เคอร์บี: ไรต์แบคแอตยา!

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เคอร์บี: ไรต์แบคแอตยา!
星のカービィ
(Hoshi no Kābī)
ชื่อภาษาอังกฤษKirby: Right Back at Ya!
แนว
อนิเมะ
กำกับโดยโซจิ โยชิกาวะ
อำนวยการโดยซาโตรุ อิวาตะ
ไทเฮ ยามานาชิ
เซอิจิ ฮิราโนะ
ทาเกยูกิ โอกาซากิ
เขียนบทโดยโซจิ โยชิกาวะ
ดนตรีโดยอากิระ มิยางาวะ
สตูดิโอStudio Sign
Studio Comet
ถือสิทธิ์โดย
Nelvana (2002-2009) (TV)
4Kids Entertainment (2002–2009) (TV)
20th Television (TV distribution)
Funimation (VHS/DVD distribution released by 4Kids Home Video)
ฉาย
  • JP: 6 ตุลาคม ค.ศ. 2001 – 27 กันยายน ค.ศ. 2003
  • NA: 14 กันยายน ค.ศ. 2002 – 9 ธันวาคม ค.ศ. 2006

เคอร์บี: ไรต์แบคแอตยา! (อังกฤษ: Kirby: Right Back at Ya!) รู้จักกันในประเทศญี่ปุ่นว่า โฮชิ โนะ คาบี (ญี่ปุ่น: 星のカービィโรมาจิHoshi no Kābī แปลตรงตัว: เคอร์บีแห่งดวงดาว) เป็นอนิเมะญี่ปุ่นที่สร้างโดยบริษัทวาร์ปสตาร์ (Warpstar Inc.) และมีฐานจากเคอร์บี แฟรนไชส์ของนินเท็นโด ตัวซีรีส์มีถึง 100 ตอนที่เริ่มเผยแพร่ตั้งแต่วันที่ 6 ตุลาคม ค.ศ. 2001 ถึง 27 กันยายน ค.ศ. 2003 โดยฉายผ่านสถานีโทรทัศน์จูบู-นิปปงในญี่ปุ่น[1] ส่วนทางสหรัฐจะฉายผ่านทางฟอกซ์บ็อกซ์ ซึ่งเริ่มฉายตอนแรกในวันที่ 14 กันยายน ค.ศ. 2002[2][3]จนถึงปลายค.ศ. 2006

ในอนิเมะตามถึงเรื่องราวของเคอร์บี สิ่งมีชีวิตที่มีสีชมพู รูปร่างกลม มีนิสัยคล้ายเด็กที่ไม่สามารถพูดได้ชัดเจน แต่สามารถมีพลังใหม่ชั่วคราวโดยการดูดเจ้าของพลัง ยานของเคอร์บีชนใกล้กับหมู่บ้านแคปปีทาวน์ (Cappy Town) ที่ดาวป็อปสตาร์ แล้วเป็นเพื่อนกับพี่น้องผิวเหลืองสองคนชื่อทิฟฟ์กับทัฟฟ์และเพื่อนของพวกเขา โฟโลโลกับฟาลาลา อย่างรวดเร็ว ในแต่ละตอนของซีรีส์ เคอร์บีและเพื่อนของเขาเอาตัวรอดจากคิงเดเดเดกับเอสคาร์กูน ผู้ช่วยของพระองค์ ที่มักจัดการเคอร์บีโดยการใช้สัตว์ประหลาดที่สั่งจาก NME (ไนต์แมร์เอ็นเตอร์ไพรส์; NightMare Enterprises)

ตัวละคร[แก้]

เคอร์บี (อังกฤษ
Kirby, ญี่ปุ่น: カービィโรมาจิKābī)
ให้เสียงโดย: มากิโกะ โอโมโตะ (ญี่ปุ่น), เอมี เบิร์นเบาม์ในบางฉากของตอนแรก (อังกฤษ)

เคอร์บี เป็นนักรบแห่งดวงดาว (Star Warrior) วัยเด็ก เพราะยานของนักรบแห่งดาวถูกออกแบบมาเพื่อไปในที่ที่มีปีศาจอยู่ ยานของเคอร์บีพบปีศาจที่เดเดเดสั่งมาและถูกปลุกก่อนกำหนดถึง 200 ปี เขาไม่ค่อยพูดมาก เพราะพูดแต่คำว่า "โปโย" (poyo) และคำกับเสียงที่ไม่สามารถต่อเป็นประโยคได้ บางครั้งก็พูดภาษาของพวกเขา โดยใช้คำโปรดของเขาคือ "ซูอิกะ" (suika แตงโมในภาษาญี่ปุ่น) หรือพูดในสิ่งที่คนอื่นพูดซ้ำ

