เกาะบอร์เนียว
แผนที่ภูมิประเทศของเกาะบอร์เนียว | |
ภูมิศาสตร์ | |
---|---|
ที่ตั้ง | เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ |
พิกัด | 0°N 114°E / 0°N 114°E |
กลุ่มเกาะ | หมู่เกาะซุนดาใหญ่ |
พื้นที่ | 748,168 ตารางกิโลเมตร (288,869 ตารางไมล์) |
อันดับพื้นที่ | 3 |
ระดับสูงสุด | 13,435 ฟุต (4095 ม.) |
จุดสูงสุด | กีนาบาลู |
การปกครอง | |
เขต | เบอไลต์ บรูไน-มัวรา เติมบูรง ตูตง |
เมืองหลวงและเมืองใหญ่สุด | บันดาร์เซอรีเบอกาวัน (ประชากร 276,608 คน คน) |
จังหวัด | กาลีมันตันตะวันตก กาลีมันตันกลาง กาลีมันตันใต้ กาลีมันตันตะวันออก กาลีมันตันเหนือ |
เมืองใหญ่สุด | ซามารินดา (pop. 842,691 คน) |
รัฐ | ซาบะฮ์ ซาราวัก |
เมืองใหญ่สุด | กูจิง (pop. 617,886 คน) |
ประชากรศาสตร์ | |
ประชากร | 23,720,000 คน (2020) |
ความหนาแน่น | 28.59/กม.2 (74.05/ตารางไมล์) |
บอร์เนียว (อังกฤษ: Borneo) หรือ กาลีมันตัน (อินโดนีเซีย: Kalimantan) เป็นเกาะที่มีขนาดใหญ่เป็นอันดับ 3 ของโลก รองจากเกาะกรีนแลนด์ (อันดับ 1) และเกาะนิวกินี (อันดับ 2) มีประเทศ 3 ประเทศอยู่ในเกาะบอร์เนียว คือ มาเลเซีย บรูไน อินโดนีเซีย[1] อยู่บริเวณใจกลางกลุ่มเกาะมลายูและประเทศอินโดนีเซีย ในทางภูมิศาสตร์ เกาะบอร์เนียวเป็นส่วนหนึ่งของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มีทรัพยากรน้ำมันและก๊าซธรรมชาติมากที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
ศัพทมูลวิทยา
[แก้]เกาะนี้มีชื่อเรียกหลายแบบ ในระดับนานาชาติมีชื่อเรียกว่า บอร์เนียว ซึ่งมีที่มาจากการติดต่อของชาวยุโรปในอาณาจักรบรูไนช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 16 โดยในแผนที่ช่วง ค.ศ. 1601 เมืองบรูไนถูกระบุเป็นบอร์เนียว และมีการเรียกทั้งเกาะด้วยชื่อเดียวกัน[2][3] ชื่อ Borneo ในภาษาอังกฤษอาจมาจากศัพท์ภาษาสันสกฤตว่า váruṇa (वरुण) ซึ่งอาจหมายถึง "น้ำ" หรือพระวรุณ เทพแห่งฝนของศาสนาฮินดู[4]
ประชากรท้องถิ่นเรียกพื้นที่นี้ว่า เกลมันตัน หรือ กาลีมันตัน[5] โดยบางส่วนคาดว่าศัพท์นี้มีที่มาจากศัพท์ภาษาสันสกฤตว่า กาลมันถนะ หมายถึง "อากาศที่แผดเผา" ซึ่งน่าจะสื่อถึงสภาพภูมิอากาศในพื้นที่เขตร้อนที่ร้อนและชื้น อย่างไรก็ตาม ในกลุ่มคนที่รู้ทั้งภาษาและอิทธิพลของภาษาดัตช์จะรู้ว่า คำว่า kali หมายถึง "ลำเหมือง" และ mantan มาจากศัพท์ภาษาดัตช์ว่า diamantan หรือ "เพชร" ทำให้กาลีมันตันมีความหมายว่า "ลำเหมืองเพชร" ซึ่งสื่อถึงการหาเพชรหยาบตามธรรมชาติได้ง่ายโดยการขุดลงไปในพื้นที่บางส่วนของเกาะ[6] ซลาเม็ต มุลจานา (Slamet Muljana) นักประวัติศาสตร์ชาวอินโดนีเซีย กล่าวแนะว่า คำว่า กาลมันถนะ มาจากศัพท์ภาษาสันสกฤตสองศัพท์คือ กาละ (เวลาหรือฤดู) กับ มันถนะ (ปั่น ก่อไฟ หรือก่อไฟด้วยการเสียดสี)[7] ซึ่งน่าจะสื่อถึงความร้อนของสภาพภูมิอากาศในบริเวณนี้[8]
