เขตผู้บัญชาการทหารแห่งเซอร์เบีย
44°49′N 20°27′E / 44.817°N 20.450°E
เขตผู้บัญชาการทหารแห่งเซอร์เบีย Gebiet des Militärbefehlshabers in Serbien | |||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
1941–1944 | |||||||||
เขตผู้บัญชาการทหารแห่งเซอร์เบียในทวีปยุโรป ประมาณ ค.ศ. 1942 | |||||||||
สถานะ | ดินแดนภายใต้ฝ่ายปกครองทหารของเยอรมนี | ||||||||
เมืองหลวง | เบลเกรด | ||||||||
ภาษาทั่วไป | เยอรมัน เซอร์เบีย | ||||||||
การปกครอง | รัฐบาลทหารa | ||||||||
ผู้บัญชาการทหาร | |||||||||
• เมษายน–มิถุนายน 1941 | เฮิลมุท เฟอร์สเตอร์ | ||||||||
• มิถุนายน–กรกฎาคม 1941 | ลูทวิช ฟ็อน ชเรอเดอร์ | ||||||||
• กรกฎาคม–กันยายน 1941 | ไฮน์ริช ดันเคิลมัน | ||||||||
• กันยายน–ธันวาคม 1941 | ฟรันทซ์ เบอเมอ | ||||||||
• 1941–1943 | พอล บาเดอร์ | ||||||||
• 1943–1944 | ฮันส์ เฟิลเบอร์ | ||||||||
นายกรัฐมนตรี (รัฐบาลหุ่นเชิด) | |||||||||
• 1941 | มีลัน อาชีมอวิช | ||||||||
• 1941–1944 | มีลัน เนดิช | ||||||||
ยุคประวัติศาสตร์ | สงครามโลกครั้งที่สอง | ||||||||
• ก่อตั้ง | 22 เมษายน 1941 | ||||||||
20 ตุลาคม 1944 | |||||||||
ประชากร | |||||||||
• 1941[1] | 4,500,000 | ||||||||
สกุลเงิน | ดีนาร์เซอร์เบีย ไรชส์มาร์ค | ||||||||
| |||||||||
ปัจจุบันเป็นส่วนหนึ่งของ | เซอร์เบีย คอซอวอ[a] | ||||||||
|
เขตผู้บัญชาการทหารแห่งเซอร์เบีย (เยอรมัน: Gebiet des Militärbefehlshabers in Serbien; เซอร์เบีย: Подручје Војног заповедника у Србији, อักษรโรมัน: Područje vojnog zapovednika u Srbiji) เป็นพื้นที่ส่วนหนึ่งของราชอาณาจักรยูโกสลาเวียที่อยู่ภายใต้การยึดครองของรัฐบาลทหารแวร์มัคท์ ภายหลังการบุกครองและการแบ่งยูโกสลาเวียในเดือนเมษายน ค.ศ. 1941 โดยมีอาณาเขตครอบคลุมพื้นที่ส่วนใหญ่ของเซอร์เบียกลาง บางส่วนของคอซอวอเหนือ (บริเวณใกล้เคียงกับคอซอฟสกามิทรอวิตซา) และบานัต ดินแดนนี้เป็นพื้นที่เดียวจากการแบ่งยูโกสลาเวียที่เยอรมนียึดครองเพื่อจัดตั้งรัฐบาลทหาร เนื่องจากเป็นจุดยุทธศาสตร์ทางรางและเป็นเส้นทางการขนส่งในแม่น้ำดานูบที่สำคัญ อีกทั้งยังมีทรัพยากรที่ทรงคุณค่า โดยเฉพาะโลหะที่ไม่ใช่เหล็ก[3] เมื่อวันที่ 22 เมษายน ค.