ข้ามไปเนื้อหา

เจ้าหญิงเฟาซียะห์แห่งอียิปต์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เจ้าหญิงเฟาซียะห์แห่งอียิปต์
เจ้าหญิงแห่งอียิปต์
เจ้าหญิงแห่งอิหร่าน
ประสูติ5 พฤศจิกายน ค.ศ. 1921(1921-11-05)
อะเล็กซานเดรีย รัฐสุลต่านอียิปต์[1]
สิ้นพระชนม์2 กรกฎาคม ค.ศ. 2013(2013-07-02) (91 ปี)
อะเล็กซานเดรีย ประเทศอียิปต์
พระสวามี
พระบุตร
ราชวงศ์มุฮัมมัดอะลี (ประสูติ)
ปาห์ลาวี (เสกสมรส)
พระบิดาพระเจ้าฟุอาดที่ 1
พระมารดาสมเด็จพระราชินีนาซลี

เจ้าหญิงเฟาซียะห์แห่งอียิปต์ (อาหรับ: فوزية بنت فؤاد الأول; เปอร์เซีย: فوزیه فؤاد; ประสูติ: 5 พฤศจิกายน ค.ศ. 1921 — สิ้นพระชนม์: 2 กรกฎาคม ค.ศ. 2013) เจ้าหญิงแห่งอียิปต์และอดีตสมเด็จพระราชินีในโมฮัมหมัด เรซา ปาห์ลาวี ชาห์อิหร่าน

หลังจากการเสกสมรสอีกครั้งใน ค.ศ. 1949 พระองค์ได้ใช้พระนามว่า เฟาซียะห์ ชีรีน เรื่อยมาจนถึงการโค่นล้มพระราชวงศ์ในอียิปต์ในเหตุการณ์ปฏิวัติอียิปต์ใน ค.ศ. 1952 แม้พระองค์จะถูกถอดออกจากฐานันดรศักดิ์แล้ว แต่พระองค์ยังเป็นคนในพระราชวงศ์มฮัมมัดอะลีที่อาวุโสคนหนึ่งในราชวงศ์

พระประวัติ

[แก้]

เจ้าหญิงเฟาซียะห์แห่งอียิปต์ ประสูติเมื่อวันที่ 5 พฤศจิกายน ค.ศ. 1921[2] ที่พระราชวังราส เอล-ติน ที่เมืองอะเล็กซานเดรีย ประเทศอียิปต์ เป็นพระธิดาในพระเจ้าฟุอาดที่ 1 กับสมเด็จพระราชินีนาซลีแห่งอียิปต์ ซึ่งพระมารดาของพระองค์สืบเชื้อสายมาจากสุลัยมาน พาชา ทหารชาวฝรั่งเศสของนโปเลียนที่หันมานับถือศาสนาอิสลาม นอกจากนี้พระปัยกาฝ่ายพระชนนีของพระองค์ก็สืบเชื้อสายมาจากตุรกี[3] และพระองค์ยังมีเชื้อสายกรีกจากทางพระมารดาอีกด้วย พระองค์จึงมีเชื้อสายแอลเบเนีย, ฝรั่งเศส, กรีก และตุรกี[4]

เจ้าหญิงเฟาซียะห์มีพระเชษฐาคือพระเจ้าฟารุกที่ 1 แห่งอียิปต์ และมีพระขนิษฐาได้แก่ เจ้าหญิงฟัยซะฮ์, เจ้าหญิงฟัยกะฮ์ และเจ้าหญิงฟัตฮียะฮ์ ทั้งยังมีพระเชษฐาและพระเชษฐภคินีต่างมารดาด้วย 2 พระองค์ คือ เจ้าชายอิสมาอีล และเจ้าหญิงเฟากียะฮ์

พระองค์เข้ารับการศึกษาในประเทศสวิตเซอร์แลนด์[2] สามารถตรัสภาษาอาหรับ อังกฤษ และฝรั่งเศส[5] ขณะที่ยังพระองค์ยังเป็นดรุณีแรกรุ่น พระองค์ที่เป็นสตรีที่ทรงพระสิริโฉมมากจนถือเป็น "หนึ่งในสตรีที่สวยที่สุดในโลก" ในขณะนั้น[6] ได้รับการยกย่องว่า "มีความงามดุจเทพธิดาวีนัส"[7] ทั้งยังได้รับการเปรียบเทียบว่ามีพระพักตร์คล้ายนักแสดงหญิงที่มีชื่อเสียงในยุคนั้นคือ เฮดี ลามาร์ และวิเวียน ลีห์[8]

