถ้วยพระเทพฯ 7 ก.ค.
  11. สยามกีฬารายวัน. ปีที่ 27 ฉบับที่ 9693. วันเสาร์ที่ 17 กันยายน พ.ศ. 2554. หน้า 13
  12. เอฟ 16 โค่นน้องโอ๋ที่ ลพน.
  13. มวยสยามรายวัน. ปีที่ 19 ฉบับที่ 6613. วันเสาร์ที่ 8 ตุลาคม พ.ศ. 2554. หน้า 16, 24
  14. ผลการชกนอกตู้. มวยตู้. ปีที่ 26 ฉบับที่ 1308. วันศุกร์ 14 ต.ค. 2554. ISBN 974-90910-7-8. หน้า 52
  15. "ฉลอง55ปีลุมพินี ดร.พงษ์หนุน'เสี่ยเน้า'จัดยอดมวยป้องกันแชมป์". ไทยรัฐ. 5 ธันวาคม 2011.
  16. 16.0 16.1 มวยสยามรายวัน. ปีที่ 19 ฉบับที่ 6676. วันเสาร์ที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2554. หน้า 27, 28
  17. เจ้าพระยา ท่าพระจันทร์. กีฬา. เนชั่นสุดสัปดาห์. ปีที่ 20 ฉบับที่ 1024. วันที่ 13 มกราคม พ.ศ. 2554. ISSN 1513-5705. หน้า 88
  18. 18.0 18.1 ซีเนียร์. โลกส่วนตัวนักมวยดัง. มวยสยามรายวัน. ปีที่ 19 ฉบับที่ 6897. วันพุธที่ 18 กรกฎาคม พ.ศ. 2555. หน้า 19

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]