ศ. 1941 ดินแดนเซอร์เบียอยู่ภายใต้การปกครองสูงสุดของผู้บัญชาการทหารเยอรมันประจำเซอร์เบีย โดยมีเสนาธิการฝ่ายปกครองทหารคอยควบคุมการบริหารดินแดนแบบรายวัน อย่างไรก็ตาม สายบัญชาการและควบคุมดินแดนที่ถูกยึดครองนี้ไม่เคยเป็นหนึ่งเดียวกัน และเริ่มมีความซับซ้อนมากขึ้นจากการแต่งตั้งผู้แทนโดยตรงของบุคคลสำคัญของพรรคนาซี เช่น ไรชส์ฟือเรอร์-เอ็สเอ็สไฮน์ริช ฮิมเลอร์ (ฝ่ายตำรวจและความมั่นคง) จอมพลไรช์แฮร์มัน เกอริง (ฝ่ายเศรษฐกิจ) และรัฐมนตรีไรช์โยอาคิม ฟ็อน ริบเบินทร็อพ (ฝ่ายกิจการต่างประเทศ) ทางเยอรมนีใช้ประโยชน์จากกองทัพบัลแกเรียที่ถูกเยอรมนีควบคุมเพื่อใช้ช่วยเหลือในการยึดครอง ตามแหล่งข้อมูลต่าง ๆ จำนวนมากได้อธิบายถึงสถานะของดินแดนที่ถูกยึดครองว่าเป็นรัฐหุ่นเชิด รัฐในอารักขา เขตปกครองพิเศษ หรือมีสถานะเป็นรัฐบาลหุ่นเชิด
มีการจัดตั้งรัฐบาลพลเรือนหุ่นเชิดขึ้นมาสองชุดเพื่อดำเนินงานด้านการบริหารตามทิศทางและการกำกับดูแลของเยอรมนี รัฐบาลชุดแรกคือ "รัฐบาลข้าหลวงแห่งเซอร์เบีย" ซึ่งจัดตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 30 พฤษภาคม ค.ศ. 1941 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อใช้เป็นเครื่องมือพื้นฐานในการสร้างระบอบการปกครอง แต่กลับไม่มีอำนาจใด ๆ ในช่วงปลายเดือนกรกฎาคม ค.ศ. 1941 เกิดเหตุการณ์ก่อการกำเริบขึ้นในอาณาเขตยึดครอง ซึ่งทำให้กองทหารเซอร์เบียและกรมตำรวจรักษาความสงบเรียบร้อยเยอรมันได้รับการเสริมกำลังอย่างรวดเร็ว เพื่อช่วยในการปราบปรามการก่อจราจลที่เกิดขึ้นจากทั้งพลพรรคยูโกสลาเวียและกลุ่มราชาธิปไตยเชทนิกส์ ในเวลาต่อมารัฐบาลหุ่นเชิดชุดที่สองได้ก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 29 สิงหาคม ค.ศ. 1941 ในชื่อ "รัฐบาลแห่งการไถ่ชาติ" ภายใต้การนำของมีลาน เนดิช ซึ่งเข้ามาแทนที่รัฐบาลข้าหลวง โดยรัฐบาลชุดนี้แม้ว่าจะได้รับการสนับสนุนจากประชาชนอยู่บ้าง[4] แต่กลับไม่เป็นที่นิยมชมชอบของประชากรเซิร์บส่วนใหญ่[5] การเปลี่ยนรัฐบาลในครั้งนี้ไม่ได้ช่วยให้เยอรมนีได้รับการสนับสนุนมากขึ้น แต่กลับกันเยอรมนียังต้องส่งกองทหารจากแนวรบหน้าฝรั่งเศส กรีซ และแนวรบด้านตะวันออกเพื่อมาระงับการจราจล โดยเริ่มจากปฏิบัติการอูฌิตเซในปลายเดือนกันยายน ค.ศ. 1941 เพื่อขับไล่พลพรรคยูโกสลาเวีย และตามมาด้วยปฏิบัติการมีไฮลอวิชในเดือนธันวาคมเพื่อสลายกลุ่มเชทนิกส์ อย่างไรก็ตาม การจราจลต่อต้านขนาดย่อมยังคงดำเนินต่อไปจนถึง ค.ศ. 1944 พร้อมกับการสังหารตอบโต้ของเยอรมนีอยู่บ่อยครั้ง ซึ่งในบางครั้งจะมีการประหารชีวิตตัวประกันทั้งหมด 100 คนจากชาวเยอรมันทุกคนที่ถูกสังหาร
