เทศมณฑล
บทความนี้อาจต้องการตรวจสอบต้นฉบับ ในด้านไวยากรณ์ รูปแบบการเขียน การเรียบเรียง คุณภาพ หรือการสะกด คุณสามารถช่วยพัฒนาบทความได้ |
เคาน์ตี (county) หรือ เทศมณฑล เป็นหน่วยย่อยของการปกครองในหลายประเทศ มีไว้เพื่อการบริหารท้องถิ่นตลอดจนการอื่นที่จำเป็น[1] คำ เคาน์ตี มาจากภาษาฝรั่งเศสเก่า conté (กงเต) แปลว่าเขตการปกครองภายใต้เจ้าต่างกรมหรือขุนนางระดับเคานต์[2] เคาน์ตีในแต่ละประเทศมีฐานะการปกครองที่แตกต่างกันไม่เป็นแบบเดียวกันเสียทีเดียว จึงต้องพิจารณาถึงฐานะการปกครองเสียก่อนจึงเทียบให้เข้ากับระบบการปกครองของไทย[ต้องการอ้างอิง]
ในสหรัฐอเมริกา เคาน์ตีมักเรียกว่า เทศมณฑล มีฐานะรองลงจากรัฐ (ซึ่งมีรัฐบาลอิสระจากรัฐบาลกลาง) แต่ใหญ่กว่าหมู่บ้านหรือเมือง แต่ในสหราชอาณาจักร เคาน์ตีมีฐานะเป็นจังหวัดที่มีผู้ว่าราชการจังหวัดประจำ รวมทั้งมีสภาจังหวัดและ/หรือสภาอำเภอ (กรมการอำเภอ) ปกครอง ในประเทศต่าง ๆ นอกจากนี้ คำ เคาน์ตี จะหมายถึงหน่วยการปกครองที่แตกต่างกันออกไป (โปรดดูรายละเอียดในบทความ)
ประวัติ
[แก้]เดิมในทวีปยุโรปในอดีต "เคาน์ตี" คือเขตปกครองของ "เคานต์" (อังกฤษ: Count, ฝรั่งเศส: Comte, อิตาลี: Conde, เยอรมัน: Graf) ในอังกฤษ ไอร์แลนด์ และฝรั่งเศส หลังสมัยเคลติกผู้มีตำแหน่งเทียบกับ "เคานต์" บนแผ่นดินใหญ่เรียกว่า "เอิร์ล" เขตปกครองของเคานต์จะสังเกตได้จากการใช้คำนำหน้าชื่อว่าเป็น "County of..." เช่น "County of Cleves" ตัวอย่างของเคาน์ตีในประวัติศาสตร์ก็ ได้แก่ เคาน์ตีเคลเวอในเยอรมนี ถ้าเขตนั้นได้เลื่อนสถานะชื่อเขตก็จะเปลี่ยนตามไปด้วย เช่น เมื่อเคาน์ตีเคลเวอได้รับการเลื่อนฐานะขึ้นเป็นราชรัฐชั้นดัชชี สถานะของเขตก็เปลี่ยนเป็นดัชชีเคลเวอ
ยุโรป
[แก้]สหราชอาณาจักร
[แก้]เคาน์ตีในสหราชอาณาจักร เป็นส่วนย่อยของการปกครองที่เทียบเท่ากับจังหวัดในประเทศไทย ต่างจากเทศมณฑลที่มีฐานะเป็นส่วนย่อยของรัฐเช่นในสหรัฐอเมริกา แต่ละเคาน์ตีอาจแบ่งย่อยออกเป็นอำเภอ (district) และตำบล (civil parish) ได้ตามความเหมาะสม บางเคาน์ตีที่มีประชากรหนาแน่นอาจจะจัดให้เป็นเคาน์ตีในเขตนคร (metropolitan county) ในประเทศอังกฤษมีเคาน์ตีในเขตนครทั้งสิ้น 8 แห่ง (ไม่นับนครหลวงลอนดอน) ได้แก่ เกรตเตอร์แมนเชสเตอร์ เมอร์ซีย์ไซด์ เซาท์ยอร์กเชอร์ ไทน์แอนด์เวียร์ เวสต์มิดแลนด์ และเวสต์ยอร์กเชอร์ ทั้งหมดไม่มีสภาจังหวัดปกครอง มีเฉพาะสภาอำเภอเท่านั้น[3] สภาอำเภอเหล่านี้มีหน้าที่รับผิดชอบการปกครองท้องที่ในทุก ๆ เรื่อง โดยรับมอบอำนาจจากรัฐบาลกลาง