ทิฟฟ์ (อังกฤษ
Tiff, ญี่ปุ่น: フームโรมาจิFumuทับศัพท์: ฟูมุ)
ให้เสียงโดย: ซายูริ โยชิดะ (ญี่ปุ่น), เคอร์รี วิลเลียมส์ (อังกฤษ)

ทิฟฟ์เป็นลูกสาวของรัฐมนตรี อาศัยอยู่ในปราสาทของเดเดเด เธอมีความฉลาดมากในวัยของเธอ และสนใจในเรื่องสิ่งแวดล้อม โดยเฉพาะสาขาชีววิทยาทางทะเล เธอมีอารมณ์โมโหง่าย โดยเฉพาะเมื่อเธอคิดว่าสิ่งที่คิงเดเดเดทำไม่ช่วยอะไรเลย ทิฟฟ์เป็นคนเดียวที่สามารถเรียกวาร์ปสตาร์ของเคอร์บีได้

ทัฟฟ์ (อังกฤษ
Tuff, ญี่ปุ่น: ブンโรมาจิBunทับศัพท์: บุง)
ให้เสียงโดย: ริกะ โคมัตสึ (ญี่ปุ่น), เคย์ซี โรเจอร์ส (อังกฤษ)

ทัฟฟ์ เป็นน้องชายของทิฟฟ์ที่มีผมลายซิกแซ็กซ่อนดวงตาข้างใน เขามีพฤติกรรมตรงข้ามกับพี่สาวโดยสิ้นเชิง โดยชอบไปเล่นข้างนอกมากกว่าอ่านหนังสือ

คิงเดเดเด (อังกฤษ
King Dedede, ญี่ปุ่น: デデデ大王โรมาจิDedede Daiō)
ให้เสียงโดย: เคนอิจิ โองาตะ (ญี่ปุ่น), เท็ด เลวิส (อังกฤษ)

คิงเดเดเด เป็นผู้นำที่อ้างสิทธิครองราชย์แห่งดรีมแลนด์ ไม่มีใครกล้าให้พระองค์ออกจากบัลลังก์ ถึงแม้ว่าพระองค์มักทำร้ายเด็ก ๆ และสิ่งแวดล้อม แต่ความเกลียดชังเคอร์บีอย่างมากทำให้พระองค์ซื้อสัตว์ประหลาดจาก HolyNightMare Co. (NightMare Enterprises ในพากย์อังกฤษ) และสร้างความโกลาหลแก่ประชาชนดรีมแลนด์

เอสคาร์กูน (อังกฤษ
Escargoon, ญี่ปุ่น: エスカルゴンโรมาจิEsukarugonทับศัพท์: เอซุการุกง)
ให้เสียงโดย: นาโอกิ ทัตสึตะ (ญี่ปุ่น), เท็ด เลวิส (อังกฤษ)

เอสคาร์กูน เป็นหอยทากแบบมานุษยรูปนิยมที่เคยอาศัยอยู่กับแม่ในฟาร์มก่อนที่จะออกไปทำมาหากิน แต่ถึงแม้ว่าเอสคารกูนจะมีการศึกษา และรู้เรื่องเกี่ยวกับเคมีและไฟฟ้า (แม้แต่เขียนหนังสือพฤกษศาสตร์) เขาก็ยังคงทำงานให้กับเดเดเดเป็นเวลาหลายปีในฐานะผู้ช่วยกับกระสอบทราย

เมตาไนต์ (อังกฤษ
Meta Knight, ญี่ปุ่น: メタナイトโรมาจิMeta Naito)
ให้เสียงโดย: อัตสึชิ คิซาอิจิ (ญี่ปุ่น), อีริก สจวต (อังกฤษ)

เมตาไนต์ทำงานให้กับเดเดเด เช่นเดียวกันกับซอร์ตไนต์ (Sword Knight) กับเบลดไนต์ (Blade Knight) ผู้ติดตามของเขา อย่างไรก็ตาม มีการเปิดเผยว่าเมตาไนต์เป็นนักรบแห่งดวงดาวเหมือนกับเคอร์บี และเป็นหนึ่งในผู้รอดสงครามกับไนต์แมร์ เขาถือดาบศักดิ์สิทธิ์กาแลกเซีย (sacred sword Galaxia) ซึ่งเป็นดาบที่มีไม่กี่คนเท่านั้นที่ถือได้