ระบอบเนดิชไม่มีสถานะภายใต้กฎหมายระหว่างประเทศ ไม่มีอำนาจใด ๆ นอกเหนือไปจากอำนาจที่ได้รับจากเยอรมนี และเป็นเพียงเครื่องมือในการปกครองของเยอรมนีเท่านั้น แม้ว่ากองทัพเยอรมันจะเป็นผู้สั่งการและผู้ชี้ขาดสุดท้ายในดินแดนเซอร์เบีย อีกทั้งยังเป็นผู้ผูกขาดคำสั่งสังหารยิว แต่รัฐบาลเนดิชก็ได้ให้ความช่วยเหลืออย่างแข็งขันในฐานะรัฐบาลไส้ศึก[6] ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดคือค่ายกักกันบันจีกาในเบลเกรด ที่อยู่ภายใต้การควบคุมร่วมกันของระบอบเนดิชและกองทัพเยอรมัน ในขณะที่รัฐบาลข้าหลวงถูกจำกัดการมีกำลังทหาร รัฐบาลเนดิชได้รับอนุญาตให้จัดตั้งกองกำลังติดอาวุธหรือกองกำลังพิทักษ์ชาติเซอร์เบีย (Serbian State Guard) เพื่อบังคับใช้คำสั่ง แต่กองกำลังนี้อยู่ภายใต้การควบคุมของผู้บัญชาการหน่วยเอ็สเอ็สและตำรวจระดับสูง และมีหน้าที่เป็นผู้ช่วยของเยอรมนีจนกระทั่งกองทัพเยอรมันถอนกำลังในเดือนตุลาคม ค.ศ. 1944 รัฐบาลแห่งการไถ่ชาติดำรงอยู่จนกระทั่งการถอนกำลังของเยอรมนี เมื่อเผชิญกับการรุกเบลเกรดของกองกำลังผสมระหว่างกองทัพแดง กองทัพประชาชนบัลแกเรีย และขบวนการพลพรรค ในระหว่างการยึดครอง ทางการเยอรมนีได้สังหารชาวยิวเกือบทั้งหมดที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ยึดครอง ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการสังหารตอบโต้ใน ค.ศ. 1941 และมีการรมควันผู้หญิงและเด็กในช่วงต้น ค.ศ. 1942[ต้องการอ้างอิง] ภายหลังสงครามยุติลง ผู้นำคนสำคัญของเยอรมนีและเซอร์เบียหลายคนในพื้นที่ยึดครองถูกพิจารณาคดีและประหารชีวิตในข้อหาอาชญากรสงคราม
หมายเหตุ
[แก้]- ↑ คอซอวอเป็นดินแดนข้อพิพาทระหว่างสาธารณรัฐคอซอวอกับสาธารณรัฐเซอร์เบีย สาธารณรัฐคอซอวอประกาศเอกราชเมื่อวันที่ 17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551 แต่เซอร์เบียยังคงอ้างว่าคอซอวอเป็นดินแดนอธิปไตยของตน ใน พ.ศ. 2556 ทั้งสองรัฐบาลเริ่มกระชับความสัมพันธ์ให้เป็นปกติในฐานะส่วนหนึ่งของข้อตกลงบรัสเซลส์ ปัจจุบันคอซอวอได้รับการยอมรับว่าเป็นรัฐเอกราชจากประเทศสมาชิกสหประชาชาติ 98 ชาติจาก 193 ชาติ
อ้างอิง
[แก้]- ↑ Lemkin 2008, p. 248.
- ↑ Tomasevich 2001, pp. 175–177.
- ↑ Tomasevich 2001, p. 64.
