เคอร์บี: ไรต์แบคแอตยา!
เคอร์บี: ไรต์แบคแอตยา! | |
星のカービィ (Hoshi no Kābī) | |
---|---|
ชื่อภาษาอังกฤษ | Kirby: Right Back at Ya! |
แนว | |
อนิเมะ | |
กำกับโดย | โซจิ โยชิกาวะ |
อำนวยการสร้างโดย | ซาโตรุ อิวาตะ ไทเฮ ยามานาชิ เซอิจิ ฮิราโนะ ทาเกยูกิ โอกาซากิ |
เขียนบทโดย | โซจิ โยชิกาวะ |
ดนตรีโดย | อากิระ มิยางาวะ |
สตูดิโอ | Studio Sign Studio Comet |
ถือสิทธิ์โดย | |
ฉาย |
เคอร์บี: ไรต์แบคแอตยา! (อังกฤษ: Kirby: Right Back at Ya!) รู้จักกันในประเทศญี่ปุ่นว่า โฮชิ โนะ คาบี (ญี่ปุ่น: 星のカービィ; โรมาจิ: Hoshi no Kābī แปลตรงตัว: เคอร์บีแห่งดวงดาว) เป็นอนิเมะญี่ปุ่นที่สร้างโดยบริษัทวาร์ปสตาร์ (Warpstar Inc.) และมีฐานจากเคอร์บี แฟรนไชส์ของนินเท็นโด ตัวซีรีส์มีถึง 100 ตอนที่เริ่มเผยแพร่ตั้งแต่วันที่ 6 ตุลาคม ค.ศ. 2001 ถึง 27 กันยายน ค.ศ. 2003 โดยฉายผ่านสถานีโทรทัศน์จูบู-นิปปงในญี่ปุ่น[1] ส่วนทางสหรัฐจะฉายผ่านทางฟอกซ์บ็อกซ์ ซึ่งเริ่มฉายตอนแรกในวันที่ 14 กันยายน ค.ศ. 2002[2][3]จนถึงปลายค.ศ. 2006
ในอนิเมะตามถึงเรื่องราวของเคอร์บี สิ่งมีชีวิตที่มีสีชมพู รูปร่างกลม มีนิสัยคล้ายเด็กที่ไม่สามารถพูดได้ชัดเจน แต่สามารถมีพลังใหม่ชั่วคราวโดยการดูดเจ้าของพลัง ยานของเคอร์บีชนใกล้กับหมู่บ้านแคปปีทาวน์ (Cappy Town) ที่ดาวป็อปสตาร์ แล้วเป็นเพื่อนกับพี่น้องผิวเหลืองสองคนชื่อทิฟฟ์กับทัฟฟ์และเพื่อนของพวกเขา โฟโลโลกับฟาลาลา อย่างรวดเร็ว ในแต่ละตอนของซีรีส์ เคอร์บีและเพื่อนของเขาเอาตัวรอดจากคิงเดเดเดกับเอสคาร์กูน ผู้ช่วยของพระองค์ ที่มักจัดการเคอร์บีโดยการใช้สัตว์ประหลาดที่สั่งจาก NME (ไนต์แมร์เอ็นเตอร์ไพรส์; NightMare Enterprises)
ตัวละคร
[แก้]- เคอร์บี (อังกฤษ
- Kirby, ญี่ปุ่น: カービィ; โรมาจิ: Kābī)
- ให้เสียงโดย: มากิโกะ โอโมโตะ (ญี่ปุ่น), เอมี เบิร์นเบาม์ในบางฉากของตอนแรก (อังกฤษ)
