เจ้าพระยาสุธรรมมนตรี (ปลื้ม สุจริตกุล)

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เจ้าพระยาสุธรรมมนตรี
(ปลื้ม สุจริตกุล)
.
เกิด26 กันยายน พ.ศ. 2410
เสียชีวิต12 เมษายน พ.ศ. 2477 (66 ปี)
สัญชาติไทย
ตำแหน่งเจ้าพระยา
คู่สมรสกิมไล้ สุธรรมมนตรี
เง็ก สุจริตกุล
บุตร24 คน
บิดามารดาพระยาราชภักดี (โค สุจริตกุล)
คุณหญิงราชภักดี (ทองศุข สุจริตกุล)

มหาอำมาตย์โท เจ้าพระยาสุธรรมมนตรี (ปลื้ม สุจริตกุล) เป็นบุตรพระยาราชภักดี (โค) ซึ่งเป็นน้องชายของสมเด็จพระปิยมาวดี ศรีพัชรินทรมาตา (เจ้าคุณจอมมารดาเปี่ยม) และคุณหญิงราชภักดี (ทองศุข สุจริตกุล) และมีน้องสาวเพียงคนเดียว คือ คุณท้าววนิดาพิจาริณี (เจ้าจอมเพิ่ม ในรัชกาลที่ 5) เกิดเมื่อวันที่ 26 กันยายน พ.ศ. 2410 ได้ถวายตัวเป็นมหาดเล็กในรัชกาลที่ 5 (พ.ศ. 2422) พ.ศ. 2425 ออกไปศึกษาที่ประเทศอังกฤษ พ.ศ. 2433 สอบไล่กฎหมายได้เนติบัณฑิต พ.ศ. 2435 กลับเข้ามารับราชการในกระทรวงยุติธรรม

  • 10 พฤษภาคม พ.ศ. 2436 รับพระราชทานสัญญาบัตรเป็นนายหัศบำเรอ หุ้มแพรวิเศษ ขณะเป็นมหาดเล็กเวรฤทธิ์ ถือศักดินา ๕๐๐[1]
  • 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2437 เป็นหัวหน้าผู้พิพากษาศาลโปริสภาที่ 3 [2]
  • 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2440 เป็นผู้พิพากษาศาลคดีต่างประเทศ[3]

ลำดับบรรดาศักดิ์[แก้]

  • 14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2442 เป็น พระอรรถการประสิทธิ์ ถือศักดินา ๘๐๐ [4]
  • 2 มกราคม พ.ศ. 2453 เป็น พระยาพิเชตพิเศษพิสัยวินิจฉัยโกศล ถือศักดินา ๑๐๐๐[5]
  • พ.ศ. 2466 เป็น เจ้าพระยาสุธรรมมนตรี วัชรินทรศักดีมหาประยูรญาติ ไพรัชธรรมศาสตร์บัณฑิต อเนกราชนิติปรีชาคุณ สุจริตกุลวโรปสดมภ์ บรมขัตติยราชภักดี ศรีรัตนตรไยสรณธาดา มัทวเมตตาชวาธยาศัย อภัยพิริยปรากรมพาหุ ดำรงศักดินา 10,000[6]

ยศ[แก้]

ยศเสือป่า[แก้]

  • 26 ตุลาคม 2455 – นายหมู่ตรี[7]

ยศพลเรือน[แก้]

  • – หุ้มแพร
  • 5 มกราคม 2459 – จางวางตรีพิเศษ[8]

อสัญกรรม[แก้]

เจ้าพระยาสุธรรมมนตรี (ปลื้ม สุจริตกุล) ถึงแก่อสัญกรรมเมื่อวันที่ 12 เมษายน พ.ศ. 2477 อายุ 66 ปี 8 เดือน

เครื่องราชอิสริยาภรณ์[แก้]

ภรรยา บุตร-ธิดา[แก้]

คุณแพ (พระนมแพ) มีบุตรชาย 1[แก้]

พระยาอุดมราชภักดี (โถ สุจริตกุล) สมรสกับ คุณหญิงเชิด สกุลเดิม ไกรฤกษ์[แก้]

มีบุตรธิดา ๘ คน เป็นชาย ๔ คนและเป็นหญิง ๔ คน ทุกคนได้รับการตั้งชื่อให้มีความหมายว่าภาชนะทั้งสิ้น เนื่องจากท่านเจ้าคุณผู้เป็นบิดามีนามว่าโถ นั่นเอง มีรายนามดังนี้