คัสตอมเมอร์เซอร์วิส (อังกฤษ
Customer Service, ญี่ปุ่น: カスタマーサービスโรมาจิKasutamā Sābisu)
ให้เสียงโดย: บันโจ กิงงะ (ญี่ปุ่น), แดน กรีน (อังกฤษ)

ทำหน้าเป็นภาพลักษณ์ของไนต์แมร์เอ็นเตอร์ไพรส์ (Nightmare Enterprises) และขายของ (และโฆษณา) สินค้าจากบริษัทที่ใจกลางของป้อมไนต์แมร์

ไนต์แมร์ (อังกฤษ
Nightmare, (ญี่ปุ่น: ナイトメアโรมาจิNaitomea)
ให้เสียงโดย: บันโจ กิงงะ (ญี่ปุ่น), แอนดรูว์ แรนเนลล์ส, ไมเคิล ซินเตอร์นิกลาส (ภาคพิเศษ 3D) (อังกฤษ)

ไนต์แมร์เป็นวายร้ายหลักของซีรีส์และเป็นประธานของไนต์แมร์เอ็นเตอร์ไพรส์ ในตอนส่วนใหญ่เขาปรากฏตัวแค่เงา ส่วนร่างที่แท้จริงถูกเปิดเผยในช่วงตอนสุดท้าย เขาเติบโตจากความทุกข์ทรมาน สร้างสัตว์ประหลาดเพื่อขายในบริษัทของตน และใช้ทหารเข้ายึดครองจักรวาลเพื่อให้ตนมีอำนาจมากขึ้น

ตอน[แก้]

ซีซัน ตอน วันเผยแพร่
ตอนแรก (ญี่ปุ่น) ตอนสุดท้าย (ญี่ปุ่น) ตอนแรก (อังกฤษ) ตอนสุดท้าย (อังกฤษ)
1 26 6 ตุลาคม ค.ศ. 2001 (2001-10-06) 30 มีนาคม ค.ศ. 2002 (2002-03-30) 14 กันยายน ค.ศ. 2002 (2002-09-14) 16 กันยายน ค.ศ. 2006 (2006-09-16)
2 25 6 เมษายน ค.ศ. 2002 (2002-04-06) 5 ตุลาคม ค.ศ. 2002 (2002-10-05) 7 ธันวาคม ค.ศ. 2002 (2002-12-07) 23 กันยายน ค.ศ. 2006 (2006-09-23)
3 25 12 ตุลาคม ค.ศ. 2002 (2002-10-12) 29 มีนาคม ค.ศ. 2003 (2003-03-29) 6 กันยายน ค.ศ. 2003 (2003-09-06) 16 ตุลาคม ค.ศ. 2004 (2004-10-16)
4 24 5 เมษายน ค.ศ. 2003 (2003-04-05) 27 กันยายน ค.ศ. 2003 (2003-09-27) 23 ตุลาคม ค.ศ. 2004 (2004-10-23) 9 ธันวาคม ค.ศ. 2006 (2006-12-09)


การผลิต[แก้]

ตัวซีรีส์ถูกผลิตโดยบริษัทวาร์ปสตาร์ (Warpstar Inc.) ซึ่งเป็นบริษัทที่ก่อตั้งจากการลงทุนร่วมกันระหว่างนินเท็นโดกับบริษัทฮาลแลบบราโทรี (HAL Laboratory, Inc.)[4]

โซจิ โยชิกาวะ ผู้ผลิตได้พูดถึงความท้าทายในการสร้างอนิเมะว่า เขารู้สึกกังวลว่าอนิเมะที่มาจากวิดีโอเกมส่วนใหญ่มักไปได้ไม่ค่อยดี แต่เมื่อเวลาผ่านไป เขากล่าวว่าตนเห็นความแข็งแกร่งของตัวละคร และรู้สึกว่ามีโอกาสประสบความสำเร็จ[5]

บางครั้งในซีรีส์มีการอิงเนื้อหาจากวัฒนธรรมต่างชาติ ในตอน "A Novel Approach" ได้มีการนำเสนอนวนิยายชื่อว่า Pappy Pottey and the Fool's Stone—เป็นรุ่นล้อเลียนของ แฮร์รี่ พอตเตอร์กับศิลาอาถรรพ์—ที่โด่งดังในแคปปีทาวน์[6]