เคอร์บี เป็นนักรบแห่งดวงดาว (Star Warrior) วัยเด็ก เพราะยานของนักรบแห่งดาวถูกออกแบบมาเพื่อไปในที่ที่มีปีศาจอยู่ ยานของเคอร์บีพบปีศาจที่เดเดเดสั่งมาและถูกปลุกก่อนกำหนดถึง 200 ปี เขาไม่ค่อยพูดมาก เพราะพูดแต่คำว่า "โปโย" (poyo) และคำกับเสียงที่ไม่สามารถต่อเป็นประโยคได้ บางครั้งก็พูดภาษาของพวกเขา โดยใช้คำโปรดของเขาคือ "ซูอิกะ" (suika แตงโมในภาษาญี่ปุ่น) หรือพูดในสิ่งที่คนอื่นพูดซ้ำ
- ทิฟฟ์ (อังกฤษ
- Tiff, ญี่ปุ่น: フーム; โรมาจิ: Fumu; ทับศัพท์: ฟูมุ)
- ให้เสียงโดย: ซายูริ โยชิดะ (ญี่ปุ่น), เคอร์รี วิลเลียมส์ (อังกฤษ)
ทิฟฟ์เป็นลูกสาวของรัฐมนตรี อาศัยอยู่ในปราสาทของเดเดเด เธอมีความฉลาดมากในวัยของเธอ และสนใจในเรื่องสิ่งแวดล้อม โดยเฉพาะสาขาชีววิทยาทางทะเล เธอมีอารมณ์โมโหง่าย โดยเฉพาะเมื่อเธอคิดว่าสิ่งที่คิงเดเดเดทำไม่ช่วยอะไรเลย ทิฟฟ์เป็นคนเดียวที่สามารถเรียกวาร์ปสตาร์ของเคอร์บีได้
- ทัฟฟ์ (อังกฤษ
- Tuff, ญี่ปุ่น: ブン; โรมาจิ: Bun; ทับศัพท์: บุง)
- ให้เสียงโดย: ริกะ โคมัตสึ (ญี่ปุ่น), เคย์ซี โรเจอร์ส (อังกฤษ)
ทัฟฟ์ เป็นน้องชายของทิฟฟ์ที่มีผมลายซิกแซ็กซ่อนดวงตาข้างใน เขามีพฤติกรรมตรงข้ามกับพี่สาวโดยสิ้นเชิง โดยชอบไปเล่นข้างนอกมากกว่าอ่านหนังสือ
- คิงเดเดเด (อังกฤษ
- King Dedede, ญี่ปุ่น: デデデ大王; โรมาจิ: Dedede Daiō)
- ให้เสียงโดย: เคนอิจิ โองาตะ (ญี่ปุ่น), เท็ด เลวิส (อังกฤษ)
คิงเดเดเด เป็นผู้นำที่อ้างสิทธิครองราชย์แห่งดรีมแลนด์ ไม่มีใครกล้าให้พระองค์ออกจากบัลลังก์ ถึงแม้ว่าพระองค์มักทำร้ายเด็ก ๆ และสิ่งแวดล้อม แต่ความเกลียดชังเคอร์บีอย่างมากทำให้พระองค์ซื้อสัตว์ประหลาดจาก HolyNightMare Co. (NightMare Enterprises ในพากย์อังกฤษ) และสร้างความโกลาหลแก่ประชาชนดรีมแลนด์
- เอสคาร์กูน (อังกฤษ
- Escargoon, ญี่ปุ่น: エスカルゴン; โรมาจิ: Esukarugon; ทับศัพท์: เอซุการุกง)
- ให้เสียงโดย: นาโอกิ ทัตสึตะ (ญี่ปุ่น), เท็ด เลวิส (อังกฤษ)
เอสคาร์กูน เป็นหอยทากแบบมานุษยรูปนิยมที่เคยอาศัยอยู่กับแม่ในฟาร์มก่อนที่จะออกไปทำมาหากิน แต่ถึงแม้ว่าเอสคารกูนจะมีการศึกษา และรู้เรื่องเกี่ยวกับเคมีและไฟฟ้า (แม้แต่เขียนหนังสือพฤกษศาสตร์) เขาก็ยังคงทำงานให้กับเดเดเดเป็นเวลาหลายปีในฐานะผู้ช่วยกับกระสอบทราย