ประเทศอังกฤษมีเคาน์ตีทั้งหมด 48 เคาน์ตี บางเคาน์ตีมีมาแต่โบราณแล้วในขณะที่บางเคาน์ตีเพิ่งเกิดสมัยหลัง[4][5] เช่น เคาน์ตีบริสตอล ซึ่งเกิดจากการยุบและแบ่งส่วนเคาน์ตีเอวอน เมื่อปี พ.ศ. 2539
นอกจากเคาน์ตีในเขตนครแล้ว ยังมีเคาน์ตีนอกเขตนคร (non-metropolitan country) ซึ่งมีประชากรเบาบางลงมาบ้าง ยกตัวอย่างเช่น เคาน์ตีคัมเบรีย ฮาร์ตฟอร์ดเชอร์ นอร์โฟล์ก นอร์แทมป์ตันเชอร์ (หรือนอร์ทแฮมป์ตันเชอร์) ออกซฟอร์ดเชอร์ ซัฟโฟล์ก เซอร์รีย์ วอร์ริกเชอร์ เวสต์ซัสเซกส์ และ วูสเตอร์เชอร์ ฯลฯ เคาน์ตีเหล่านี้แบ่งออกเป็นหลายอำเภอ โดยทั้งจังหวัดและอำเภอมีสภาประจำ ทำหน้าที่ในส่วนที่เติมเต็มซึ่งกันและกัน ดังจะได้แสดงไว้ในตาราง
หน้าที่ | สภาจังหวัด | สภาอำเภอ | เขตปกครองอิสระ |
---|---|---|---|
จัดการศึกษา | |||
อาคารสงเคราะห์ (จัดหาที่อยู่ให้ราษฎร) | |||
ปฏิบัติตามแผนยุทธศาสตร์ | |||
จัดทำแผนยุทธศาสตร์ | |||
จัดทำแผนการคมนาคมขนส่ง | |||
จัดการขนส่งมวลชน | |||
ดูแลทางหลวง | |||
ตรวจตราและดับเพลิงไหม้ | |||
บริการสังคมสงเคราะห์ | |||
บริการห้องสมุดประชาชน | |||
บริการจัดสถานที่พักผ่อนหย่อนใจ (เช่น สวนสาธารณะ สวนริมหาด ฯลฯ) | |||
เก็บและจัดการขยะ | |||
กำจัดน้ำเสียและสิ่งปฏิกูล | |||
ดูแลสุขภาพประชาชนและสิ่งแวดล้อมโดยรวม | |||
จัดเก็บภาษีบำรุงท้องที่ |
เคาน์ตีบางแห่งมีเพียงอำเภอเดียว ได้แก่ บริสตอล เฮริฟอร์ดเชอร์ เกาะไวต์ (หรือไอล์ออฟไวต์ (Isle of Wight)) นอร์ทัมเบอร์แลนด์ และ รัตแลนด์ จึงทำให้เป็นเขตปกครองอิสระ (unitary authority) ไปโดยปริยาย นอกเหนือจากเขตปกครองอิสระที่ยกฐานะจากอำเภอ ทั้งนี้ เคาน์ตีแต่ละแห่งจะมีลอร์ดเลฟเทนันต์ หรือผู้ว่าราชการจังหวัด (Lord Lieutenant) ซึ่งพระมหากษัตริย์จะได้แต่งตั้งให้มาประจำทำหน้าที่ตามพิธีการสำคัญ ในส่วนของประชาชนที่อาศัยก็จะได้เลือกสมาชิกสภาท้องถิ่นและผู้บริหารท้องถิ่นขึ้นแยกต่างหากจากผู้ว่าราชการจังหวัด
บางอำเภอหรือตำบลในเคาน์ตีที่มีประชากรหนาแน่น มักถูกยกฐานะขึ้นเป็นเขตปกครองอิสระเช่นเดียวกับเคาน์ตีที่มีอำเภอเดียว โดยจะมีสถานะเป็นเทศบาลเมือง (town) หรือนคร (city) ซึ่งหากเมืองใดต้องการยกสถานะเป็นนคร จะต้องทำเรื่องทูลเกล้าฯ ถวายพระมหากษัตริย์ผ่านทางกระทรวงมหาดไทย (Home Office) หลักเกณฑ์ที่ใช้พิจารณาได้แก่ จำนวนประชากร ความสำคัญของเมือง และเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมที่โดดเด่น[6] ในอังกฤษเขตปกครองอิสระมักมีอำนาจแยกไปจากเคาน์ตี แต่ยังคงสังกัดอยู่ในเคาน์ตีนั้น เช่น อำเภอไบรตันแอนด์โฮฟ มีสถานะเป็นนครและเขตปกครองพิเศษในเคาน์ตีอีสต์ซัสเซกส์ (ยกฐานะเมื่อ พ.ศ. 2543) แต่ในสกอตแลนด์เขตปกครองพิเศษมักแยกเขตการบริหารออกจากเคาน์ตีต่างหาก (ยกเว้นงานทะเบียนที่ยังขึ้นตรงกับเคาน์ตี) เช่นเอดินบะระ ซึ่งเป็นนครอิสระแต่อยู่ในท้องที่ทะเบียนของเคาน์ตีมิดโลเดียน (Midlothian)