ชีวิตส่วนพระองค์

[แก้]
ในงานอภิเษกสมรสที่วังอาบีดิน ประเทศอียิปต์ (เรียงจากซ้าย) พระเจ้าฟารุกที่ 1 แห่งอียิปต์ (พระเชษฐา), เจ้าหญิงเฟาซียะห์ และมกุฎราชกุมารเรซา ปาห์ลาวี

อภิเษกสมรสกับชาห์แห่งอิหร่าน

[แก้]

พระองค์ได้เข้าพระราชพิธีหมั้นกับมกุฎราชกุมารโมฮัมหมัด เรซาแห่งอิหร่านในเดือนพฤษภาคม ค.ศ. 1938[9][10] ทั้งสองพบกันในพระราชพิธีหมั้นเพียงครั้งเดียวก่อนพระราชพิธีอภิเษกสมรส[11] พระราชพิธีอภิเษกสมรสถูกจัดขึ้นที่พระราชวังอับดีน กรุงไคโรในวันที่ 15 มีนาคม ค.ศ. 1939[12][13] หลังจากการฮันนีมูน ทั้งสองก็จัดพิธีอภิเษกสมรสอีกครั้งที่พระราชวังหินอ่อนในเตหะราน[11] ซึ่งจัดตามพระราชประสงค์ของชาห์เรซา[14][15] การอภิเษกสมรสของทั้งสองถูกจัดขึ้นอย่างมีนัยยะสำคัญระหว่างเจ้าหญิงที่เป็นสุหนี่กับมกุฎราชกุมารที่เป็นชีอะห์[13][16]

สองปีต่อมาพระสวามีได้ขึ้นครองราชสมบัติ เจ้าหญิงเฟาซียะห์จึงกลายเป็น สมเด็จพระราชินีแห่งอิหร่าน พระราชินีเฟาซียะห์ทรงเป็นนางแบบให้เซซิล บีตัน ถ่ายพระฉายาลักษณ์เพื่อตีพิมพ์ลงในนิตยสารไลฟ์ (Life) โดยนายเซซิล บีตันได้กล่าวชื่นชมพระราชินีองค์นี้ว่าทรงเป็น "เทพธิดาวีนัสแห่งเอเชีย" ทั้งยังเสริมว่า "มีพระพักตร์รูปหัวใจคมซีดเผือดผิดปกติ แต่มีดวงพระเนตรสีฟ้าอันเฉียบคม"[12]

หลังจากการอภิเษกสมรส ทั้งสองพระองค์ก็มีพระธิดาด้วยกัน 1 พระองค์[17] คือ เจ้าหญิงชาห์นาซ[1][18] แต่ชีวิตสมรสของทั้งสองไม่ราบรื่นนัก พระราชินีเฟาซียะห์เสด็จกลับกรุงไคโรราวเดือนพฤษภาคม ค.ศ. 1945[19] และทำการหย่าร้างในอียิปต์ ทรงให้เหตุผลว่าเตหะรานนั้นด้อยพัฒนาตรงกันข้ามกับไคโรที่แลดูทันสมัยและเป็นสากล[20][21]

สมเด็จพระราชินีเฟาซียะห์ พร้อมด้วยชาห์โมฮัมหมัด เรซา และเจ้าหญิงชาห์นาซ ปาห์ลาวี พระธิดาพระองค์แรก[22]

นอกจากนี้พระราชินีเฟาซียะห์ยังทรงมีช่วงเวลาที่น่าลำบากจากความไม่ซื่อสัตย์ของชาห์ พระองค์จึงเข้าพบจิตแพทย์อเมริกันที่แบกแดดไม่นานนักก่อนที่จะเสด็จออกจากเตหะราน[19] ตรงกันข้ามรายงานของซีไอเออ้างว่าพระราชินีทรงเยาะเย้ยและละอายพระทัยเกี่ยวกับการหย่อนสมรรถภาพทางเพศของชาห์จนนำไปสู่การหย่าร้าง[21] ขณะที่บันทึกของเจ้าหญิงอัชราฟ พระขนิษฐาฝาแฝดของชาห์ได้ให้ข้อมูลว่า พระราชินีมิได้รับสั่งเรื่องการหย่ากับชาห์เลย[11]