- ↑ MacDonald, David Bruce (2002). Balkan holocausts?: Serbian and Croatian victim-centred propaganda and the war in Yugoslavia. Manchester: Manchester University Press. p. 142. ISBN 0719064678.
- ↑ MacDonald, David Bruce (2007). Identity Politics in the Age of Genocide: The Holocaust and Historical Representation. Routledge. p. 167. ISBN 978-1-134-08572-9.
- ↑ Raphael Israeli (4 March 2013). The Death Camps of Croatia: Visions and Revisions, 1941–1945. Transaction Publishers. pp. 31–32. ISBN 978-1-4128-4930-2. สืบค้นเมื่อ 12 May 2013.
บรรณานุกรม
[แก้]หนังสือ
[แก้]- Argyle, Christopher (1980). Chronology of World War II. New York: Exeter Books. ISBN 0-89673-071-9.
- Askey, Nigel (2013). Operation Barbarossa: the Complete Organisational and Statistical Analysis, and Military Simulation. Vol. 2A. United States: Lulu Publishing. ISBN 978-1-304-45329-7.
- Bailey, Ronald H. (1980). Partisans and Guerrillas. Vol. 12. New York: Time-Life Books. ISBN 978-0-7835-5719-9.
- Benz, Wolfgang (1999). The Holocaust: A German Historian Examines the Genocide. New York: Columbia University Press. ISBN 978-0-231-11215-4.
- Browning, Christopher H. (2004). The Origins of the Final Solution: The Evolution of Nazi Jewish Policy, September 1939 – March 1942. University of Nebraska Press. ISBN 978-0-8032-5979-9.
- Browning, Christopher (2014). The Origins of the Final Solution. London, England: Cornerstone Digital. ISBN 978-1-4481-6586-5.
- Bugajski, Janusz (2002). Political Parties of Eastern Europe: A Guide to Politics in the Post-Communist Era. Armonk: Sharpe. ISBN 1-56324-676-7.
- Byford, Jovan (2011), "The Collaborationist Administration and the Treatment of the Jews in Nazi-occupied Serbia", ใน Ramet, Sabrina P.; Listhaug, Ola (บ.ก.), Serbia and the Serbs in World War Two, London: Palgrave Macmillan, pp. 109–127, ISBN 978-0230278301
- Byford, Jovan (2012). "Willing Bystanders: Dimitrije Ljotić, "Shield Collaboration" and the Destruction of Serbia's Jews". ใน Haynes, Rebecca; Rady, Martyn (บ.ก.). In the Shadow of Hitler: Personalities of the Right in Central and Eastern Europe. London: I.B.Tauris. ISBN 978-1-84511-697-2.
- Ćirković, Simo C. (2009). Ko je ko u Nedićevoj Srbiji 1941–1944 (ภาษาเซอร์โบ-โครเอเชีย). Belgrade: IPS MEDIA. ISBN 978-86-7274-388-3.
- Cohen, Philip J. (1996). Serbia's Secret War: Propaganda and the Deceit of History. College Station, Texas: Texas A&M University Press. ISBN 0-89096-760-1.
- Cox, John (2002). The History of Serbia. The Greenwood Histories of the Modern Nations. Westport: Greenwood Publishing Group. ISBN 978-0-313-31290-8.
- Deroc, Milan (1988). British Special Operations Explored: Yugoslavia in Turmoil 1941–1943 and the British Response. East European Monographs. New York: Coloumbia University Press. ISBN 978-0-88033-139-5.
- Dobrich, Momcilo (2000). Belgrade's Best: The Serbian Volunteer Corps, 1941–1945. New York: Axis Europa Books. ISBN 978-1-891227-38-7.
- Gutman, Israel (1995). Encyclopedia of the Holocaust. Vol. 2. New York: Macmillan Publishing. ISBN 9780028645278.
- Haynes, Rebecca; Rady, Martyn (2011). In the Shadow of Hitler: Personalities of the Right in Central and Eastern Europe. I.B. Tauris. ISBN 978-1-84511-697-2.