ภูมิศาสตร์
[แก้]เกาะบอร์เนียวล้อมรอบด้วยทะเลจีนใต้ทางทิศตะวันตกและตะวันตกเฉียงเหนือ ทะเลซูลูทางตะวันออกเฉียงเหนือ ทะเลเซเลบีสกับช่องแคบมากัสซาร์ทางตะวันออก และทะเลชวากับช่องแคบการีมาตาทางใต้
ดินแดนทางตะวันตกของเกาะบอร์เนียวได้แก่ คาบสมุทรมลายูและเกาะสุมาตรา ทางใต้ได้แก่ เกาะชวา ทางตะวันออกได้แก่ เกาะซูลาเวซีและหมู่เกาะโมลุกกะ ส่วนทางตะวันออกเฉียงเหนือได้แก่ หมู่เกาะฟิลิปปินส์
จุดสูงที่สุดของเกาะบอร์เนียว คือเขากีนาบาลูในรัฐซาบะฮ์ ประเทศมาเลเซีย มีความสูง 4,101 เมตร เหนือระดับน้ำทะเล
การปกครอง
[แก้]ทางการเมืองการปกครอง เกาะบอร์เนียวแบ่งออกเป็น :
- จังหวัดกาลีมันตันตะวันออก จังหวัดกาลีมันตันใต้ จังหวัดกาลีมันตันตะวันตก จังหวัดกาลีมันตันเหนือ และจังหวัดกาลีมันตันกลาง ของประเทศอินโดนีเซีย
- รัฐซาบะฮ์และรัฐซาราวัก ของประเทศมาเลเซีย
- ประเทศบรูไน ที่แบ่งเป็น 2 ส่วน
ประวัติศาสตร์
[แก้]เกาะบอร์เนียวเป็นพื้นที่สำคัญในการเผชิญหน้าระหว่างอินโดนีเซียกับมาเลเซีย ในช่วง พ.ศ. 2505–2509 (ค.ศ. 1962–1966)
อ้างอิง
[แก้]- ↑ Donna Marchetti (2 August 1998). "Borneo's Wild Side". The New York Times. สืบค้นเมื่อ 20 June 2017.
- ↑ "Kaart van het eiland Borneo, 1601, Benjamin Wright".
- ↑ "ANTIQUE MAP BORNEO BY DE BRY (C.1602)".
- ↑ Media, Kompas Cyber (13 December 2018). "Hari Nusantara, Kenali Nama Lawas 5 Pulau Besar di Indonesia Halaman all". KOMPAS.com (ภาษาอินโดนีเซีย). สืบค้นเมื่อ 2020-08-03.
- ↑ "Kalimantan". Encyclopaedia Britannica. Britannica. สืบค้นเมื่อ 15 December 2019.
- ↑ Eugene Linden (17 March 2011). The Ragged Edge of the World: Encounters at the Frontier Where Modernity, Wildlands and Indigenous Peoples Meet. Penguin Publishing Group. pp. 30–. ISBN 978-1-101-47613-0.
- ↑ "Sanskrit Dictionary". sanskritdictionary.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-11-12. สืบค้นเมื่อ 2020-08-03.
- ↑ Muljana, Slamet (1960). Sriwidjaja (ภาษาอินโดนีเซีย). Pertjetakan Arnoldus. pp. 78–79.