ทั้งนี้ การตระเวนตรวจตราความสงบเรียบร้อยของบ้านเมืองจะกระทำโดยตำรวจ ซึ่งจะสังกัดอยู่กับจังหวัดตำรวจ (constabulary) แยกออกไปต่างหากจากจากเคาน์ตี จังหวัดตำรวจหนึ่งอาจดูแลจังหวัดเดียวหรือหลายจังหวัดก็ได้ ยกตัวอย่างเช่น จังหวัดตำรวจแฮมป์เชอร์ (Hampshire Constabulary) มีหน้าที่ดูแลความสงบเรียบร้อยและป้องปรามอาชญากรรมในเขตเคาน์ตีแฮมป์เชอร์ (Hampshire) และเคาน์ตีเกาะไวต์ (Isle of Wight) จังหวัดตำรวจซัสเซกส์ (Sussex Police) ดูแลทั้งเคาน์ตีเวสต์ซัสเซกส์และอีสต์ซัสเซกส์ จังหวัดตำรวจเอวอนแอนด์ซัมเมอร์เซต (Avon and Somerset Constabulary) ดูแลเคาน์ตีซัมเมอร์เซต เคาน์ตีบริสตอล และบางส่วนทางตอนใต้ของเคาน์ตีกลอสเตอร์เชอร์ (Glocestershire) ส่วนจังหวัดตำรวจเดอแรม (Durham Constabulary) ดูแลเฉพาะเคาน์ตีเดอแรมเท่านั้น
ในทางปฏิบัติและในสื่อหลายแขนงไม่เว้นแม้แต่ตำราเรียน เคาน์ตีในสหราชอาณาจักรนิยมเรียกว่า แคว้น'[7][8] และบางทีก็เรียก เขต[9][10] มากกว่าจะใช้ เทศมณฑล
อเมริกา
[แก้]แคนาดา
[แก้]แคนาดาแบ่งส่วนย่อยของการปกครองออกเป็นรัฐ (province) แต่ละรัฐจะมีอำนาจอิสระในพื้นที่ของตน เช่นเดียวกับสหรัฐอเมริกา ส่วนย่อยของรัฐนั้นจะแตกต่างกันออกไปไม่เหมือนกัน ในบรรดาสิบรัฐของแคนาดา มีห้ารัฐที่ใช้เคาน์ตี หรือ "เทศมณฑล" เรียกส่วนย่อยของตน ในจำนวนนี้ได้แก่รัฐนิวบรันสวิก รัฐโนวาสโกเชีย รัฐออนแทริโอ รัฐควิเบก รัฐเกาะเจ้าชายเอ็ดเวิร์ด หรือปรินซ์เอ็ดเวิร์ดไอแลนด์
นอกจากห้ารัฐที่มีส่วนย่อยเป็น "เคาน์ตี" แล้ว บางรัฐก็ใช้คำว่าดิสทริก (district) หรือ "อำเภอ" แทน เช่น รัฐแอลเบอร์ตา ซึ่งประกาศให้จัดส่วนย่อยเป็นอำเภอเมื่อ พ.ศ. 2537[11]
สหรัฐ
[แก้]เคาน์ตีเป็นหน่วยย่อยการปกครองของสหรัฐอเมริกาซึ่งมีขนาดเล็กกว่ารัฐ (อันเป็นอิสระจากรัฐบาลกลาง) แต่ละรัฐมีจำนวนเคาน์ตีที่แตกต่างกัน เช่นรัฐเท็กซัส มีเคาน์ตี 254 แห่ง ส่วนรัฐเดลาแวร์ มีเพียง 3 แห่ง[12] ทั้งนี้รัฐลุยเซียนา เรียกชื่อเคาน์ตีว่าแพริช (parish) ส่วนรัฐอะแลสกา เรียกเคาน์ตีว่าบะระหรือโบโรฮ์ (borough) เคาน์ตีมีหน้าที่การบริหารรัฐกิจตามที่ได้รับมอบหมายจากรัฐบาลแห่งรัฐนั้น ๆ[13] เคาน์ตีแต่ละแห่งจะมีเมืองหลวง (county/borough/parish seat) เป็นที่ตั้งของศาลากลาง นอกเหนือจากนั้น เคาน์ตียังแบ่งย่อยออกเป็นทาวน์ชิป (township) หรือเมือง (town) ทำหน้าที่กำกับดูแลทุกข์สุขของประชาชน