ความแตกต่างจากเกม[แก้]

อนิเมะนี้ถูกตรวจสอบโดยคนเดียวกันที่ทำงานเกี่ยวกับเกม รวมไปถึงมาซาฮิโระ ซากุไร ผู้สร้างเคอร์บี ในการสัมภาษณ์กับ แฟมิซือ เขากล่าวว่า "ผมได้มีส่วนร่วมอย่างมากในการผลิตอนิเมะ จุดประสงค์หลักคือสร้างอนิเมะที่ทำให้เด็กและพ่อแม่มีความสุข ในตอนแรก 'เคอร์บี' เป็นเกมที่แม้แต่มือใหม่ก็สนุกสนานไปกับมัน...."[7]

การปรับตัวของโฟร์คิดส์[แก้]

ในตอนที่โฟร์คิดส์โปรดักชันส์และพากย์เป็นภาษาอังกฤษสำหรับอเมริกาเหนือ ตัวอนิเมะถูกแก้ไขใหม่: เนื้อหาที่ไม่เหมาะสมต่อผู้รับชมชาวอเมริกันกับแคนาดา เช่น ปืนกับเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ถูกตัดออกโดยสมบูรณ์ และบางอันถูกปรับให้มีความรุนแรงน้อยลง ตัวอักษรที่มองเห็นได้ ไม่ว่าจะเป็นภาษาอังกฤษ, ภาษาญี่ปุ่น หรือแม้แต่ภาษาที่ไม่มีความหมายก็ถูกลบออก อย่างไรก็ตาม สิ่งที่อิงถึงอาหารและวัฒนธรรมญี่ปุ่น (เช่น โอนิงิริ) ไม่ได้ถูกลบ แต่เขียนเพิ่มข้อมูลอาหารลงไป

Michael Haigney ได้กล่าวในการสัมภาษณ์ว่า ทาง Fox Network ไม่ยอมออกอากาศตอน "A Dental Dilemma" เพราะมันแสดงภาพพจน์ของทันตแพทย์ในมุมมองที่ไม่ดี และทำให้เด็ก ๆ กลัว (ถึงแม้ว่าเนื้อเรื่องมีจุดประสงค์ให้เด็ก ๆ แปรงฟัน และถ้าคิดว่าฟันผุ ก็ต้องไปหาหมอฟันก็ตาม)[8]

ประวัติการเผยแพร่[แก้]

ตัวซีรีส์เริ่มออกอากาศในประเทศญี่ปุ่นในวันที่ 28 มิถุนายน ค.ศ. 2007 บนสถานีโทรทัศน์โตเกียวเอ็มเอ็กซ์ จากนั้นในวันที่ 21 มิถุนายน ค.ศ. 2008 ทางสหรัฐได้ออกอากาศในตอนเช้าวันเสาร์ในเวลา 11 นาฬิกาตามเขตเวลาตะวันออก บทโฟร์คิดส์ทีวี โดยสามารถดูซีรีส์ผ่านทางบริการวิดีโอและบนเว็บ www.4Kids.tv อย่างไรก็ตาม รายการนี้ถูกเอาออกจากเว็บไซต์ในเดือนตุลาคม ค.ศ. 2009 โดยทางโฟร์คิดส์เอนเตอร์เทนเมนต์ ถือสิทธิ์ของรายการถึงเดือนกันยายน ค.ศ. 2009[9] พิธีกรจากโฟร์คิดส์ฟอรัมกล่าวในเดือนพฤศจิกายน ค.ศ. 2009 ว่าโฟร์คิดส์ไม่ได้ถือลิขสิทธิ์อีกต่อไป[10] ตั้งแต่วันที่ 21 พฤษภาคม ค.ศ. 2009 เว็บไซต์โตเกียวเอ็มเอ็กซ์ได้นำรายการนี้ออกไปแล้ว[11]

ตั้งแต่ ค.ศ. 2009 ตัวซีรีส์ได้ปรากฏบน Everyone's Theater Channel สำหรับวีในประเทศญี่ปุ่นเท่านั้น แต่ละตอนมีค่า 100 วีพอยน์[12] แต่ทางนินเท็นโดได้ยกเลิกการออกอากาศของวี โนะ มะ แชนแนล (Wii no Ma channel) ในวันที่ 30 เมษายน ค.ศ. 2012