อ่านเพิ่ม
[แก้]- L. W. W Gudgeon; Allan Stewart (1913), British North Borneo / by L. W. W. Gudgeon ; with twelve full-page illustrations in colour by Allan Stewart, Adam and Charles Black
- Redmond O'Hanlon (1984). Into the Heart of Borneo: An Account of a Journey Made in 1983 to the Mountains of Batu Tiban with James Fenton. Salamander Press. ISBN 978-0-9075-4055-7.
- Eric Hansen (1988). Stranger in the Forest: On Foot Across Borneo. Century. ISBN 978-0-7126-1158-9.
- Gordon Barclay Corbet; John Edwards Hill (1992). The mammals of the Indomalayan Region: a systematic review. Oxford University Press. ISBN 978-0-19-854693-1.
- Robert Young Pelton (1995). Fielding's Borneo. Fielding Worldwide. ISBN 978-1-5695-2026-0.
- Ghazally Ismail (1996–2001). A Scientific Journey Through Borneo. Kota Samarahan: Universiti Malaysia Sarawak.
- K. M. Wong; Chew Lun Chan (1997). Mount Kinabalu: Borneo's Magic Mountain: An Introduction to the Natural History of One of the World's Great Natural Monuments. Kota Kinabalu: Natural History Publications. ISBN 978-983-812-014-2.
- Dennis Lau (1999). Borneo: a photographic journey. Travelcom Asia. ISBN 978-983-99431-1-5.
- John Wassner (2001). Espresso with the Headhunters: A Journey Through the Jungles of Borneo. Summersdale. ISBN 978-1-84024-137-2.
- Less S. Hall; Greg Richards; Mohamad Tajuddin Abdullah (2002), "The bats of Niah National Park, Sarawak", The Sarawak Museum Journal
- Mohd Azlan J.; Ibnu Martono; Agus P. Kartono; Mohamad Tajuddin Abdullah (2003), "Diversity, Relative Abundance and Conservation of Chiropterans in Kayan Mentarang National Park, East Kalimantan, Indonesia", The Sarawak Museum Journal
- Mohd Tajuddin Abdullah (2003), Biogeography and variation of Cynopterus brachyotis in Southeast Asia (PhD thesis ed.), Brisbane: University of Queensland
- Catherine Karim; Andrew Alek Tuen; Mohamad Tajuddin Abdullah (2004), "Mammals", The Sarawak Museum Journal
- Less S. Hall; Gordon G. Grigg; Craig Moritz; Besar Ketol; Isa Sait; Wahab Marni; M.T. Abdullah (2004), "Biogeography of fruit bats in Southeast Asia", The Sarawak Museum Journal
- Stephen Holley (2004). A White Headhunter in Borneo. Kota Kinabalu: Natural History Publications. ISBN 978-983-812-081-4.
- Wild Borneo: The Wildlife and Scenery of Sabah, Sarawak, Brunei, and Kalimantan. New Holland Publishers. 2006. ISBN 978-1-84537-378-8.
- Mel White (November 2008), Borneo's Moment of Truth, National Geographic
- Anton Willem Nieuwenhuis (2009). Quer durch Borneo (ภาษาดัตช์). BoD – Books on Demand. ISBN 978-3-86195-028-8.
- G. W. H. Davison (2010). A Photographic Guide to Birds of Borneo: Sabah, Sarawak, Brunei and Kalimantan. New Holland. ISBN 978-1-84773-828-8.
- John Mathai (2010), Hose's Civet: Borneo's mysterious carnivore, Nature Watch 18/4: 2–8
- John Mathai; Jason Hon; Ngumbang Juat; Amanda Peter; Melvin Gumal (2010), Small carnivores in a logging concession in the Upper Baram, Sarawak, Borneo, Small Carnivore Conservation 42: 1–9
- Charles M. Francis (2013). A Photographic Guide to Mammals of South-East Asia. Bloomsbury Publishing Plc. ISBN 978-1-84773-531-7.
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- คู่มือการท่องเที่ยว เกาะบอร์เนียว จากวิกิท่องเที่ยว (ในภาษาอังกฤษ)
- วิกิมีเดียคอมมอนส์มีสื่อเกี่ยวกับ Borneo