เมืองบางเมืองในสหรัฐอเมริกา โดยเฉพาะในรัฐเวอร์จิเนีย รัฐแมรีแลนด์ รัฐมิสซูรี และรัฐเนวาดา อาจเป็นนครอิสระ (independent city) ซึ่งมีฐานะเทียบเท่ากับเคาน์ตี[14]
รัฐนิวยอร์กมีเคาน์ตีทั้งสิ้น 62 แห่ง ในจำนวนนี้ 57 แห่ง เป็นเคาน์ตีที่ขึ้นตรงต่อรัฐ ที่เหลืออีกห้าแห่ง ได้แก่ แมนฮัตตัน เดอะบรอนซ์ ควีนส์ บรุกลิน และสเตเทนไอแลนด์ (Staten Island) เป็นส่วนย่อยของนครนิวยอร์ก ซึ่งก็ขึ้นอยู่กับรัฐนิวยอร์กอีกชั้นหนึ่ง
ณ พ.ศ. 2556 สหรัฐอเมริกามีเคาน์ตีทั้งสิ้น 3,007 แห่ง และส่วนย่อยที่เทียบเท่าเคาน์ตี 137 แห่ง รวมทั้งสิ้น 3,144 แห่ง[15]
เอเชีย–แปซิฟิก
[แก้]จีน
[แก้]คำว่า county เป็นคำภาษาอังกฤษที่ใช้แปลตัวอักษร 县 หรือ 縣 (xiàn) อำเภอเป็นเขตการปกครองท้องถิ่นระดับที่สามในจีนแผ่นดินใหญ่ที่ปกครองโดยสาธารณรัฐประชาชนจีน โดยอยู่ภายใต้จังหวัด และมณฑล
สาธารณรัฐประชาชนจีนมีหน่วยการปกครองย่อยที่ซับซ้อนมาก ทำนองเดียวกับมณฑลเทศาภิบาลซึ่งเคยใช้ในไทย การปกครองแบ่งย่อยออกเป็นมณฑล (อังกฤษ: province; จีน:省; พินอิน:Shěng; คำอ่าน: เสิ่ง) บางมณฑลอาจให้มีอำนาจปกครองตนเอง เรียกว่า เขตปกครองตนเอง (อังกฤษ: autonomous region ;จีน: 自治区; พินอิน:Zìzhìqū; คำอ่าน: จื้อจื้อชวี) นครขนาดใหญ่เช่นเป่ยจิง ฉงชิ่ง ซั่งไห่ และเทียนจิน ก็ถูกจัดให้มีฐานะเท่ามณฑลเช่นกัน เรียกว่า เทศบาลนคร (อังกฤษ: municipality; จีน:直辖市; พินอิน:Zhíxiáshì; คำอ่าน: จื๋อเสียซื่อ)
โดยทั่วไป ส่วนการปกครองย่อยจากมณฑลของจีน เรียกว่าจังหวัด (อังกฤษ: prefecture; จีน:地区; พินอิน:Dìqū; คำอ่าน: ตี้ชวี) ซึ่งบางจังหวัดก็มีสถานะเป็นเมือง ส่วนย่อยของจังหวัดลงไปเรียกว่า อำเภอ (อังกฤษ: county; จีน:县; พินอิน:Xiàn; คำอ่าน: เสี้ยน) ตำบล (อังกฤษ: township; จีน:镇; พินอิน:Zhèn; คำอ่าน: เจิ้น) และหมู่บ้าน (อังกฤษ: village; จีน:村; พินอิน:Cūn; คำอ่าน: ชุน) ตามลำดับ
ทั้งนี้ การปกครองในแต่ละชั้นจะมีการจัดลำดับความสำคัญของหน่วยการปกครองตามขนาดอีกด้วย เช่นในระดับตำบล ถ้าเป็นชุมชนเมืองจะใช้ 街道 (Jiēdào, เจียเต้า) ถ้าเป็นตำบลชนบทขนาดใหญ่ ก็เรียกว่า 镇 (Zhèn, เจิ้น) ถ้าเป็นตำบลห่างไกลทุรกันดาร จะเรียก 乡 (Xiāng, เซียง) การปกครองแต่ละระดับไม่จำเป็นต้องขึ้นต่อกันและกัน อาจเป็นอิสระในตัวเองก็ได้โดยเฉพาะอำเภอในเขตมองโกเลียใน
ไต้หวัน
[แก้]เทศมณฑล แปลมาจาก County ซึ่งเป็นคำแปลเป็นภาษาอังกฤษจากตัวอักษรจีน 縣 (เวด-ไจลส์: hsien4 เซี่ยน) หมายถึง เขตทางการเมืองระดับแรกในปัจจุบันของไต้หวันและหมู่เกาะโดยรอบ อย่างไรก็ตาม นครปกครองโดยตรงและนครภายใต้มณฑลก็มีอำนาจในระดับเดียวกับเทศมณฑล เขตการปกครองที่อยู่เหนือเทศมณฑล คือ มณฑล (แต่ถูกยกเลิกเนื่องจากเหตุผลทางเศรษฐกิจและการเมือง) ปัจจุบันไต้หวันมี 13 เทศมณฑล