ตอนพิเศษที่ใช้แอนิเมชัน CG ชื่อว่า "Take it Down!! The Crustation Monster Ebizou" (ญี่ปุ่น: 倒せ!!甲殻魔獣エビゾウโรมาจิTaose!! Kōkaku Majū Ebizou) ถูกเผยแพร่ในวี โนะ มะ ในประเทศญี่ปุ่นเมื่อวันที่ 9 สิงหาคม ค.ศ. 2009[13] ซึ่งรุ่นระบบภาพสามมิติของตอนนี้ถูกพากย์โดยโฟร์คิดส์แล้วถ่ายทอดสดสองตอนบนนินเท็นโด 3ดีเอส ในเดือนมกราคม ค.ศ. 2012 ภายใต้ชื่อ "Kirby 3D"[14] และตอนเผยแพร่เกม เคอร์บีสดรีมคอลเลกชัน สำหรับวันครบรอบ 20 ปี ผู้เล่นสามารถดูสามตอนจากซีรีส์ในวีได้[15]

ธีมเพลง[แก้]

ญี่ปุ่น
เพลงเปิด:
  • "Kirby * March" (カービィ★マーチ) (ตอน 1-71)
  • "Kirby!" (カービィ!) (ตอน 72-100; ถูกใช้ในเกม ดองกีคองกา รุ่นญี่ปุ่น)
เพลงปิด:
อังกฤษ

เผยแพร่ในโฮมวิดีโอ[แก้]

แผ่นดีวีดีทั้งหมดของ Kirby: Right Back at Ya! ในอเมริกาเหนือถูกเผยแพร่โดยโฟร์คิดส์โฮมวิดีโอ และได้รับอนุญาตโดย Funimation Entertainment ใน ค.ศ. 2005 มีการเผยแพร่ดีวีดีชื่อ Kirby: Fright to the Finish!! โดยเป็นตอนในโทรทัศน์ 5 ตอนที่ถูกดัดแปลงให้เป็นภาพยนตร์

  • Kirby: Right Back at Ya! Volume 1: Kirby Comes to Cappytown (12 พฤษจิกายน ค.ศ. 2002)[16]
  • Kirby: Right Back at Ya! Volume 2: A Dark and Stormy Knight (7 มกราคม ค.ศ. 2003)[17]
  • Kirby: Right Back At Ya! Volume 3: Kirby's Egg-Cellent Adventure (4 พฤษจิกายน ค.ศ. 2003)[18]
  • Kirby: Fright to the Finish!! (14 มิถุนายน ค.ศ. 2005)[19]
  • Kirby's Adventures in Cappytown (19 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 2008)
  • Kirby: Cappy New Year & Other Kirby Adventures (9 ธันวาคม ค.ศ. 2008)

ในวันที่ 6 พฤษภาคม ค.ศ. 2010 มีการเผยแพร่ดีวีดีซีซัน 1 ในประเทศไต้หวัน[20] [21] และใน ค.ศ. 2012 มีการนำ 3 ตอนจากซีรีส์เข้าไปในเกม เคอร์บีส์ดรีมคอลเล็กชัน[22]

การตอบรับ[แก้]

David Sanchez จาก GameZone พบว่าโชว์นี้ "สุดยอด" พร้อมยกย่องเอสคาร์กูน และแนะนำว่าเขาควรถูกใส่ในเกมที่สี่ของ ซูเปอร์สแมชบราเธอร์สฟอร์นินเท็นโด 3ดีเอส แอนด์วียู[23] อย่างไรก็ตาม Common Sense Media กล่าวถึงรุ่นพากย์อังกฤษว่า "เป็นการทำลายคุณค่าต่อการศึกษา แต่ยังคงเรื่องต่อสู้กับสัตว์ประหลาด"[24] Bamboo Dong จาก Anime News Network ยกให้ เคอร์บี: ไรต์แบคแอตยา! เป็นหนึ่งในตัวอย่างอนิเมะที่ "มีเพื่อความสนุกเท่านั้น" และกล่าวว่า "ซีรีส์นี้ไม่ค่อยดีเลย" และเป็นที่ชื่นชอบเฉพาะเหล่าแฟน เคอร์บี เท่านั้น[25]