- เมตาไนต์ (อังกฤษ
- Meta Knight, ญี่ปุ่น: メタナイト; โรมาจิ: Meta Naito)
- ให้เสียงโดย: อัตสึชิ คิซาอิจิ (ญี่ปุ่น), อีริก สจวต (อังกฤษ)
เมตาไนต์ทำงานให้กับเดเดเด เช่นเดียวกันกับซอร์ตไนต์ (Sword Knight) กับเบลดไนต์ (Blade Knight) ผู้ติดตามของเขา อย่างไรก็ตาม มีการเปิดเผยว่าเมตาไนต์เป็นนักรบแห่งดวงดาวเหมือนกับเคอร์บี และเป็นหนึ่งในผู้รอดสงครามกับไนต์แมร์ เขาถือดาบศักดิ์สิทธิ์กาแลกเซีย (sacred sword Galaxia) ซึ่งเป็นดาบที่มีไม่กี่คนเท่านั้นที่ถือได้
- คัสตอมเมอร์เซอร์วิส (อังกฤษ
- Customer Service, ญี่ปุ่น: カスタマーサービス; โรมาจิ: Kasutamā Sābisu)
- ให้เสียงโดย: บันโจ กิงงะ (ญี่ปุ่น), แดน กรีน (อังกฤษ)
ทำหน้าเป็นภาพลักษณ์ของไนต์แมร์เอ็นเตอร์ไพรส์ (Nightmare Enterprises) และขายของ (และโฆษณา) สินค้าจากบริษัทที่ใจกลางของป้อมไนต์แมร์
- ไนต์แมร์ (อังกฤษ
- Nightmare, (ญี่ปุ่น: ナイトメア; โรมาจิ: Naitomea)
- ให้เสียงโดย: บันโจ กิงงะ (ญี่ปุ่น), แอนดรูว์ แรนเนลล์ส, ไมเคิล ซินเตอร์นิกลาส (ภาคพิเศษ 3D) (อังกฤษ)
ไนต์แมร์เป็นวายร้ายหลักของซีรีส์และเป็นประธานของไนต์แมร์เอ็นเตอร์ไพรส์ ในตอนส่วนใหญ่เขาปรากฏตัวแค่เงา ส่วนร่างที่แท้จริงถูกเปิดเผยในช่วงตอนสุดท้าย เขาเติบโตจากความทุกข์ทรมาน สร้างสัตว์ประหลาดเพื่อขายในบริษัทของตน และใช้ทหารเข้ายึดครองจักรวาลเพื่อให้ตนมีอำนาจมากขึ้น
ตอน
[แก้]ซีซัน | ตอน | วันเผยแพร่ | ||||
---|---|---|---|---|---|---|
ตอนแรก (ญี่ปุ่น) | ตอนสุดท้าย (ญี่ปุ่น) | ตอนแรก (อังกฤษ) | ตอนสุดท้าย (อังกฤษ) | |||
1 | 26 | 6 ตุลาคม ค.ศ. 2001 | 30 มีนาคม ค.ศ. 2002 | 14 กันยายน ค.ศ. 2002 | 16 กันยายน ค.ศ. 2006 | |
2 | 25 | 6 เมษายน ค.ศ. 2002 | 5 ตุลาคม ค.ศ. 2002 | 7 ธันวาคม ค.ศ. 2002 | 23 กันยายน ค.ศ. 2006 | |
3 | 25 | 12 ตุลาคม ค.ศ. 2002 | 29 มีนาคม ค.ศ. 2003 | 6 กันยายน ค.ศ. 2003 | 16 ตุลาคม ค.ศ. 2004 | |
4 | 24 | 5 เมษายน ค.ศ. 2003 | 27 กันยายน ค.ศ. 2003 | 23 ตุลาคม ค.ศ. 2004 | 9 ธันวาคม ค.ศ. 2006 |