ดูเพิ่ม
[แก้]อ้างอิง
[แก้]- ↑ The Chambers Dictionary, L. Brookes (ed.), 2005, Chambers Harrap Publishers Ltd, Edinburgh
- ↑ The Oxford Dictionary of English Etymology, C. W. Onions (Ed.), 1966, Oxford University Press
- ↑ Jones, Kavanagh, Moran & Norton (2004). Politics UK (5th ed.). Pearson.
{{cite book}}
: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์) - ↑ Hampton, W. (1991). Local Government and Urban Politics.
- ↑ Redcliffe-Maud & Wood, B. (1974). English Local Government Reformed.
- ↑ "Functions of local authorities. Memorandum from Health Ministry", The Times, 17 June 1927.
- ↑ สปริงนิวส์, "ดูกันเต็มๆ บึ้ม! 5หอระบายความร้อน หายไปในพริบตา"[ลิงก์เสีย], 16 กรกฎาคม 2555, (สืบค้นเมื่อ 3 เมษายน 2557).
- ↑ กระปุกดอตคอม, Google ฉลองครบรอบ 200 ปี ชาร์ลส์ ดิกคินส์, สืบค้นเมื่อ 3 เมษายน 2557.
- ↑ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี, การปฏิวัติอุตสาหกรรมของอังกฤษช่วง ค.ศ.1780-1840 เก็บถาวร 2016-03-05 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, (สืบค้นเมื่อ 3 เมษายน 2557)
- ↑ "ดอย ดอกฝิ่น", ขนมพายพางานวิวาห์ล่ม, ไทยรัฐออนไลน์, 3 เมษายน 2557.
- ↑ Province of Alberta. "Transitional Provisions, Consequential Amendments, Repeal and Commencement (Municipal Government Act)" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2012-01-23. สืบค้นเมื่อ 2010-11-17.
- ↑ "How Many Counties are in Your State?". Click and Learn. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-02-16. สืบค้นเมื่อ 2007-04-24.
- ↑ "An Overview of County Government". National Association of Counties. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-04-17. สืบค้นเมื่อ April 25, 2013.
- ↑ "Counties and Equivalent Entities of the United States, Its Possessions, and Associated Areas; Change Notice No. 7". 2001. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-09-29. สืบค้นเมื่อ 2006-05-27.
- ↑ "County Totals Datasets: Population, Population Change and Estimated Components of Population Change: April 1, 2010 to July 1, 2012". 2012 Population Estimates. United States Census Bureau, Population Division. March 2013. สืบค้นเมื่อ April 30, 2013.