เครื่องหมายทางข้าง
เครื่องหมายทางข้าง (อังกฤษ: Lateral mark) หรือ ทุ่นเครื่องหมายทางข้าง, หลักเครื่องหมายทางข้าง (อังกฤษ: Lateral buoy, Lateral post) เป็นเครื่องหมายตามที่สมาคมประภาคารและเครื่องหมายทางเรือระหว่างประเทศ (IALA) ได้กำหนดขึ้นเป็นเครื่องหมายทางทะเลสำหรับใช้งานนำร่องทางทะเลเพื่อระบุแนวขอบของร่องน้ำ
เครื่องหมายแต่ละอันบ่งบอกถึงขอบเขตของร่องน้ำในรูปแบบของกราบซ้าย (ซ้ายมือ Port) หรือกราบขวา (ขวามือ Starboard) ซึ่งทิศทางเหล่านี้สัมพันธ์กันกับทิศทางการเดินเรือเข้าสู่แนวทุ่น (direction of buoyage) ปกติจะมุ่งไปในทิศทางของต้นน้ำ ส่วนในแม่น้ำทิศทางการเดินเรือเข้าสู่แนวทุ่นจะมุ่งเข้าไปยังทิศทางของต้นแม่น้ำ ส่วนของท่าเรือทิศทางจะเป็นจากทะเลเข้าสู่ท่าเรือ ในกรณีที่มีข้อสงสัยจะมีระบุเอาไว้ในแผนที่เดินเรือ ซึ่งบ่อยครั้งจะใช้ระบบเครื่องหมายจตุรทิศเมื่อมีความสับสนเกี่ยวกับเรื่องทิศทาง
สำหรับเรือที่มุ่งหน้าเข้าสู่แนวทุ่น (เช่น เข้าสู่ท่าเรือ) และต้องการจะเดินเรือในร่องน้ำหลัก ควรจะ
- ให้ทางกราบซ้าย (Port) ของเรือ ชิดเครื่องหมายกราบซ้าย และ
- ให้ทางกราบขวา (Starboard) ของเรือ ชิดเครื่องหมายกราบขวา
ในประเทศไทย กรมเจ้าท่าได้ให้ความหมายเครื่องหมายทางข้างในส่วนของทุ่นและหลักไฟต่างกัน[1] คือ
- ส่วนของทุ่น[1] Starboard hand Buoy ให้เป็น ทุ่นไฟขอบร่องด้านขวา และ Port hand Buoy ให้เป็น ทุ่นไฟขอบร่องด้านซ้าย
- ส่วนของหลักไฟ[1] Starboard hand Post ให้เป็น หลักไฟขอบร่องด้านขวา และ Port hand Post ให้เป็น หลักไฟขอบร่องด้านซ้าย
ระเบียบ IALA
[แก้]เครื่องหมายจะแตกต่างกันไปตามรูปร่างและสี ได้แก่ สีแดงหรือสีเขียว
ด้วยเหตุผลทางประวัติศาสตร์ จึงทำให้ทั้งโลกมีการใช้งานรูปแบบที่แตกต่างกันสองแบบ โดยมีวิธีการใช้สีที่แตกต่างกัน ก่อนหน้านี้มีระบบทุ่นลอยมากกว่า 30 รูปแบบ ก่อนที่ IALA จะปรับใช้ระบบให้เป็นรูปแบบเดียวกันในปี พ.ศ. 2523 ในการประชุมที่จัดขึ้นโดย IALA โดยตกลงที่จะนำระเบียบของระบบรวมใหม่มาใช้ โดยรวมระบบเดิมก่อนหน้านี้มาให้เหลือระบบเดียว และแบ่งเป็นสองภูมิภาค คือ A และ B
ด้วยเหตุผลทางประวัติศาสตร์ จึงมีการใช้รูปแบบที่แตกต่างกันสองแบบทั่วโลก โดยมีการใช้สีที่แตกต่างกัน ก่อนหน้านี้มีระบบทุ่นลอยน้ำที่แตกต่างกันถึง 30 ระบบ ก่อนที่ IALA จะปรับระบบให้เหมาะสม ในปีพ.ศ. 2523 ในการประชุมที่จัดโดย IALA พวกเขาตกลงที่จะนำกฎของระบบรวมใหม่มาใช้ ซึ่งรวมสองระบบก่อนหน้านี้ (A และ B) ให้เป็นระบบเดียว โดยมีสองภูมิภาค (A และ B)[2]
ข้อกำหนดของ IALA เกี่ยวกับภูมิภาค A และภูมิภาค B มีดังนี้
ภูมิภาค A
[แก้]- ประกอบไปด้วย ยุโรป แอฟริกา เอเชีย และโอเชียเนียส่วนใหญ่ รวมถึงกรีนแลนด์
- เครื่องหมายกราบซ้ายเป็นสีแดง และอาจมีไฟกระพริบสีแดง จังหว่ะ 2+1 และเว้นจังหว่ะ
- เครื่องหมายกราบขวาเป็นสีเขียว และอาจมีไฟกะพริบสีเขียว จังหว่ะ 2+1 และเว้นจังหว่ะ
(กราบซ้าย) (ซ้าย) (สีแดง) | (กราบขวา) (ขวา) (เขียว) |
ภูมิภาค B
[แก้]- ประกอบไปด้วย ทวีปอเมริกา ญี่ปุ่น เกาหลีใต้[3] ฟิลิปปินส์ ไต้หวัน[4] ฮาวาย และเกาะอีสเตอร์
- เครื่องหมายพอร์ตเป็นสีเขียวและอาจมีไฟกะพริบสีเขียวในจังหวะใดก็ได้ ยกเว้น 2+1
- เครื่องหมายกราบซ้ายเป็นสีเขียว และอาจมีไฟกระพริบสีเขียว จังหว่ะ 2+1 และเว้นจังหว่ะ