ต่อมาทั้งสองพระองค์ได้หย่ากันที่อียิปต์เมื่อ ค.ศ. 1945 นั้นมิได้รับการยอมรับในประเทศอิหร่านนานหลายปี แต่อย่างไรก็ดีทั้งสองพระองค์ก็ได้ทำการหย่ากันอย่างเป็นทางการในอิหร่านเมื่อวันที่ 17 พฤศจิกายน ค.ศ. 1948 พระราชินีเฟาซียะห์ได้กลับมาใช้พระอิสริยยศเดิมคือ เจ้าหญิงแห่งอียิปต์ ส่วนพระราชธิดานั้นตกอยู่ในการดูแลของชาห์[23]

ทั้งนี้ทางสำนักพระราชวังได้ให้เหตุผลว่า "ด้วยสภาวะอากาศของเปอร์เซียทำให้สุขภาพของราชินีเฟาซียะห์ทรุดโทรม ดังนั้นจึงเห็นด้วยกับพระขนิษฐากษัตริย์อียิปต์ที่ต้องการจะหย่า" และชาห์ก็ออกมาประกาศว่า "ไม่มีผลกระทบต่อความสัมพันธ์อันดีที่มีอยู่ระหว่างอียิปต์กับอิหร่าน"[24]

ดังนั้นสมเด็จพระราชินีเฟาซียะห์จึงกลับมาดำรงพระยศเป็นเจ้าแห่งอียิปต์และซูดานตามเดิม ส่วนพระเชษฐาของเจ้าหญิงเฟาซียะห์คือพระเจ้าฟารุกที่ 1 แห่งอียิปต์ ก็ได้ทำการหย่าร้างกับสมเด็จพระราชินีฟารีดาในสัปดาห์เดียวกัน[23][25] ซึ่งเรื่องราวดังกล่าวเป็นที่สนใจของโลกตะวันตกอย่างมาก[26]

เจ้าหญิงเฟาซียะห์ กับอิสมาอีล พระสวามี

การสมรสครั้งที่สอง

[แก้]

เจ้าหญิงเฟาซียะห์แห่งอียิปต์ ได้สมรสอีกครั้งเมื่อวันที่ 28 มีนาคม ค.ศ. 1949 กับพันเอกอิสมาอีล ฮุซัยน์ ชีรีน เบย์ (ค.ศ. 1919-1994)[1] ที่ถูกจัดขึ้นที่พระราชวังคุบบา อิสมาอีลซึ่งเป็นพระญาติห่าง ๆ ของพระองค์ เป็นบุตรคนโตของฮุซัยน์ ชีรีน กับเจ้าหญิงอามีนะห์ บีห์รุซ[27][28] ขณะนั้นเขาได้ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีกระทรวงกลาโหมและกองทัพเรือของอียิปต์ หลังจากการสมรสทั้งสองได้พำนักในที่ดินส่วนพระองค์ที่มาอ์ดีในกรุงไคโร[28][29] และพำนักที่บ้านอีกแห่งในอะเล็กซานเดรีย[30]

ทั้งคู่มีบุตร-ธิดา 2 คน[31] คือ นาดียะห์ (ค.ศ. 1950-2009) และฮุซัยน์ (เกิด ค.ศ. 1955)[1]

พระบุตร

[แก้]

เจ้าหญิงเฟาซียะห์แห่งอียิปต์ ทรงให้ประสูติกาลพระโอรส-ธิดา รวมกัน 1 พระองค์ กับอีก 2 คน โดยเป็นชาย 1 คน และหญิง 2 คน ซึ่งเป็นบุตรจากการสมรสครั้งแรก 1 พระองค์ และจากการสมรสครั้งที่สองอีก 2 คน คือ

  1. เจ้าหญิงชาห์นาซแห่งอิหร่าน (ประสูติ: ค.ศ. 1940) เสกสมรสครั้งแรกกับอาร์เดชีร์ ซาเฮดี ภายหลังทรงหย่าและเสกสมรสกับโคสเลา จาฮันบานี มีพระธิดาจากการสมรสครั้งแรกหนึ่งพระองค์[32] และโอรสธิดาอย่างละคนจากการสมรสครั้งที่สอง[32] ปัจจุบันประทับอยู่ในประเทศสวิตเซอร์แลนด์[32][33]
  2. นาดียะห์ ราชิด (เกิด: 19 ธันวาคม ค.ศ. 1950[34] - ค.ศ. 2009) สมรสครั้งแรกกับยูซุฟ ซะบาอัน นักแสดงชาวอียิปต์[30] มีธิดาด้วยกัน 1 คน คือ ซีไน ฟารามาวี (ค.ศ. 1973) ต่อมาได้สมรสครั้งที่สองกับมุสตอฟา ราชิด มีธิดาด้วยกัน 1 คน คือ เฟาซียะห์ ราชิด[35]
  3. ฮุซัยน์ ชีรีน (เกิด ค.ศ. 1955) พระโอรสที่เกิดกับอิสมาอีล ฮุซัยน์ ชีรีน เบย์[35]