การผลิต
[แก้]ตัวซีรีส์ถูกผลิตโดยบริษัทวาร์ปสตาร์ (Warpstar Inc.) ซึ่งเป็นบริษัทที่ก่อตั้งจากการลงทุนร่วมกันระหว่างนินเท็นโดกับบริษัทฮาลแลบบราโทรี (HAL Laboratory, Inc.)[4]
โซจิ โยชิกาวะ ผู้ผลิตได้พูดถึงความท้าทายในการสร้างอนิเมะว่า เขารู้สึกกังวลว่าอนิเมะที่มาจากวิดีโอเกมส่วนใหญ่มักไปได้ไม่ค่อยดี แต่เมื่อเวลาผ่านไป เขากล่าวว่าตนเห็นความแข็งแกร่งของตัวละคร และรู้สึกว่ามีโอกาสประสบความสำเร็จ[5]
บางครั้งในซีรีส์มีการอิงเนื้อหาจากวัฒนธรรมต่างชาติ ในตอน "A Novel Approach" ได้มีการนำเสนอนวนิยายชื่อว่า Pappy Pottey and the Fool's Stone—เป็นรุ่นล้อเลียนของ แฮร์รี่ พอตเตอร์กับศิลาอาถรรพ์—ที่โด่งดังในแคปปีทาวน์[6]
ความแตกต่างจากเกม
[แก้]อนิเมะนี้ถูกตรวจสอบโดยคนเดียวกันที่ทำงานเกี่ยวกับเกม รวมไปถึงมาซาฮิโระ ซากุไร ผู้สร้างเคอร์บี ในการสัมภาษณ์กับ แฟมิซือ เขากล่าวว่า "ผมได้มีส่วนร่วมอย่างมากในการผลิตอนิเมะ จุดประสงค์หลักคือสร้างอนิเมะที่ทำให้เด็กและพ่อแม่มีความสุข ในตอนแรก 'เคอร์บี' เป็นเกมที่แม้แต่มือใหม่ก็สนุกสนานไปกับมัน...."[7]
การปรับตัวของโฟร์คิดส์
[แก้]ในตอนที่โฟร์คิดส์โปรดักชันส์และพากย์เป็นภาษาอังกฤษสำหรับอเมริกาเหนือ ตัวอนิเมะถูกแก้ไขใหม่: เนื้อหาที่ไม่เหมาะสมต่อผู้รับชมชาวอเมริกันกับแคนาดา เช่น ปืนกับเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ถูกตัดออกโดยสมบูรณ์ และบางอันถูกปรับให้มีความรุนแรงน้อยลง ตัวอักษรที่มองเห็นได้ ไม่ว่าจะเป็นภาษาอังกฤษ, ภาษาญี่ปุ่น หรือแม้แต่ภาษาที่ไม่มีความหมายก็ถูกลบออก อย่างไรก็ตาม สิ่งที่อิงถึงอาหารและวัฒนธรรมญี่ปุ่น (เช่น โอนิงิริ) ไม่ได้ถูกลบ แต่เขียนเพิ่มข้อมูลอาหารลงไป
Michael Haigney ได้กล่าวในการสัมภาษณ์ว่า ทาง Fox Network ไม่ยอมออกอากาศตอน "A Dental Dilemma" เพราะมันแสดงภาพพจน์ของทันตแพทย์ในมุมมองที่ไม่ดี และทำให้เด็ก ๆ กลัว (ถึงแม้ว่าเนื้อเรื่องมีจุดประสงค์ให้เด็ก ๆ แปรงฟัน และถ้าคิดว่าฟันผุ ก็ต้องไปหาหมอฟันก็ตาม)[8]