ดูเพิ่ม[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. "Archived copy" 星のカービィ ストーリー (ภาษาญี่ปุ่น). Chubu-Nippon Broadcasting. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ June 1, 2017. สืบค้นเมื่อ November 12, 2014.{{cite web}}: CS1 maint: archived copy as title (ลิงก์)
  2. Erickson, Hal (2005). Television Cartoon Shows: An Illustrated Encyclopedia, 1949 Through 2003 (2nd ed.). McFarland & Co. pp. 482–483. ISBN 978-1476665993.
  3. "Nintendo's Kirby Cartoon to Sneak Preview this Weekend". Gamers Hell. August 31, 2002. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-09-12. สืบค้นเมื่อ October 31, 2014.
  4. "HAL Laboratory: Company Profile". N-Sider. October 5, 2005. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-05-21. สืบค้นเมื่อ November 12, 2014.
  5. カービィを手がけた監督に直撃!アニメ界の大御所、吉川惣司監督インタビュー (ภาษาญี่ปุ่น). Nintendo.co.jp. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-08-18. สืบค้นเมื่อ November 12, 2014.
  6. Hernandez, Pedro (July 12, 2011). "When Kirby (Briefly) Became Harry Potter". Nintendo World Report. สืบค้นเมื่อ November 11, 2014.
  7. "【NEWS】テレビでカービィの活躍が見られるぞ! アニメ『星のカービィ』制作発表会". Famitsu. August 21, 2001. สืบค้นเมื่อ November 12, 2014.
  8. "mr. michael haigney interview (4kids)". Anime Boredom. February 12, 2006. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ March 24, 2007. สืบค้นเมื่อ November 12, 2014.
  9. "4Kids Entertainment Annual Report 2004" (PDF). March 16, 2005. p. 7. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ March 9, 2006. สืบค้นเมื่อ September 2, 2016.
  10. "4kids forums: Where, oh Where, has Kirby Gone?". November 16, 2009. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ March 1, 2012. สืบค้นเมื่อ Dec 9, 2009.
  11. "Tokyo MX's official site for Kirby of the Stars". MXTV. May 21, 2009. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-06-19. สืบค้นเมื่อ July 3, 2010.
  12. "The Wii no Ma's list of Kirby episodes". June 4, 2011. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ March 16, 2012. สืบค้นเมื่อ Jun 4, 2011.
  13. "星のカービィ ~特別編~ 番組の紹介 「Wiiの間」ホームページ" (ภาษาญี่ปุ่น). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ February 11, 2010. สืบค้นเมื่อ November 12, 2014.
  14. "Kirby: Right Back At Ya! Volume 1". Nintendo.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-10-12. สืบค้นเมื่อ November 12, 2014.
  15. Osborne, Matthew (July 17, 2012). "Kirby's Dream Collection: Special Edition". Nintendo World Report. สืบค้นเมื่อ November 12, 2014.
  16. "4Kids Entertainment Home Video Announces Kirby's Home Video Debut With Kirby Comes To Cappy Town" (PDF). 4kidsentertainment.com. November 12, 2002. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ June 14, 2006. สืบค้นเมื่อ August 21, 2016.
  17. "A Dark and Stormy Knight". 4kidshomevideo.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ February 17, 2006. สืบค้นเมื่อ October 8, 2016.
  18. "4Kids Entertainment Home Video Brings Kirby:Right Back At Ya!With Release Of Kirby's Egg-Cellent Adventure On November 4, 2003" (PDF). 4kidsentertainment.com. November 4, 2003. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ June 14, 2006. สืบค้นเมื่อ August 24, 2016.
  19. "Kirby Comes Right Back At Ya With His First Full-Length Movie From 4Kids Entertainment" (PDF). 4kidsentertainment.com. April 13, 2005. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ February 15, 2006. สืบค้นเมื่อ August 16, 2016.
  20. "Kirby DVD Box Set 1 from Taiwan". May 6, 2010. สืบค้นเมื่อ Feb 6, 2011.
  21. "Kirby DVD Box Set 2 from Taiwan". May 6, 2010. สืบค้นเมื่อ Feb 6, 2011.
  22. Sterling, Jim (September 19, 2012). "Review: Kirby's Dream Collection". Destructoid. สืบค้นเมื่อ June 10, 2020.
  23. Sanchez, David (2012). "Ten Nintendo characters that should be in the next Smash Bros". GameZone. สืบค้นเมื่อ October 31, 2014.
  24. Galguera, Robin. "Kirby: Right Back at Ya". Common Sense Media. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ August 18, 2010. สืบค้นเมื่อ November 11, 2014.
  25. Dong, Bamboo (February 9, 2003). "Shelf Life: Some anime series are like popular J-Rock bands". Anime News Network. สืบค้นเมื่อ November 11, 2014.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]