ปลายพระชนม์ชีพและการสิ้นพระชนม์

[แก้]

ในปลายชนม์พระองค์ประทับอยู่ในประเทศสวิตเซอร์แลนด์ ซึ่งในปี ค.ศ. 2004 ได้มีการเผยแพร่พระฉายาลักษณ์ล่าสุดของพระองค์คู่กับอาร์เดชีร์ ซาเฮดี อดีตพระชามาดา[36] มีการเข้าใจผิดเกี่ยวกับข่าวการสิ้นพระชนม์เมื่อเดือนมกราคม ค.ศ. 2005 ที่เกิดการสับสนในเรื่องพระนามที่เหมือนกันของพระองค์กับพระภาติยะ คือ เจ้าหญิงเฟาซียะห์ (ค.ศ. 1940-2005) ซึ่งเป็นพระธิดาของพระเชษฐาคือพระเจ้าฟารุกที่ 1 แห่งอียิปต์[36]

เจ้าหญิงเฟาซียะห์แห่งอียิปต์ ได้เสด็จกลับมาประทับในเมืองอะเล็กซานเดรีย ประเทศอียิปต์ ก่อนสิ้นพระชนม์เมื่อวันที่ 2 กรกฎาคม ค.ศ. 2013 ขณะมีพระชนมายุ 91 พรรษา[37] พระราชพิธีศพถูกจัดขึ้นในช่วงบ่ายของวันที่ 3 กรกฎาคมที่มัสยิดซาเยดา กรุงไคโร[38] และฝังพระศพที่ไคโรเคียงข้างกับอิสมาอีล พระภัสดาคนที่สอง[12]

พระเกียรติยศ

[แก้]

พระอิสริยยศ

[แก้]
  • เฮอร์สุลตานิกไฮนิส เจ้าหญิงเฟาซียะห์แห่งรัฐสุลต่านอียิปต์และซูดาน (5 พฤศจิกายน ค.ศ. 1921 – 15 มีนาคม ค.ศ. 1922)
  • เฮอร์รอยัลไฮนิส เจ้าหญิงเฟาซียะห์แห่งอียิปต์และซูดาน (15 มีนาคม ค.ศ. 1922 – 15 มีนาคม ค.ศ. 1939)
  • เฮอร์อิมพีเรียลและรอยัลไฮนิส เจ้าหญิงเฟาซียะห์แห่งอิหร่าน, เจ้าหญิงแห่งอียิปต์และซูดาน (15 มีนาคม ค.ศ. 1939 –16 มีนาคม ค.ศ. 1939)
  • เฮอร์อิมพีเรียลและรอยัลไฮนิส เจ้าหญิงเฟาซียะห์ มกุฎราชกุมารีแห่งอิหร่าน, เจ้าหญิงแห่งอียิปต์ (16 มีนาคม ค.ศ. 1939 – 16 กันยายน ค.ศ. 1941)
  • เฮอร์อิมพีเรียลมาเจสตี สมเด็จพระราชินีเฟาซียะห์แห่งอิหร่าน (16 กันยายน ค.ศ. 1941 – ค.ศ. 1948)
  • เฮอร์อิมพีเรียลและรอยัลไฮนิส เจ้าหญิงเฟาซียะห์แห่งอิหร่าน, เจ้าหญิงแห่งอียิปต์และซูดาน (ค.ศ. 1948 – 28 มีนาคม ค.ศ. 1949)
  • เฟาซียะห์ ชีรีน (28 มีนาคม ค.ศ. 1949 – 2 กรกฎาคม ค.ศ. 2013)

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

[แก้]
  • อียิปต์: เครื่องราชอิสริยาภรณ์แห่งคุณธรรม ชั้นสูงสุด (16 พฤษภาคม ค.ศ. 1939)
  • อิหร่าน: เครื่องราชอิสริยาภรณ์ปาห์ลาวี ชั้นสูงสุด (27 ตุลาคม ค.ศ. 1940)

พระอนุสรณ์

[แก้]