ประวัติการเผยแพร่
[แก้]ตัวซีรีส์เริ่มออกอากาศในประเทศญี่ปุ่นในวันที่ 28 มิถุนายน ค.ศ. 2007 บนสถานีโทรทัศน์โตเกียวเอ็มเอ็กซ์ จากนั้นในวันที่ 21 มิถุนายน ค.ศ. 2008 ทางสหรัฐได้ออกอากาศในตอนเช้าวันเสาร์ในเวลา 11 นาฬิกาตามเขตเวลาตะวันออก บทโฟร์คิดส์ทีวี โดยสามารถดูซีรีส์ผ่านทางบริการวิดีโอและบนเว็บ www.4Kids.tv อย่างไรก็ตาม รายการนี้ถูกเอาออกจากเว็บไซต์ในเดือนตุลาคม ค.ศ. 2009 โดยทางโฟร์คิดส์เอนเตอร์เทนเมนต์ ถือสิทธิ์ของรายการถึงเดือนกันยายน ค.ศ. 2009[9] พิธีกรจากโฟร์คิดส์ฟอรัมกล่าวในเดือนพฤศจิกายน ค.ศ. 2009 ว่าโฟร์คิดส์ไม่ได้ถือลิขสิทธิ์อีกต่อไป[10] ตั้งแต่วันที่ 21 พฤษภาคม ค.ศ. 2009 เว็บไซต์โตเกียวเอ็มเอ็กซ์ได้นำรายการนี้ออกไปแล้ว[11]
ตั้งแต่ ค.ศ. 2009 ตัวซีรีส์ได้ปรากฏบน Everyone's Theater Channel สำหรับวีในประเทศญี่ปุ่นเท่านั้น แต่ละตอนมีค่า 100 วีพอยน์[12] แต่ทางนินเท็นโดได้ยกเลิกการออกอากาศของวี โนะ มะ แชนแนล (Wii no Ma channel) ในวันที่ 30 เมษายน ค.ศ. 2012
ตอนพิเศษที่ใช้แอนิเมชัน CG ชื่อว่า "Take it Down!! The Crustation Monster Ebizou" (ญี่ปุ่น: 倒せ!!甲殻魔獣エビゾウ; โรมาจิ: Taose!! Kōkaku Majū Ebizou) ถูกเผยแพร่ในวี โนะ มะ ในประเทศญี่ปุ่นเมื่อวันที่ 9 สิงหาคม ค.ศ. 2009[13] ซึ่งรุ่นระบบภาพสามมิติของตอนนี้ถูกพากย์โดยโฟร์คิดส์แล้วถ่ายทอดสดสองตอนบนนินเท็นโด 3ดีเอส ในเดือนมกราคม ค.ศ. 2012 ภายใต้ชื่อ "Kirby 3D"[14] และตอนเผยแพร่เกม เคอร์บีสดรีมคอลเลกชัน สำหรับวันครบรอบ 20 ปี ผู้เล่นสามารถดูสามตอนจากซีรีส์ในวีได้[15]
ธีมเพลง
[แก้]- ญี่ปุ่น
- เพลงเปิด:
- "Kirby * March" (カービィ★マーチ) (ตอน 1-71)
- "Kirby!" (カービィ!) (ตอน 72-100; ถูกใช้ในเกม ดองกีคองกา รุ่นญี่ปุ่น)
- เพลงปิด:
- "Kihon wa maru" (きほんはまる) (ตอน 1-71)
- "Kirby * Step!" (カービィ☆ステップ!) (ตอน 72-100)
- ประพันธ์โดยอากิระ มิยางาวะ
- อังกฤษ
-
- "Kirby Kirby Kirby!" (ถูกใช้ในเกม ดองกีคองกา รุ่นอเมริกาเหนือในชื่อ "Kirby: Right Back At Ya!")
