ทุ่นเรืออับปางฉุกเฉิน

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
รูปแบบแสงไฟกระพริบ
ทุ่นขณะถูกใช้งาน
ทุ่นเรืออับปางฉุกเฉิน

ทุ่นเรืออับปางฉุกเฉิน (อังกฤษ: Emergency wreck buoy) ถูกใช้สำหรับเตือนถึงซากเรือที่พึ่งอัปปางและยังไม่ได้ระบุเอาไว้ในเอกสารในการเดินเรือทางทะเล ซึ่งจะใช้งานในช่วง 24 - 72 ชั่วโมงแรกหลังจากเกิดเหตุ หลังจากนั้นจึงติดตั้งทุ่นถาวรชนิดอื่น ๆ ในการเตือนแทน เช่น เครื่องหมายสิ่งอันตรายโดดเดี่ยว หรือ เครื่องหมายจตุรทิศ ซึ่งจะมีการปรับและอัปเดตในแผนที่และเอกสารเดินเรือ[1]

ทุ่นถูกออกแบบมาเพื่อแสดงถึง "การให้เครื่องหมายที่ชัดเจนและไม่คลุมเครือ" (provide a clear and unambiguous)[1] ของอันตรายที่พึ่งเกิดขึ้นมาใหม่และยังไม่ถูกกำหนดในแผนที่ โดยทุ่นจะถูกทาด้วยแถบสีแนวตั้ง 4, 6 หรือ 8 แถบด้วยสีเหลืองและน้ำเงินสลับกัน นอกจากนี้อาจมีการระบุข้อความว่า "WRECK" (ซากเรือ) เอาไว้ด้วย โดยอาจมีเครื่องหมายกางเขนแนวตั้ง (เซนต์จอร์จ) สีเหลือง พร้อมด้วยแสงกระพริบสีเหลืองและสีน้ำเงินสลับกันสีละหนึ่งวินาที และช่องว่างระหว่างเปลี่ยนสีอีกครึ่งนาที ซึ่งไม่มีเครื่องหมายเดินเรืออื่นที่ใช้สีน้ำเงิน[2]

สมาคมประภาคารและเครื่องหมายทางเรือระหว่างประเทศ (International Association of Marine Aids to Navigation and Lighthouse Authorities: IALA) ได้กำหนดทุ่นชนิดนี้ขึ้นมาเพื่อใช้งานหลังจากกรณีการอับปางของเรือ MV Tricolor และเกิดเหตุการณ์เรือ Nicola ของดัตช์ และเรือขนส่งเชื้อเพลิง Vicky ของตุรกีชนเข้ากับซากเรือดังกล่าว[3]

ดูเพิ่ม[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. 1.0 1.1 Emergency Wreck Buoys, Trinity House, คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2 July 2014, สืบค้นเมื่อ 24 December 2017
  2. Maritime buoyage system and other aids to navigation, IALA (International Association of Maritime Aids to Navigation and Lighthouse Authorities), 2010, p. 18
  3. IALA (2005), IALA recommendation O-133 on emergency wreck marking buoy (PDF) (1 ed.), p. 3, สืบค้นเมื่อ 29 May 2023