- เครื่องหมายกราบขวาเป็นสีแดง และอาจมีไฟกะพริบสีแดง จังหว่ะ 2+1 และเว้นจังหว่ะ
(กราบซ้าย) (ซ้าย) (สีเขียว) | (กราบขวา) (ขวา) (สีแดง) |
ทั้งสองภูมิภาค
[แก้]- เครื่องหมายกราบซ้ายเป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส หรือรูปทรงที่มีด้านบนแบน
- เครื่องหมายกราบขวาเป็นรูปกรวย (หรือมีลักษณะเป็นรูปสามเหลี่ยม) หรือรูปทรงที่มียอดแหลม
รูปทรงเป็นอีกลักษณะสำคัญในการสังเกต เนื่องจากสีอาจไม่สามารถระบุได้ในสภาพแสงบางประเภท หรือโดยบุคคลที่มีตาบอดสีในสีแดงและเขียว เครื่องหมายอาจมีการทำสัญลักษณ์เฉพาะโดยใช้ตัวอักษรและตัวเลข เพื่อใช้ระบุเครื่องหมายตามที่ระบุไว้บนแผนที่เดินเรือ และในแบบเดียวกันกับไฟกระพริบตามลำดับที่กำหนดเพื่อวัตถุประสงค์เดียวกัน
เมื่อร่องน้ำมีการแยกตัว เช่น ร่องน้ำแยกไปยังท่าเรือเล็ก ๆ นอกแม่น้ำสายหลัก จะใช้เครื่องหมายช่องทางเดินเรือที่เหมาะสม (Preferred channel marks) หรือ เครื่องหมายเลือกช่องทางเดินเรือ (bifurcation mark) ซึ่งเครื่องหมายมีรูปร่างและสีเหมือนกับตำแหน่งที่ตั้งของมันว่าอยู่กราบซ้ายหรือกราบขวาของร่องน้ำหลัก โดยมีแถบแนวนอนเพิ่มเติมพร้อมกับสีของร่องน้ำรอง ตัวอย่างเช่น ภูมิภาค A ร่องน้ำหลักตรงไป เป็นลำห้วยที่ทอดจากท่าจอดเรือไปยังท่าเรือ ทุ่นที่ใช้แบ่งเส้นทางจะเป็นกระป๋องทรงกระบอกสีแดงหรือเสาที่มีเครืองหมายบนยอดเป็นทรงกระบอก และตรงกลางจะเป็นแถบสีเขียว ส่วนใน IALA ภูมิภาค B ก็จะใช้รูปทรงเหมือนกัน แต่สีหลักจะเป็นสีเขียวและมีแถบสีแดง[5] โดยสามารถดูทุ่นที่ใช้งานสำหรับเกาะได้บที่แผนภาพด้านบน
เฉพาะในภูมิภาค A วลีว่า "มีสีแดงกราบซ้ายด้านขวาเหลืออยู่ไหม ?" (Is there any red port left?) (ซึ่งหมายถึงสีแดงของฟอร์ติไฟด์ไวน์ "กราบซ้าย") โดยอาจใช้เป็นเครื่องช่วยจำได้ โดยระบุว่าจะต้องเก็บเครื่องหมายสีแดงไว้ทางด้านซ้ายเมื่อต้อง "กลับ" ไปยัง (เช่น เข้า) ท่าเรือหรือแม่น้ำ
และเฉพาะในภูมิภาค B วลีว่า “สีแดงด้านขวากลับมาแล้ว” (red right returning) อาจใช้เป็นเครื่องช่วยจำ ระบุว่าจะต้องทำเครื่องหมายสีแดงไว้ทางด้านขวาเมื่อกลับ (เช่น เข้า) ท่าเรือหรือแม่น้ำ
ดูเพิ่ม
[แก้]- เครื่องหมายจตุรทิศ
- เครื่องหมายสิ่งอันตรายโดดเดี่ยว
- เครื่องหมายแสดงที่ปลอดภัย
- เครื่องหมายพิเศษ
- ทุ่นเรืออับปางฉุกเฉิน
อ้างอิง
[แก้]- ↑ 1.0 1.1 1.2 คู่มือการปฏิบัติงาน เรื่อง การบำรุงรักษาเครื่องหมายการเดินเรือ (PDF). ส่วนเครื่องหมายการเดินเรือ สำนักพัฒนาและบำรุงรักษาทางน้ำ กรมเจ้าท่า.
- ↑ Maritime Buoyage System เก็บถาวร 2006-10-08 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- ↑ Pub 120, Sailing Directions (Planning Guide), Pacific Ocean and Southeast Asia (Twelfth ed.). National Geospatial Intelligence Agency, USA. 2015.
- ↑ "International Maritime Buoyage System". Port of Gunsan. Gunsan Regional Office of Oceans and Fisheries. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 9 May 2018. สืบค้นเมื่อ 9 May 2018.
- ↑ Maritime buoyage system and other aids to navigation, IALA (International association of maritime aids to navigation and lighthouse authorities), 2010, pp. 10–11
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- A web site of Transport Canada, showing lateral buoys in Region B.