- ประพันธ์โดย Ralph Schuckett, แมนนี คอรัลโล, เวยน์ ชาร์ปี, John VanTongeren, Louis Cortelezzi, รัสตี แอนดรูว์ส, Peter Scaturro, นอร์แมน เจ. กรอสส์เฟลด์, แอนน์ โปป, ลิซ แม็กโร, จอห์น แซนด์ส, จอห์น ซีกเลอร์ และ โจนาธาน ลัตติฟ
เผยแพร่ในโฮมวิดีโอ
[แก้]แผ่นดีวีดีทั้งหมดของ Kirby: Right Back at Ya! ในอเมริกาเหนือถูกเผยแพร่โดยโฟร์คิดส์โฮมวิดีโอ และได้รับอนุญาตโดย Funimation Entertainment ใน ค.ศ. 2005 มีการเผยแพร่ดีวีดีชื่อ Kirby: Fright to the Finish!! โดยเป็นตอนในโทรทัศน์ 5 ตอนที่ถูกดัดแปลงให้เป็นภาพยนตร์
- Kirby: Right Back at Ya! Volume 1: Kirby Comes to Cappytown (12 พฤษจิกายน ค.ศ. 2002)[16]
- Kirby: Right Back at Ya! Volume 2: A Dark and Stormy Knight (7 มกราคม ค.ศ. 2003)[17]
- Kirby: Right Back At Ya! Volume 3: Kirby's Egg-Cellent Adventure (4 พฤษจิกายน ค.ศ. 2003)[18]
- Kirby: Fright to the Finish!! (14 มิถุนายน ค.ศ. 2005)[19]
- Kirby's Adventures in Cappytown (19 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 2008)
- Kirby: Cappy New Year & Other Kirby Adventures (9 ธันวาคม ค.ศ. 2008)
ในวันที่ 6 พฤษภาคม ค.ศ. 2010 มีการเผยแพร่ดีวีดีซีซัน 1 ในประเทศไต้หวัน[20] [21] และใน ค.ศ. 2012 มีการนำ 3 ตอนจากซีรีส์เข้าไปในเกม เคอร์บีส์ดรีมคอลเล็กชัน[22]
การตอบรับ
[แก้]David Sanchez จาก GameZone พบว่าโชว์นี้ "สุดยอด" พร้อมยกย่องเอสคาร์กูน และแนะนำว่าเขาควรถูกใส่ในเกมที่สี่ของ ซูเปอร์สแมชบราเธอร์สฟอร์นินเท็นโด 3ดีเอส แอนด์วียู[23] อย่างไรก็ตาม Common Sense Media กล่าวถึงรุ่นพากย์อังกฤษว่า "เป็นการทำลายคุณค่าต่อการศึกษา แต่ยังคงเรื่องต่อสู้กับสัตว์ประหลาด"[24] Bamboo Dong จาก Anime News Network ยกให้ เคอร์บี: ไรต์แบคแอตยา! เป็นหนึ่งในตัวอย่างอนิเมะที่ "มีเพื่อความสนุกเท่านั้น" และกล่าวว่า "ซีรีส์นี้ไม่ค่อยดีเลย" และเป็นที่ชื่นชอบเฉพาะเหล่าแฟน เคอร์บี เท่านั้น[25]
ดูเพิ่ม
[แก้]อ้างอิง
[แก้]- ↑ "Archived copy" 星のカービィ ストーリー (ภาษาญี่ปุ่น). Chubu-Nippon Broadcasting. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ June 1, 2017. สืบค้นเมื่อ November 12, 2014.
{{cite web}}
: CS1 maint: archived copy as title (ลิงก์) - ↑ Erickson, Hal (2005). Television Cartoon Shows: An Illustrated Encyclopedia, 1949 Through 2003 (2nd ed.). McFarland & Co. pp. 482–483. ISBN 978-1476665993.
- ↑ "Nintendo's Kirby Cartoon to Sneak Preview this Weekend". Gamers Hell. August 31, 2002. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-09-12. สืบค้นเมื่อ October 31, 2014.
- ↑ "HAL Laboratory: Company Profile". N-Sider. October 5, 2005. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-05-21. สืบค้นเมื่อ November 12, 2014.