- Hehn, Paul N. (1979). The German Struggle Against Yugoslav Guerillas in World War II. New York: Columbia University Press.
- Klajn, Lajčo (2007). The Past in Present Times: The Yugoslav Saga. New York: University Press of America. ISBN 978-0-7618-3647-6.
- Krakov, Stanislav (1963). Генерал Милан Недић [General Milan Nedić] (ภาษาเซอร์เบีย). Munich, West Germany: Iskra. OCLC 7336721.
- Kroener, Bernard R.; Müller, Rolf-Dieter; Umbreit, Hans, บ.ก. (2000). Germany and the Second World War, Volume 5: Organization and Mobilization of the German Sphere of Power. Part I. Wartime Administration, Economy, and Manpower Resources 1939-1941. Vol. 5. New York, New York: Oxford University Press. ISBN 978-0-19-822887-5.
- Kroener, Bernard R.; Müller, Rolf-Dieter; Umbreit, Hans, บ.ก. (2003). Germany and the Second World War, Volume 5: Organization and Mobilization of the German Sphere of Power. Part II. Wartime Administration, Economy, and Manpower Resources 1942-1944/5. Vol. 5. Oxford, New York: Oxford University Press. ISBN 978-0-19-820873-0.
- Lauterpacht, Elihu; Greenwood, C. J.; Oppenheimer, A. G., บ.ก. (1999). International Law Reports. Vol. 112. Cambridge: Cambridge University Press. ISBN 978-0-521-64242-2.
- Lemkin, Raphael (2008). Axis Rule in Occupied Europe. London: Lawbook Exchange. ISBN 9781584779018.
- Lumans, Valdis O. (1993). Himmler's Auxiliaries: The Volksdeutsche Mittelstelle and the German National Minorities of Europe, 1933–1945. Chapel Hill: University of North Carolina Press. ISBN 978-0-8078-2066-7.
- Manoschek, Walter (1995). "Serbien ist judenfrei": Militarische Besatzungspolitik und Judenvernichtung in Serbien 1941/42 (ภาษาเยอรมัน) (2nd ed.). Munich: Oldenbourg Verlag. ISBN 9783486561371.
- Margolian, Howard (2000). Unauthorized Entry: The Truth about Nazi War Criminals in Canada, 1946–1956. Toronto: University of Toronto Press.
- Milazzo, Matteo J. (1975). The Chetnik Movement & the Yugoslav Resistance. Baltimore: Johns Hopkins University Press. ISBN 978-0-8018-1589-8.
- Milosavljević, Olivera (2006). Potisnuta istina – Kolaboracija u Srbiji 1941–1944 (PDF) (ภาษาเซอร์โบ-โครเอเชีย). Belgrade: Helsinki Committee for Human Rights in Serbia.
- Mojzes, Paul (2011). Balkan Genocides: Holocaust and Ethnic Cleansing in the 20th Century. Plymouth: Rowman and Littlefield Publishers. ISBN 9781442206632.
- Norris, David A. (2008). Belgrade: A Cultural History. Oxford, New York: Oxford University Press. ISBN 978-0-19-970452-1.
- Pavlowitch, Stevan K. (2002). Serbia: The History behind the Name. London: Hurst & Company. ISBN 9781850654773.
- Pavlowitch, Stevan K. (2008). Hitler's New Disorder: The Second World War in Yugoslavia. New York: Columbia University Press. ISBN 9780231700504.
- Ramet, Sabrina P. (2006). The Three Yugoslavias: State-Building and Legitimation, 1918–2005. Bloomington: Indiana University Press. ISBN 978-0-253-34656-8.
- Ramet, Sabrina P.; Lazić, Sladjana (2011). "The Collaborationist Regime of Milan Nedić". ใน Ramet, Sabrina P.; Listhaug, Ola (บ.ก.). Serbia and the Serbs in World War Two. London: Palgrave Macmillan. pp. 17–43. ISBN 978-0230278301.