๑. นายเตียบ สุจริตกุล สมรสครั้งแรกกับ คุณงามเฉิด อนิรุธเทวา (ถึงแก่กรรม) บุตรของพระยาอนิรุทธเทวา (หม่อมหลวงฟื้น พึ่งบุญ) มีบุตร ๑ คน คือ นายติรวัฒน์ สุจริตกุล ธิดา ๑ คน คือ นางสาวงามโฉม สุจริตกุล และต่อมาสมรสครั้งที่ ๒ กับคุณกุณฑล วสันตสิงห์ มีศักดิ์เป็นหลายลุงของหม่อมหลวงปิ่น มาลากุล มีธิดา ๑ คน คือ นางสาวมนทิรา สุจริตกุล บุตร ๑ คน คือ นายตนัย สุจริตกุล

และในบรรดาธิดาทั้ง ๔ คนนั้น ในเวลาต่อมาได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า มีคำนำหน้านามว่าท่านผู้หญิงถึง ๓ คน คุณหญิงอีก ๑ คนคือ

๑.ท่านผู้หญิงกุณฑี ไกรฤกษ์ ภริยานายพูนเพิ่ม ไกรฤกษ์ อดีตเลขาธิการพระราชวังและผู้อำนวยการสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์

๒.ท่านผู้หญิงกรัณฑ์ สนิทวงศ์ ณ อยุธยา ภริยานายพิสิษฐ์ สนิทวงศ์ ณ อยุธยา นางสนองพระโอษฐ์และพระสหายในสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ

๓.ท่านผู้หญิงถวิกา สารสิน ภริยาพลตำรวจเอกเภา สารสิน อดีตรองนายกรัฐมนตรี อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย และอดีตอธิบดีกรมตำรวจ

๔.คุณหญิงผะอบทิพย์ ศาตะมาน ภริยาพลตำรวจโทประกาศ ศาตะมาน

ท่านผู้หญิงไล้ (กิมไล้) สกุลเดิม เตชะกำพุช มีบุตร 12[แก้]

คุณเง็ก มีธิดา 1[แก้]

คุณเทศ มีธิดา 1[แก้]

ตุณเพียบ สุจริตกุล

จากภริยาท่านอื่น[แก้]

  • คุณเกื้อ สุจริตกุล
  • คุณลมหวล สุจริตกุล
  • คุณอานิก สุจริตกุล สมรสกับ พลเรือตรี กมล ชัมพุนพงศ์
  • คุณอุทัย สุจริตกุล
  • คุณสุปรีดา ภรรยานายประนอม วสุธาร มารดาชื่อ เนื่อง สุจริตกุล
  • พันตำรวจโทเปรม สุจริตกุล

อ้างอิง[แก้]

  1. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานสัญญาบัตร, เล่ม ๑๐, หน้า ๙๐
  2. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศว่าด้วยแบ่งแขวงของศาลโปริสภา ทั้งสี่ศาลในกรุงเทพฯ (หน้า ๔๔๙), เล่ม 40, หน้า 2612-2614
  3. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความกระทรวงยุติธรรม, เล่ม 14, หน้า 222
  4. พระราชทานสัญญาบัตรเลื่อนยศ (หน้า ๔๙๓)
  5. พระราชทานสัญญาบัตรขุนนาง (หน้า ๒๓๙๑)
  6. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสถาปนาเลื่อนกรม ตั้งกรม ตั้งพระองค์เจ้า และตั้งเจ้าพระยา, เล่ม 40, หน้า 2612-2614
  7. พระราชทานสัญญาบัตรเสือป่า
  8. พระราชทานยศ
  9. ราชกิจจานุเบกษา, ข่าวในพระราชสำนัก วันอังคารที่ ๓ มกราคม พุทธศักราช ๒๔๖๔, เล่ม ๓๘ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๒๘๘๓, ๘ มกราคม ๒๔๖๔
  10. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ จุลจอมเกล้าฝ่ายหน้า[ลิงก์เสีย], เล่ม ๔๐ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๒๖๒๗, ๒๕ พฤศจิกายน ๒๔๖๖
  11. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๓๘ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๒๓๗๗, ๒๐ พฤศจิกายน ๒๔๖๔
  12. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๓๒ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๑๘๙๓, ๒๑ พฤศจิกายน ๒๔๕๘
  13. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๑๐ ตอนที่ ๔๒ หน้า ๔๗๑, ๑๔ มกราคม ๑๑๒
  14. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเหรียญจักรพรรดิมาลา, เล่ม ๓๘ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๓๒๐๙, ๒๙ มกราคม ๒๔๖๔
  15. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์และเหรียญ, เล่ม ๔๐ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๓๔๒๐, ๗ มกราคม ๒๔๖๖
  16. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์, เล่ม ๔๔ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๓๖๒๖, ๑๒ กุมภาพันธ์ ๒๔๗๐