- ↑ カービィを手がけた監督に直撃!アニメ界の大御所、吉川惣司監督インタビュー (ภาษาญี่ปุ่น). Nintendo.co.jp. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-08-18. สืบค้นเมื่อ November 12, 2014.
- ↑ Hernandez, Pedro (July 12, 2011). "When Kirby (Briefly) Became Harry Potter". Nintendo World Report. สืบค้นเมื่อ November 11, 2014.
- ↑ "【NEWS】テレビでカービィの活躍が見られるぞ! アニメ『星のカービィ』制作発表会". Famitsu. August 21, 2001. สืบค้นเมื่อ November 12, 2014.
- ↑ "mr. michael haigney interview (4kids)". Anime Boredom. February 12, 2006. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ March 24, 2007. สืบค้นเมื่อ November 12, 2014.
- ↑ "4Kids Entertainment Annual Report 2004" (PDF). March 16, 2005. p. 7. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ March 9, 2006. สืบค้นเมื่อ September 2, 2016.
- ↑ "4kids forums: Where, oh Where, has Kirby Gone?". November 16, 2009. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ March 1, 2012. สืบค้นเมื่อ Dec 9, 2009.
- ↑ "Tokyo MX's official site for Kirby of the Stars". MXTV. May 21, 2009. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-06-19. สืบค้นเมื่อ July 3, 2010.
- ↑ "The Wii no Ma's list of Kirby episodes". June 4, 2011. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ March 16, 2012. สืบค้นเมื่อ Jun 4, 2011.
- ↑ "星のカービィ ~特別編~ 番組の紹介 「Wiiの間」ホームページ" (ภาษาญี่ปุ่น). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ February 11, 2010. สืบค้นเมื่อ November 12, 2014.
- ↑ "Kirby: Right Back At Ya! Volume 1". Nintendo.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-10-12. สืบค้นเมื่อ November 12, 2014.
- ↑ Osborne, Matthew (July 17, 2012). "Kirby's Dream Collection: Special Edition". Nintendo World Report. สืบค้นเมื่อ November 12, 2014.
- ↑ "4Kids Entertainment Home Video Announces Kirby's Home Video Debut With Kirby Comes To Cappy Town" (PDF). 4kidsentertainment.com. November 12, 2002. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ June 14, 2006. สืบค้นเมื่อ August 21, 2016.
- ↑ "A Dark and Stormy Knight". 4kidshomevideo.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ February 17, 2006. สืบค้นเมื่อ October 8, 2016.
- ↑ "4Kids Entertainment Home Video Brings Kirby:Right Back At Ya!With Release Of Kirby's Egg-Cellent Adventure On November 4, 2003" (PDF). 4kidsentertainment.com. November 4, 2003. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ June 14, 2006. สืบค้นเมื่อ August 24, 2016.
- ↑ "Kirby Comes Right Back At Ya With His First Full-Length Movie From 4Kids Entertainment" (PDF). 4kidsentertainment.com. April 13, 2005. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ February 15, 2006. สืบค้นเมื่อ August 16, 2016.
- ↑ "Kirby DVD Box Set 1 from Taiwan". May 6, 2010. สืบค้นเมื่อ Feb 6, 2011.
- ↑ "Kirby DVD Box Set 2 from Taiwan". May 6, 2010. สืบค้นเมื่อ Feb 6, 2011.
- ↑ Sterling, Jim (September 19, 2012). "Review: Kirby's Dream Collection". Destructoid. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-05-04. สืบค้นเมื่อ June 10, 2020.
- ↑ Sanchez, David (2012). "Ten Nintendo characters that should be in the next Smash Bros". GameZone. สืบค้นเมื่อ October 31, 2014.
- ↑ Galguera, Robin. "Kirby: Right Back at Ya". Common Sense Media. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ August 18, 2010. สืบค้นเมื่อ November 11, 2014.
- ↑ Dong, Bamboo (February 9, 2003). "Shelf Life: Some anime series are like popular J-Rock bands". Anime News Network. สืบค้นเมื่อ November 11, 2014.