มีการตั้งนามเมืองแห่งหนึ่งในอียิปต์ว่า เฟาซียะห์บัด (Fawziabad) เมื่อปี ค.ศ. 1939 เพื่อเทิดพระเกียรติพระองค์[5] และช่วงปี ค.ศ. 1950 มีถนนย่านมาอ์ดีในกรุงไคโรชื่อ อามีราเฟาซียะห์ (Amira Fawzia) แต่ในปี ค.ศ. 1956 ได้เปลี่ยนชื่อถนนเป็น มุสตาฟาญามาล (Mustafa Kamel)[39]

สู่งานเขียน

[แก้]

เรื่องราวของเจ้าหญิงเฟาซียะห์แห่งอียิปต์ได้ถูกถ่ายทอดเรื่องราวลงในหนังสือ ฟอว์ซียา...วีนัสแห่งลุ่มน้ำไนล์ ในเรื่องราวของหญิงงามดุจเทพธิดาวีนัส ที่ได้เป็นพระมเหสีพระองค์แรกของพระเจ้าชาห์ โมฮัมหมัด เรซา ปาห์ลาวี พระเจ้าชาห์แห่งอิหร่าน แต่พระสิริโฉม และฐานะอันสูงส่งของพระองค์ก็มิได้ทำให้พระองค์ทรงมีความสุขเลย แต่กลับต้องตกอยู่ภายใต้ความโศกเศร้าเสียใจ[7]