- Savković, Miroslav (1994). Kinematografija u Srbiji tokom Drugog svetskog rata 1941–1945 (ภาษาเซอร์โบ-โครเอเชีย). Belgrade: Ibis.
- Shepherd, Ben (2012). Terror in the Balkans: German Armies and Partisan Warfare. Cambridge: Harvard University Press. ISBN 978-0-674-04891-1.
- Stein, George H. (1984). The Waffen SS: Hitler's Elite Guard at War, 1939–45. Ithaca, New York: Cornell UP. ISBN 0-8014-9275-0.
- Tasovac, Ivo (1999). American Foreign Policy and Yugoslavia, 1939–1941. College Station, Texas: Texas A&M University Press. ISBN 978-0-89096-897-0.
- Thomas, Nigel; Mikulan, Krunoslav (1995). Axis Forces in Yugoslavia 1941–45. New York: Osprey Publishing. ISBN 978-1-85532-473-2.
- Tomasevich, Jozo (1969). "Yugoslavia During the Second World War". ใน Vucinich, Wayne S. (บ.ก.). Contemporary Yugoslavia: Twenty Years of Socialist Experiment. University of California Press. pp. 59–118.
- Tomasevich, Jozo (1975). War and Revolution in Yugoslavia, 1941–1945: The Chetniks. Stanford: Stanford University Press. ISBN 978-0-8047-0857-9.
- Tomasevich, Jozo (2001). War and Revolution in Yugoslavia, 1941–1945: Occupation and Collaboration. Stanford: Stanford University Press. ISBN 978-0-8047-3615-2.
- Udovički, Jasminka; Ridgeway, James (1997). Burn This House: The Making and Unmaking of Yugoslavia. Duke University Press. ISBN 0-8223-1997-7.
- Weitz, Eric D. (2009). A Century of Genocide: Utopias of Race and Nation. Princeton, New Jersey: Princeton University Press. ISBN 978-1-40082-550-9.
- Wolff, Robert (1974). The Balkans in Our Time. Cambridge: Harvard University Press. ISBN 978-0-393-09010-9.
วารสาร
[แก้]- Hehn, Paul N. (1971). "Serbia, Croatia and Germany 1941–1945: Civil War and Revolution in the Balkans". Canadian Slavonic Papers. University of Alberta. 13 (4): 344–373. doi:10.1080/00085006.1971.11091249. JSTOR 40866373.
- Portmann, Michael; Suppan, Arnold (2006). "Serbien und Montenegro im Zweiten Weltkrieg (1941 – 1944/45)". Österreichische Osthefte (ภาษาเยอรมัน). Zeitschrift für Mittel-, Ost- und Südosteuropaforschung. 47: 265–296. ISSN 0029-9375.[ลิงก์เสีย]
- Janjetović, Zoran (2012). "Borders of the German occupation zone in Serbia 1941–1944" (PDF). Journal of the Geographical Institute Jovan Cvijic. Serbian Academy of Sciences and Arts. 62 (2): 93–115. doi:10.2298/IJGI1202093J.
- Trifkovic, Gaj (2015). "The Key to the Balkans: The Battle for Serbia 1944". The Journal of Slavic Military Studies. 28 (3): 524–555. doi:10.1080/13518046.2015.1061825. S2CID 141603073.
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- Đaković, Tanja Nikolić (12 July 2008). "Milan Nedić i knez Pavle ponovo dele Srbiju". Blic (ภาษาเซอร์โบ-โครเอเชีย).
- Niehorster, Dr. Leo (2015a). "Armed Forces Commander South East Commanding General in Serbia 22 June 1941". Dr. Leo Niehorster. สืบค้นเมื่อ 31 May 2015.
- Niehorster, Dr. Leo (2015b). "Infantry Division (15th Wave) 22 June 1941". Dr. Leo Niehorster. สืบค้นเมื่อ 1 June 2015.
- Niehorster, Dr. Leo (2015c). "12th Army LXVth Special Corps Command 22 June 1941". Dr. Leo Niehorster. สืบค้นเมื่อ 31 May 2015.