กิมไล้ สุธรรมมนตรี

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

กิมไล้ สุธรรมมนตรี

เกิดกิมไล้ เตชะกำพุช
พ.ศ. 2420
สำเพ็ง
เสียชีวิต8 ตุลาคม พ.ศ. 2512 (92 ปี)
มีชื่อเสียงจากพระชนนีในสมเด็จพระนางเจ้าอินทรศักดิศจี พระวรราชชายา
คู่สมรสเจ้าพระยาสุธรรมมนตรี (ปลื้ม สุจริตกุล)
บุตร11 คน
บิดามารดาขุนพัฒน์ (หอย เตชะกำพุช)
นางเลี้ยบ เตชะกำพุช

ท่านผู้หญิงกิมไล้ สุธรรมมนตรี (พ.ศ. 2420 – 8 ตุลาคม พ.ศ. 2512) สกุลเดิม เตชะกำพุช เป็นภริยาเอกของเจ้าพระยาสุธรรมมนตรี (ปลื้ม สุจริตกุล) มีบุตรธิดาด้วยกันหลายท่าน เช่น สมเด็จพระนางเจ้าอินทรศักดิศจี พระวรราชชายา พระสุจริตสุดา (เปรื่อง สุจริตกุล)

ประวัติ[แก้]

ท่านผู้หญิงสุธรรมมนตรี เกิดเมื่อ พ.ศ. 2420 เป็นธิดาของขุนพัฒน์ (หอย เตชะกำพุช) นายอากรบ่อนเบี้ย กับนางเลี้ยบ เตชะกำพุช มีบ้านเดิมอยู่ที่สำเพ็ง กิมไล้เป็นคนใจดี ใจบุญมาตั้งแต่ยังสาว ทำบุญครั้งละมากๆ เช่นเห็นเรือหาปลาผ่านมา ก็สั่งซื้อและปล่อยปลาทั้งลำ ซ่อมวัดวาอาราม นอกจากนั้น กิมไล้ยังแต่งบทละครที่คณะปราโมทัยเคยนำไปจัดแสดงด้วย

วันหนึ่ง สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาเทวะวงศ์วโรปการ ทรงนำตัวกิมไล้ ซึ่งขณะนั้นเป็นคุณกิมไล้ ไปเฝ้าสมเด็จพระปิยมาวดี ศรีพัชรินทรมาตา แล้วก็มีการขอดูตัว ตามมาด้วยงานสมรสระหว่างเจ้าพระยาสุธรรมมนตรี (ปลื้ม สุจริตกุล) กับกิมไล้

ท่านผู้หญิงกิมไล้ถึงแก่อนิจกรรมเมื่อวันที่ 8 ตุลาคม พ.ศ. 2512 พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ทรงโปรดให้ตั้งศพที่ ณ เมรุหลวงหน้าพลับพลาอิศริยาภรณ์ วัดเทพศิรินทราวาส และสวดพระอภิธรรมเป็นเวลา 7 วัน พระราชทานเพลิงศพเมื่อวันที่ 15 ตุลาคม พ.ศ. 2512

บุตร-ธิดา[แก้]

ทั้งสองมีบุตรธิดาด้วยกัน 11 คน เท่าที่ทราบนามมีทั้งหมด 8 คน บุตรหญิงคนใหญ่คือคุณเปรื่อง และคนที่ห้า คือคุณประไพ

เครื่องราชอิสริยาภรณ์[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ จุลจอมเกล้าฝ่ายใน เก็บถาวร 2019-08-07 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๔๐, ตอน ๐ ง, ๒๕ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๖๖, หน้า ๒๖๓๑
  2. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์ฝ่ายใน, เล่ม ๔๐, ๗ มกราคม พ.ศ. ๒๔๖๖, หน้า ๓๔๑๙