พงศาวลี

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. 1.0 1.1 1.2 1.3 "การอภิเษกสมรสของพระเจ้าชาห์ โมฮัมหมัด เรซา ปาห์ลาวี". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-06-14. สืบค้นเมื่อ 2010-01-23.
  2. 2.0 2.1 "Princess Fawzia Fuad of Egypt". The Telegraph. 5 July 2013. สืบค้นเมื่อ 16 July 2013.
  3. Goldschmidt, Arthur (2000). Biographical dictionary of modern Egypt. Lynne Rienner Publishers. p. 191. ISBN 1555872298.
  4. Montgomery-Massingberd, Hugh, บ.ก. (1980). "The French Ancestry of King Farouk of Egypt". Burke's Royal Families of the World. Vol. Volume II: Africa & the Middle East. London: Burke's Peerage. p. 287. ISBN 978-0-85011-029-6. OCLC 18496936. {{cite book}}: |volume= has extra text (help)
  5. 5.0 5.1 "Colorful Fetes Mark Royal Wedding that will Link Egypt and Persian". The Meriden Daily Journal. 13 March 1939. สืบค้นเมื่อ 8 August 2013.
  6. "Bidding Farewell" (Press release) (ภาษาอังกฤษ). Al-Ahram Weekly. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-04-02. สืบค้นเมื่อ 31 กรกฎาคม พ.ศ. 2556. {{cite press release}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  7. 7.0 7.1 ฟอว์ซียา..วีนัสแห่งลุ่มน้ำไนล์[ลิงก์เสีย]
  8. Suzy Hansen (มมป.). "QUEEN FAWZIA". The New York Times Magazine. สืบค้นเมื่อ 17 ตุลาคม 2557. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= และ |date= (help)
  9. Charmody, Diedre (27 July 1973). "Nixon forth to see Shah". The Leader Post. New York. สืบค้นเมื่อ 10 November 2012.
  10. Rizk, Yunan Labib (2–8 March 2006). "Royal mix". Al Ahram Weekly (784). สืบค้นเมื่อ 16 July 2013.
  11. 11.0 11.1 11.2 "Earlier Marriages Ended In Divorce. Deposed Shah of Iran". The Leader Post. AP. 29 July 1980. สืบค้นเมื่อ 16 July 2013.
  12. 12.0 12.1 12.2 Ghazal, Rym (8 July 2013). "A forgotten Egyptian Princess remembered". The National. สืบค้นเมื่อ 16 July 2013.
  13. 13.0 13.1 "Princess Fawzia of Egypt Married". The Meriden Daily Journal. Cairo. AP. 15 March 1939. สืบค้นเมื่อ 16 July 2013.
  14. Camron Michael Amin (1 December 2002). The Making of the Modern Iranian Woman: Gender, State Policy, and Popular Culture, 1865-1946. University Press of Florida. p. 137. ISBN 978-0-8130-3126-2. สืบค้นเมื่อ 3 July 2013.
  15. "The Pahlavi Dynasty". Royal Ark. สืบค้นเมื่อ 23 July 2013.
  16. "Princess Fawzia Fuad of Egypt". Telegraph. 2 กรกฎาคม 2013. สืบค้นเมื่อ 19 มกราคม 2016.
  17. Dagres, Holly (4 February 2013). "When they were friends: Egypt and Iran". Ahram Online. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-10-20. สืบค้นเมื่อ 4 February 2013.
  18. Jeffrey Lee (1 April 2000). Crown of Venus. Universe. p. 51. ISBN 978-0-595-09140-9. สืบค้นเมื่อ 3 July 2013.
  19. 19.0 19.1 "Iran and its playboy king". The Milwaukee Journal. Time Magazine. 9 January 1946. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-05-13. สืบค้นเมื่อ 23 July 2013.
  20. Steyn, Mark (5 July 2013). "The Princess and the Brotherhood". National Review Online. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-02-08. สืบค้นเมื่อ 16 July 2013.
  21. 21.0 21.1 Anderson, Jack; Les Whitten (11 July 1975). "CIA: Shah of Iran a dangerous ally". St. Petersburg Times. Washington. สืบค้นเมื่อ 16 July 2013.
  22. "Noblesse & Royautés - Egypte". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-05-11. สืบค้นเมื่อ 2011-05-12.
  23. 23.0 23.1 "Queens Lack Male Heirs, Lose Mates". Pittsburgh Post Gazette. Cairo. AP. 19 November 1948. สืบค้นเมื่อ 16 July 2013.
  24. "2 Moslem Rulers let the man and wife divorce if they need to", The New York Times, 20 November 1948, page 1.
  25. Bernard Reich (1 January 1990). Political Leaders of the Contemporary Middle East and North Africa: A Biographical Dictionary. Greenwood Publishing Group. p. 188. ISBN 978-0-313-26213-5. สืบค้นเมื่อ 16 July 2013.
  26. "Queen Farida of Egypt Dies at 68". 1988-11-17. สืบค้นเมื่อ 2009-06-06.
  27. "Princess Fawzia engaged". The Indian Expree. 28 March 1949. สืบค้นเมื่อ 4 February 2013.
  28. 28.0 28.1 "Princess Fawzia weds diplomat". Meriden Record. 29 March 1949. สืบค้นเมื่อ 16 July 2013.
  29. "Maadi's Ottomans". Egy. สืบค้นเมื่อ 17 July 2013.
  30. 30.0 30.1 Sami, Soheir (4–10 June 1998). "Profile: Youssef Shaaban". Al Ahram Weekly (380). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-12-22. สืบค้นเมื่อ 17 July 2013.
  31. "Shah's ex-wives keep low profiles in Egypt, Europe". The Palm Beach Post. AP. 28 July 1980. สืบค้นเมื่อ 6 November 2012.[ลิงก์เสีย]
  32. 32.0 32.1 32.2 Parstime - Shahnaz Pahlavi
  33. "Shah's daughter 'could not stand' exile". BBC News. 2001-06-12. สืบค้นเมื่อ 2010-07-14.
  34. "Girl is born to Princess Fawzia". Pittsburgh Post Gazette. Cairo. AP. 20 December 1950. สืบค้นเมื่อ 5 February 2013.
  35. 35.0 35.1 EGYPT -The Muhammad 'Ali Dynasty
  36. 36.0 36.1 "EGYPTIAN SHAHBANOU: Princess Fawzia and Son-in-Law Ardeshir Zahedi (2004)" (Press release) (ภาษาอังกฤษ). Iranian. 5 กุมภาพันธ์ 2554. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-04-28. สืบค้นเมื่อ 24 มีนาคม 2555. {{cite press release}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  37. "Princess Fawzia, Shah's first wife, dies in Egypt". Reuters. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-05-05. สืบค้นเมื่อ 2013-07-06.
  38. "Death of Princess Fawzia". Alroeya News. 2 July 2013. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-10-29. สืบค้นเมื่อ 17 July 2013.
  39. "Maadi Street Names". Egy. สืบค้นเมื่อ 9 August 2013.
  40. Montgomery-Massingberd, Hugh, บ.ก. (1980). "The French Ancestry of King Farouk of Egypt". Burke's Royal Families of the World. Vol. Volume II: Africa & the Middle East. London: Burke's Peerage. p. 287. ISBN 9780850110296. OCLC 18496936. {{cite book}}: |volume= has extra text (help)

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]
ก่อนหน้า เจ้าหญิงเฟาซียะห์แห่งอียิปต์ ถัดไป
ตาจญ์อัลโมลูก อัยรุมลู
สมเด็จพระราชินีแห่งอิหร่าน
(ค.ศ. 1941-1948)
โซรยา อัสฟานดิยารี